ผลงาน เด่น ของ ครู ล มุ ล ย มะ คุปต์

     สมัยที่ ฯพณฯ หลวงวิจิตรวาทการ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านประพันธ์บทละครปลุกใจไว้หลายเรื่อง เช่น เลือดสุพรรณ เจ้าหญิงแสนหวี อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความรัก อานุภาพความเสียสละ ซึ่งมีระบำประกอบเพลงสลับฉากหลายชุดได้มีส่วนร่วมในการคิดประดิษฐ์ท่ารำทุกชุด ดังเช่น ชุดระบำเชิญพระขวัญ, ระบำชุมนุมเผ่าไทย, ระบำบายศรี, ระบำใต้ร่มธงไทย, ระบำนกสามหมู่,ระบำชุดในน้ำมีปลาในนามีข้าว, ระบำเสียงระฆัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้ท่ารำของตัวเอกตัวประกอบ โดยร่วมกับหม่อมต่วน ภัทรนาวิกและนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์

ครูลมุล ยมะคุปต์

ลมุล เป็นธิดาของ ร้อยโทนายแพทย์จีน กับนางคำมอย อัญธัญภาติ(เชื้อ อินต๊ะ) เกิดวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงครามปราบกบฏ(กบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕) ลมุลมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้งสิ้น ๘ คน

เมื่ออายุ ๕ ขวบเข้าเรียนวิชาสามัญ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา เรียนได้เพียงปีเดียวบิดาก็นำไปถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ลมุลอยู่ในความดูแลของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์) เมื่ออายุ ๖ขวบได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านละครรำจาก หม่อมครูแย้มละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถ่ายทอดบทบาทของตัวเอกด้านละครใน เช่น อิเหนา หย้าหรัน เป็นต้น หม่อมครูอึ่ง หม่อมละครในสมเด็จพระบัณฑูรฯ (กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ถ่ายทอดในเรื่องของเพลงหน้าพาทย์ และบทบาทอื่นๆ เช่น พระวิษณุกรรม พระมาตุลี อินทรชิต รามสูร เป็นต้น หม่อมครูนุ่ม หม่อมในกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ (พระองค์เจ้าเนาวรัตน์) ท่านเป็นครูนาง ถ่ายทอดบทบาทที่เกี่ยวกับตัวนาง เช่น ศุภลักษณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีครูที่สอนพิเศษ อาทิ คุณท้าววรจันทร์(วาด) เจ้าจอมมารดาเขียน เจ้าจอมมารดาทับทิม เจ้าจอมมารดาสาย เจ้าจอมละม้าย พระยานัฏกานุรักษ์  คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ และท่านครูหงิม ชีวิตการศึกษาที่วังสวนกุหลาบเป็นไปด้วยดี จนกระทั่งกราบบังคมทูลลาจากวังสวนกุหลาบไปรับพระราชทานสนองพระคุณเป็นละครในกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ณ วังเพชรบูรณ์ ร่วมกับเพื่อนละครอีกหลายท่าน ต่อมาเมื่อายุ ๒๐ ปี ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ก็สิ้นพระชนม์ ชีวิตละครที่เคยสุขสบายมาโดยตลอดก็ดับวูบลงทันที ต่างต้องแยกย้ายจากวังกลับไปอยู่กับญาติตามเดิม
เมื่อออกจากวังเพชรบูรณ์ได้ระยะหนึ่ง ก็สมรสกับนายสงัด ยมะคุปต์ มีบุตร-ธิดารวมทั้งสิ้น ๑๓ คน ชีวิตในระยะนี้ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อมาพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร มีความต้องการครูละครฝ่ายพระ จึงปลึกษาพระยานัฏกานุรักษณ์ และได้รับการแนะนำให้ติดต่อนางลมุล ยมะคุปต์ จากนั้นครูลมุล  จึงได้เข้ามาวางหลักสูตรเพื่อจะเปิดโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ เมื่อเริ่มรับราชการนั้นมีอายุ ๒๙ปี ได้ถ่ายทอดความรู้ในการแสดงตัวเอก และระบำมาตรฐานต่างๆให้กับศิษย์ไว้มากมาย
ครูลมุล เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ แต่หลังจากนั้น โรงเรียนนาฏศิลป์ ก็ได้จ้างไว้เป็นครูพิเศษสายนาฏศิลป์ละคร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำโรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ ครูลมุล รู้สึกไม่ค่อยสบายเนื่องจากเป็นไข้หวัด  มีอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลเปาโลฯ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานพระเมตตารับไว้เป็นคนไข้ในพระองค์ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ พักรักษาตัวประมาณ ๑เดือน ก็กลับไปพักผ่อนที่บ้าน แต่คืนต่อมาก็ต้องกลับเข้ารักษษตัวอีกครั้ง จนในตอนสายของวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๖ ครูลมุล ยมะคุปต์ก็จากไปด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี ๗เดือน ๒๘วัน

