แพทย์” เป็นอาชีพที่จัดอยู่ในหมวดใด

�����Ҫվ 2230 : ����Сͺ�ԪҪվ��þ�Һ����С�ü�ا�����

��˹�ҷ��㹡���ѡ�Ҿ�Һ��������� ������Ѻ�Ҵ�����ͼ��ؾ���Ҿ ��м���٧���ص������觢ͧᾷ�� ��§ҹ�ҡ��
�Դ���Ԣͧ���� ��������������駤�����駡�͹�����ѧ��ʹ ���������ô���з�á���آ�Ҿ�������ó� ��Ǩ�ͺ�آ�Ҿ
�·������Ф�������˹�Ңͧ����������ô������ҧ��õ�駤���� �Ӥ�ʹ��á㹡�ä�ʹ������Ъ��������㹡��
��ʹ�����軡�� ����֧�������ԡ��͹���ª���� ��ҹ���͹��ǹ�ؤ�� �ç���¹ �ç�ҹ ��
          ��Һ��
          ��Һ���ԪҪվ�����
          ��Һ���Ҫվ����Ǫҭ�����੾�зҧ
          ��Һ���Ҫվ��� � ��������к���� (�ҧ��Һ�Ż�ШӤ�Թԡ ��ШӺ�ҹ���ʶҹ������ �)
          ���˹�Ҿ�Һ��
          ��Һ���Ҹ�ó�آ
          ��Һ�Ž����Ҫ��͹����         (����þ�Һ���褹�ҹ���ͺؤ����� � ��觷ӧҹ�����ʶҹ��Сͺ��� ��                                                           ��ҹ��þ�Թ��� ���ӡ���Ѱ����ç�ҹ ���)
          ��ا�����
                                                  ���           

          ¡���  �����¾�Һ��                                                                                �Ѵ����������Ҫվ 3231
                       �����¼�ا����� ��͵���                                                             �Ѵ����������Ҫվ 3231
                       ��ѡ�ҹ�����¾�Һ��                                                                   �Ѵ����������Ҫվ 5132
                                   (�ç��Һ�� ��Թԡ��к�ҹ�ѡ�����)
                       ��ѡ�ҹ�����¾�Һ�ŵ����ҹ                                                      �Ѵ����������Ҫվ 5133

คุณหมอส่วนใหญ่จะทำงานในโรงพยาบาลซึ่งแบ่งออกเป็นแผนกต่างๆ แล้วแต่ว่าจะทำงานในส่วนไหน ในกรณีที่เป็นการตรวจโรคทั่วไปการทำงานของหมอจะอยู่ในห้อง มีโต๊ะทำงานที่ใช้สำหรับตรวจและพูดคุยกับคนไข้ มีพยาบาลและผู้ช่วยคอยเป็นลูกมือในการทำงาน บรรยากาศก็จะเป็นการพบปะและสอบถามข้อมูลการรักษาคนไข้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย มีการทำงานที่มีการพูดคุยเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและไม่ทำให้เกิดสภาวะกดดันในการปฏิบัติหน้าที่  เมื่อทราบผลว่าผู้ไข้ป่วยเป็นอะไรก็จะส่งเรื่องไปตรวจยังแผนกต่างๆตามการรักษา   ซึ่งห้องทำงานของคุณหมอในแผนกต่างๆก็จะไม่เหมือนกัน ซึ่งแผนกต่างๆในโรงพยาบาลสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • อายุรแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุของบุคคลศาสตร์
  • สูตินรีแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา
  • ศัลยแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม
  • ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)
  • จักษุแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา
  • จิตแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์
  • แพทย์โสตศอนาสิก – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตศอนาสิกวิทยา
  • พยาธิแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน (พยาธิวิทยา)
  • รังสีแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
  • วิสัญญีแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา
  • กุมารแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์
  • แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชปฏิบัติครอบครัว
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

สภาพการทำงาน

สภาพการทำงานของคุณหมอในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลต่างจังหวัด จะมีสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน  

