ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

��Ż� �ѵ����� ʶһѵ¡��� ��е��ҡ��� �ѹ��ҡ�� >>

         ������Թ����繻���ȷ���ջ���ѵ���ʵ���ѹ����˭� ������Ѳ������٧�觷��㹴�ҹ��ó��� ��Ż��Ѫ�� �����駴���� ����շ���繤����ԡ ���Ѻ����ʹ㨨ҡ��ǵ��ѹ���ҡ���ռ��ʹ㨿ѧ����ʴ�����֡�ҡ�ú���ŧ���ҧ��ԧ�ѧ��駨ҡ���û ����ԡ� ��Э����

���������ѹ (1500-250 ��͹���ʵ��ѡ�Ҫ) ���¸�����Ф�������ҧ � �ͧ��� ����ѹ���׺�ʹ���ѧ�������ѧ������¡�ú͡���ҷ���ջ�ҡ��ѹ�֡ŧ�˹ѧ��͹�������1500-500 ��͹���ʵ��ѡ�Ҫ �¾��������������¹��������������¡��Ҥ���������Ƿ ��觻�Сͺ���������ҧ

             อินเดียถูกขนาดนามว่าเป็น “จ้าวแห่งจังหวะ” กลองจะทำหน้าที่เพิ่มสีสันเพลงอินเดียให้เร้าใจน่าฟังยิ่งขึ้น กลองต่าง ๆ เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลอวนัทธะมีจำนวนมากกว่า 1,000 ชนิด แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในการแสดงดนตรีมีอยู่ 3 ชนิด คือ มริทังค์ ปักชวัช และตับบล้า

               เครื่องดนตรีจำพวกโลหะ ได้แก่ ระฆัง และฆ้องชนิดต่าง ๆ   เครื่องดนตรีจำพวกหิน ได้แก่ ระฆังราว เครื่องดนตรีจำพวกเส้นไหม ได้แก่ Ch’in เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย 7 สายใช้มือดีด Ch’in เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้เฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง เครื่องดนตรีจำพวกไม้ไผ่ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่แพนไพท์ (Panpine)  เครื่องดนตรีเป็นก้อนจำพวกดิน ได้แก่ เครื่องเป่าเสียงเหมือนขลุ่ยที่สร้างมาจากดินเหนียว ขนาดพอดีกับฝ่ามือ ภายในเจาะให้เป็นโพรง เจาะรูปิด-เปิด ด้วยนิ้วมือเพื่อให้เกิดระดับเสียงดนตรี  เครื่องดนตรีพวกน้ำเต้า ได้แก่ Sheng เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงดนตรีจีน Sheng ประกอบด้วย ท่อไม้ 7 ท่อ ติดตั้งอยู่ในผลน้ำเต้าแห้ง ซึ่งจะใช้เป็นที่พักลม แต่ละท่อจะมีลิ้นฝังอยู่ พร้อมทั้งเจาะรูปิด-เปิดแต่ละท่อด้วย เวลาเล่นจะต้องเป่าลมผ่านผลน้ำเต้าแล้วให้ลมเปลี่ยนทิศทางด้วยท่อทั้ง 7 ท่อ เสียงของ Sheng จะคล้ายเสียงออร์แกนลมของดนตรีตะวันตก

                    มรดกทางวัฒนธรรมของดนตรีอินเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ดนตรีประจำชาติฝ่ายฮินดู และฝ่ายมุสลิม อิทธิพลของดนตรีมุสลิมจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อิทธิพลของดนตรีฮินดูจะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ  วัฒนธรรมทางดนตรีอินเดียจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อเครื่องดนตรี ประเภทของเครื่องดนตรี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ ชาวอินเดียจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ตนเองเคารพนับถืออยู่

  ระบบเสียง  

                 ดนตรีอินเดีย การจัดระบบเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับดนตรีตะวันตกมีโน้ตเต็มเสียง 7 โน้ต โน้ตเพี้ยนเสียงสูงและเพี้ยนต่ำ 5 เสียง บันไดเสียงต่าง ๆ และที่เป็นลักษณะเด่นของดนตรีอินเดีย คือ การนำเสียงในแต่ละบันไดเสียงมาจัดเป็นกลุ่มเสียงเพื่อนำมาใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดการจัดระบบชุดเสียงจากบันไดเสียงหลักนี้จะเรียกว่า ราคะ (Raga) 

