สถิติการ ป่วย ของคนไทย 2565

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 ตุลาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 27,912 ราย อัตราป่วย 42.18 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วทั้งหมด 25 ราย อัตราตาย ร้อยละ 0.07 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 19 ราย อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 ราย ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ได้แก่ ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูล โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า และได้รับยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จากคลินิกหรือร้านขายยา

กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือจากท่านแจ้งเตือนสถานการณ์การระบาดและการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 และสื่อสารสถานการณ์ดังกล่าวไปยังบุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยมารับการรักษาอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกควรให้การวินิจฉัยและรักษาตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดการรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต

เว็บไซต์ข่าว NHK รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า กำลังจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทั่วประเทศ พุ่งสูงเกินกว่าวันละ 206,000 ราย นับเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขสูงเกิน 200,000 รายนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และนับเป็นการกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงระลอกที่ 7 แล้ว 

รายงานข่าวระบุว่า ทางผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนคนออกไปเที่ยวสถานบันเทิงในโตเกียว โอซากา และจังหวัดอื่นๆ ระหว่าง 20.00-22.00 น. เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดการแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปีนี้

โดยรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า มีแผนจะเร่งจัดสรรเตียงผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก และดูแลด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยนอกที่มีอาการ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อระวังการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ขณะเดียวกันรัฐบาลจะจัดประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 23 ธ.ค. เพื่อหารือแนวทางป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่.

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล(จำกัด) เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2565

  • โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเมืองโคราช วิกฤต ประกาศ ”ขายกิจการ” เพียบ
  • สำรวจพื้นที่งด-ไม่งดกิจกรรมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่
  • ส่องคฤหาสน์สุดหรู คู่รักซุปตาร์ฮ่องกง เหลียงเฉาเหว่ย – หลิวเจียหลิง

โดยระบุว่า คนไทยมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความต้องการอยากใช้จ่ายที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และความสุขที่ยังบวกขึ้นอีกเมื่อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยในตอนนี้มูฟออนจากโควิด-19 อย่างแท้จริง

ในช่วงปลายปีนี้ หลายคนมุ่งเน้นเรื่องการเฉลิมฉลอง เตรียมจับจ่ายซื้อของเพื่อตอบสนองตนเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ ของฟุ่มเฟือยเพื่อเป็นของขวัญ หรืออาหารเพื่องานเลี้ยงสังสรรค์ในช่วงเทศกาล 

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อกลับไปหาครอบครัว สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริโภคเชิงบวกอย่างมาก 

ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ได้ให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ต่างๆ เตรียมพร้อมให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายสูงสุดในรอบสองปีนี้ว่า

1.คำว่า “เปิด” เป็นกิมมิคที่ใช้ช่วงนี้แล้วปัง

การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม 

ดังนั้นแบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword “การเปิด” เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้า อัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว เปิดลิฟต์เสพบรรยากาศสวยๆบน rooftop 

2.”ผสมผสาน” คือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ

Advertisement

โควิดฯ ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ไม่เคยทำจนเป็นเรื่องคุ้นเคย แบรนด์ต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ และจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนรวม (Interaction) ช่องการจำหน่าย (Distribution) และการสื่อสาร (Communication) เป็นลูกผสมกันไปเพื่อปิดรอยรั่วในช่วงลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ไหลเข้ามา เช่น หากปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า online เป็นหลัก อาจต้องพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการหน้าร้าน (physical) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หันกลับมาเดินกันมากขึ้น   

การชี้แนะแนวทางให้กับแบรนด์ เป็นผลมาจากการสำรวจของฮาคูโฮโดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมูฟออนจากโควิด-19 ได้แล้วอย่างชิ้นเชิง เนื่องจากอาการป่วยสามารถรักษาให้หายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 

ด้านสิตาพัชญ์ รุจิธันยพัชร์ เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์อาวุโส บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ชี้ประเด็นอ้างอิงจากผลสำรวจแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในเชิง insight พบความสนใจอยู่ 4 ประเด็น ดังนี้ 

1.แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายทุกสถิติในรอบ 2 ปี

แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายทุกสถิติในรอบ 2 ปี ที่ 69% โดยเฉพาะสินค้าที่ตอบสนองด้านอารมณ์ เพราะแรงกระตุ้นเชิงบวกจากภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก เทศกาล festive และโปรโมชั่นจากแบรนด์ ล้วนส่งผลให้คนไทยอยาก “ปลดล็อก” จากพันธนาการความกังวลทั้งปวง เช่น การหาของขวัญให้ครอบครัว จับฉลากปีใหม่ พบปะสังสรรค์ โดยสินค้าที่นิยม อาทิ โทรศัพท์ใหม่ เสื้อผ้า collection ใหม่ รถป้ายแดงคันใหม่ ร้านอาหารเปิดใหม่ที่ต้องไปลอง 

2.ความสุข ความเอนจอยเพิ่มสูงขึ้น 

ด้วยนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามา โบนัสที่กำลังรอรับ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น คนไทยมองว่า “ไม่มีความสุขน้อยลงไปกว่านี้อีกแล้ว” นี่คือเสียงสนองของคนไทยผ่านตัวเลข แต่จะมีแต่ความสุขที่มากขึ้น (+1%) โดยเฉพาะจากสาวๆ (+2%) สะท้อนให้เห็นถึง “ความเชื่อ” ที่มีทิศทางบวกในปี 2566 ที่จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามา   