และมีผลงานด้านละคร ระบำ รำ ฟ้อน ต่างๆ มากมาย แทบจะกล่าวได้ว่า ระบำ รำ ฟ้อน หรือละครเป็นชุดเป็นตอนต่างๆ ที่นักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศึกษาเล่าเรียนกันในหลักสูตรทุกวันนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของคุณครูลมุล  ยมะคุปต์ แทบทั้งนั้น

กำเนิดคุณครูลมุล  ยมคุปต์ หรือ คุณแม่ลมุลหรือ แม่มุลของลูกศิษย์นาฏศิลปทั่วประเทศ เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญธัญภาติ กับ นางคำมอย  อัญธัญภาติ (เชื้ออินต๊ะ) เกิดเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๔๔๘ (สมัยรัชกาลที่ ๕) ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงครามปราบกบฏ (กบฏเงี้ยว พ.ศ.๒๔๔๕)    คุณครู ลมุล ยมะคุปต์  จึงเป็น คนเมืองหรือ คนล้านนาคนหนึ่ง  ที่มีชื่อเสียงและสร้างความภูมิใจให้คนเมืองอย่างยิ่ง ความเป็น คนเมืองของท่าน  คงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในคราวที่ท่านตามสามีของท่าน คือ   ครูสงัด  ยมะคุปต์  ผู้มีฝีมือบรรเลงเครื่องดนตรีได้ทุกชิ้น  มาอยู่ในคุ้มหลวงเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๘ ๒๔๗๔ คุณครูลมุล  ได้รับพระกรุณาจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และได้ช่วยอนุรักษ์ สร้างสรรค์ ฟ้อนของภาคเหนือหลายชุด เช่น ฟ้อนม่านมุยเซียงตา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ  ท่านได้นำการแสดงดังกล่าวมาเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ที่ถูกบรรจุลงในหลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป จนแพร่หลายไปทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน  นับเป็นพระคุณของคุณครูลมุลที่มีต่อศิลปะของ      “คนเมือง”  ที่หลายๆ คนอาจจะมองข้าม การศึกษา     ลมุล เริ่มต้นเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนสตรีวิทยา เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ เรียนได้ปีเดียว พออายุ ๖ ขวบ (พ.ศ.๒๔๕๔ สมัยรัชกาลที่ ๖) บิดาก็นำไปกราบถวายตัวเป็นละคร ณ วังสวนกุหลาบ  แห่งสมเด็จ  พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (ละครวังสวนกุหลาบนี่เอง ที่เป็นต้นแบบการฝึกละครของวิทยาลัยนาฏศิลปปัจจุบัน)  ละครวังสวนกุหลาบ สืบเชื้อสายมาแต่ละครหลวงรัชกาลที่ ๒  ดังนั้น การฝึกละครของวิทยาลัย นาฏศิลป กรมศิลปากร ที่คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ถ่ายทอดไว้ จึงสืบสายละครของหลวง มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเรื่องที่มีประวัติศาสตร์ชัดเจน  ควรที่นักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปทุกคนต้องมีความภาคภูมิใจ    การฝึกนาฏศิลป์ที่วังสวนกุหลาบนั้น มีหลักและวิธีการอย่างเข้มงวดกวดขัน มีตารางการฝึกตั้งแต่เช้าตรู่ และดำเนินไปตลอดวัน ดังนี้๐๕.๐๐ น.             -เริ่มฝึกหัดรำเพลงช้า เพลงเร็ว ที่สนามหน้าพระตำหนัก

