รัฐสภาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

รัฐสภา Parliament  คือ  1 ใน 3 เสาหลัก ที่ประเทศต่างๆ ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ต่างยึดเป็นเสาหลัก นั่นก็คือ นิติบัญญัติ ( ฝ่ายออกฎหมาย และอนุมัติหรือให้ข้อคิดเห็นทางนโยบายกับฝ่ายบริหาร ) ศาลยุติธรรม ( ฝ่ายใช้กฎหมาย) และ บริหาร ซึ่งก็คือ รัฐบาล

รัฐสภาเป็นสถาบันสภานิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักร ( อังกฤษ) เป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ รัฐสภา จึงมีค่า มีความหมาย เป็นเหมือนธรรมนูญ ในการก่อตั้ง และ ดำเนินการ ประเทศไทยเองก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน  2475 ( อีกกี่วันก็จะครบรอบ 89 ปี ) ดังนั้น เราประชาชนควรต้องระลึกจดจำถึงเจตจำนงค์ และบทบาทที่รัฐสภาควรจะมี รวมถึง การเลือกสรร หรือ เลือกตั้ง “ผู้แทนฯ “ หรือ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในรัฐสภา โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัฐสภา ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญมาก เป็นที่ของ “ผู้แทนราษฎร” หรือ ตัวแทนของประชาชน จะมานั่ง หารือ ออกข้อบัญญัติ เป็นกฎหมาย หรือ ตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ แทนประชาชน ฉะนั้น รัฐสภา  ผู้แทนประชาชน จึงมีหน้าที่ ทำงานด้วยการยึดโยง กับเสียงหรือ ความต้องการของประชาชน คนทั้งประเทศ

ปัญหาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่าน กรณี ที่มี ส.ส. ซึ่งได้รับบทบาท เป็นกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ใช้สถานที่ รับเรื่องและ แถลงข่าว กรณี ลุงพล ถูกศาลออกหมายจับ คดีน้องชมพู่ จึงเป็นคำถามอื้ออึงในกระแสสังคม เพราะคำถาม คือ อะไรคือหน้าที่หลักของรัฐสภา และ ผู้แทนราษฎร อะไรคือ “การล่วงละเมิด” อำนาจและขอบเขต ศาล

ความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยน อย่างน่าเป็นห่วงของ รัฐสภาไทย คือ ส่วนหนึ่ง ผู้ที่ทำหน้าที่ในรัฐสภา ไม่ใช่ผู้แทนจากประชาชน ซึ่งก็คือ ส.ว. ( สมาชิกวุฒิสภา) แต่ได้ทำหน้าที่เสมอเสมือน ผู้แทนจากประชาชน มีบทบาท มีอำนาจ สนับสนุน รัฐบาลและนโยบายของรัฐบาล ทำให้ประชาธิปไตยไทย เป็นประชาธิปไตยที่ “ไม่ถึงครึ่งใบ” เพราะประชาชนไม่ใช่ผู้กำหนด ชะตากรรมรัฐบาล

นอกจากนั้น บทบาทของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ตลอดที่ผ่านมา โดเฉพาะฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล หลายคนไม่ได้ทำหน้าที่ ผู้แทน เป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชน กลับกัน กลับทำหน้าที่ ปั่น ป่วน การอภิปราย การนำเสนอ ทวงถาม ตรวจสอบ ของผู้แทนประชาชน ที่พยายามทำหน้าที่ในรัฐสภา และยิ่งกว่านั้น กลับใช้อำนาจ หน้าที่ในฐานะ ผู้แทนราษฎร กระทำเกินขอบเขต ท้าทาย กฎหมาย และจารีตทางการปกครองที่ดีงาม

หันมามอง รัฐสภาไทย อาคารหลังใหม่ ชื่อ สัมปายะสภาสถาน  ที่ก่อสร้างด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้าน จากเงินภาษีประชาชน  เป็นอาคารของรัฐ ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ( เป็นรองแค่ตึกเพนตากอน ของสหรัฐอเมริกา ) ท่ามกลางประเทศที่ทรุดหนักทางเศรษฐกิจ  ท่ามกลางความกังขาต่อความเป็นประชาธิปไตยที่ชาวโลกมอง และความอีหลักอีเหลื่อ ของประชาชนคนไทยที่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย

