คํา กล่าวรับท้องข้าว พระแม่โพสพ

อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพสำคัญของบ้านหนองขาว เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ พื้นดินอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกข้าวได้ผลดีกว่าพื้นที่อื่น ชุมชนแห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรีมาตั้งแต่อดีต ดังปรากฏหลักฐานในตามเสด็จไทรโยค พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ชุมชนรอบๆ ต้องซื้อข้าวจากบ้านหนองขาว

จนหมากพลูอยู่ข้างจะขัดสน       แม่กลองต้องทนส่งมาถึงนี่
นาเข้าทาไม่ใคร่จะได้ดี                 กินเข้าที่หนองขาวแลบ้านน้อย
มักวิบัติขัดข้องด้วยน้ำท่า          เข้าปลาบ่ใคร่ดีมีบ่อยบ่อย
ต้องกินเข้าต่างเมืองฝืดเคืองคอย   เข้านับร้อยเกวียนมีที่เข้ามา
                                                              (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2511: 62)

คนในชุมชน “หมู่บ้านหนองขาว” (ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวนา และมีวิถีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น พิธีทำขวัญข้าว การทำขวัญข้าวเป็นการแสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ และให้แม่โพสพบันดาลให้ข้าวที่ปลูกออกรวงงามสมบูรณ์ ปัจจุบันเกษตรกรยังคงสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมนี้ ซึ่งจะทำพิธีในเดือน 11 หรือประมาณเดือนตุลาคม (หลังออกพรรษา) เพราะเป็นช่วงที่ข้าวตั้งทองออกรวง โดยคนในชุมชนนิยมทำขวัญข้าวในวันศุกร์ข้างขึ้นก่อนเพล เพราะเชื่อว่าการที่ข้าวตั้งท้องออกรวงคือ แม่โพสพแพ้ท้องอยากกินของเปรี้ยว ของหวาน เช่นเดียวกับอาการของผู้หญิงตั้งท้อง

คํา กล่าวรับท้องข้าว พระแม่โพสพ


บทการทำขวัญข้าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การกล่าวเชิญขวัญหรือเรียกขวัญแม่โพสพ และการขอพรจากแม่โพสพ ซึ่งบทการทำขวัญข้าวพูดถึงความรู้เรื่องพันธุ์ข้าวแต่ละท้องถิ่น ความรู้เกี่ยวกับพิธีการทำขวัญข้าว ความรู้ด้านความเชื่อ ขั้นตอนการทำนา ซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวนา และการเป็นขวัญกำลังใจและช่วยบรรเทาความเครียด จากการลงทุนลงแรงของชาวนาไทย ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรม โดยจะพายเรือไปรับขวัญข้าวหรือไปเยี่ยมแม่โพสพ เมื่อถึงกอข้าวที่ขึ้นงามที่สุดก็จะปักหลัก 1 หลัก นำชะลอมบรรจุหมากพลูจีบ สีผึ้งป้ายใส่ใบตอง กระจก หวี แป้ง น้ำอบ กล้วย ส้ม อ้อยควั่นให้แม่โพสพ แล้วใช้หวีใบข้าวพรมด้วยน้ำอบ พร้อมกับพูดว่า

คํา กล่าวรับท้องข้าว พระแม่โพสพ
     
คํา กล่าวรับท้องข้าว พระแม่โพสพ


“แม่โพสี แม่โพสพ แม่นพดารา ไปอยู่ที่ต้นไร่ปลายนา ขอเชิญแม่มารับอ้อยกับส้ม ผูกชะลอมไว้กับหลัก ใช้ด้ายสามสี แดง ขาว เหลืองผูกคอชะลอม ที่ยอดหลักปักเฉลว สานจากไม้ไผ่ มีธงชายสามสีที่ได้มาจากงานมหาชาติ ผูกติดเป็นเครื่องป้องกันอันตรายที่จะมาทำลายต้นข้าว การเอาอกเอาใจข้าวเปรียบเหมือนการเอาใจผู้หญิงท้อง หาของแต่งตัว ของเปรี้ยวๆ มาให้”

ชาวนาจะประกอบ “พิธีการทำขวัญข้าว” เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นหลังจากช่วงออกพรรษา ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีการระลึกถึงคุณของพระแม้โพสพ โดยจะนำข้าวไปกองที่ลานเพื่อนวดข้าว หลังจากนั้นจะทำพิธีเชิญขวัญข้าวสู่ลาน และชาวนาจะนำซังต้นข้าวผูกเป็นหุ่นแม่โพสพ เพื่อทำพิธีเซ่นสังเวยขอให้ผลผลิตครั้งต่อไปอุดมสมบูรณ์

พิธีทำขวัญข้าว
 เป็นพิธีสำคัญของชาวนา เป็นประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย อันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน
 โดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จ สิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราว เดือนพฤศจิกายน ที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
        ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (ข้าว) ตามความเชื่อว่า แม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าว
ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ และจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว   เช่น เกี่ยวข้าว อีกทั้งเพื่อเป็นการขอบคุณและเอาใจแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา และเพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริมงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น ปกติจะทำกันในวันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็นวันขวัญข้าว
       ประเพณีทำขวัญข้าวของบางจังหวัด อาจมีประเพณีทำขวัญข้าว อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ข้าวตั้งท้อง และช่วงข้าวพร้อม
      เกี่ยว โดยในแต่ละช่วงจะมีเครื่องเซ่นไม่เหมือนกัน เครื่องเซ่นของการทำขวัญข้าวตอนตั้งท้อง ด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพ
    เป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน พอข้าวตั้งท้อง จึงเชื่อว่าจะอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง สิ่งที่ขาดไม่ได้ในเครื่องเซ่น
           ช่วงดังกล่าวจึงเป็นของรสเปรี้ยว อ้อย น้ำมะพร้าว นอกเหนือจากหมาก พลู ธงกระดาษสีต่างๆ ผ้าแดง ผ้าขาว ใส่ลงในชะลอมเล็ก ๆ มีเส้นด้ายสีแดงและสีขาวเพื่อผูกเครื่องเซ่นเข้ากับต้นข้าว ดอกไม้ และด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงต้องมี น้ำอบ น้ำหอมด้วย โดยคนที่ทำพิธีมักจะเป็นผู้หญิงเจ้าของที่นา แต่พิธีนี้ให้โอกาสผู้ชายทำได้แต่ไม่นิยม หลังจากมัดโยง
 เครื่องเซ่นกับต้นข้าวด้วยด้ายสีแดงและขาวเข้าด้วยกันแล้ว ผู้ทำพิธีจะพรมน้ำหอมแป้งร่ำต้นข้าว จากนั้นจึงจุดธูปปักลงบนที่นา
           พร้อมกล่าวคำขอขมาต่าง ๆ แล้วแต่ที่จะนึกได้ ส่วนมากก็จะเป็นการบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังจะทำ เช่น ขอให้มีรวงข้าวสวย มีข้าวเยอะ ๆ ให้ผลผลิตสูง ๆ เมื่อพูดทุกอย่างที่อยากพูดจบก็ต้อง กู่ร้องให้แม่โพสพรับทราบเจตนาดัง ๆ