 -เมื่อรำเพลงช้าเพลงเร็วจนจบกระบวนท่าแล้ว ผู้ฝึกหัดเป็นตัวพระ  จะแยกไปเต้นเสา (ฝึกหัดเพื่อให้มีกำลังขาแข็งแรง) แล้วแยกไปเต้น  แม่ท่ายักษ์-ผู้ฝึกหัดตัวนาง ก็จะแยกไปเต้นแม่ท่าลิง

                (เหตุที่ต้องฝึกทั้ง พระ นาง ยักษ์ ลิง  เพราะสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก          กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทูลขอสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระเชษฐา ให้ทรงหัดละคร ๔ ตัว พระ นาง ยักษ์ ลิง  เพื่อเป็นตัวละครในวังพระองค์ท่าน ด้วยเหตุนี้ วังสวนกุหลาบ จึงเปิดรับเด็กหญิงมาฝึกละคร รวมแล้ว ๑๐๐ กว่าคน ได้เบี้ยเลี้ยงคนละ ๓ บาท/เดือน การฝึกทั้ง พระ นาง ยักษ์ ลิง เพื่อเล่นละครในเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นโขน ได้)

๐๗.๐๐ น.             -พัก อาบน้ำ

๐๘.๐๐ น.             -รับประทานอาหารเช้า

๐๙.๐๐ น.              -เริ่มเรียนวิชาสามัญ

๑๒.๐๐ น.            -พักกลางวัน

๑๓.๐๐ น.             -ซ้อมการแสดงทั้งโขน-ละคร

๑๖.๐๐ น.             -พักผ่อนตามอัธยาศัย

๒๐.๐๐ น.             -ซ้อมการแสดงเข้าเรื่อง ละครใน ละครนอก ละครพันทาง รวมทั้งโขน

๒๐.๐๐ น.             -เข้านอน

                ตารางการฝึกละครของวังสวนกุหลาบนี่เอง ที่คุณครูลมุล  ยมะคุปต์ นำมาปรับใช้สอนในวิทยาลัยนาฏศิลป (โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์)  และสืบมาเป็นธรรมเนียมถึงปัจจุบัน แม้จะย่อหย่อนลงไปมากแล้วก็ตาม

ท่านครูของคุณครูลมุล  ยมะคุปต์

ก.      ท่านครูที่สอนประจำ คือ หม่อมครูแย้ม ตัวพระ (อิเหนา ย่าหรัน)  หม่อมครูอึ่ง ตัวพระ ยักษ์    (พระวิษณุกรรม พระมาตุลี อินทรชิต รามสูร ฯลฯ)   หม่อมครูนุ่ม ตัวนาง (ศุภลักษณ์)

ข.      ท่านครูที่สอนพิเศษ คือ ท้าววรจันทรฯ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔) เจ้าจอมมารดาเขียน เจ้าจอมมารดาทับทิม เจ้าจอมมารดาสาย เจ้าจอมละม้าย พระยานัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) ท่านครูหงิม  

