ปัญจวัคคีย์ อ่อนน้อมถ่อมตน

พระมหาโมคคัลลานะ

          พระมหาโมคคัลลานะ มีนามเดิมว่า โกลิตะ เป็นบุตรพราหมณ์หัวหน้าหมู่บ้านโกลิดคาม ซึ่งอยู่ใกล็กับหมู่บ้านอุปติสสคาม ท่านมีเพื่อนกินเพื่อนเที่ยวด้วยกัน ชื่ออุปติสสะ ชีวิตในวัยหนุ่มของท่าน ก็เช่นเดียวกับชีวิตพระสารีบุตร คือได้เป็นศิษย์ของอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร เมื่อเบื่อหน่ายลัทธิคำสอนของอาจารย์สัญชัย ก็พากันแสวงหาแนวทางใหม่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิและฟังธรรมจากท่าน จนบรรลุโสดาปัตติผลจึงนำมาบอกแก่โกลิตะ โกลิตะได้ฟังก็บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ทั้งสองจึงพากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า หลังจากบวชแล้ว โกลิตะได้นามเรียกขานในหมู่บรรพชิตว่า โมคคัลลานะ ท่านได้บำเพ็ญเพียรทางจิต ณ หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม

- หลังจากอุปสมบทได้ 7 วัน ผลพวงจากการได้บรรลุพระอรหตผลของท่าน ก็คือ ท่านได้อภิญญา (ความสามารถพิเศษ) คือ มีอิทธิฤทธิ์ด้วย จึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทางมีฤทธิ์มาก และได้รับแต่งตั้งเป็น “อัครสาวก” เบื้องซ้ายคู่กับพระสารีบุตรซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1.เป็นผู้มีความอดทนยิ่ง เมื่อบวชแล้ว พระโมคคัลลานะไปปฏิบัติธรรมอยู่ ณ กัลลวาลมุตตคาม พยายามเพื่อบรรลุผลที่ต้องการแม้ถูกความง่วงครอบงำ ท่านก็พยายามนั่งสมาธิเดินจงกรมไม่ยอมเลิก แสดงให้เห็นถึงการมีความอดทน พากเพียรพยายามสูงยิ่ง แต่ความเพียรเท่านั้นยังไม่พอ ต้องประกอบด้วยความรู้ คือ เพียรอย่างฉลาด พระพุทธเจ้าจึงประทานวิธีการแก้ง่วงให้ท่าน เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ท่านก็เอาชนะความง่วงได้ แล้วบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

2. เป็นผู้ถ่อมตนยิ่ง พระโมคคัลลานะเป็นพระเถระมีอิทธิฤทธิ์ บางครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระบัญชาให้พระโมคคัลลานะใช้อิทธิฤทธิ์ปราบผู้ควรปราบ เพื่อให้เขาหายพยศแล้วนำเข้าหาพระธรรม แม้จะมีฤทธิ์มาถึงอย่างนี้ ท่านกลับเป็นผู้ถ่อมตนยิ่ง ดังวันหนึ่งพระสารีบุตรเห็นท่านมีใบหน้าผ่องใสจึงซักถาม พระโมคคัลลานะตอบว่าท่านได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ครั้นถามว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ไกลมาก ท่านโมคคัลลานะเหาะไปฟังธรรมหรือ พระโมคคัลลานะตอบว่ามิได้เหาะไปฟัง แต่ฟังด้วยทิพยโสต เมื่อพระสารีบุตรชมเชยว่า พระโมคคัลลานะนี้ช่างมีความสามารถเหลือเกิน พระโมคคัลลานะกลับไม่หลงในคำชมนั้น แต่พูดว่า “ความสามารถของข้าพเจ้า เมื่อเปรียบเทียบกับท่านพระสารีบุตรแล้วเพียงเล็กน้อย ดุจก้อนเกลือเล็กๆ วางไว้ใกล้หม้อน้ำใบใหญ่ฉะนั้น” ความอ่อนน้อมถ่อมตนเช่นนี้ เป็นคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี ที่บุคคลควรดำเนินตามเป็นอย่างยิ่ง

3.มีความใฝ่รู้อย่างยิ่ง คุณธรรมข้อนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส เมื่อไปดูมหรสพบนภูเขากับอุปติสสะ (พระสารีบุตร) เกิดความเบื่อหน่าย ใคร่จะแสวงหาแนวทางที่ดีกว่า จึงชวนอุปติสสะไปศึกษาอยู่กับอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร ไมนานท่านก็เรียนจนจบหมดภูมิของอาจารย์ เพราะความใฝ่รู้ของท่าน จึงอยากศึกษาหาความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป และเที่ยวแสวงหาครูอาจารย์อื่นต่อไปจนกระทั่งอุปติสสะได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ มาเล่าให้ฟัง ท่านก็ตั้งใจฟัง จนได้ดวงตาเห็นธรรม ทั้งหมดนี้แสดงถึงความใฝ่รู้ของท่าน จึงทำให้ท่านได้รับความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป จนสำเร็จพระอรหัตผลในที่สุด

