เมืองสองแคว คือจังหวัดใดในปัจจุบัน

18 ก.ย. 2564

800 views

ขนาดตัวอักษร

    หลายคนคงได้ยินชื่อ “พิษณุโลกสองแคว” “เมืองสองแคว” หรือ “เมืองชัยนาท” มาบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่านี่คืออีกชื่อของ “เมืองพิษณุโลก” แล้วสองชื่อนี้ปรากฏขึ้นเมื่อไร ทีมงาน Backbone MCOT หาคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ

เมืองสองแควมาจากไหน?

    ชื่อนี้เป็นชื่อดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยยุคต้น ๆ ศิลาจารึกของสุโขทัยบางหลักเรียกชื่อเต็มของเมืองว่า “สรลวงสองแคว” ก็มี สาเหตุที่ชื่อนี้เนื่องจากเป็นเมืองที่มีแม่น้ำไหลผ่านเมืองสองสาย คือ แม่น้ำน่าน และ แม่น้ำน้อย ในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ก็ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแควเป็นเวลานานถึง 7 ปี (พ.ศ. 1905 - พ.ศ. 1912)

“เมืองชัยนาท” ไม่ใช่ “จังหวัดชัยนาท”

    “เมืองชัยนาท” ชื่อนี้ปรากฏในหนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” ที่แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ เมื่อปี พ.ศ. 2060 และยังปรากฏในหนังสือลิลิตยวนพ่ายอีกด้วย นอกจากนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนครินทราธิราช ที่ทรงให้พระโอรสคือ “เจ้าสามพระยา” ไปครองเมืองชัยนาท

เมืองสองแคว คือจังหวัดใดในปัจจุบัน

    ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้แสดงหลักฐานจนเป็นที่ยอมรับแล้วว่า “เมืองชัยนาท” ที่เป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองพิษณุโลกนั้น ไม่ใช่เมืองชัยนาทในจังหวัดชัยนาทปัจจุบัน แต่เนื่องจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ ที่เขียนเก่าที่สุด คือ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ” ก็เขียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งห่างจากเหตุการณ์จริงประมาณ 200 กว่าปี และคัดลอกลงมาไม่ได้ทำความเข้าใจ เปลี่ยนชื่อใหม่ตามที่รู้จักกันในสมัยที่เขียนพงศาวดารว่า “พิษณุโลก” นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีจังหวัดชัยนาทอีก ทำให้เข้าใจกันไปว่าเมืองชัยนาทที่เจ้าสามพระยาไปครองนั้นคือจังหวัดชัยนาท


    นอกจากนี้ยังพบหลักฐานยืนยันอีกอย่างหนึ่งคือ “ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์” ในสมัยสุโขทัย ที่กล่าวว่าเจ้าสามพระยามีพระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ของสุโขทัย และขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ ก็เคยเสด็จมาทำบุญที่เมืองสุโขทัย ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธากล่าวว่าทรงครองอยู่ที่เมืองชัยนาทในฐานะลูกหลวง และการที่เจ้าสามพระยาทรงมีเชื้อสายทางราชวงศ์สุโขทัยด้วยจึงสมเหตุผลว่าทรงได้ครองเมืองชัยนาท ที่หมายถึงเมืองพิษณุโลกหรือเมืองสองแควนั่นเอง

เมืองสองแคว คือจังหวัดใดในปัจจุบัน

ภาพศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ จาก จารึกประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ติดตามชมซีรีส์ฟอร์มยักษ์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดอะซีรีส์” ภาคองค์ประกันหงสา ได้ทาง ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00 น.

ขอบคุณข้อมูลจาก

  •     ศิลปวัฒนธรรม. เมืองพิษณุโลก เคยมีอีกชื่อว่า “เมืองชัยนาท” จริงหรือ? เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก link
  •     เอกสารโครงการเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2562 “เปิดตำนาน วังหน้า จากอดีตถึงปัจจุบัน”

เผยแพร่: 16 ก.ย. 2565 23:52   ปรับปรุง: 16 ก.ย. 2565 23:52   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


พิษณุโลก หรือ เมืองสองแคว เป็นเมืองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวของประวัติศาสตร์ รวมถึงธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ควรค่าแก่การไปเยือน มีวัดวาอาราม โบราณสถานที่น่าสนใจมากมาย รวมถึงองค์พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดในไทย

เมื่อมาเยือนเมืองสองแควแล้วจะต้องไม่พลาดมาที่ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” หรือเรียกอีกชื่อว่า ”วัดใหญ่” ตั้งอยู่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นวัดอีกแห่งที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก และเป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดของไทย ซึ่งผู้คนจำนวนมากนิยมมาสักการะกราบไหว้ หากใครไปเยือนจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ไม่ได้ไปนมัสการพระพุทธชินราชจะเสมือนว่าไปไม่ถึงจังหวัดพิษณุโลก


สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 ในยุคสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) และเป็นวัดหลวงตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2458 ปัจจุบันชื่อเต็มเรียกว่า ”วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” ซึ่งภายในวัดประกอบด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย


ภายในวัดมีพระวิหารหลวง ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” หล่อทองสัมฤทธิ์ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก พุทธลักษณะอื่น ๆ กล่าวว่า ”เส้นรอบนอกของพระวรกายอ่อนช้อยพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน” สร้างเมื่อสมัยสุโขทัย ได้รับการบูรณะให้สภาพดี และยังสง่างามสมบูรณ์มาถึงปัจจุบัน


วัดนางพญา
อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก “วัดนางพญา” ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นแหล่งค้นพบพระเครื่องพิมพ์สำคัญ “พระนางพญา” เป็น 1 ในพระชุดเบญจภาคีที่เลิศเลอค่า สันนิษฐานว่า ผู้สร้างพระนางพญาคือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงสร้างพระนางพญาขึ้นในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ. 2090 – 2100


สำหรับชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง เรียกว่า “พระนางพญา” ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ พระนางพญาเป็นสุดยอดพระ หนึ่งในชุดเบญจภาคี พระเครื่องนางพญามีชื่อเสียงทางด้านเมตตามหานิยม โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่เป็นนักปกครองและหัวหน้างาน ต้องดูแลลูกน้องจำนวนมาก โดยจะมีความเชื่อว่าจะทำให้ผู้ใต้ปกครองยำเกรงประดุจ “นางพญา”


วัดราชบูรณะ
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านบริเวณใจกลางเมืองพิษณุโลกเยื้องกับ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และตรงกันข้าม กับวัดนางพญา จะเจอกับ “วัดราชบูรณะ” คาดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และปฏิสังขรณ์ในสมัยพระยาลิไท ในราวต้นรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๔ มีการบูรณะขึ้นอีกครั้ง ภายในวัดมีศิลปะโบราณสถานมากมาย เช่น เจดีย์ใหญ่วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ติดถนนริมฝั่งแม่น้ำน่าน เป็นเจดีย์ทรงกลม ตรงกลางเป็นพระเจดีย์ประธาน ฐานเจดีย์มีลักษณะรูปทรงศิลปะสมัยสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยา


ใกล้กันมีวิหารน้อยเป็นอาคารก่ออิฐไม่ฉาบปูน ขนาดยาว 3 กอง แต่เดิมเป็นวิหารคลุมเฉพาะองค์พระเท่านั้น ส่วนวิหารหลวง มีลักษณะอาคารแบบ ทรงโรง หน้าบรรณเป็นแบบภควัม ภายในกรอบลูบฟักสลักลายแปลงแบบช่อหางโต ลักษณะศิลปกรรมแบบสุโขทัย อุโบสถวัดราชบูรณะ ลักษณะศิลปะสุโขทัย หน้าจั่ว เป็นแบบเก่า คือ แบบจั่วภควัม เช่นเดียวกับ วิหารพระพุทธชินราช บานประตูสลัก ลายเป็นดอก กลีบ แบบดอกลำดวน รอบอุโบสถประดิษฐานเสมา เป็นเสมาคู่ หินชนวน สลักประดิษฐานบนฐานบัวไม่มีซุ้มเป็นเสมายืนแท่น พระประธาน เป็นพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ลงรักปิดทองขนาดหน้าตัก 2.55 เมตร สูง 4.20 เมตร


มีภาพจิตรกรรมบริเวณผนังอุโบสถตอนบนเขียนเรื่อง "รามเกียรติ์" ส่วนด้านล่างติดกับพื้นเขียนเรื่อง "กามกรีฑา" จิตรกรรม เป็นจิตรกรรมสีฝุ่น บนผนังปูน ฝีมือช่างพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองหลวง ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น หอไตรไม้ เป็นอาคารไม้ทรงไทย 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอไตร ชั้นล่างเป็นหอ สวดมนต์ หอไตรเสากลม


