โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

การโอนเงิน PayPal เข้าธนาคาร

การโอนเงินหรือถอนเงินจาก PayPal เข้าสู่ธนาคาร มีขั้นตอนที่ง่ายมาก

  • เมื่อทำรายการเสร็จแล้ว โดยทั่วไปจะใช้เวลา 5-7 วันเงินถึงจะเข้าบัญชีธนาคาร
  • แต่กรณีที่เป็นวันหยุด อาจจะใช้เวลาที่นานกว่าปกติ
  • โปรดทราบว่าชื่อบัญชี PayPal กับชื่อบัญชีธนาคาร จะต้องเป็นชื่อบุคคลเดียวกันเท่านั้น

ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน,ถอนเงิน

สำหรับสกุลเงิน THB, ที่ตั้งธนาคารประเทศไทย

  • ฟรีค่าธรรมเนียม - หากถอนเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป
  • มีค่าธรรมเนียม 50 บาท - หากถอนเงินน้อยกว่า 5,000 บาท

สำหรับสกุลเงิน USD, ที่ตั้งธนาคารสหรัฐอเมริกา

  • มีค่าธรรมเนียม 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อรายการถอนเงิน

การโอนเงิน PayPal ขั้นตอนที่ 1

1. เมื่อ Login หน้าเว็บไซต์เรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม "โอนเงิน"

  • ในแถบด้านซ้ายของหน้าจอ สรุปข้อมูลบัญชี

โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

2. จากนั้นเลือกสกุลเงินที่ต้องการโอน

  • กรณีที่บัญชีของคุณ มีการใช้งานหลายสกุลเงิน

โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

3. เลือกธนาคารที่ต้องการโอนเข้า

  • หากคุณยัง ไม่เคยเพิ่มบัญชีธนาคาร มาก่อน
  • โปรดดูวิธีการ:
  • โปรดทราบว่าชื่อบัญชี PayPal กับชื่อบัญชีธนาคาร ต้องเป็นชื่อบุคคลเดียวกัน

โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

4. กรอกจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าธนาคาร

  • ระบบจะคำนวนค่าธรรมเนียม + อัตราแลกเปลี่ยนให้โดยอัตโนมัติ

โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

5. ตรวจสอบความถูกต้อง

  • โปรดตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง ก่อนที่จะยืนยันการทำรายการ
  • หลังจากทำรายการแล้ว โดยทั่วไปจะใช้เวลา 5-7 วันเงินจึงจะเข้าสู่ธนาคาร

โอนเงิน paypal ค่าธรรมเนียม

หากคุณประสบปัญหาในการโอนเงิน

คุณสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของ PayPal ได้โดยตรง ผ่านทางอีเมล์หรือโทรศัพท์

  • เบอร์ติดต่อแผนกบริการลูกค้า: 02-787-3409
  • เวลาทำการ 8:00-17:00 น. (จันทร์ - ศุกร์)
  • วิธีใช้งานเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการ www.paypal.com

Disclaimer

  • โปรดทราบว่าบทความนี้เป็นเพียงการสรุปข้อมูลการใช้งานทั่วไปเท่านั้น
  • จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ และไม่ถือเป็นการชี้ชวนให้สมัครหรือใช้บริการใดๆทั้งสิ้น
  • โปรดทราบว่าทางเราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมใดๆของผู้ให้บริการ
  • ทางเราไม่สามารถรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่แสดงได้ทั้งหมด
  • เนื่องจากผู้ให้บริการอาจมีการอัพเดทเนื้อหาใหม่หรือนโยบายแบบใหม่
  • โปรดทราบว่าทางเราได้ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อพยายามให้เนื้อหามีการ Update อย่างต่อเนื่อง
  • แต่การ Update ข้อมูลอาจเกิดความล่าช้า ซึ่งหากท่านพบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโปรดกรุณาแจ้งให้เราทราบ

Share this content.