  1. องค์ประกอบที่มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือ
    1. ศาสดาและนักบวช
    2. รูปเคารพและศาสนสถาน
    3. นักบวชและศาสนพิธี
    4. ศาสนพิธีและหลักคำสอน
  2. พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู มีคำสอนในเรื่องเดียวกัน ยกเว้นข้อใด
    1. หลักคำสอนในเรื่องพระเจ้า
    2. หลักคำสอนในเรื่องการเสียสละ
    3. หลักจริยธรรมและศีลธรรม
    4. หลักคำสอนเรื่องนรกและสวรรค์
  3. พิธีที่ชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกินขนมปังและดื่มไวน์ที่บาทหลวงส่งให้ เรียกว่าพิธีอะไร
    1. ศีลกำลัง
    2. ศีลแก้บาป
    3. ศีลล้างบาป
    4. ศีลมหาสนิท
  4. ความรัก ความเมตตาระหว่างเพื่อนมนุษย์ เป็นหลักธรรมสำคัญของศาสนาใด
    1. ศาสนาอิสลาม
    2. ศาสนาคริสต์
    3. ศาสนาฮินดู
    4. พระพุทธศาสนา
  5. ในการละหมาด ชาวมุสลิมในประเทศไทยจะต้องทำอย่างไร
    1. ต้องกระทำตั้งแต่จำความได้เป็นต้นไป
    2. ต้องกระทำโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
    3. ต้องกระทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือเช้าและเย็น
    4. ต้องกระทำในมัสยิดหรือในศาสนสถาน
  6. “บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ก็เป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า” เป็นพระธรรมเทศนาของศาสดาองค์ใด
    1. โมเสส
    2. พระเยซู
    3. มหาวีระ
    4. มุฮัมมัด
  7. คำสอนในพระพุทธศาสนาที่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์คือเรื่องใด
    1. อัตตา
    2. อนัตตา
    3. ความหลุดพ้น
    4. การเวียนว่ายตายเกิด
  8. “พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นทฤษฎีสากล” หมายความว่าอย่างไร
    1. เป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ได้
    2. เป็นคำสอนที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง
    3. เป็นคำสอนที่ตรงกับของศาสนาอื่น
    4. เป็นคำสอนที่มุ่งประโยชน์สุขแก่คนทั่วไป
  9. ข้อใดคือศาสดาที่พระพุทธเจ้าระบุให้เป็นตัวแทนหลังจากเสด็จปรินิพพาน
    1. พระอุบาลี
    2. พระอานนท์
    3. พระธรรมวินัย
    4. พระมหากัสสปะ
  10. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกให้แก่ใคร
    1. ปัญจวัคคีย์
    2. ชฎิล 3 พี่น้อง
    3. พระเจ้าสุทโธทนะ
    4. อาฬารดาบสและอุทกดาบส
  11. พีชนิยาม ในนิยาม 5 ของสมุทัย หมายถึงกฎธรรมชาติ เรื่องใด
    1. การสืบพันธุ์
    2. สิ่งไม่มีชีวิต
    3. สภาพแวดล้อม
    4. การทำงานของจิต
  12. เหตุการณ์ใดไม่ได้เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชา
    1. พระรัตนตรัยครบองค์สาม
    2. โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
    3. พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    4. พระพุทธเจ้าแสดงอนัตตลักขณสูตร
  13. ศาสนพิธีใดไม่มีการเจาะจงพระภิกษุผู้รับ
    1. ทอดกฐิน
    2. ถวายผ้าอาบน้ำฝน
    3. ถวายสังฆทาน
    4. ถวายผ้าจำนำพรรษา
  14. พระปัญจวัคคีย์องค์ใดมีคุณลักษณะเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน
    1. พระวัปปะ
    2. พระอัสสชิ
    3. พระภัททิยะ
    4. พระมหานามะ
  15. “เวสสันดรชาดก” ให้แนวคิดสำคัญในเรื่องใด
    1. ทานบารมี
    2. ปัญญาบารมี
    3. วิริยบารมี
    4. ศรัทธาบารมี
  16. บุคคลควรใช้หลักธรรมใดในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข
    1. อริยสัจ 4
    2. อิทธิบาท 4
    3. สังคหวัตถุ 4
    4. พรหมวิหาร 4

Advertisement

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

ปัญจวัคคีย์องค์ใดมีคุณลักษณะเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน *

พระปัญจวัคคีย์องค์ใดมีคุณลักษณะเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน พระวัปปะ

หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์คืออะไร

ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่ ...

ศาสนพิธีใดไม่มีการเจาะจงพระภิกษุผู้รับ *

สังฆทาน คือ ทานที่อุทิศแด่พระสงฆ์ โดยมิได้เจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ที่นิยมและเข้าใจโดยทั่วไปในเรื่องการถวายสังฆทานนี้ ก็คือ การจัดภัตตาหารถวายแด่พระสงฆ์ไม่เกี่ยวกับการถวายทานวัตถุอย่างอื่น ๆ การจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ อย่างนี้ เรียกว่า “ถวายสังฆทาน”