น่าสงสารประชาชนคนไทย เพราะตั้งแต่หลังรัฐประหาร ( 2557) ขบวนการการภาคประชาชน ได้ถูกกวาดล้าง จับ ขังคุก คุกคาม และฆ่า ไปมาก ที่เหลือก็แตกกระสานซ่านเซ็น ไร้ที่อยู่ ไร้ที่ยืน ระเห็ดระเหเร่ร่อน ไปต่างบ้านต่างเมือง ผลสะท้อนการยอมรับ และ นิ่งเฉยต่ออำนาจเผด็จการ วันนี้ บ้านเมืองกำลังกลียุคเข้าไปทุกที หนำมิซ้ำ ยังถูกกระหน่ำด้วยโรคระบาด การบริหารประเทศที่ไร้ความสามารถ ถลุงงบประมาณไปเปล่าๆ โดยไม่ก่อเกิดประโยชน์ การคอรัปชั่นที่หนักข้อ และ การก่อหนี้ที่ท่วมหัว กำลังทำลายประเทศนี้ทั้งระบบ

คงถึงเวลาที่ ประชาชนคนไทย ต้องลุกขึ้นมาเหนื่อย มาเคลื่อนไหว เรียกร้องหาทางออก หาทางรอด โดยพลัน มิเช่นนั้น ประเทศนี้จะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลาน เพราะวันนี้ คนบางจำพวกไม่ใช่แค่ควบคุมอำนาจการเมือง ทำลายระบอบคุณธรรม ระบอบประชาธิปไตย และ อำนาจบริหาร โดยปราศจาก การมีส่วนร่วม จากประชาชน ยิ่งเวลานี้ มี ส.ส. ใช้ รัฐสภาอันทรงเกียรติ กระทำการลดทอน ทำให้เสื่อมเสียความสำคัญอันสง่างามของเสาหลักอีกด้วย

ผมนึกถึงการเมืองของขบวนภาคประชาชน เสาหลักที่ 4 ที่ควรจะมีและตั้งมั่น โดยเฉพาะในยามที่บทบาทรัฐสภาอยู่ในภาวะง่อนแง่น ฝ่ายค้านไม่มีกำลังตรวจสอบ เสาหลักที่ 4 ต้องทำงาน บทบาทขวนการภาคประชาชน สำหรับการเมืองไทย เป็นสิ่งสำคัญมาตลอดระยะ 30-40 ปี ที่ผ่านมา การเมืองภาคประชาชน   ที่ครั้งหนึ่งเคยฮึกเหิม กล้าหาญ เสียงกึกก้องบนถนนราชดำเนิน ของคนที่รักชาติรักประชาธิปไตยและ รักประชาชน หากวันวานผิดพลาด วันนี้ก็กลับมาแก้ไขได้ การทำให้ถูกต้องไม่มีคำว่าสาย เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา...

สหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองในแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic) ที่มีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (check and balance) ดังนี้

ฝ่ายบริหาร

มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Joseph Robinette Biden, Jr., ผู้นำฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader) ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Mitch McConnell (R-KY) ผู้นำฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Harry Reid (D-NV) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย John Boehner (R-OH) ผู้นำฝ่ายเสียงข้างมาก คือ นาย Kevin McCarthy  (R-CA) ส่วนผู้นำฝ่ายเสียงข้างน้อย คือ นาง Nancy Pelosi (D-CA)

ฝ่ายตุลาการ

ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใดๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ

อำนาจของรัฐสภาสหรัฐฯ (Congress)

อำนาจตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ได้บัญญัติให้อำนาจตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแก่ รัฐสภา (Congress) อันประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ผู้ก่อตั้งสหรัฐฯ ต้องการให้รัฐสภาเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดในการปกครองประเทศ และยกอำนาจของรัฐสภาเสมอกับอำนาจแห่งชาติ พร้อมทั้งกำหนดบทบาทที่ชัดเจนให้กับรัฐสภาในการปกครองประเทศ

มาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ได้ให้อำนาจรัฐสภาในการจัดเก็บภาษี การกู้ยืมและใช้จ่ายเงิน การควบคุมการค้าระหว่างรัฐ การตั้งเงินสำรองของประเทศ การประกาศสงคราม การจัดตั้งและสนับสนุนกองทัพ การจัดตั้งระบบศาลยุติธรรม และการอนุมัติกฎหมายทุกฉบับที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อใช้อำนาจในกิจการเหล่านี้ นอกจากนั้น รัฐสภายังสามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญหรือเรียกประชุมเพื่อการดังกล่าว และมีอำนาจรับรองรัฐใหม่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอำนาจบางอย่างที่แต่ละสภาสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น สภาผู้แทนราษฎรสามารถเลือกประธานาธิบดีได้ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) หรือวุฒิสภาสามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำและความยินยอมตามที่ได้รับการร้องขอเกี่ยวกับสนธิสัญญาและรับรองการเสนอชื่อบุคคลโดยประธานาธิบดีเพื่อดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหารและตุลาการ

สำหรับในกระบวนการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเนื่องจากการประพฤติไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง (impeachment) ทั้ง 2 สภาจะดำเนินการร่วมกัน โดยสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการกล่าวโทษ (impeach) และวุฒิสภามีอำนาจสอบสวน (try) เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรวมถึงประธานาธิบดีด้วย การเรียกประชุมรัฐสภาแต่ละสมัยจะเริ่มต้นในวันที่ 3 มกราคม ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายนของปีที่ลงท้ายด้วยเลขคู่

ความขัดแย้งระหว่างสถาบันในรอบ 2 ศตวรรษที่ผ่านมา สถาบันทางการเมืองซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกอำนาจกันในการเมืองสหรัฐฯ อันได้แก่ รัฐสภา ประธานาธิบดีและฝ่ายบริหาร และศาลสูงและกระบวนการยุติธรรม ต่างแข่งขันกันเพื่อช่วงชิงอำนาจและบทบาทที่โดดเด่นในการปกครองซึ่งเป็นลักษณะที่ผู้ก่อตั้งสหรัฐฯ วางรากฐานไว้ โดยในการร่างรัฐธรรมนูญพวกเขาได้พยายามสร้างผลประโยชน์ที่ตรงข้ามกันและความเป็นคู่แข่งกันระหว่างสถาบันการเมืองทั้ง 3 เพราะต้องการให้มีการแบ่งแยกอำนาจ (separation of power) และการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน (check and balance) ที่ผ่านมาสถาบันทั้ง 3 ต่างผลัดกันมีอำนาจหรือบทบาทสำคัญในการเมืองสหรัฐฯ โดยส่วนมากรัฐสภาจะมีอำนาจมากที่สุด รองลงมาได้แก่สถาบันประธานาธิบดีและในบางครั้งศาลสูงก็ขึ้นมามีบทบาทสำคัญด้วย

กระบวนการออกนโยบายตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 รัฐสภายอมให้ประธานาธิบดีและฝ่ายบริหารครองบทบาทนำในการออกนโยบายระดับชาติ โดยส่วนมากรัฐสภาจะเป็นฝ่ายตอบรับแนวนโยบายและร่างงบประมาณที่เสนอโดยประธานาธิบดี หน่วยงานฝ่ายบริหารหรือกลุ่มผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม รัฐสภาไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้รับรองหรือเป็นตรายางให้กับข้อเสนอนโยบายเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทที่เป็นอิสระในกระบวนการออกนโยบายอันได้แก่บทบาทในการให้ความเห็นอีกด้วย กล่าวคือ รัฐสภาสามารถยอมรับ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือปฏิเสธ นโยบายหรือการของบประมาณที่เสนอโดยฝ่ายอื่นได้