  โน้ตเสียงเต็ม  
                  โน้ตเสียงเต็มในดนตรีอินเดีย เรียกว่า สุทธะ สวระ มีทั้งหมด 7 โน้ต คือ สา (sa) รี (re) กา (ga) มา (ma) ปา (pa) ธา (dha) และนี (ni) ซึ่งโน้ตทั้ง 7 นี้ เชื่อว่าเกิดจากการเลียนแบบเสียงร้องของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ดังนี้

สา(sa)เกิดจากเสียงร้องของนกยูงรี(re) เกิดจากเสียงร้องของนกชาดกกา(ga) เกิดจากเสียงร้องของแพะมา(ma) เกิดจากเสียงร้องของนกยางปา(pa) เกิดจากเสียงเสียงร้องของนกกาเหว่าธา(dha) เกิดจากเสียงร้องของกบในฤดูฝนนี(ni) เกิดจากเสียงร้องของช้าง

              เมื่อนำโน้ตเต็มเสียงของอินเดีย ทั้ง 7 โน้ตมาเปรียบเทียบกับโน้ตดนตรีตะวันตก จะได้ ดังนี้

 สา ตรงกับโน้ต C รี ตรงกับโน้ต D กา ตรงกับโน้ต E มา ตรงกับโน้ต F ปา ตรงกับโน้ต G ธา ตรงกับโน้ต A นี ตรงกับโน้ต B

  โน้ตเสียงเพี้ยน   
โน้ตเสียงเพี้ยนมี 5 เสียง มีทั้งชนิดเพี้ยนสูง และเพี้ยนต่ำ

เสียงเพี้ยนต่ำ ในดนตรีอินเดีย เรียกว่า เสียงโคมัล มี 4 เสียง คือ

โคมัล รี (Db) โคมัล กา (Eb) โคมัลธา (Ab) และโคมัล นี (Bb)

เสียงเพี้ยนสูงในดนตรีอินเดีย เรียกว่า ตีวระ มีเพียง 1 เสียง คือ ตีวระมา (F#)

ดังนั้น เสียงที่ใช้ในดนตรีอินเดียในปัจจุบันจึงมีทั้งหมด 12 เสียง เป็นเสียงเต็ม 7 เสียง เพียงเพี้ยน 5 เสียง การเรียกชื่อโน้ตดังกล่าว คือ ชื่อที่เรียกแบบชาวฮินดู ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ สำหรับวัฒนธรรมดนตรีอินเดีย แบบมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้จะมีวิธีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป แต่ระดับเสียงของ 2 ภูมิภาคนับตรงกัน อยู่ในระดับเสียงเดียวกัน


  บันไดเสียงถาตะ            วัฒนธรรมดนตรีแบบฮินดูได้จัดหมวดหมู่บันไดเสียงไว้ 10 ชุด เรียกตามแบบอินเดียว่า 10 ถาตะ หรือ 10 ถาต ระบบนี้ได้รับความนิยม และยึดถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

 ตัวอย่างบันไดเสียงถาตะ 10 บันไดเสียง

    ชื่อ    

 กลุ่มโน้ต  

 กัลยาน  C    D    E    F#  G    A    B    C    พิลาวัล  C    D    E    F    G    A    B    C    ขับมาช  C    D    E    F    G    A    Bb  C    ไกระวะ  C    Db  E    F    G    Ab  B    C    อสาวะรี  C    Db  Eb  F    G    Ab  B    C    โตทิ      C    Db  Eb  F#  G    Ab  B    C    ศรี         C    Db  E    F#  G    Ab  B    C    มาระวา  C    Db  E    F#  G    A    B    C    กาฟี่      C    D    Eb  F#  G    A    Bb  C   

  บันไดเสียงเมลา                       วัฒนธรรมดนตรีแบบมุสลิมได้จัดหมวดหมู่บันไดเสียงได้ 72 ชุด เรียกตามแบบชาวอินเดียใต้ว่า 72 เมลา