ก่อนที่จะบอกวิธีในการโอนเงิน ขออธิบายก่อนว่าทำไมต้องเป็น Paypal สำหรับคนที่ไม่รู้ Paypal นั้นเป็นเหมือนตัวกลางหรือคล้ายกับธนาคารออนไลน์ แต่ความสามารถของ Paypal นั้นคือรับส่งเงินออนไลน์ได้ทั่วโลก ไม่ว่าค่าเงินของคุณจะเป็นค่าเงินอะไรก็ตาม ซึ่งค่อนข้างจะสะดวกสบายในการสั่งซื้อของจากต่างประเทศ หรือแหล่งอื่นๆ ที่ยอมรับการชำระเงินผ่านทาง Paypal

ซึ่งข้อดีของ Paypal นั้นคือสะดวก ปลอดภัย และสามารถสมัครใช้ได้ฟรีโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมนั้นจะถูกจัดเก็บเมื่อมีการชำระค่าสินค้าค่าบริการ ส่วนต่างของการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน และค่าบริการเมื่อทำการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารน้อยกว่า 5,000 บาทซึ่งถ้าโอนตั้งแต่ 5,000 บาท จะไม่เสียค่าดำเนินการ 50 บาท

การโอนเงินให้กับบุคคลอื่นหรือการชำระเงินในกับร้านค้านั้น ผู้ซื้ออาจจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการชำระค่าสินค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบจะทำการหักค่าธรรมเนียมก่อนที่จะโอนเข้าบัญชีผู้รับ ส่งผลให้ผู้ขายต้องแบ่งรับภาระในเรื่องค่าธรรมเนียม ซึ่งการจ่ายเงินชำระค่าสินค้านั้นจะถูกหักค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ว่า เป็นสกุลเงินอะไร ชำระให้ร้านค้าเดียว หรือชำระให้กับหลายกลุ่มคน การชำระข้ามประเทศ ซึ่งค่าธรรมเนียมเหล่านี้โดนส่วนใหญ่ผู้ขายจะนำมาคิดเพิ่มในราคาสินค้า ซึ่งควรจะศึกษาและอ่านละเอียดค่าธรรมเนียมในดีเสียก่อน

เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำธุรกรรมทางการเงินบนโลกออนไลน์เป็นที่แพร่หลาย และเนื่องจากสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การชำระเงิน การโอนเงินและการรับเงินต่างประเทศผ่านออนไลน์ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน PayPal เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดี ทว่า การทำธุรกรรมทางการเงินของ  PayPal เริ่มหยุดชะงักจนอาจทำให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้เปิดใช้งานก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2564 ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป PayPal มีข้อจำกัดและการใช้งานที่ยุ่งยาก และค่าธรรมเนียม PayPal แพงมากขึ้นจริงหรือไม่ ลองหาคำตอบกัน

หลักเกณฑ์การโอนเงินผ่าน Paypal ในประเทศไทย

เมื่อ PayPal เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน การโอนเงินและถอนเงินผ่านจึงมีประเด็นที่ทำให้ผู้ใช้งาน Paypal พบกับความยุ่งยากในการใช้งานมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะผู้รับจ้างอิสระ ผู้ขายทั่วไปและผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ เนื่องด้วย ข้อบังคับทางภาษี e-service จากรัฐบาลไทย  PayPal จำต้องออกข้อบังคับที่ทำให้เจ้าของบัญชีจะต้องยอมรับและยินยอมตามสัญญาและเงื่อนไขบริการ ก่อนเข้าใช้บริการภายใต้ Paypal ประเทศไทยได้อีกครั้ง โดยการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ จะมีดังนี้

  • ผู้ใช้งานทุกคนจะต้องยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID)²

  • Paypal อนุญาตให้ผู้ใช้บริการบัญชีบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเฉพาะผู้ที่ถือสัญชาติไทยที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น 

