ไม่ได้ อยู่ บนเมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์

 แบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นแบบลิเธียม (Lithium) เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้นานเป็นปี ๆ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ลักษณะจะคล้ายกระดุมหรือเหรียญสีเงิน ถูกวางอยู่ในเบ้าพลาสติกสีดำ และอาจมีแผ่นโลหะติดอยู่เป็นขั้วไฟสำหรับต่อเข้ากับเมนบอร์ด

เมนบอร์ด ส่วนประกอบสำคัญบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเเกนกลางในการเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น CPU, GPU, RAM, HDD เเละอื่นๆ ก็จะมีเมนบอร์ดทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมทุกส่วนเข้าด้วยกัน

เเต่ว่าหน้าที่ของเมนบอร์ดยังไม่ได้มีเเค่นั้น มันยังมาพร้อมกับพรอ์ตการเชื่อมต่อเเบบต่างๆสำหรับอุปกรณ์เสริมภายนอกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อย่าง คีย์บอร์ด เมาส์ หูฟัง หรืออุปกรณ์ต่างๆอีกมากมายที่สามารถจะรองรับได้ ตามที่คุณต้องการใช้งาน  โดยลักษณะของเเต่ละพอร์ตก็จะมีหัวที่ไม่เหมือนกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน

ไม่ได้ อยู่ บนเมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์

- หัวต่อคีย์บอร์ดเเละเมาส์เเบบ PS2 เเม้ว่าพอร์ตนี้จะไม่มีการรองรับเเล้วในเมนบอร์ดรุ่นปัจจุบัน เเต่ในช่วงเเรกๆนั้น นับว่าเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่สำคัญอย่างมาก ไม่งั้นคุณจะไม่สามารถใช้ คียบอร์ดกับเมาส์ได้

- USB 2.0 ใช้เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นสาย USB โดยมีความเร็วในการเชื่อมต่อถึง 480 Mbps

- เชื่อมต่อหน้าจอด้วย Display Port เเละ HDMI อีกหนึ่งพอร์ตที่ขาดไปไม่ได้ ที่จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อผ่านจอมอนิเตอร์ ปัจจุบันเองหน้าจอสมัยใหม่ก็สามารถรองรับภาพได้ถึง 4K เลยนั้นเอง

- หัวต่อจอภาพเเบบ DVI ที่จะใช้เชื่อมต่อสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการ์ดจอ ก็สามารถเชื่อมต่อผ่าน หัวต่อ DVI ได้


- หัวต่อจอภาพเเบบ VGA  เป็นอีกพอร์ตการเชื่อมต่อที่จะบอกว่าตกยุคไปเเล้วก็คงพูดไม่เกินจริง เพราะปัจจุบัน การเชื่อมต่อจอภาพมักจะเป็น HDMI ไม่ก็ DisplayPort นั้นเอง

- พอร์ตการเชื่อมต่อ USB 3.0 โดยความสามารถของพอร์ตนี้ก็ไม่ได้เเตกต่างจาก USB 2.0 เเต่ว่าจะสามารถเชื่อมต่อได้ รับส่งข้อมูลได้ไวกว่า ซึ่งความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากถึง 4.8 Gpbs

- พอร์ตการเชื่อมต่อสายเเลน เพื่อเชื่อมต่อ Internet

- พอร์ตการเชื่อมต่อการ์ดเสียง โดยจะเเบ่งจะเป็นสีเทา สีเเดง เเละสีเขียว เพื่อให้คุณสามารถใช้งานไมค์ หูฟัง เเละลำโพง ได้อย่างสะดวกสบาย

- CPU Socket ฐานรองเพื่อบรรจุ CPU เข้ากับเเผงวงจรภายในคอมพิวเตอร์ โดยลักษณะจะขึ้นอยู่กับรุ่น CPU ที่รองรับการใช้งาน

- Chipset ทำหน้าที่ทั้งควบคุมการทำงานของกลวิธีในการเชื่อมต่อ ทั้งการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรืออุปกรณ์ Input/Output (I/O Devices) และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆบน Mainboard

- DIMM/RAM Slots ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำของ RAM 


- PCle x16 slot ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยการ์ดจอสำหรับกราฟิกการ์ดสมัยใหม่ทั้ง NVIDIA เเละ AMD 


- PCI x1 Slot สำหรับอุปกรณ์เสริมต่างๆที่ต้องการการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง อาทิเช่น Graphics

 Cards, Hard Disk Drive host adapters, SSDs, Wi-Fi และ Ethernet


- M.2 Connector ช่องสำหรับการติดตั้ง M.2 


- SATA ports ช่องสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อรูปเเบบ SATA 