  ราคะ (Raga)  
              ราคะ คือ ชุดของเสียงดนตรีที่เลือกมาจากบันไดเสียงถาตะ บันไดเสียงใดบันไดเสียงหนึ่ง จำนวนอย่างน้อย 5 เสียง นำมาจัดระเบียบเรียงไว้เป็นชุด ๆ มีทั้งเสียงขาขึ้นและขาลงเหมือนอย่างดนตรีตะวันตก ราคะแต่ละชุด จะต้องนำไปใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะชาวอินเดียเชื่อว่าการประกอบกิจกรรมใด ๆ จะต้องทำให้เหมาะสมกับกาลเวลา ถ้าทำถูกกาลเวลาพระผู้เป็นเจ้าจะประทานพรให้ ดลบันดาลแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้ แต่ถ้าทำไม่ถูกกาลเวลา พระผู้เป็นเจ้าจะดลบันดาลให้พบกับเคราะห์ร้ายนานาประการ บันไดเสียง 1 บันไดเสียง สามารถนำเสียงต่าง ๆ มาจัดเรียงให้เป็นราคะได้มากกว่า 1 ราคะ 

 ชื่อราคะ โน้ตดนตรีในราคะ เวลาที่ใช้บรรเลง ลลิตา ราคะ C  Db  E  F  F#  A  B  C เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น โยกียะ ราคะ C  Db  F  G  Ab  C หลังพระอาทิตย์ขึ้น พระบาท ราคะ C  D  E  F  G  Ab  B  C สามชั่วโมงแรกหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น สารังคะ  ราคะ C  D  F  G  Bb  C เที่ยงวัน พิมพะลาศรี  ราคะ C  Eb  F  G  Bb  C หลังจากสามโมงเย็น มาระวา  ราคะ C  Db  E  F#  A  B  C ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน บิฮ้าก  ราคะ C  E  F (F#)  G  B  C เวลาเที่ยงคืน


  เสียงโดรน (Drone)  
           เสียงโดรน คือ เสียงครางที่ดังอยู่ตลอดเวลาในขณะที่บรรเลงบทเพลง เสียงโดรนจะทำให้นักดนตรีและนักร้องทราบถึงตำแหน่งของหลักเสียงในราคะที่บรรเลงหรือขับร้องได้ เสียงโดรนเกิดจากเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย อินเดียเรียกว่าตะตะเสียงที่จะนำมาปฏิบัติเป็นเสียงโดรนได้ ก็คือ เสียงที่อยู่สูงกว่าเสียงหลักของราคะในระยะคู่ 5 และคู่ 8 ตัวอย่างเช่น บทเพลงใช้โครงสร้างของเสียงในราคะ E เสียงที่ทำหน้าที่เป็นเสียงโดรน คือ E, B และ E เป็นต้น   ลีลาจังหวะ ตาละ (The Tala)   

             ตาละ คือ ลีลาจังหวะเคาะในดนตรีอินเดีย มีการกำหนดรูปแบบที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ คล้ายกับจังหวะหน้าทับที่ตีประกอบบทเพลงไทย องค์ประกอบของตาละ คือ ความช้าเร็ว และรูปแบบการเคาะจังหวะแบบต่าง ๆ

   ลักษณะการบรรเลงดนตรี    

              การบรรเลงดนตรีอินเดีย โดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ลักษณะ
              1. การบรรเลงเดี่ยว
              2. การบรรเลงวงดนตรี
             วงดนตรีอินเดียส่วนมากจะใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงในขบวนแห่ต่าง ๆ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องหนัง ประกอบด้วยกลองชนิดต่าง ๆ และกลุ่มเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองเพลง ประกอบด้วย วีณา ขลุ่ย รวมทั้งนักร้องด้วย

  เครื่องดนตรีอินเดีย (India Instrumens)  


         การจัดหมวดหมู่ของดนตรีอินดียแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

         1. ตะนะ (เครื่องสาย)

         2.อวนัทธะ (เครื่องหนัง)

        3.สุษิระ (เครื่องเป่า)

