ต้นแบบของ ระบบกึ่งรัฐสภา

           ระบอบกึ่งประธานาธิบดี(semi-presidential system)หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าระบอบกึ่งรัฐสภา (semi-parliamentary system)ที่จะกล่าวถึงนี้ จริงๆแล้วก็คือระบอบประธานาธิบดีนั่นเอง แต่ได้ถูกปรับปรุงหรือแก้ไขหลักการใหม่เพื่อเหมาะสมกับแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศแรกที่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีมาใช้ก็คือประเทศฝรั่งเศส และตามมาด้วยประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียตภายหลังจากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์นั่นเอง
           ระบอบกึ่งประธานาธิบดีนี้พัฒนามาจากประเทศฝรั่งเศสในช่วงที่มี ความวุ่นวายทางการเมือง ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีก็จะเกิดข้อขัดแย้งอยู่เสมอ ทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงัก ดังนั้น นักรัฐศาสตร์และนักกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศส  จึงได้คิดรูปแบบการปกครองใหม่ที่นำเอาระบอบประธานาธิบดีและระบอบรัฐสภามาผสมผสานกัน  โดยให้ประธานาธิบดียังมีอำนาจมากแต่ก็เปิดโอกาสให้รัฐสภาควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ด้วย

หลักการสำคัญของระบอบกึ่งประธานาธิบดี
           ๑) ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจสูงสุด เพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีในระบอบนี้แตกต่างจากระบอบประธานาธิบดี  คือประธานาธิบดีจะแบ่งสรรอำนาจในการบริหารให้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลบางส่วน  กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือประธานาธิบดีมีอำนาจในทางการเมือง ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารจัดการ แต่อำนาจในการอนุมัติ ตัดสินใจ และการลงนามในกฎหมายยังคงอยู่ที่ประธานาธิบดี ซึ่งแตกต่างจากประธานาธิบดีในระบอบประธานาธิบดีที่จะกุมอำนาจบริหารไว้หมด  และจะไม่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระบอบนี้ และในทำนองกลับกันตัวประธานาธิบดีในระบอบรัฐสภา  ก็เป็นเพียงประมุขแต่ไม่มีอำนาจในการบริหาร  โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแทน
           ๒) อำนาจของรัฐสภาในระบอบนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี คือ รัฐสภามีอำนาจมากรัฐสภาในระบอบประธานาธิบดี แต่ก็ยังมีอำนาจน้อยกว่าระบอบรัฐสภา เพราะรัฐสภามีอำนาจในการควบคุมการทำงานของคณะรัฐมนตรีได้ สามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้  ซึ่งในระบอบประธานาธิบดีไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
           ๓) นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา  เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วย  ฉะนั้นนายกรัฐมนตรีจึงมีภาระที่ต้องขึ้นอยู่กับทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา เพราะทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาสามารถปลดนายกรัฐมนตรีออกได้ นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  อาจเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
           จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าคณะรัฐมนตรีในระบอบกึ่งประธานาธิบดีนี้ค่อนข้างปฏิบัติงาน  ด้วยความยากลำบากกว่าคณะรัฐมนตรีในระบอบประธานาธิบดีแท้ๆ หรือคณะรัฐมนตรีในระบอบรัฐสภา เพราะต้องรับผิดชอบต่อทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา  และยิ่งหากประเทศใดที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากแล้ว  รัฐสภาก็อาจจะไม่มีเสถียรภาพ หรือหากประธานาธิบดีไม่มีบารมีจริงๆ ก็อาจจะควบคุมคณะรัฐมนตรีหรือประสานงานกับรัฐสภาไม่ได้  ความวุ่นวายก็ตามมา
           อย่างไรก็ตามระบอบกึ่งประธานาธิบดีฯนี้ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเสียทีเดียว ไม่เช่นนั้นประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายคงไม่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีนี้ไปใช้กันเป็นจำนวนมาก ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดและมีอิสระในการทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย เพราะสภาพบ้านเมืองของประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น  และประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายหาผู้ที่มีบารมีหรือมีอิทธิพลทางการเมืองได้ยาก หากใช้ระบอบรัฐสภาก็จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ  เพราะมีพรรคเล็กพรรคน้อยจำนวนมาก การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดจึงทำให้รัฐบาลมีอายุยืนยาวขึ้น  สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจด้านการทหาร
           ข้อดีอีกประการหนึ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของระบอบนี้ก็คือ  การแยกอำนาจทางการเมืองและอำนาจบริหาร  ทำให้ประธานาธิบดีไม่ต้องทำงานบริหารแบบงานประจำ เช่น การลงนามลงชื่อในงานประจำทั้งหลาย การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ประธานาธิบดีในระบอบนี้ได้ใช้เวลาในการปฏิบัติงานด้านการเมืองอย่างเต็มที่ เช่น การเสนอนโยบาย วิเคราะห์และวางแผนทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ต้นแบบของ ระบบกึ่งรัฐสภา

http://prachatai.com/journal/2009/02/20125

ต้นแบบของ ระบบกึ่งรัฐสภา

ระบบกึ่งประธานาธิบดี


สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี (), ระบบกึ่งประธานาธิบดี (semi-presidential system), ระบบบริหารคู่ (dual executive system), ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา หรือ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่เป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยใช้อำนาจผ่าน ระบบกึ่งประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดใน

ระบอบกึ่งประธานาธิบดีนั้นเกิดขึ้นครั้งแรก ณ ในสมัย โดยมี เป็น ทั้งนี้เพราะไม่ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย มีข้อขัดแย้งมากและต้องยุบสภาบ่อย รัฐบาลหรือรัฐสภาต้องออกจากตำแหน่งและมีการเลือกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เสียงบประมาณ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ของจึงได้พัฒนารูปแบบการปกครองโดยผสมผสานกันระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ได้มีการบัญญัติไว้ใน และมีการแก้ไขในปี อีกด้วย

อำนาจบริหาร ประธานาธิบดีมีอำนาจในการบริหารสูงสุด และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเสนอรายชื่อรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี และประธานาธิบดีจะลงนามอนุมัติ ประธานาธิบดีจึงเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าอำนาจบริหาร ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (สภาสูง)) เป็นผู้ใช้อำนาจและยังทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของรัฐบาลให้เป็นไปตามที่เสนอไว้ต่อสภา ทั้งยังมีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลด้วย แต่ขณะเดียวกันประธานาธิบดีก็มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้เช่นกัน