  • การทำธุรกรรมผ่าน PayPal ของผู้ใช้บัญชีเดิมจะถูกจำกัดวงเงินในรอบ 28 วัน สำหรับการชำระสินค้าและบริการต่าง ๆ นอกประเทศไทยอยู่ที่ 50,000 บาท

  • ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ถึงแม้ผู้เปิดบัญชีไม่ได้จดเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม

  • ผู้ใช้บัญชีบุคคลธรรมดาไม่สามารถโอนเงินและรับเงินโอนจากครอบครัวและเพื่อนได้อีกต่อไป รวมทั้ง การเติมเงินเข้าบัญชี PayPal เพื่อชำระสินค้าก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ใช้งานต้องชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตที่เชื่อมโยงกับบัญชี PayPal 

  • อนุญาตให้ถอนเงินเข้าบัญชีในสกุลเงินที่เชื่อมต่อในบัญชี PayPal เท่านั้น โดยการชำระเงินเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยให้ชำระเป็นสกุลเงินบาท สำหรับการชำระเงินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศยังชำระสกุลเงินอื่น ๆ ได้ โดยการแปลงสกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินต่างประเทศและมียอดจำกัดอยู่ที่ 800,000 บาท ต่อวัน

ล่าสุดผู้ที่ยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID ได้โยกย้ายมาใช้งานบัญชี PayPal ประเทศไทยเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15  ธันวาคม 2565 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้บริการได้ตามเงื่อนไขและความเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่หากคุณไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวภายในเวลากำหนด บัญชี PayPal ที่มีอยู่ก็จะถูกจำกัดความสามารถลงอย่างมาก แต่หากยังต้องการใช้บริการโอนเงินของ PayPal ก็ต้องลงทะเบียนเพื่อเปิดบัญชีใหม่ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

  • บัญชีบุคคล PayPal ประเทศไทย (บุคคลธรรมดาในประเทศไทย)

  • บัญชีธุรกิจ PayPal ประเทศไทย (ธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นนิติบุคคล

การโอนเงินและถอนเงินผ่าน PayPal มีข้อจำกัดการใช้งานมากขึ้นซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการโอนเงินต่างประเทศมองหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและค่าธรรมเนียมไม่แพงหรือการทำธุรกรรมผ่านธนาคารท้องถิ่นแทนการจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นแต่สะดวกสบายน้อยลง

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Paypal

บริการ PayPal ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ เป็นคำถามที่เราคงเคยได้ยินกันบ่อยครั้ง ค่าธรรมเนียม PayPal แบ่งออกเป็น 2 ประเภท³

  • เป็นการใช้งานของบัญชีบุคคลธรรมดาที่ต้องการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตและเดบิต ซึ่ง PayPal จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมการชำระซื้อสินค้า เว้นแต่จะมีการแปลงสกุลเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในแง่ของการซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่าน PayPal ด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกหนีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากมีการแปลงเงินไทยเป็นเงินสกุลอื่นทุกครั้งก่อนที่เราจะซื้อสินค้าจากต่างประเทศและค่าเงินที่แปลงนั้นก็เปรียบเสมือนค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายนั่นเอง
สกุลเงินอัตราที่สูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐาน (เพื่อคิดอัตราแลกเปลี่ยนในการทำรายการ)AUD, BRL, CAD, CZK, DKK, EUR, HKD, HUF, ILS, JPY, MYR, MXN ,TWD, NZD, NOK, PHP, PLN, RUB, SGD, SEK, CHF, THB, GBP, USD4%การแปลงสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งหมด3%
  • ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ค้า การทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์ทั้งการซื้อหรือจำหน่ายสินค้าของผู้ใช้งานประเภทบัญชีธุรกิจจะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้นเสมอเมื่อมีการเรียกเก็บเงิน เรียกว่า “การทำรายการเชิงพาณิชย์” โดย PayPal เรียกเก็บค่าธรรมเนียมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจากผู้ค้าอยู่ที่ 3.90% - 4.40% รวมทั้งมี ตามสกุลเงินได้รับ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ค้าอาจบวกค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นรวมไปในราคาสินค้าจนทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น

