นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุครีพ
ตัวละครใน รามเกียรติ์
นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ลิง
เพศผู้
ตำแหน่งอุปราชเมืองขีดขิน, กษัตริย์กรุงขีดขิน
คู่สมรสนางดารา
ญาติพระอาทิตย์ (บิดา)
นางกาลอัจนา (มารดา)
นางสวาหะ (พี่สาวร่วมมารดา)
พาลี (พี่ชายร่วมมารดา)
หนุมาน (หลาน)
องคต (หลาน)
มัจฉานุ (หลาน)
อสุรผัด (หลาน)
มิตรสหายหนุมาน, องคต, ชมพูพาน, ชามพูวราช, พระราม, พระลักษมณ์, พระพรต, พระสัตรุด, พิเภก, นางสีดา
ศัตรูทศกัณฐ์, พาลี (หลังจากที่พาลีสังหารทรพี), กุมภกรรณ, อินทรชิต, ไพนาสุริยวงศ์, ท้าวจักรวรรดิ

สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม มีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน

เมื่อพระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตน แต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลี (กากาศ) ผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่เข้าป่าไป พระอินทร์กับพระอาทิตย์ได้เนรมิตเมืองขีดขินให้ปกครอง โดยมีพาลีเป็นกษัตริย์และสุครีพเป็นอุปราช พาลีกับสุครีพได้เคยไปช่วยชะลอเขาพระสุเมรุ พระอิศวรหวังจะมอบนางดาราเป็นรางวัลให้แก่สุครีพ แต่ครั้งนั้นมีพาลีมารับรางวัลผู้เดียว พาลีสาบานว่าหากตนเอารางวัลของน้องมาเป็นของตน ขอให้ถูกศรพระนารายณ์สิ้นชีพ แต่สุดท้ายพาลีก็ผิดสัตย์เอานางดารามาเป็นชายาของตน

วันหนึ่งควายทรพีเดินทางมาท้าสู้กับพาลี พาลีจึงสั่งสุครีพไว้ว่าตอนที่ตัวเองเข้าไปสู้กับทรพีในถ้ำ หากเลือดที่ไหลออกจากถ้ำมีสีจาง ให้ปิดปากถ้ำเสียเพราะเป็นเลือดพาลี พาลีฆ่าทรพีตาย เลือดที่ไหลออกจากถ้ำเป็นเลือดของทรพีซึ่งมีสีเข้ม แต่เกิดฝนตกลงมาจนทำให้เลือดมีสีจางลง สุครีพเข้าใจผิดคิดว่าพาลีตายจึงเอาหินปิดปากถ้ำ พาลีโกรธสุครีพมากจึงพังถ้ำออกมาและขับไล่สุครีพออกจากเมือง ต่อมาหนุมานได้พาสุครีพไปพบพระราม สุครีพขอพระรามให้สังหารพาลีที่ผิดคำสาบานเรื่องนางดารา

เมื่อพาลีตายแล้ว สุครีพก็ขึ้นเป็นเจ้าเมืองขีดขินและรวบรวมไพร่พลวานรเพื่อช่วยพระรามทำศึก สุครีพได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา สุครีพได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน

นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์

สุครีพหักฉัตร จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนุมาน
เทพแห่งปัญญา ความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี และความมีวินัยในตนเอง
นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์

หนุมานฉีกอกแสดงให้เห็นนางสีดาและพระรามอยู่ในหัวใจของหนุมาน

ชื่อในอักษรเทวนาครีहनुमान
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตHanumān
ส่วนเกี่ยวข้องสาวกของพระราม เทวะ วานร อวตารพระรุทร
มนตร์ॐ हनुमते नमः (โอม หนุมะเต นะมะห์)
อาวุธคทา
ตรีเพชร
คัมภีร์รามเกียรติ์ รามายณะ หนุมานฉาลีสา
เป็นที่นับถือในกิษห์กินธา
อโยธยา
ลงกา
เทศกาลหนุมานชยันตี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด

กิษห์กินธา
(ปัจจุบันคือ หัมปี รัฐกรณาฏกะ อินเดีย)[ต้องการอ้างอิง]

