แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

บริษัท BRANDi ร่วมกับ Kotler Impact (KI) จัดงาน World Marketing Summit Asia 2019 ครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมเปิดตัว ดัชนีชี้วัดโลกที่ดีกว่า (Better World Index: BWi) เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาองค์กรธุรกิจไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยคำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาโลกที่ดีกว่าเดิม

 

ภายในงาน ฟิลิป คอตเลอร์ นักการตลาดผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก ได้กล่าวถึงความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบันที่จะมุ่งสร้างแต่ ‘กำไร’ ตามแนวคิดระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้แต่กลยุทธ์การตลาดก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะปัจจุบันผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้เลือกซื้อสินค้าและบริการจากราคาเพียงอย่างเดียว แต่คาดหวังให้แบรนด์ธุรกิจมีศักยภาพที่จะพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วย

 

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

 

“คนรุ่นมิลเลนเนียลอยากให้บริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่แค่นั้นไม่พอ บริษัทต้องบอกด้วยว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม บริษัทจะจัดการขยะอย่างไร หรือให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือคนยากจนมากแค่ไหน”

 

ฟิลิปย้ำว่า ‘กำไร’ ของบริษัทไม่ได้สร้างขึ้นจากผู้บริหารคนเดียว แต่เกิดจากความร่วมมือทั้งฝ่ายผู้ผลิต ลูกจ้าง ทีมงานในบริษัท และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นธุรกิจจะต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ‘Business Roundtable’ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดธุรกิจแบบเดิมที่มุ่งหาแต่ความสำเร็จ สร้างกำไรให้กับตัวเองและผู้ถือหุ้น โดยที่ไม่ได้สนใจว่าผู้ถือหุ้นจะนำกำไรไปทำอะไรก็ได้

 

“แนวคิดธุรกิจแบบเก่า คือ เราต้องจ่ายเงินลูกจ้างในราคาถูกที่สุด หาซัพพลายเออร์ที่ถูกสุด ทำยังไงก็ได้ให้ต้นทุนถูกที่สุด และมีกำไรสูงสุด”

 

“เราต้องท้าทายแนวคิดนี้ เพราะลูกจ้างที่ได้เงินต่ำสุด เขาไม่มีความสุขหรอก เขาไม่มีเงินไปซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณด้วยซ้ำ เขาก็ไปซื้อสินค้าของแบรนด์อื่นอยู่ดี ดังนั้นโมเดลเก่ามันใช้ไม่ได้อีกแล้ว”

 

โจทย์ของธุรกิจในวันนี้ คือ หาทางกระจายกำไรที่ได้ไปพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น

 

“บริษัทไม่เพียงแต่จะต้องมีศักยภาพในการสร้างกำไรเท่านั้น แต่ต้องมีศักยภาพที่จะสร้างสังคมที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นต่อไปมันจะเป็นโจทย์ที่ยากมาก บริษัทที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็อาจถูกตีตราว่าเป็นบริษัทที่ไม่ได้สนใจสังคมที่ดี”

 

เขาแสดงความคิดเห็นว่าดัชนีวัดโลกที่ดีกว่า หรือ BWi เป็นสิ่งที่ดี เพราะให้ความสำคัญทั้งด้านรายได้ (Profit) โลกที่เราอาศัยอยู่ (Planet) และผู้คน (People)

 

“ที่ผ่านมาเรามี GDP เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของประเทศ แต่จริงๆ แล้วเราไม่รู้หรอกว่าเศรษฐกิจมันเติบโตดีหรือไม่ดี หรือเติบโตเพราะอะไร สหรัฐอเมริกาอาจจะโตเพราะมีการผลิตอาวุธ คนสูบบุหรี่หรือใช้ยา ดังนั้นมันไม่ได้วัดการเติบโตทางสังคมเลย”