วิชาการด้านนาฏศิลป์ที่ได้รับถ่ายทอดจากท่านครูวังสวนกุหลาบ

เพลงช้าเพลงเร็ว เพลงเชิด เสมอ พญาเดิน เหาะ โคมเวียน เสมอลาว เสมอแขก เสมอมอญ เสมอพม่า เสมอจีน เสมอฝรั่ง สก๊อต (ระบำฝรั่ง) รำมะนา (ระบำฝรั่ง) ฉากกริช (รำกริชอิเหนา) ฉากพระขรรค์           (รำตรวจพลถือพระขรรค์)  ฉากกระบองยาว (รำตรวจพลถือกระบองยาว) ฉากดาบ (รำตรวจพลถือกระบองดาบ) รำตาว (ตาว เป็นมีดยาวชนิดหนึ่ง) รำกริชคู่สะระหม่า (รบกริชอิเหนา)  รำกริชเดี่ยวสะระหม่า (รำกริชอิเหนาตอนบวงสรวง) รำกริชมายูสะระหม่าแขก รำดาบคู่ รำกระบี่ รำทวน รำหอกซัด (ตอนศึกกระหมัง      กุหนิง)  รำง้าว  ไม้จีน ๑๔ ไม้ ไม้บู๊จีน (ไม้รบของตัวกามนีในละครเรื่องราชิราช)  กราวใน กราวนางยักษ์  รำเชิดฉิ่งตัดดอกไม้ (อิเหนาตัดดอกลำเจียก) รำเชิดฉิ่งลักนาง (ย่าหรันลักนางเกนหลง) รำเชิดฉิ่งจับม้า (พระมงกุฎจับม้าอุปการในเรื่องรามเกียรติ์) รำเชิดฉิ่งแผลงศร รำฝรั่งคู่ (อรชุน-เมขลา อุณรุท-อุษา) รำฝรั่งเดี่ยว (อิเหนารำกริช ตอน ใช้บน) ลงสรงปี่พาทย์ ลงสรงสุหร่าย ลงสรงโทน โทนม้า ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง (สองนางรำเบิกโรง ตามบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔) ตระนิมิตร ตระบองกัน ชำนาญ  รำปฐมหางนกยูง (พระมาตุลีจัดพล) โลม-ตระนอน สาธุการ กลมกิ่งไม้เงินทอง (รำเบิกโรงถือกิ่งไม้เงินทอง ใช้หน้าพาทย์เพลงกลม) เสมอมาร เสมอเถร บาทสกุณี เชิดฉาน รุกร้น เสมอข้ามสมุทร กลมพระขรรค์ เพลงช้า-เพลงเร็วนารายณ์ เชิดฉิ่งศรทะนง พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก ตระนารายณ์ (หน้าพาทย์ตระนิมิตรำท่านารายณ์) ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระบรรทมไพร ตระสันนิบาต กลมเงาะ

การแสดงเป็นตัวนายโรงขณะอยู่วังสวนกุหลาบ

ละครใน

เรื่อง อิเหนา                         แสดงเป็น              อิเหนา สียะตรา สังคามาระตา วิหยาสะกำ

เรื่อง อุณรุท                          แสดงเป็น              อุณรุท

เรื่อง รามเกียรติ์                   แสดงเป็น              พระราม พระมงกุฎ อินทรชิต

เรื่อง นารายณ์สิบปาง         แสดงเป็น              พระนารายณ์ พระคเณศ

ละครนอก

เรื่อง สังข์ทอง                      แสดงเป็น              เขยเล็ก พระวิศณุกรรม พระมาตุลี พระสังข์

เจ้าเงาะ

เรื่อง เงาะป่า                         แสดงเป็น              ซมพลา  ฮเนา

เรื่อง พระอภัยมณี               แสดงเป็น              พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร

อุศเรน เจ้ามหุต

ละครพันทาง

เรื่อง พระลอ                        แสดงเป็น              พระลอ

เรื่อง ราชาธิราช                   แสดงเป็น              สมิงพระราม สมิงนครอินทร์

เรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน        แสดงเป็น              พระพันวษา พระไวย พลายบัว

           

ย้ายมาอยู่วังเพชรบูรณ์

                เมื่อคุณครูลมุล อายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปี (พ.ศ.๒๔๖๓-๖๔) ได้ย้ายออกจากวังสวนกุหลาบมาอยู่วังเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก  กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (สร้างเสร็จ พ.ศ.๒๔๖๒) คุณครูลมุลมีหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมตัวละครน้องๆ ซึ่งมี ๔ หมู่ๆ ละ ๓๐ คน (คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ก็เป็นหัวหน้าหมู่ด้วย)  ขณะนี้ครูลมุลถือว่าเป็นข้าหลวงละครรุ่นใหญ่แล้ว

                ชีวิตละครในวังเพชรบูรณ์ นอกจากซ้อมและแสดงแล้ว ยังต้องฝึกตีโหม่งประกอบดนตรี ฝึกทำอาหารหวาน-คาว ฝึกร้อยมาลัย ฝึกตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในภายหลัง ละครวังเพชรบูรณ์อยู่ได้ ๓-๔ ปี ก็เลิกล้ม เพราะทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ สิ้นพระชนม์  (พ.ศ.๒๔๖๖)