- Front panel connectors ขั้วต่อที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับสายไฟต่างๆที่ถูกโยงมาจากปุ่มสวิตซ์และไฟ

แสดงสถานะที่อยู่บริเวณหน้าเครื่องของตัวเครื่อง


- USB 2 พอร์ตการเชื่อมต่อสำหรับการเชื่อมต่อ USB 2


- USB 3.1 Gen1 header พอร์ตการเชื่อมต่อสำหรับ USB 3.1 Gen 1


- USB 3.1 Gen2 header พอร์ตการเชื่อมต่อสำหรับ USB 3.1 Gen 2


- ATX power connector ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด


- CPU power Connector พอร์ตเชื่อมต่อไฟเลี้ยงเข้า CPU


- BIOS chips Basic Input/Output System BIOS พบในเมนบอร์ดที่ให้คุณเข้าถึงและตั้งค่าระบบคอมพิวเตอร์ของคุณในระดับพื้นฐาน


- CMOS Battery ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับซีมอส เพื่อป้องกันค่าการเซ็ตอัพภายในสูญหาย


- Fan headers สำหรับเชื่อมต่อพัดลม CPU เข้ากับ หัวต่อพัดลมระบบ


- Front panel header ตัวเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดที่ควบคุมการเปิดเครื่อง การรีเซ็ตพลังงาน ลำโพงรหัสเสียงบี๊บ และไฟแสดงสถานะ LED


- TPM header ตัวเก็บข้อมูลความปลอดภัยของบนคอมพิวเตอร์ 


- RGB header ใช้สำหรับเชื่อมต่อแถบ LED และอุปกรณ์เสริม 'ติดไฟ' อื่นๆ กับคอมพิวเตอร์ของคุณ

ไม่ได้ อยู่ บนเมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์

โดยรวมเเล้วพอร์ตการเชื่อมต่อเมนบอร์ด ก็มีความครบจบในตัว ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆนั้นสะดวกมากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยจริงๆสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพราะฉนั้นอย่าลืมตรวจสอบให้ดีว่าเมนบอร์ดของคุณมีพอร์ตการเชื่อมต่อครบถ้วนต่อการใช้งานของคุณมากน้อยเเค่ไหน

เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง


อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่ 

ไม่ได้ อยู่ บนเมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์


1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket)

ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซีพียูเอเอ็มดีรุ่นใดใช้ช็อกเกตไหน


2. ซิปเซต (Chipset)

ซิปเซตทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตจำนวน 2 ตัวคือ  ซิปเซต North Bridge และซิปเซต South Bridge ซิปเซต North Bridge จะทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ปัจจุบันซิปเซต North Bridge ได้ถูกรวมไว้ในตัวซีพียูแล้ว ส่วนซิปเซต South Bridge จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดบนเมนบอร์ด เช่น สล็อตการ์ดจอ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด  I/O (input / ouput) 


3. ช็อกเกตแรม (RAM Socket)

ลักษณะของช็อกเกตแรมที่ใช้งานในปัจจุบัน จะเป็น DDR3 และเริ่มเข้าสู่การใช้งาน DDR 4 บ้างแล้ว ซึ่งช็อกเกตแรมแต่ละรุ่น (ตั้งแต่ DDR1 จนถึง DDR4) จะมีร่องบากที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถใช้งานแรมผิดรุ่นได้ แต่รุ่นเดียวกันสามารถใช้ด้วยกันได้ทุกเมนบอร์ด เช่น DDR3 จะนำไปใส่เมนบอร์ดยี่ห้อใด รุ่นใดก็ได้ที่รองรับช็อกเกต DDR3 


4. สล็อตของการ์ดแสดงผล

สล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผลเพิ่มเติม ปัจจุบันเมนบอร์ดหลายรุ่นจะติดตั้งการ์ดชนิดติดตั้งบนเมนบอร์ดมาให้เลย เนื่องจากซีพียูรุ่นใหม่เองก็สามารถประมวลผลการแสดงผลออกมาได้ในระดับหนึ่ง แต่หากต้องการใช้งานสำหรับงานที่ใช้การแสดงผลสูง เช่น กราฟิก หรือเล่นเกมส์ การแสดงผลบนการ์ดจอออนบอร์ดนั้นอาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงมีการติดตั้งสล็อตการ์ดแสดงผล เพื่อเพิ่มการ์ดจอสำหรับแสดงผล เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของซีพียู

สล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผลนิยมใข้สล็อต PCI Express x 16 เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับและส่งข้อมูลมากกว่า 4GB/s ซึ่งสูงกว่า AGP (สล็อตการ์ดจอรุ่นเก่าปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว) ปัจจุบันสล็อต PCI Express ได้รับการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2 และ 3 โดยมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทุกๆ 2 เท่าของรุ่นเดิม ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการแสดงผลสูงขึ้นด้วยเช่นกัน


5. สล็อต PCI Express x1 

สล็อต PCI Express x1 ทำงานที่ความเร็ว 66 MHz และส่งข้อมูลที่ 64 บิต ทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1066 MB/s สล็อต PCI Express x1 มีไว้ติดตั้งการ์ดที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง หรือ การ์ดแลน เป็นต้น


6. หัวต่อไดร์วต่างๆ

หัวต่อไดร์วต่างๆ มีไว้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม และฟล็อปปี้ดิสก์ ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นเก่า ฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมจะเป็นหัวต่อแบบ IDE มีลักษณะขาเป็นเข็มจำนวน 40 ขา ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว ซึ่งการใช้งานในเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีเฉพาะการเชื่อมต่อแบบ Serial ATA หรือเรียกว่า SATA เท่านั้น ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง ถึง 600 MB/s ในปัจจุบันเป็น SATA3


7. หัวต่อแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง

รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบคือ หัวต่อ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่น จะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง ( 2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ ATX 24 ช่อง

หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นอีก 1 จุด เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันต้องใช้หัวต่อ ATX 12V นี้เพิ่มขึ้นจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V เช่นกัน


8. หัวต่อสายสวิตซ์ควบคุม

ช่องเสียบสายสวิตซ์สำหรับควบคุมการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เปิดเครื่องคอมพิวเตอร​์, รีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์, ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์



9. พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่หลังเมนบอร์ด ได้แก่ ช่องเสียบยูเอสบี ช่องเสียบแลน เป็นต้น

ใช้ร่วมกัน

ป้ายกำกับ

บทความ​คอมพิวเตอร์​

Labels: บทความ​คอมพิวเตอร์​

ใช้ร่วมกัน

ทำแผนที่ด้วย QR Code

โดย shadowrecord มกราคม 18, 2563

ทำแผนที่ด้วย QR Code  มีงานบ้านไหนบอกด้วย เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะแต่งงาน งานบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานฌาปนกิจ  ถ้าหากเป็นเมื่อก่อน คงต้องมานั่งวาดแผนที่ใส่กระดาษ วาดผิดมั่ง ถูกมั่ง เดินทางทีมีหลงทาง ในยุคนี้ 4.0 ซะแล้ว ถ้าจะให้วาดเหมือนเมื่อก่อนก็ยังคงไม่สะดวกกลัวหลงอีกเช่นเคย ฉะนั้น เรามาบอกทางไปบ้านงานด้วยแผนที่ Google map กันเถอะ พิมพ์เยอะจะเจ็บมือ เริ่มเลยดีกว่า แนะนำให้ใช้ PC หรือ Labtop นะครับ เพราะใช้สมาร์ทโฟนสร้างมันจะยุ่งยากและเป็นงงๆเล็กน้อย  1. เข้าที่ Google chrome แล้วพิมพ์คำว่า maps.google.com แล้ว Enter เลยครับ ไม่ต้องมีหลายขั้นตอนให้ยุ่งยาก โดยหน้าตา Google map จะเป็นเหมือนดังในรูป แต่หากเราเข้าเริ่มแรกเลย Google จะแสดงตำแหน่งที่เราอยู่ 2. ถ้าดูในแผนที่ บ้านงาน บ้านเจ้าบ่าว บ้านเจ้าสาวอยู่ตรงไหนของแผนที่น่าจะรู้กันอยู่ ให้เราซูมเข้าไปในแผนที่เลยครับ จากรูปผมจะวางตำแหน่งไว้ใกล้โรงเรียนบ้านตากแดด อ.ตระการพืชผล (หรือจะใช้วิธีพิมพ์ชื่ออำเภอ ชื่อตำบล ชื่อบ้านแล้วค่อยซูมเข้าไปก็ได้ครับ) คงไม่ต้องบอกหรอกเนาะ ว่าบ้านคุณอยู่ตรงไหน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าบ้านคุณอยู่ที่

ใช้ร่วมกัน

1 ความคิดเห็น

อ่านเพิ่มเติม

รวม Code Debug Card Mainboard

โดย shadowrecord มิถุนายน 05, 2556

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