จำนวนผู้ สูงอายุ แต่ละ จังหวัด

จำนวนผู้ สูงอายุ แต่ละ จังหวัด

จากสถิติข้อมูลในปี 2019 จำนวนประชากรโลก 7,713 ล้านคน พบว่า ประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 1,016 ล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก

สำหรับประเทศไทยบ้านเราช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในวัยนี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” โดยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีสัดส่วนของ กำลังแรงงาน : ผู้สูงอายุ : เด็ก อยู่ที่ 4 : 1 : 1 คาดว่าในปี 2579 จะปรับลงไปอยู่ที่ 2 : 1 : 1 และยังกระทบในเรื่องผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

สำหรับปัญหาในระดับประเทศ จะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศจะขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ และการเก็บภาษีที่ลดลงด้วยดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัย จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยจากแนวคิดพฤฒพลัง (Active Ageing) องค์การอนามัยโลก ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Active Ageing 3 ประการ คือ การมีสุขภาพดี มีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงมีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ (Productive Ageing) ยังคงมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางรายได้ และสามารถแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานของประเทศ และลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐได้

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับสถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องให้ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 45 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาการทำงานต่อวันไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และลักษณะงานต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับสถานประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายจ้างงานผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในส่วนของบริษัทเอกชนที่มีนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุจะต้องปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และระยะเวลาการทำงานให้เหมาะสม

สำหรับการดำเนินการของ สอวช. เกี่ยวกับประเด็น “สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด” อยู่ระหว่างศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะอาชีพในอนาคตที่เป็นโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ โดยวิเคราะห์ร่วมกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และมุ่งเน้นไปที่อาชีพที่เป็นการทำงานนอกระบบที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ในแต่ละกลุ่มที่มีระดับทักษะและบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่การใช้ศักยภาพของการอุดมศึกษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเตรียมพร้อมด้านทักษะ และความรู้สำหรับการทำงานให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และกลไกการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดสังคมที่อยู่ร่วมกับความแตกต่างในช่วงวัยได้อย่างมีความสุข

รู้แบบนี้…ก็ถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่า ทุกวันนี้คุณมีแผนสำหรับการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วหรือยัง?

ขอบคุณข้อมูลจาก :

-รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)

-ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

-WHO (2002) Active Ageing, A Policy Framework. Geneva, World Health Organization.

-ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ

-ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป

นับถอยหลัง..ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปีหน้า รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ชี้ ตัวเลขเกิด-ตายต่ำ วัยแรงงานลด แต่อัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาก จับตาประชากรรุ่นเกิดล้านจะทยอยเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 66

จำนวนผู้ สูงอายุ แต่ละ จังหวัด

ในปี 2565 นี้ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ นั่นหมายความว่าประเทศไทยใช้เวลา 17 ปี จากการเป็นสังคมสูงอายุในปี 2548

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ  ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย

ในปี 2513 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพียง 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของประชากรทั้งหมด แต่ในปี 2563 ประชากรสูงอายุได้เพิ่มเป็น 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.1 ของประชากรทั้งหมด

ปัจจุบันประชากรไทยกำลังเพิ่มช้าลงอย่างต่อเนื่องและในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าอัตราการเพิ่มประชากรไทยจะยิ่งช้าลงจนถึงขั้นติดลบ แต่ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุกลับจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงมากผู้สูงอายุ 60ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปี และประชากรสูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 7.1 ต่อปี

โดอีก 20 ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าจำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไปจะมีมากถึง 3.4 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 5.2 ของประชากรทั้งหมด

ประชากรรุ่นเกิดล้านกำลังจะเป็นผู้สูงอายุ” ในแต่ละปีจำนวนเกิดจะมากกว่าจำนวนตาย ในปี 2508 จำนวนเกิดมากกว่าจำนวนตายถึง 4 เท่า แต่ความแตกต่างระหว่างจำนวนเกิดและตายเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

จำนวนผู้ สูงอายุ แต่ละ จังหวัด

ทำให้ช่องว่างระหว่างจำนวนคนเกิดและคนตายในแต่ละปีแคบลงทุกที ในปี 2563 คนเกิดมากกว่าคนตายเพียง 85,930 คน หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มประชากรเพียงร้อยละ 0.12 ต่อปีเท่านั้น

ระหว่างปี 25632583 ประชากรเยาว์วัย (0-14ปี) จะลดลง ในขณะที่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้น โดยปี2562 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าเด็ก ประชากรวัยแรงงานอายุ 15 -59ปี จะค่อยๆลดลงจาก 43 ล้านคนในปี 2563 เหลือเพียง 36 ล้านคน

ในปี 2583 อัตราส่วนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรสูงอายุจะลดลงครึ่งหนึ่งจาก 3.6 คนเหลือเพียง 1.8 คน

ประชากรรุ่นเกิดล้าน ที่เกิดระหว่างปี 2506 -2526 กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุ คนที่เกิดปี 2506 จำนวนเกินล้านคนเป็นปีแรก กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุในปี 2566

ภาพสะท้อนของประชากรสูงอายุไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือในปี 2583 ประชากรไทยจะมีจำนวนลดลงจาก 66.5 ล้านคน เหลือ 65.4 ล้านคน ประชากรเยาว์วัย (0-14ปี) จะมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 16.9 เหลือร้อยละ 12.8 ประชากรวัยแรงงาน ลดลงจากร้อยละ 65 เหลือร้อยละ 55.8

อัตราผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.1 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 31.4ในปี 2583 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 12 ล้านคน เป็น 20.5ล้านคน

จำนวนผู้ สูงอายุ แต่ละ จังหวัด

นอกจากนี้พบว่าอัตราผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) เพิ่มจากร้อยละ 10.9ในปี 2563 เป็นร้อยละ 14.5 ในปี 2583 ทำให้จำนวนผู้สูงอายุวัยต้นจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 10 ล้านคน หากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ยังมีสุขภาพดีมีพลังและยังสามารถทำงานได้จะทำให้สามารถมีรายได้ดูแลตัวเองและทำประโยชน์ให้กับสังคมและครอบครัวได้

จำนวนผู้สูงอายุวัยกลาง (70-79 ปี) แลวัยปลาย (80ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ผู้สูงอายุวัยปลายซึ่งเป็นวัยที่ต้องการการดูแลจะเพิ่มจากประมาณ 1.4 ล้านคนในปี 2563 เป็น 3.4 ล้านคนในปี 2583

///////////////////////

ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี2563 สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ลิงค์แนบนี้