3.คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น

คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น วัยรุ่นเน้นช็อปเพื่อ self-branding สูงวัยเน้นช็อปเพื่อ reconnect 

คนกรุงเทพฯ กลับมามีคะแนนบวกสูงสุดที่ +7% เนื่องด้วยการเตรียมตัวซื้อของฝาก ส่งเงินให้ที่บ้าน และเดินทาง ท่องเที่ยวที่มากกว่าภาคอื่น 

ขณะที่คนเหนือกลับติดลบ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ค่าตั๋วเครื่องบินที่ปรับราคาสูงขึ้นซึ่งอาจเกิดการชะลอตัวในการเดินทาง 

วัยรุ่นและวัยทำงานช่วงอายุ 20-39 เน้นการจับจ่ายที่แสดงความเป็นตัวตน รวมถึงไปร่วมกิจกรรมเพื่อทำคอนเทนท์โซเชียลในอีเวนท์เทศกาลต่างๆ 

วัยกลางคนช่วงอายุ 40-59 จับจ่ายเพื่อสานสัมพันธ์ ซื้อของฝาก ของขวัญแก่ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย

4.พักงานไว้ก่อน เพราะชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง 

คนไทยเข้าสู่โหมดอยากพักผ่อนช่วงปีใหม่ แต่ก็กังวลใจเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความสำคัญด้านความปลอดภัย เข้ามีติดอันดับ Top 5 สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้ชีวิตแบบ “balance life” คือ ถึงแม้จะอยากเต็มที่กับความสุข แต่ยังใช้ชีวิตแบบระมัดระวังกับเหตุการณ์รอบตัวด้วย เช่น การเดินทาง การเลือกสถานที่เที่ยว หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เปลี่ยนมุกรายวัน  

คนไทยสนใจโควิดน้อยลง

ขณะที่ พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิจัยการตลาดและกลยุทธ์ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย อธิบายความสนใจบ้านเมืองของคนไทยในภาพรวมว่า ในปัจจุบันความสนใจของผู้คนมีความผันผวนตลอดเวลาจากสถานการณ์บ้านเมืองที่มีให้ตกใจรายวัน เช่น ข่าวการกราดยิง ข่าวน้ำท่วม ข่าวการเมืองที่ยังคงร้อนแรง หรืออื่นอีกหลายข่าวที่ปรากฎใน Top10 จนทำให้คนไทยไม่มีความสนใจเรื่องข่าวสารหรือความกังวลของโควิด-19 อีกแล้ว 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรจะตั้งข้อสังเกตุคือ คนไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะเสพข่าวแบบมีสติและเหตุผลมากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเนื้อหาของข่าวนั้นเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะได้รู้เนื้อหาของข่าวทั้งหมด และช่วยกัน comment เพื่อดึงสติไม่ให้ไหลไปตามกระแสอารมณ์ของโซเชียล

ซึ่งทีมมองว่าเป็นนัยยะที่ดีและคาดหวังว่าคนไทยจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีสติ และรู้เท่าทันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในปีหน้าทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องจนผ่านมาได้ถึงช่วงท้ายปีนี้ ถึงเวลาพักเรื่องการทำงานเข้าสู่โหมดการพักผ่อนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เลิกเครียดโควิด-19 คิดบวก มองว่าเป็นสิ่งที่สามารถรักษาหายได้ พร้อมมูฟออนเพื่ออนาคตที่สดใสอย่างเต็มที่”

คนไทยป่วยเป็นโรคอะไรมากที่สุด 2565

หมายเหตุ* อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ตารางที่2 อัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงที่สุด อันดับแรกในปี 2565 เขต สุขภาพที่9.

คนไทยป่วยเป็นโรคอะไรมากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งลำไส้, มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนักต่อนัก สถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ มะเร็งยังครองแชมป์การเป็นโรคที่มีคนเป็นมากที่สุดในประเทศ อันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ ...

โรคติดต่อใด มีอัตราการเสียชีวิตอันดับ 1 ทั่วโลก

เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีต้นตอมาจากสัตว์ปีก มีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกถึง 50 ล้านคน นับเป็นโรคติดต่อที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดนับแต่เหตุการณ์ Black Death โดยทฤษฎีแรกการกำเนิดของไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้ คาดว่าเชื้อไวรัสน่าจะติดมากับกลุ่มแรงงานชาวจีน แล้วไปกลายพันธุ์ที่อเมริกา แต่สุดท้ายสถานที่ที่เกิดการระบาดร้ายแรงที่สุด ...

คนไทยเสียชีวิตกี่คนต่อปี

และอีกหนึ่งประเด็นที่นำไปสู่ความน่ากังวลเป็นลำดับต่อมา คือ 'อัตราการตาย' ของปี 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางการเกิดใหม่ของประชากรในประเทศไทยอย่างน่าตกใจ ซึ่งมีอัตราการตาย จำนวน 563,650 ราย ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