        4. ฆะนะ (เครื่องเคาะ)

          เครื่องสายของดนตรีอินเดียที่เก่าแก่ที่สุด คือ วีณา (Vina) เป็นเครื่องดนตรีของชาวอินเดียใต้ มีสาย 7-8 สาย สายส่วนหนึ่งจะใช้บรรเลงทำนองเพลง สายอีกสวนหนึ่งจะใช้บรรเลงเสียงโครน ลำตัวของวีณามีขนาดความยาวประมาณ 1.5 เมตร ส่วนที่เป็นกลุ่มเสียงขนาดใหญ่จะทำด้วยเปลือกผลไม้แห้ง เช่น ฟักทอง หรือน้ำเต้า

            ในแถบภาคเหนือของอินเดียเครื่องสายที่ได้รับความนิยม คือ ซีตาร์ (Sitar) มีสายตั้งแต่ 7-20 สาย ซีตาร์จะมีขนาดเล็กกว่าและเล่นง่ายกว่าวีณา

            สายซีตาร์ 20 สายทำด้วยโลหะ สายจำนวน 7 สายวางพาดบนนมโลหะ ใช้ดีดเป็นทำนองเพลง 5 สายและดีดเสียงโตนิดอีก 2 สาย ส่วนที่เหลืออีก 13 สาย ทำเป็นสายผลิตเสียงซ้อน (Sympathetic Strings) ในปัจจุบันซีตาร์เป็นเครื่องดนตรีของอินเดียที่มีชาวต่างชาติให้ความสนใจฝึกหัดมาก

             อินเดียถูกขนาดนามว่าเป็น “จ้าวแห่งจังหวะ” กลองจะทำหน้าที่เพิ่มสีสันเพลงอินเดียให้เร้าใจน่าฟังยิ่งขึ้น กลองต่าง ๆ เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลอวนัทธะมีจำนวนมากกว่า 1,000 ชนิด แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในการแสดงดนตรีมีอยู่ 3 ชนิด คือ มริทังค์ ปักชวัช และตับบล้า 

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                             Damaru

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                     Dholak

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Garuda

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

 

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                             Kanjira

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Khole

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                          Maddale

 

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Manjira

                          Mridangam

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                        Naghara

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Rudraveena

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Sitar

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                                 Tabla

ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดียสรุป

                            Thavil

                       Veena or Vina

 

Anoushka Shankar - Your Eyes (Sitar Solo)

 From "Concert For George" 2003

Anoushka Shankar plays 'Pancham Se Gara'

Innovative sitar player and composer Anoushka Shankar plays 'Pancham Se Gara' by Ravi Shankar with Tanmoy Bose (tabla) and Kenji (Tampura) at the Neurosciences Institute.


Shujaat Khan sings Amir Khusrau

The concert took place at Trafo (Budapest, Hungary) on 22.11.2008. as the 6th concert of the Masters of Indian Classical Music Series.

ดนตรีวัฒนธรรมอินเดียมีอะไรบ้าง

1. ตะนะ (เครื่องสาย) 2.อวนัทธะ (เครื่องหนัง) 3.สุษิระ (เครื่องเป่า) 4. ฆะนะ (เครื่องเคาะ)

ชาวอินเดียใช้ดนตรีเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นส่วนใหญ่

เป็นดนตรีในแบบแผนศิลปะชั้นสูงที่ได้รับการศึกษาค้นคว้าและ บันทึกเสียงอย่างกว้างขวาง การประสมวงดนตรีของประเทศอินเดียจะมีผู้บรรเลงเพียง ๓-๕ คน ชาวอินเดียใช้ดนตรีทั้งในการบวงสรวง เทพเจ้า และใช้ในการสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้กับผู้คนในสังคมอีกด้วย

ดนตรีอินเดียมีกี่ประเภท

การจัดหมวดหมู่ของดนตรีอินดียแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ตะนะ (เครื่องสาย) 2.อวนัทธะ (เครื่องหนัง) 3.สุษิระ (เครื่องเป่า)

สุษิระเป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

- สุษิระ คือ เครื่องเป่า - อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ - ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