สินเชื่อปิดหนี้นอกระบบ 2565

39-how-to-convert-informal-debts-into-formal-ones

การเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เข้าสู่หนี้ในระบบ เริ่มจากการแปลงหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่สูง เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ไม่ก่อหนี้นอกระบบก้อนใหม่ ทำรายการรายรับรายจ่าย เพื่อรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อลดหนี้ ประนอมหนี้ ปิดหนี้ และปรึกษาธนาคารเพื่อขอกู้เงินในระบบ

“หนี้” ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้นอกระบบ ซึ่งทุกคนรู้อยู่แล้วว่าผู้กู้จะโดนเอาเปรียบและจะโดนติดตามหนี้ตลอดเวลา ที่สำคัญหนีไม่พ้นดอกเบี้ยที่สูงลิบ จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่มีวันจบ แต่ทุกปัญหามีทางออก ถ้าเป็นหนี้นอกระบบแล้วอยากเข้าสู่ในระบบ ทำตามนี้

คนที่กู้หนี้นอกระบบส่วนใหญ่เกิดจากเงินไม่พอใช้ เช่น ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน เงินในแต่ละเดือนไม่พอใช้ หรือกู้ไปคืนหนี้ก้อนอื่น ดังนั้น คนที่ต้องการแก้หนี้ต้องมีความตั้งใจ มีวินัย โดยเริ่มจากการแก้ไขหนี้ที่มีดอกเบี้ยชำระที่สูง มาแปลงเป็นหนี้ที่มีอัตราการชำระดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และต้องไม่ก่อหนี้นอกระบบก้อนใหม่เด็ดขาด

เพื่อทราบสถานะทางการเงินของตัวเองว่าในแต่ละเดือนมีใช้เพียงพอหรือไม่ ถ้าใช้ไม่พอจะต้องลดค่าใช้จ่ายด้านไหน ซึ่งดูได้จากรายจ่ายที่จดว่ารายการไหนเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือรายการไหนสามารถประหยัด ลดค่าใช้จ่ายได้ เพื่อให้ในแต่ละเดือนมีเงินเหลือ ถ้าไม่สามารถลดรายจ่ายได้ ก็ต้องหารายได้เพิ่ม เช่น ทำอาชีพเสริม หรือถ้ามีสินทรัพย์ที่มีค่า เช่น เครื่องประดับ สินค้าแบรนด์เนม เช่น กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา ต้องนำไปขาย เพราะอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญตอนนี้คือ การปลดหนี้ที่มีให้หมดไปก่อน

เพื่อลดหนี้ ประนอมหนี้ ปิดหนี้ เมื่อมีเงินให้รีบไปชำระหนี้หรือพยายามลดหนี้ลงให้ได้มากที่สุด หรืออาจต่อรองขอผ่อนผันหนี้ เช่น จ่ายดอกเบี้ย และหากมีความพร้อมก็ค่อยจ่ายเงินต้น ที่สำคัญถ้ามีหนี้หลายก้อนให้ปิดหนี้ทีละก้อน เริ่มจากก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อน หรืออาจปิดหนี้ที่สามารถเจรจากับเจ้าหนี้ก่อน

ขอกู้เงินในระบบเพื่อนำไปชำระหนี้นอกระบบ ซึ่งธนาคารหลายแห่งมีแนวทางช่วยเหลือผู้เป็นหนี้นอกระบบ โดยจะขอกู้ในรูปแบบของเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคล มีทั้งแบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แม้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงแต่ก็ต่ำกว่าดอกเบี้ยนอกระบบ และสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ หรือสามารถขอสินเชื่อช่วยเหลือหนี้นอกระบบตามโครงการรัฐ (สอบถามธนาคารที่ร่วมโครงการ)

สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้เทคนิคบริหารจัดการหนี้ ให้มีเงินเหลือใช้ และสามารถเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตได้

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “WMD1101 : หมดหนี้มีออม” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่


ให้คะแนนเนื้อหานี้กี่คะแนน

หลายคนมีหนี้หลายก้อน โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตหลายใบ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ขอยกตัวอย่าง สินเชื่อปิดบัตรเครดิต ที่น่าสนใจรวมถึงโครงการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ที่เป็นมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ดังนี้ 

1. สินเชื่อบุคคล Speedy Loan Balance Transfer ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นบริการโอนยอดหนี้ของบัตรเครดิตอื่นๆ หรือ สินเชื่อบุคคลอื่นๆ มาไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดจบหนี้ผ่อนหนัก แล้วมาผ่อนสบายๆ จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน รับเงินสดเข้าบัญชีธนาคาร พร้อมวงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท และสะดวกสบายกับหลายช่องทางการผ่อนชำระ

2. สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล ย้อนก่อนแย่ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยเพื่อช่วยบรรเทาความกังวลของลูกค้า ด้วยการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในตลาดเพียง 9.99% ต่อปี นานสูงสุดถึง 2 ปี ไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน เพียงเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน ก็สมัครใช้สินเชื่อได้แล้ว

3. สินเชื่อบุคคล Citi สินเชื่อเพื่อลดยอดผ่อน หรือปิดยอดบัตรเครดิต โดยให้วงเงินอนุมัติสินเชื่อบุคคลสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 12-60 งวด และไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

4. UOB i-Cash ของธนาคารยูโอบี อนุมัติวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายเดือนเท่าๆ กันทุกเดือน และคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก รวมถึงไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

5. สินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช ธนาคารซีไอเอ็มบี ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 20,000-2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก และผ่อนสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน

6. สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan ของธนาคารกสิกรไทย มีรายได้ 7,500 บาทขึ้นไป ต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีภาระหนี้ต่อเดือน ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด สามารถสมัครผ่านแอปฯ K PLUS โดยสินเชื่อดังกล่าวไม่ต้องใช้หลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน

นอกจากนี้ยังมีรวมหนี้ และรีไฟแนนซ์ไว้เป็นก้อนเดียว ที่ปัจจุบันหลายๆ ธนาคารได้เข้าร่วมโครงการกับธนาคารแห่งประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ "บ้านดี หนี้เบา" ของธนาคารออมสิน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ : ต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่เข้าเงื่อนไขของมาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่เป็น NPL ปัจจุบันไม่มีหนี้ค้างชำระ และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้

วงเงินให้กู้ : วงเงินให้กู้สูงสุด (LTV) ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (โดยยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ เมื่อรวมกับยอดหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะต้องไม่เกินกว่ามูลค่าของราคาหลักประกัน)

ระยะเวลาสมัคร : ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566

ระยะเวลาผ่อนชำระ: ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สินเชื่อบ้าน ไม่เพิ่มจากเดิม ยกเว้นกรณีมีการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด, สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราดอกเบี้ยช่วงลอยตัวตามสัญญากู้เงิน บวกร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ของธนาคารกรุงไทย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ภายในธนาคารกรุงไทย : สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่มีหนี้ค้างชำระ สินเชื่อบุคคล (ที่ไม่มีหลักประกัน) ได้ทั้งกรณีที่ไม่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ และกรณีที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบุคคลต้องไม่เป็นบัญชีที่มีคำสั่งศาลพิพากษา

คุณสมบัติรวมหนี้สินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินอื่นมากรุงไทย : สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ลูกค้าที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กับธนาคารกรุงไทย และมีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดสินเชื่อบุคคล ที่ไม่มีหลักประกันกับสถาบันการเงินอื่น และไม่มีประวัติการค้างชำระ

การให้ความช่วยเหลือรวมหนี้ภายในธนาคารกรุงไทย : ปรับลดงวดผ่อนชำระ, ขยายระยะเวลากู้, สำหรับสินเชื่อประเภทหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา หรือ Term Loan

การให้ความช่วยเหลือรวมหนี้สินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินอื่นมากรุงไทย : ให้สินเชื่อ Home For Cash สำหรับปิดหนี้สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด จากสถาบันการเงินอื่น หรือผู้ประกอบธุรกิจ แล้วนำมาผูกหลักประกันกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มีอยู่กับธนาคารกรุงไทย

ระยะเวลามาตรการ : ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66

โครงการรวมหนี้สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยของธนาคารกรุงเทพ

คุณสมบัติของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ : มีทั้งรวมหนี้ภายในธนาคาร และการรีไฟแนนซ์โดยรวมหนี้ภายนอกธนาคาร ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ กับธนาคารกรุงเทพนำหนี้สินเชื่อรายย่อย (สินเชื่อบัตรเครดิตและ/หรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมาจดจำนองลำดับถัดไปบนหลักประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีกับธนาคาร)

คุณสมบัติผู้กู้ : เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้

รูปแบบการรวมหนี้ : กรณีมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารกรุงเทพ และมีสินเชื่อรายย่อย (บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล) กับธนาคารกรุงเทพและสถาบันการเงินอื่น, กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย และมีสินเชื่อรายย่อย (บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล) กับสถาบันการเงินอื่น

หลักประกัน : ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย

ส่วนธนาคารอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่