ในกระบวนการออกนโยบาย รัฐสภาสามารถให้ความเห็นที่จะสนับสนุนหรือขัดขวางข้อเสนอนโยบายของประธานาธิดีได้ง่ายกว่าริเริ่มนโยบายเสียเอง ทั้งนี้ เพราะรัฐสภามีอำนาจระงับข้อเสนอนโยบายของประธานาธิบดี ปฏิเสธการขอใช้งบประมาณ หน่วงเวลาหรือปฏิเสธการแต่งตั้งบุคคลโดยประธานาธิบดี ตรวจสอบหน่วยงานฝ่ายบริหาร จัดคณะกรรมการเพื่อเปิดเผยการกระทำผิด และระงับการทำงานฝ่ายบริหารอย่างทั่วไปได้ รัฐสภาสามารถตรวจสอบและตั้งคำถามต่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้พิพากษาศาลสูงและผู้พิพากษาศาลส่วนกลาง (federal courts) สามารถบัญญัติการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมในศาลส่วนกลาง และสามารถพยายามกลับ (reverse) คำพิพากษาของศาลโดยการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนั้น รัฐสภายังสามารถขู่ว่าจะกล่าวโทษ (threaten to impeach) ประธานาธิบดีหรือผู้พิพากษาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการออกนโยบายมักมีลักษณะตั้งรับและขัดขวางมากกว่าและโดยส่วนมากจะแสดงออกมาในรูปแบบของการอภิปราย

อำนาจรัฐสภาที่แบ่งแยกระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในการเมืองสหรัฐฯ สถาบันรัฐสภาไม่เพียงแต่แบ่งแยกอำนาจกับฝ่ายบริหารและตุลาการเท่านั้น แต่ยังต้องแบ่งแยกอำนาจภายในรัฐสภาด้วยกันเองด้วย ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยึดแนวคิดของเบนจามิน แฟรงคลิน ที่ว่าสภานิติบัญญัติควรมีการแบ่งแยกอำนาจ โดยฝ่ายหนึ่งควรดูแลและควบคุมอีกฝ่ายหนึ่ง และควรตอบสนองความต้องการของฝ่ายนั้นๆ พร้อมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดของกันและกันได้ในกรณีที่มีการกระทำผิดร้ายแรงหรือกระทำการที่ไม่ถูกต้อง รัฐสภาสหรัฐฯ จึงถูกออกแบบให้มีลักษณะ 2 สภา (bicameral) ที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะไม่สามารถผ่านกฎหมายหรือนำงบประมาณออกใช้ได้หากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไม่ผ่าน identical laws อย่างไรก็ตาม สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีการแบ่งเขตเลือกตั้งและวาระการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกันมาก กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกที่มีสิทธิโวต 435 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งในแต่ละมลรัฐที่จัดแบ่งตามจำนวนประชากรที่เท่าๆ กัน นอกจากนั้น สภาผู้แทนราษฏรยังประกอบด้วยตัวแทนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจาก ปอโตริโก ดัสทริคท์ ออฟ โคลัมเบีย เวอร์จินไอส์แลนด์ และอเมริกัน ซามัว โดยสมาชิกสภาผู้แทนฯ มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 2 ปี ส่วนสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีวาระ 2 ปี ถูกออกแบบให้ตอบสนองความรู้สึกนึกคิดของประชาชนได้มากกว่า โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักจะอ้างถึงสภาของตนในนามสภาของประชาชน (the peoples House) ส่วนวุฒิสภาซึ่งมีสมาชิกวาระ 6 ปีถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่า แต่มีบทบาทเน้นในการให้คำปรึกษาหารือมากกว่า นอกจากนั้น วุฒิสภายังสามารถใช้อำนาจจำนวนหนึ่งซึ่งสภาผู้แทนฯ ไม่มี คืออำนาจในการให้สัตยาบันสนธิสัญญาและอำนาจรับรองผู้พิพากษา เอกอัครราชทูต สมาชิกคณะรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายบริหาร

การเลือกตั้งสหรัฐฯ

กระบวนการสรรหาตัวแทนพรรคการเมือง

การเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคการเมือง (พรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน) มี 2 แบบ คือ แบบ Caucus และ Primary โดยมีเพียง 12 มลรัฐ และ 3 เขตที่ใช้รูปแบบการเลือกตั้งแบบ Caucus ในขณะที่มลรัฐส่วนมากใช้รูปแบบ Primary การเลือกตั้งทั้งสองแบบมีเป้าหมายที่จะกำหนดจำนวนคณะผู้เลือกตั้ง (delegates) ที่จะไปลงคะแนนเลือกตัวแทนพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค โดยในการเลือกตั้งแบบ Caucus ผู้สมัครแต่ละคนจะได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งตามสัดส่วนของคะแนนเสียงสนับสนุนที่ได้ ในขณะที่การเลือกตั้งแบบ Primary ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงที่สุดจะได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งของรัฐนั้นไปทั้งหมด ทั้งนี้ จำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐจะแตกต่างกันไป รวมทั้งสิ้น 4,322 คน ดังนั้น ผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรคลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งอย่างน้อย 2,162 คน

ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคที่จัดขึ้นในทุกรัฐแล้ว คณะกรรมการพรรคแห่งชาติ ทั้ง Democrat National Committee และ Republican National Committee จะกำหนดจัดให้มีการประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) เพื่อให้คณะผู้เลือกตั้งลงมติยืนยันเลือกบุคคลที่จะมาการเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของพรรคเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จึงนับว่าเป็นการสิ้นสุดกระบวนการเลือกตั้งขึ้นต้น (primary election) เพื่อเริ่มต้นสู่กระบวนการเลือกตั้งทั่วไป (general election)

กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แม้ว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนสหรัฐฯ แต่ในกระบวนการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยประชาชนเป็นผู้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งคณะผู้เลือกตั้งมีทั้งหมด 538 คน (จำนวน Electoral College กำหนดจากจำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 435 คน วุฒิสมาชิก 100 คน และผู้เลือกตั้งจากกรุง Washington D.C. จำนวน 3 คน)

การเลือก Electoral College นั้น ในแต่ละมลรัฐ แต่ละพรรคจะเลือกสรรชุด “คณะผู้เลือกตั้ง” ของตนไว้ก่อน ในวันเลือกตั้ง หากประชาชนต้องการที่จะเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคใดก็ให้เลือกจากผู้สมัคร Electoral College พรรคนั้น ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงข้างจากประชาชนมาก จะได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งทั้งชุดที่พรรคได้เตรียมได้ เรียกว่า winner-take-all’s system

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้นผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด คือ ต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง เกิน 270 เสียง ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดี ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. ของปีถัดจากปีที่มีการเลือกตั้ง

รัฐสภาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญยังไง

รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ...

ข้อใดเป็นลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนรูปหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลมาจากการแต่งตั้ง หรือสามารถถูกถอดถอนได้โดยผู้แทนราษฎร ภายใต้ระบบดังกล่าว การปกครองจะเป็นการมอบหมายกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และอยู่ภายใต้การทบทวน ตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างต่อเนื่องของรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐธรรมนูญ

ในประเทศไทย มีชื่อเรียกโดยอธิบายถึงระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมกับระบบรัฐสภาว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ซึ่งเรียกรวมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยระบบรัฐสภา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รัฐสภาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสภานิติบัญญัติระดับชาติของประเทศไทย เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติอันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2564 บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการปกครองโดยใช้ระบบ ...

รัฐสภาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญยังไง ข้อใดเป็นลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ระบบรัฐสภา ประมุข การปกครองแบบประธานาธิบดี หลักการเชื่อมโยงอํานาจในการปกครอง แบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขเป็นอย่างไร หลักดุลแห่งอํานาจในการปกครองแบบ รัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นอย่างไร ระบบรัฐสภาไทย ระบบรัฐสภา ประมุขฝ่ายบริหาร การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีกี่รูปแบบ