หากให้คิดถึงชื่อของปรมาจารย์ด้านการตลาดผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ชื่อแรกๆ ที่หลายคนคิดได้ ต้องมีชื่อของ Philip Kotler ฟิลิป คอตเลอร์ อยู่อย่างแน่นอน เพราะเมื่อปี 2016 คอตเลอร์ ได้มอบข้อเขียน ซึ่งเป็นเสมือนคัมภีร์การตลาดสมัยใหม่ให้เหล่านักการตลาดทั่วโลกได้ปรับเอาไปใช้กับ พอคเกตบุค ชื่อ “Marketing 4.0”

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

และในช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา Philip Kotler ก็ได้มอบอีกบทเรียนหนึ่ง ที่ชี้เทรนด์ของการทำธุรกิจและการตลาดยุคใหม่ที่กำลังมาแรง บนเวที World Marketing Summit Asia 2019 ในหัวข้อการบรรยาย อนาคตของการตลาด (Future of Marketing) โดยแบ่งเป็นหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ และแนวคิดที่คอตเลอร์ได้นำเสนอไว้นี้ เชื่อว่าเมื่อทุกคนได้อ่านและเรียนรู้แล้ว จะเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ทิศทางการตลาดในทศวรรษนี้ เทรนด์ความยั่งยืน จะเอาชนะใจผู้บริโภคได้แน่นอน

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์
กำไร ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการทำธุรกิจยุคใหม่
แนวคิดที่ คอตเลอร์ นำเสนอ ดูจะเป็นแนวคิดที่คู่ขนานไปในทิศทางเดียวกับ Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เห็นได้จากธุรกิจใหม่ๆทั่วโลก ได้ปรับเอาแนวคิดเรื่อง ‘การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการแบ่งปันร่วมกับผู้อื่น โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวกลาง” เป็นตัวตั้ง ในการดำเนินธุรกิจ อย่าง Uber, Grab หรือ Airbnb
โดยสิ่งที่ คอตเลอร์ สื่อสาร ผ่านการบรรยายล่าสุดบนเวที World Marketing Summit  Asia 2019 อ้างอิงอยู๋บนเทรนด์ความยั่งยืน ที่เขายืนยันว่าที่เห็นในตอนนี้ว่าแรงแล้ว ในอนาคตต่อไปก็จะยิ่งแรง และมีบทบาทต่อผู้บริโภคมากขึ้นอีก ส่งผลให้รูปแบบในการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
จากการทำธุรกิจเพื่อแสวงหารายได้และผลกำไรให้กับเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น กลายเป็นการกำหนดเป้าหมายของธุรกิจที่สอดคล้องกันไป ทั้ง รายได้ ผลกำไร และ การทำธุรกิจตอบสนองความต้องการของสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรของโลก ไปในเวลาเดียวกัน
คอตเลอร์ ยกตัวอย่าง แนวคิด Business Roundtable ของเหล่าซีอีโฮในสหรัฐอเมริกา ว่าเป้นสิ่งที่น่ายกย่องและเป็นต้นแบบของการทำธุรกิจสมัยใหม่ที่แท้จริง เพราะเจ้าของธูรกิจที่ดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดนี้ พร้อมใจกันออกมาประกาศว่า จากหลักการทำธุรกิจเดิมที่ต้องคิดถึงหุ้นส่วน ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholders หลักเป็นสำคัญ ขยายสู่การคำนึงถึง พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พาร์ทเนอร์ ชุมชน และสังคม ด้วย
เพราะปรมาจารย์ท่านนี้เน้นย้ำว่า “การทำธุรกิจในปัจจุบัน เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่เพียงคนเดียว หากสังคมหรือโลกไปต่อไม่ได้ ธุรกิจก็ไม่สามารถไปต่อได้ด้วยเช่นกัน”