 ชีวิตสมรส

            คุณครูลมุล  สมรสกับครูสงัด  ยมะคุปต์ นักดนตรีปี่พาทย์และนักขับเสภา หลังออกจากวังไม่นาน (คง พ.ศ.๒๔๖๘ อายุประมาณ ๒๐ ปี) เพราะในช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๗๔ มีบันทึกว่าคุณครูลมุล ติดตามสามีขึ้นมาอยู่คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้น ความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งขณะอยู่เชียงใหม่ คือ ท่านได้เป็นครูฝึกซ้อม ฟ้อนเทียน     ลอดใต้ท้องช้าง  ให้กับเจ้านายฝ่ายเหนือ เพื่อฟ้อนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

 คุณครูลมุล และครูสงัด ยมะคุปต์ มีบุตร-ธิดา รวม ๑๓ คน แต่เสียชีวิตไป    คน คงเหลือเพียง ๘ คน เป็นผู้หญิงล้วน  ชีวิตในช่วงนี้ของท่านลำบากกว่าอยู่ในวัง แต่ก็ได้เจ้านายหลายท่านเมตตาบ้างในบางโอกาส

พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๗๕ คุณครูลมุลและสามี ได้ไปแสดงละครและสอนดนตรี อยู่ที่เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร  คุณครูเล่าว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เคยลืม

 พ.ศ.๒๔๗๖ คุณครูลมุล ได้ฝึกหัดฟ้อนม่านมุยเซียงตา ฟ้อนเมือง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เพื่อแสดงในพิธีเปิดโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ตามพระราชประสงค์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗นับเป็นการฟ้อนของชาวเหนือครั้งแรกที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ

รับราชการ

พ.ศ.๒๔๗๗ คุณครูลมุล อายุได้ ๒๙ ปี ได้เริ่มรับราชการ ณ โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน) และเป็นผู้ร่วมวางหลักสูตรการสอนละครของโรงเรียน ซึ่งเปิดสอนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๗๗ 

 สิ่งที่นับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดของชีวิตความเป็นครูของคุณครูลมุล  ยมะคุปต์ คือ การได้ถวายการสอนแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ท่านรับราชการจนเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ และได้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร จนสิ้นอายุของท่าน เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๖

ลักษณะเด่นในผลงานของครูลมุล ยมะคุปต์ คือข้อใด

ครูลมุล ยมะคุปต์ (แม่ลมุล) ปรมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย ที่เชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้ทางด้าน ละครพระ ท่านเป็นผู้วางรากฐานของนาฏศิลป์ไทย อันสืบทอดมาแต่โบราณ โดยเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสร้างหลักสูตรการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทยของวิทยาลัยนาฏศิลป แม่ลมุลเป็นผู้ที่มีลีลาการรำที่สวยงาม สง่า เป็นเอกลักษณ์ทางด้านลีลาจนเป็นที่โจทย์ขาน ...

ครูลมุล ยมะคุปต์ เริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ในปีพ.ศ. ใด

เพื่อจะเปิดโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ในวันที่ 17. พฤษภาคม .. 2477. ครูลมุล ยมะคุปต์ ได้เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่ง ครูวิสามัญ และเมื่อท่านอายุมาก ทางโรงเรียนนาฏศิลป

นางลมุล ยมะคุปต์ ได้ปรับปรุงการรำฉุยฉายใด *

การรำฉุยฉายพราหมณ์มีกำเนิดขึ้นในครั้งนั้น และเชื่อกันว่าเป็นศิลปะการร่ายรำที่งดงาม เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ลีลาท่ารำนั้นเชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) สืบทอดผ่านมา แต่รูปแบบท่าร่ายรำในปัจจุบันของกรมศิลปากร เป็นผลงานการปรับปรุงของนางลมุล ยมะคุปต์ อดีตผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัย ...

ครูลมุล ยมะคุปต์ เป็นธิดาของใคร *

ประวัติ ครูละมุล ยมะคุปต์ ชื่อจริง : ละมุน ยมะคุปต์ เกิด : 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448. พื้นเพ : เป็นชาวจังหวัดน่าน เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติกับนางคำมอย