การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สพฐ

ตัวอย่างการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  

ชื่อ  Best Practices คลินิกให้การปรึกษา(รายบุคคลและรายกลุ่ม)

             ระบบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมภาระกิจหลัก  5 ประการ ดังนี้

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

2. การคัดกรองนักเรียน

3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน

4. การจัดกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน

5. การส่งต่อนักเรียน

งานแนะแนวและสมาคมผู้ปกครองและครู     โรงเรียนต้องดำเนินการจัดการประชุมและวางแผนการทำงานเชิงรุกเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับครู ผู้ปกครอง และนักเรียนในการให้การปรึกษา ซึ่งพบว่าคลินิกให้การปรึกษาเป็นงานที่สอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอย่างดี ดังนี้

                1. สอดคล้องกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน พบว่าการที่ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน มาใช้บริการคลินิกให้การปรึกษา เมื่อมาปรึกษาแรกเริ่มอาจรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ แต่หลังจากกระบวนการให้การปรึกษาสิ้นสุดลงบางครั้งพบว่า สิ่งที่เป็นปัญหานั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง อาจเป็นเพียงการวิตกกังวลเท่านั้น ดังนั้นจะทำให้ผู้ใช้บริการคลายความวิตกกังวลลงและหันมาพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไป จึงถือได้ว่าคลินิกให้การปรึกษามีส่วนในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลได้ทางหนึ่ง

                2.  สอดคล้องกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน เป็นที่ทราบดีว่าหนึ่งในวิธีการช่วยเหลือนักเรียนคือวิธีการให้การปรึกษา  ดังนั้นคลินิกให้การปรึกษาซึ่งให้การปรึกษาทั้งนักเรียน  ครูและ

ผู้ปกครอง จึงเป็นวิธีช่วยเหลือให้เกิดการเข้าใจในปัญหาของตนเอง นำไปสู่การหาทางออกให้กับตนเองอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้ปัญหาต่างๆได้รับการคลี่คลายไปในทางทีดี พบทางออกใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจในการจัดการกับปัญหาของตนเองต่อไป

                3.  สอดคล้องกับขั้นตอนการส่งต่อนักเรียน  ในการช่วยเหลือนักเรียนหากค้นพบว่าเกินกำลังของครูและผู้ปกครองที่จะให้การช่วยเหลือ การส่งต่อนักเรียนไปสู่ผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าจะช่วยได้ดียิ่งขึ้นคลินิกให้การปรึกษาประกอบด้วยนักจิตวิทยา พยาบาล แพทย์  และจิตแพทย์ ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้การปรึกษา บุคคลเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปกครอง บางส่วนเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆภายนอกโรงเรียน  การส่งต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ให้เข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุป คลินิกให้การปรึกษาสอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งในส่วนของการเป็นกิจกรรมช่วยเหลือ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนา และการส่งต่อ ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ดังแผนภูมิการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Flow Chart) ซึ่งครอบคลุมตามขั้นตอน การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน  การส่งเสริมพัฒนา  และการส่งต่อ ดังนี้

บทบาทของครู ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 5ภารกิจ ดังนี้

1.  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล    SDQ     การสังเกต   ระเบียนสะสม      สมุดผลการเรียน   -ฯลฯ

- จากการจัดกิจกรรมโฮมรูมด้วยเครื่องมือต่างๆ

- จากการเรียนการสอนในห้องเรียน

- สัมภาษณ์นักเรียน เพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ 

2.  การคัดกรองนักเรียนรายบุคคล  - การให้การปรึกษา (คลินิกให้การปรึกษา)  - กิจกรรมซ่อมเสริม - การติดต่อผู้ปกครอง

- เพื่อนช่วยเพื่อน  ฯลฯ

3.  การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน- กิจกรรมโฮมรูม   - class room metting- คลินิกให้การปรึกษา - ฯลฯ

4.  การจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา  - การส่งต่อภายใน   (คลินิกให้การปรึกษา)  - การส่งต่อภายนอก (คลินิกให้การปรึกษา) - ฯลฯ  

5.   การส่งต่อ

      กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง และ   ชุมชน ที่ต้องการให้โรงเรียนดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นกับนักเรียน ช่วยในการพัฒนานักเรียน  มีที่รองรับในการส่งต่อนักเรียน  นอกจากนี้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ยังช่วยให้ครูมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ซึ่งคลินิกให้การปรึกษาเป็นวิธีการหนึ่งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ช่วยเหลือนักเรียน ครูและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี

 ขั้นตอนการดำเนินงานของคลินิกให้การปรึกษา ได้ดำเนินการตามขั้นตอน PDCA  ดังนี้

P  (Plan)              

1.       ประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู

2.       จัดทำโครงการและงบประมาณเพื่อขออนุมัติ

3.    สำรวจปัญหาและผู้ที่สนใจใช้บริการคลินิก

4.    จัดทำตารางให้บริการร่วมกับทีมวิทยากร  และทำการประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกให้การปรึกษา

5. การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่  รถรับส่งวิทยากร  เอกสาร  อาหาร  เครื่องดื่ม

D (Do)

1. การนัดหมายนักเรียน  ครู  ผู้ปกครองที่ตอบรับการใช้บริการตามความเร่งด่วนของปัญหา

2. งานแนะแนวจะประสานให้ผู้ใช้บริการพบวิทยากรผู้ให้การปรึกษาทั้งเป็นรายบุคคล  และรายกลุ่ม

C (Check)

1. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง ผู้ใช้บริการกรอกแบบประเมินผลและทีมงานแนะแนวสรุปผลแบบประเมินเมื่อสิ้นสุดในแต่ละภาคเรียน  

2. ทีมงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู ประชุมร่วมกันเมื่อสิ้นปีการศึกษา  เพื่อหาข้อที่ควรปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป

A (Action)

นำผลจากขั้น C  มาพัฒนาการให้บริการในปีการศึกษาต่อไป