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

เป้าหมายของการสร้างแบรนด์ ต้องมองให้ไกลกว่าเดิม เพื่อสังคม เพื่อโลก

การตั้ง Purpose Centric หรือเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ คอตเลอร์ ย้ำเช่นกันว่าต้องไม่มองแค่รายได้หรือผลกำไรเช่นกัน แต่องค์กรธุรกิจยุคใหม่ที่มุ่งหมายความสำเร็จ จะต้องหาเป้าหมายของการทำธุรกิจให้เจอหาให้เจอ กำหนดไว้ให้เป็นทิศทางเฉพาะของตน เพื่อให้ทุกองคาพยพในองค์กรเดินไปได้อย่างไม่หลงทิศ และแน่นอนว่า เป้าหมายนั้นต้องเป็นการทำเพื่อสังคม เพื่อผืนดิน ผืนโลกใบนี้ด้วย จึงจะซื้อใจพนักงานหรือคนทำงาน ซึ่งเป็นเจน Millennium
เพราะคนเจนนี้เป็นกำลังสำคัญในการนำพาแบรนด์ไปสู่จุดที่ยืนหยัดในใจลูกค้าได้ และลักษณะนิสัยของพวกเขาก็ไม่ได้สนใจแค่เม็ดเงินค่าจ้างมหาศาล แต่สิ่งที่จะฉุดรั้งให้คนเก่งเหล่านี้ทำงานกับองค์กรได้นาน คือ แบรนด์ที่ตนทำงานให้มีความใส่ใจเรื่องความยั่งยืนและทำให้สังคมดีขึ้นหรือไม่
นอกจากนั้น ปรมาจารย์คอตเลอร์ยังมองการกำหนดนโยบายในระดับประเทศ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างวัฒนธรรมของชาติ ของคนในชาติ ให้มาร่วมมือกันตั้งใจทำให้เกิดสิ่งดีๆเกิดขึ้น ในวงการธุรกิจให้ได้

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

การตลาดเพื่อเอาใจคนหมู่มาก เอ๊าท์ไปเสียแล้ว ในมุมมอง Philip Kotler

กลยุทธ์การตลาดในยุคที่เจ้าของกิจการ มีสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือนั้น จะมองว่าช่วยลดต้นทุนการทำการตลาด ไม่ต้องทำสื่อโฆษณาผ่านช่องทางสื่อเก่า ที่ต้องใช้เงินมหาศาลก็ได้ ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นก็ได้ ทว่า เมื่อเหรียญมีสองด้าน คอตเลอร์ จึงได้สะท้อนถึง การสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัลลอีกด้าน ที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง
“การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคนี้จำเป็นต้องออกจาก Mass Marketing แล้วมาวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดแบบลงลึกในรายละเอียดให้มากขึ้น โดยใช้การบริหารจัดการในเรื่องของข้อมูล หรือ Big Data ให้เกิดประโยชน์”
ธุรกิจยุคใหม่ จำเป็นต้องออกจากกรอบของการทำการตลาดเพื่อเอาใจคนหมู่มาก หรือ Mass Marketing แล้วให้ทีมนักการตลาดใช้ข้อมูลจากเฟสบุ๊คที่เป็นแหล่ง data มหาศาลให้เป็นประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด โดยสิ่งที่ธุรกิจต้องทำ ความเข้าใจ คือ วิเคราะห์ Big data ที่มีอยู่ แล้วทำความเข้าใจ ค้นหาความต้องการ จาก journey บนโซเชียลมีเดียของลูกค้าให้เจอ

“ยิ่งถูก ยิ่งดี ยิ่งขายได้” จะไม่ใช่สูตรสำเร็จของการทำธุรกิจอีกแล้ว เพราะทุกวันนี้หลากหลายแบรนด์ที่เข้มแข็งและประสบความสำเร็จได้พิสูจน์แล้วว่า จุดแข็งของแบรนด์นั้นไม่ใช่การผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีที่สุดเท่านั้น แต่ตัวชี้วัดความสำเร็จกลับอยู่ที่แบรนด์นั้นเข้าใจลูกค้าของตัวเองดีที่สุดแล้วหรือยังมากกว่า