ค่าธรรมเนียมการถอนเงินจาก Paypal 

โดยทั่วไป Paypal อนุญาตให้ผู้ใช้บริการถอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่ผู้ใช้เปิดการเชื่อมโยงเอาไว้และต้องถอนเป็นเงินบาทไทย ถ้าต้องการถอนยอดคงเหลือในสกุลเงินอื่น คุณจะต้องแปลงสกุลเงินเป็นเงินบาทไทยก่อนโอนเงินเข้าบัญชีในประเทศไทย หรือไม่เช่นนั้นทาง PayPal จะแปลงเป็นสกุลเงินให้คุณขณะกำลังถอนเงิน โดยจะมีการใช้อัตราแลกเปลี่ยนในขณะทำรายการของ PayPal รวมถึงมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินที่มีอัตราสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐาน⁴ 

ประเภทการถอนเงินหรือโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารจากบัญชี PayPal

ประเภทการถอน/ โอนเงินค่าธรรมเนียมถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยมูลค่า 5,000 บาทหรือมากกว่าไม่มีค่าธรรมเนียมถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยมูลค่าน้อยกว่า 5,000 บาทค่าธรรมเนียม 50 บาทการถอนเงินเข้าบัญชีสหรัฐอเมริกาค่าธรรมเนียม 50 USD

การคิดค่าธรรมเนียมการถอนเงินดังกล่าวยังไม่รวมกรณีมีการแปลงสกุลเงิน ซึ่งการชำระค่าใช้จ่ายหรือการทำรายการเชิงพาณิชย์ใด ๆ ที่มีการคืนเงินมักจะคิดค่าธรรมเนียมใน อัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐานเสมอ

นอกจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว ยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมจากการพยายามถอนเงินแต่ไม่สำเร็จ ค่าธรรมเนียมจากการเชื่อมโยงบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ค่าธรรมเนียมชำระเงินหลังจากทำเรื่องขอคืนเงิน ค่าธรรมเนียมการร้องขอข้อมูล เป็นต้น

สรุป

ถึงแม้การชำระเงินด้วย PayPal จะมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน แต่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้ผู้ใช้บริการมีความรู้สึกถึงความไม่แน่นอน บางส่วนของผู้ใช้บริการ Paypal ยังได้รับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจนัก อีกทั้งค่าธรรมเนียม PayPal ที่มีการจัดเก็บหลายส่วน เหล่านี้อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้บริการหันไปมองทางเลือกอื่นในการโอนเงินต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการความช่วยเหลือจากการใช้งานบัญชี PayPal สามารถคลิกอ่านข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่นี่ หรือ ติดต่อ ฝ่ายบริการลูกค้า


แหล่งที่มา
  1. สัญญาผู้ใช้บริการ PayPal
  2. การยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID
  3. ค่าธรรมเนียม PayPal

ตรวจสอบแหล่งที่มาแล้ว 20/12/2022


การเผยแพร่นี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมทุกแง่มุมของหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นคำแนะนำที่คุณควรพึ่งพา คุณต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญก่อนดำเนินการหรืองดเว้นการกระทำใดๆ โดยอาศัยเนื้อหาในการเผยแพร่นี้ ข้อมูลในการเผยแพร่นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย ภาษี หรือมืออาชีพอื่นๆ จาก TransferWise Limited หรือบริษัทในเครือ ผลลัพธ์ก่อนหน้าไม่ได้รับประกันผลลัพธ์ที่คล้ายกัน เราไม่รับรอง รับประกัน หรือการันตี ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ว่าเนื้อหาในการเผยแพร่นี้ถูกต้อง สมบูรณ์ หรือเป็นปัจจุบัน