บิดา-มารดาพระพาย (บิดาทางจิตวิญญาณ)
สวาหะ (มารดาในรามเกียรติ์)
เกสริน (บิดาในรามายณะ)[1]
อัญชนา (มารดาในรามายณะ)[1]
พี่น้องภีมะ (น้องชายทางจิตวิญญาณ)

นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์

นางสวาหะ จาก บท ละคร เรื่อง รามเกียรติ์

หนุมาน (สันสกฤต: हनुमान्; ฮินดี: हनुमान) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ หาวเป็นดาวเป็นเดือน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่น ๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า

ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี รัศมีโชติช่วงในเวหา

มีกุณฑลขนเพชรอลงการ์ เขี้ยวแก้วแววฟ้ามาลัย

หาวเป็นดาวเดือนระวีวร แปดกรสี่หน้าสูงใหญ่

สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกร แล้วลงมาไหว้พระมารดร

หนุมาน เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก สามารถสำแดงเดชต่าง ๆ ได้หลายประการ เช่น การขยายร่างกายให้ใหญ่โต การยืดหางให้ยาว เป็นต้น นอกจากนี้ หนุมานยังได้ชื่อว่าเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นบุตรของพระพาย (ลม) กับนางสวาหะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่มีลมพัดมา หนุมานก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ด้วยอำนาจของพระพายผู้เป็นบิดา

บุคลิกของหนุมานเป็นตัวแทนของชายหนุ่มทั่วไป คือ รูปงาม มีนิสัยเจ้าชู้ และ มีภรรยามาก เช่น นางสุพรรณมัจฉา ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งตน คือ มัจฉานุ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ลิงเผือกกับปลา นั่นคือ มีกายเป็นลิงเผือกเหมือนหนุมาน แต่หางนั้น กลับเป็นหางของปลา นางเบญกาย บุตรีของพญาพิเภก หนุมานได้นางเบญกายตอนที่ นางเบญกายจำแลงกายเป็นศพของ นางสีดาลอยทวนน้ำมา เพื่อหลอกพระรามให้เสียพระทัย แต่ภายหลังกลนี้ถูกจับได้ พระรามจึงให้หนุมานพานางเบญจกายไปส่งกลับเมือง ซึ่งทั้งคู่มีลูกด้วยกัน ชื่อว่า อสุรผัด

ตลอดเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง

  1. ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา
  2. ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล
  3. เมืองลพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว

เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้ว พระรามได้สถาปนาให้เป็น "พระยาจักรกฤษณ์พิพรรธพงศา" และยกกรุงอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แต่หนุมานได้ถวายคืนพระราม เพราะสำนึกว่าตนไม่สูงศักดิ์พอ พระรามจึงยกเมืองลพบุรีให้ครองแทน

กำเนิด[แก้]

หนุมานมีตำนานกำเนิดต่างๆ กันได้แก่[2]

  • มารดาเป็นนางฟ้าชื่อว่าอัญจนา แต่ถูกสาปให้เป็น "วานรี" บิดาคือพระพาย
  • มารดาคือนางสวาหะ พระอิศวรมอบให้พระพายนำเทพอาวุธทั้ง ๓ อย่าง ๑.คฑา ๒.ตรีเพชร ๓.จักรแก้วและกำลังในกายของตนทิ้งเข้าในปากนางสวาหะจนนางตั้งครรภ์ แต่กำหนดให้พระพายรับเป็นบิดา

ลักษณะของหนุมาน[แก้]

กายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวแก้ว (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร

เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย

ภรรยาและบุตรของหนุมาน[แก้]

1. นางบุษมาลี เป็นภรรยาคนแรกของหนุมาน ได้พบกันเมื่อหนุมาน ชมพูพาน และองคต จะเดินทางไปกรุงลงกาเพื่อสืบข่าวนางสีดา ระหว่างทางไปเจอเมืองเมืองหนึ่งตั้งอยู่กลางป่า ไม่มีทหารอยู่เลย หนุมานแปลกใจจึงขอเข้าไปดู ก็ได้พบกับ “นางบุษมาลี” นางฟ้าที่พระอินทร์สาปให้มาอยู่ในเมืองนี้แต่เพียงผู้เดียว สาเหตุเพราะนางดันไปเป็นแม่สื่อแม่ชักให้แก่นางสนมของพระอินทร์กับท้าวตาวัน โดยนางบุษมาลีจะพ้นจากคำสาปได้ก็ต่อเมื่อทหารเอกของพระรามที่หาวเป็นดาวเป็นเดือนโยนนางกลับขึ้นไปบนท้องฟ้าส่งนางไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เมื่อหนุมานได้เจอนางบุษมาลีก็นึกรัก มีใจปฏิพัทธ์ต่อนางทันที ดังนั้นเมื่อสอบถามจนรู้ความ ก่อนจะโยนนางกลับขึ้นสวรรค์ หนุมานก็ได้นางเป็นเมียเสียก่อน แต่ถึงจะรักนางบุษมาลี หนุมานก็ไม่ยอมให้เรื่องผู้หญิงทำให้เสียงาน และก็ไม่ลืมสัญญาที่จะส่งนางกลับขึ้นสวรรค์

รักแรกของหนุมานกับนางฟ้าก็เป็นรักที่แสนสั้น และไม่ได้มีลูกด้วยกัน

2. เบญกาย ธิดาของพิเภก ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดามาแล้วก็วางแผนที่จะให้พระรามเลิกตามนางสีดา จึงให้ “นางเบญกาย” หลานสาวแปลงกายเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมา ทำให้พระรามที่ได้พบศพเสียใจมาก แต่หนุมานผู้มีปฏิภาณดีมาก สังเกตเห็นว่าศพนี้ไม่น่าจะใช่นางสีดาตัวจริง จึงให้พิสูจน์ด้วยการเผาร่างนั้น นางเบญกายทนร้อนไม่ไหวก็ปรากฏตัวจริงออกมา พระรามให้พิเภกผู้เป็นพ่อเป็นผู้พิพากษาลงโทษเอง พิเภกให้ประหารชีวิตเพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดี แต่พระรามเห็นใจจึงยกโทษให้ และให้หนุมานพากลับไปส่งที่กรุงลงการะหว่างทางหนุมานก็ได้เกี้ยวพาราสีจนได้นางเบญกายเป็นเมียอีกคน มีบุตรกับหนุมานคือ อสุรผัด

3. สุพรรณมัจฉา เป็นนางเงือก ธิดาของทศกัณฐ์ ได้เป็นภรรยาขณะจองถนนข้ามกรุงลงกา มีบุตรคือ มัจฉานุ

4. นางวารินทร์ ได้ขณะตามล่าวิรุญจำบัง

5. นางมณโฑ ได้มาโดยการใช้เล่ห์กลขณะปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์

6. นางสุวรรณกันยุมา ทศกัณฐ์ประทานให้ ขณะเสแสร้งแปรพักตร์ (นางเคยเป็นภรรยาอินทรชิต)

หนุมานในประเทศต่าง ๆ[แก้]

เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง "รามายณะ" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย[3] ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้น ๆ เช่น หนุมานในรามายณะของอินเดียไม่มีความเจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย[4]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

เนื่องจากหนุมาน เป็นตัวละครที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคมไทย ดังนั้นหนุมาน จึงถูกใช้เป็นสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประเภท เช่น เป็นตัวนำโชคในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2540 ที่จาการ์ตา รวมถึงเป็นตัวนำโชคในการรณรงค์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559[5] อีกด้วย หรือเป็นตัวเอกในภาพยนตร์ไทย เรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517) หรือหนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (พ.ศ. 2518) หรือดัดแปลงเป็นตัวละคร ชื่อ "เผือก" ในแอนิเมชันสัญชาติไทยเรื่อง ยักษ์ (พ.ศ. 2555) เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ช่อง 8 ได้เอาซีรีส์อินเดียเรื่อง หนุมาน สงครามมหาเทพ ซึ่งเน้นประวัติของหนุมานเป็นหลัก มาออกอากาศบนโทรทัศน์​

ดูเพิ่ม[แก้]

  • เห้งเจีย

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 "ใครเป็นแม่หนุมาน? เทียบวรรณคดีไทย VS รามายณะ คลายความสับสน". ศิลปวัฒนธรรม. 2022-05-28.
  2. หนุมานชาญสมร สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ
  3. มหากาพย์รามายณะ
  4. พาลีสองหน้า ไทยรัฐ
  5. [1] Archived 2016-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,.