ความสำเร็จสูงสุดของ Marketing ไม่ใช่แค่ขายของได้ แต่คือการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

“การเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการวิเคราะห์สำหรับการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน” คือ คำตอบสุดท้าย ที่ คอตเลอร์เน้นย้ำว่า เป็นใบเบิกทางสู่การต่อยอดธุรกิจให้เข้มแข็ง แข็งแกร่งและยั่งยืน ความสำเร็จของธุรกิจยุคนี้จึงไม่ใช่แค่ขายของได้ แต่ต้องเป็นการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืนมากกว่า


ที่มา : บรรยาย อนาคตของการตลาด (Future of Marketing) โดย Philip Kotler เวที World Marketing Summit  Asia 2019


สร้างแรงบันดาลใจจากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

“มันยากสุดๆ ถ้าคุณจะหาแว่น โดยไม่ใส่แว่น!” ต้นแบบ “ภาวะผู้นำม่วนซื่น” Jürgen Klopp ผู้พา Liverpool คว้าแชมป์ลีกในรอบ 30 ปี!

Joanna Hoffman “มือขวา” Steve Jobs

‘Kongjian Yu’ ปรมาจารย์ผู้ใช้ ‘ภูมิสถาปัตย์’ สร้างพื้นที่สีเขียว คืนสุขกลับสู่เมืองใหญ่

Post Views: 3,153

  • TAGS
  • Future of Marketing
  • Marketing Trend
  • ฟิลิป คอตเลอร์

Previous articleวิกฤตไวรัสอู่ฮั่น…โอกาสทองช้อปชิมออนไลน์

Next articleBeyond Boundary “คนไร้พรมแดน” ปรากฏการณ์ใหม่ ชวนให้ค้นหา

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร (Philip Kotler) อธิบายว่าอย่างไร

ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) มีความเชื่อขั้นพื้นฐานว่างานทางด้านการตลาดนั้น ไม่ควรจะมุ่งไปที่แนวคิดการขายมากเกินไป แต่ควรจะเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการขายกล่าวคือบทบาททางการตลาดที่แท้จริงก็คือ การผลักดันกลยุทธ์ธุรกิจ (Kotler, 2004, p.11) และเปลี่ยนวิธีคิดจากที่เคยคิดว่า เมื่อมีคนได้ก็ต้องมี ...

ข้อใดคือความหมายการตลาด ตามแนวคิดของ Philip Kotler

การตลาด คือ กระบวนการบริหารของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้ได้รับการตอบสนองความจ าเป็นและความต้องการ จากการแลกเปลี่ยน ระหว่างผลิตภัณฑ์และมูลค่าผลิตภัณฑ์นั้น (PHILLIP KOTLER 1988:3)

ส่วนประสมทางการตลาดมุ่งเน้นข้อใดเป็นสําคัญ

ส่วนประสมทางการตลาด คือ กลุ่มของเครื่องมือทางการตลาด ที่นามาใช้ร่วมกัน และใช้อย่างสอดคล้องเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก (4P) คือ ผลิตภัณฑ์(Product) ราคา(Price) ช่องทางการจัดจาหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด(Promotion)

ข้อใดเป็นความหมายของ “การตลาด” ที่ให้คำนิยามฟิลลิป คอตเล่อร์

ในความหมายของ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) หมายถึง ที่ใดก็ตาม ทั้งที่เป็นสถานที่หรือไม่มีสถานที่ ที่มีอุปสงค์และอุปทาน ในสินค้า หรือบริการมาพบกัน จนทำให้เกิดราคาที่มาจากกลไกตลาด โดยเศรษฐกิจในระบบตลาดนี้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น การที่ราคาลดลงโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเสนอขายสินค่าเป็นต้น ทางด้านทฤษฏีนั้น เห็นว่า ...