คํา ถวาย น้ํา พระพุทธ ขึ้น หิ้ง

ต้องเป็นแก้วที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน และเมื่อใช้เสร็จแล้วทุกครั้ง ก็ควรล้างทำความสะอาดก่อนที่จะเติมน้ำใหม่ในทุกวัน 

น้ำเก่า ถวายเสร็จแล้วดื่มได้ไหม?

น้ำเก่าถวายเสร็จแล้ว ควรลาไม่ควรดื่ม นำไปรดน้ำต้นไม้ หรือกรวดน้ำ

ชีวิตจะทำอะไรได้ง่าย คล่องแคล่ว เหมือนสายน้ำ มีชื่อเสียง มีความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความกระหาย มีอายุยืน ผิวพรรณผ่องใส มีพละกำลัง มีปัญญามาก และมีความสุข 

อย่างไรก็ตามหากสะดวกควรเปลี่ยนน้ำที่ถวายทุกเช้าเพื่อความเป็นสิริมงคลให้ตัวเองในทุกวัน แต่ไม่สะดวกจะสุดแท้แล้วแต่เป็นหนึ่งสัปดาห์ครั้งก็ได้ และที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้งเหือดหมดแก้ว.

การนำน้ำถวายบนหิ้งพระเป็นอามิสบูชาอย่างหนึ่ง แสดงถึงความเคารพต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า(พุทธานุสสติ) อยู่เสมอ เพื่อทำการสักการะบูชา นํ้าพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญา เปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ พระเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทำด้วยความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน แต่ยังไง อาหารหรือน้ำที่ถวาย ท่านไม่ได้ฉันแล้ว เพราะท่านนิพพานแล้ว และไม่มีขันธ์แล้ว

จะทำให้เรามีชีวิตชุ่มชื่นเปรียบดังน้ำที่เราได้ถวายไป จิตจะได้นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พอก่อนจะตาย เพื่อนึกว่า เราได้เคยทําความดีนี้ ตายไปก็ไปสวรรค์ และยังทำให้เรารู้จักการให้ การอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 อีกอย่างนึงเราจะได้มีเวลาดูแลหิ้งพระและได้ทำความสะอาดไปด้วย

วิธีการ

1. ควรเป็นน้ำดื่มปากขวด เรายังไม่ดื่มมาก่อน หรือเปิดจากก็อกเครื่องกรองน้ำโดยตรง
2. ควรถวายทุกวัน หากไม่สามารถทำได้จริงๆควรถวายทุกวันพระ
3. น้ำเก่าที่ถวายเสร็จแล้ว ลาแล้ว ไม่ควรดื่ม ควรนำไปรดน้ำต้นไม้ หรือกรวดน้ำ
4. แก้วน้ำควรเป็นแก้วใหม่ไม่เคยถูกใช้มาก่อน เป็นแก้วอย่างดี ควรหาแก้วที่สวยงามที่สุดเท่าที่เราจะหาได้ ไม่ควรใช้แก้วใบเล็กๆ และเมื่อแก้วนั้นเก่า หรือใช้นานแล้ว ควรเปลี่ยนเป็นแก้วใบใหม่
5. ถ้ามีพระพุทธรูป พระอัครสาวก พระสงฆ์อยู่โต๊ะหมู่บูชาเดียวกัน สามารถถวายแก้วเดียวสำหรับทุกๆองค์ได้ ไม่ต้องถวายแยกแก้วละองค์
6. ไม่ควรปิดฝาแก้ว ตอนที่ถวาย หากที่บ้านมีฝุ่นเยอะ ให้เปลี่ยนน้ำทุกวัน หรือเปลี่ยนระหว่างวัน
7. ในขณะที่เราถวายน้ำ ต้องจับแก้วด้วยสองมือยกขึ้นสูงเหนือศีรษะเล็กน้อย น้อมถวายด้วยความศรัทธา กายของเราก็จะน้อมตามใจไปด้วยความอ่อนน้อม ให้ตั้งจิตประดุจหนึ่งว่าพระพุทธองค์ทรงประทับนั่งอยู่ตรงหน้าเราผู้ถวาย และกล่าวคำถวาย “ ข้าพเจ้า ….ชื่อ นามสกุล…ขอน้อมถวายน้ำดื่มนี้เป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา เพื่อสักการะบูชา นํ้าพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญา เปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ พระเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพระองค์โปรดรับน้ำดื่มนี้จากข้าพเจ้าด้วยเถิด ..สาธุ”
8. ถวายเวลาใดก็ได้ ส่วนมากนิยมถวายช่วงเช้าก่อนเที่ยง

……………………………………………..

อานิสงส์การถวายน้ำ ๑๐ ประการ

1. คล่องแคล่วว่องไว
2. มีชื่อเสียง
3. มีความสะอาดบริสุทธิ์
4. ปราศจากความกระหาย
5. มีบริวารมาก
6. อายุยืน
7. มีผิวพรรณผุดผ่อง
8. มีพละกำลัง
9. มีปัญญามาก
10. มีความสุข

อุทกปูชกเถราปทานที่ 2ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ

ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ เสด็จไปในอากาศ เหมือนดวงไฟลุกโพลง เหมือนดวงอาทิตย์ ข้าพระองค์จึงเอาฝ่ามือกอบน้ำโยนขึ้นไปบนอากาศ พระพุทธเจ้าผู้มหาวีระทรงประกอบด้วยพระกรุณาเป็นฤาษีทรงรับแล้ว พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตระ ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงทราบความดำริของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

ด้วยการถวายน้ำนี้ และด้วยการยังปีติให้เกิดขึ้น
ท่านจะไม่ต้อง เข้าถึงทุคติเลย แม้ตลอดแสนกัลป
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ
ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและแพ้
แล้วบรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ในกัลปที่ 6500 ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ 3 พระองค์ มีพระนามว่าสหัสสราช มีสมุทรสาครสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่กว่าชน คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6

ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.(พระสุตตันตปิฎก เล่ม 24 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 – หน้าที่ 318)

อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่แนะนำ ขอให้ท่านลองพิจารณาดูว่าที่กล่าวมานี้ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอย่างไร

อย่างไรก็ตาม การบูชาพระพุทธรูป ที่เหมาะสม คือ บูชาด้วยกุศลจิตทั้งทางกาย มีการไหว้ เป็นต้น ทางวาจา มีการกล่าวคำสรรเสริญพระรัตนตรัย และทางใจ คือ เกิดกุศลจิตบูชาด้วยการน้อมระลึกถึงพระคุณ และ บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตนในกุศลธรรม

ดังนั้นถวายน้ำ ถวายผลไม้ เป็นอามิสบูชาแล้ว อย่าลืมปฏิบัติบูชา ด้วยการสวดมนต์ ทำสมาธิ แผ่เมตตา กรวดน้ำด้วยทุกครั้ง อานิสงค์จะหนุนนำให้เรามีแต่ความสุข มีปัญญา มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป

รวมบทสวดบูชาพระในบ้าน สำหรับไหว้พระที่บ้าน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ใช้ของบูชาอะไรบ้าง ต้องกล่าวคำบูชาอย่างไร มาดูบทสวดไหว้พระที่บ้านพร้อม ๆ กันเลย

คํา ถวาย น้ํา พระพุทธ ขึ้น หิ้ง

หลายคนวางโต๊ะหมู่บูชาหรือหิ้งพระไว้ในบ้าน เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมรวบรวมข้อมูลมาฝากกัน ทั้งการจัดโต๊ะหมู่บูชา การตั้งหิ้งพระ การไหว้พระที่บ้าน รวมถึงบทสวดบูชาพระในบ้าน ทั้งการกล่าวคำถวาย คำสวดลาของไหว้ไว้บูชาพระ ใช้ธูปกี่ดอก ต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูวิธีไหว้พระที่บ้านกันเลย

หลักการจัดหิ้งพระในบ้านตามหลักฮวงจุ้ย ควรหันไปทางทิศเหนือหรือทางประตูบ้าน เป็นทิศที่เรียกได้ว่าดีที่สุด และควรเป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน เช่น ห้องโถงหรือห้องรับแขก เพราะพื้นที่ตรงนี้เปรียบเหมือนหัวใจสำคัญที่มีผลในด้านสุขภาพ ความมั่งคั่ง และความสุข อีกทั้งควรเป็นบริเวณที่โล่ง กว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการตั้งในมุมอับและไม่วางหิ้งพระหันหน้าเข้าบ้าน เพราะอาจลดพลังงานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ที่สำคัญควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ และมีแสงไฟให้หิ้งพระสว่างไสวอยู่เสมอ

  • ธูป 3 ดอก หมายถึง การบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ 
  • เทียน 2 เล่ม หมายถึง พระธรรมวินัยหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 
  • ดอกไม้หรือพวงมาลัย หมายถึง การสักการะพระสงฆ์ 
  • น้ำเปล่า หมายถึง การระลึกถึงน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้า
  • ผลไม้ และขนมหวาน (จะถวายหรือไม่ก็ได้)

ก่อนเริ่มสวดมนต์ควรทำจิตใจให้สงบนิ่ง ตั้งสมาธิ พร้อมกล่าวคาถาบูชาพระในบ้าน โดยเริ่มจากการตั้งนะโม 3 จบ ดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ

สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ

อะภิปูเชมะ อัมหากง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา

โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา

อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อิเมหิ สักกาเรหิ สักกัจจัง อะภิปูชะยามิ 

ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียน

และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้

จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน

จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส เทอญ ฯ

"อะหัง สุขิโต โหมิ"  

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

"อะหัง นิททุกโข โหมิ"

ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์

"อะหัง อะเวโร โหมิ"

ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร

"อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ" 

ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

"อะหัง อะนีโฆ โหมิ"

ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ 

"อะหัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ" 

ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

4. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

"สัพเพ สัตตา"

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

"อะเวรา โหนตุ" 

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

"อัพพะยาปัชฌา โหนตุ" 

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

"อะนีฆา โหนตุ"

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

"สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ"

จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

"อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

"อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

"อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

"อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

"อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

"อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

"อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา"

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

ตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำบูชาว่า

ลูกขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล เพื่อยังประโยชน์เพื่อความสุขความเจริญแก่ลูกด้วยเถิด

การไหว้พระที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน ไม่จำเป็นจะต้องทำเฉพาะวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ที่สำคัญการท่องบทสวดมนต์ไหว้พระ ยังเป็นการช่วยให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีสมาธิมากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็อย่าลืมนำคาถาบูชาพระในบ้านที่นำมาฝากในวันนี้ไปไหว้พระกันนะคะ