วัดเจดีย์ยอดทอง
สำหรับวัดเก่าแก่อีกแห่งของพิษณุโลก “วัดเจดีย์ยอดทอง” สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ คือสมัยสุโขทัย เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาล วัดเจดีย์ยอดทองในปัจจุบันเหลือเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเพียงองค์เดียวที่เป็นศิลปะสุโขทัย ฐานกว้าง 9 เมตร สูง 20 เมตร เฉพาะยอดทรงดอกบัวตูมนั้น ได้เห็นรอยกะเทาะของปูน ทำให้เห็นการเสริมยอด โดยการพอกปูนเพิ่มที่ยอดแหลมของดอกบัวตูม เป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นศิลปะของสมัยสุโขทัย ซึ่งยังคงมี ปรากฏอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกเพียงองค์เดียวเท่านั้น ส่วนพระปรางค์ (พระศรีรัตนมหาธาตุ) ที่วัดใหญ่นั้น ผู้รู้ยืนยันว่าทรงเดิมเป็นแบบดอกบัวตูม ดัดแปลงเป็นแบบปรางค์ สมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ฉะนั้น วัดเจดีย์ยอดทองจะต้องเป็นวัดโบราณ ที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับว่าเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองสองแคว


วัดจุฬามณี
ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ตามถนนบรมไตรโลก-นารถ จะพบกับ “วัดจุฬามณี” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก เป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนสมัยสุโขทัย และยังเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควโบราณก่อนจะมาเป็นเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพารออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป


บริเวณโดยรอบของวัดนี้มี “กำแพงแก้ว” ขนาดกว้าง 49 เมตรยาว 113 เมตร สูง 1.6 เมตร ก่อด้วยอิฐสร้างล้อมศาสนสถานทั้งหมด โดยภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญน่าชม คือ “ปรางค์ประธาน” ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลาง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก


หากใครที่มาเยือนวัดแห่งนี้แล้วจะต้องไม่พลาดมากราบไหว้ขอพร “หลวงพ่อเพชร” เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางขัดสมาธิเพชรบนฐานรองรับองค์ เดิมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งศรีสัชนาลัย ทรงผนวช ณ วัดจุฬามณีแห่งนี้ และเป็นผู้สร้างหลวงพ่อเพชรไว้ ต่อมาหลวงพ่อเพชรได้ชำรุด อดีตเจ้าอาวาสจึงนำปูนมาพอกไว้ หลังจากปูนหลุดกะเทาะออกมาจึงเห็นว่าพระพักตร์ชำรุด พระกรหัก ประชาชนจึงช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อขึ้นมาใหม่ ทำให้พุทธลักษณะของหลวงพ่อเพชรคล้ายศิลปะเชียงแสน และได้มีการนำเพชรมาประดับที่พระเนตรและเม็ดพระศก ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อเพชร” แต่เพชรได้ถูกขโมยไปปัจจุบันประชาชนจึงได้ช่วยกันอนุรักษ์องค์หลวงพ่อไว้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


เมืองสองแควคือจังหวัดใด

ที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายคือแม่น้ำน่านกับแม่น้ำเหตุ เแต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยปลี่ยนทางเดินห่างออกจากตัวเมืองไปแควน้อย ประมาณ 10 กิโลเมตร ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี

เมืองสระหลวงสองแควในสมัยสุโขทัยปัจจุบันอยู่ในจังหวัดใด

----> พิษณุโลกมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที --->ความเป็นมา..

เมืองสองแควและเมืองสระหลวงคือเมืองใด

ข้อความข้างต้นนี้คือ คำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลก เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทานและพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที ฯลฯ โดยที่ตั้งตัวเมืองเก่าอยู่บริเวณวัดจุฬามณี หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบ ...

สองแควหมายถึงข้อใด

สองแคว” เป็นชื่อที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองพิษณุโลก เพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านเมือง คือแม่น้ำน่านกับแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำน่านที่ไหลผ่านตัวเมืองนั้นเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แม่น้ำแควน้อยนั้นไหลจากเทือกเขาทางทิศตะวันออกลงแม่น้ำน่านเหนือตัวเมืองขึ้นไปประมาณ 20 กิโลเมตร