  1. โรงพยาบาลรัฐบาล คนไข้ค่อนข้างเยอะทำให้มีเวลาในการรักษา หรือ ดูแลคนไข้ในแต่ละรายค่อนข้างน้อยเพื่อให้การรักษามีความทั่วถึง จึงเห็นได้ว่าแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีภาระหน้าที่รับผิดชอบเยอะ และได้แสดงศักยภาพทางการทำงานอย่างเต็มที่ มีการแบ่งหน้าที่ในการรักษาอย่างชัดเจนตามแผนกต่างๆ  งบประมาณการทำงานต่างๆจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล 
  2. โรงพยาบาลเอกชน  คนไข้น้อยกว่าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง มีการแบ่งหน้าที่ในการรักษาอย่างชัดเจนเช่นกัน  จะมีเรื่องงานบริการเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะต้องดูแลคนไข้แต่ละรายอย่างใกล้ชิด มีเวลาอยู่กันคนไข้ค่อนข้างมาก จึงต้องมีจิตวิทยาในการพูดคุยกับคนไข้และญาติ ยกตัวอย่างเช่น หมอเด็กนอกเหนือจากการรักษาคนไข้แล้ว ยังต้องมีจิตวิทยาในการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กให้เข้าใจในเรื่องการรักษาด้วย  
  3. โรงพยาบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่มีหมอรักษาการน้อย โดยเฉพาะต่างจังหวัดในอำเภอเล็กๆหรือห่างไกล คุณหมอหนึ่งท่านจะต้องรักษาคนไข้ได้ในหลากหลายอาการ และอาจมีหน้าที่นอกเหนือจากการเป็นหมอคือดูแลสิ่งที่ขาดเหลือในโรงพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น แพทย์หญิง อนงค์พร ต้องไปรักษาการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล มีหมอประจำการเพียงสองคน ทำให้ต้องมีการผลัดกันเข้าเวรคนล่ะ 15 วันต่อเดือน และโรงพยาบาลแห่งนั้นยังไม่มีโรงอาหารเป็นสัดส่วน จึงต้องทำงบประมาณเพื่อสร้างโรงอาหารให้กับทางโรงพยาบาล การทำงานจะมีความท้าทายและต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ คนไข้ที่อาการหนักเกินกว่าจะรักษาในโรงพยาบาลได้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี

ประเภทของลูกค้า

ประเภทของคนไข้ที่เจอจะแตกต่างกันระหว่าง โรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลต่างจังหวัด 

  1. โรงพยาบาลรัฐบาล  จะได้พบกับคนไข้ที่หลากหลายระดับ ตั้งแต่ยากจนที่สุด ไปจนถึงร่ำรวยมีฐานะที่สุด  แต่ต้องมีการให้บริการทางการแพทย์ที่เท่าเทียมกันทุกคน จำนวนคนไข้ในแต่ละวันมีปริมาณที่มาก คนไข้จะต้องรอคิวเพื่อรับการรักษาเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นคุณหมอต้องเป็นคนใจเย็นไม่มีอารมณ์ด้านลบในระหว่างการทำงาน  
  2. โรงพยาบาลเอกชน  คนไข้ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีฐานะทางการเงินตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปจนถึงระดับสูง                นอกเหนือจากจะต้องรักษาดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดแล้วยังต้องมีการให้บริการที่ดีและการเอาใจใส่กับทั้งคนไข้และญาติของคนไข้
  3. โรงพยาบาลต่างจังหวัด  คนไข้ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดจะค่อนข้างมีความเกรงใจและเห็นความสำคัญของคุณหมอมาก มีความเป็นกันเองและหยิบยื่นน้ำใจต่างๆให้คุณหมอ เนื่องจากมีหมอน้อยทำให้คุณหมอต้องทำงานหนักในหลายๆส่วน  ทำให้บรรยากาศการทำงานระหว่างคุณหมอกับคนไข้ไม่ตึงเครียด มีความใกล้ชิดและสนิทสนมกัน 

ลูกค้าของคุณหมอจากทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลต่างจังหวัด คือคนไข้ที่คุณหมอจะต้องให้การรักษาอย่างเท่าเทียมกันนอกจากนั้นยังรวมไปถึงญาติของคนไข้ที่คุณหมอต้องเอาใจใส่ในเรื่องของสภาพจิตใจ เพราะคนไข้บางรายอาจป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หาย หรือ ร้ายแรง สภาพจิตรใจของญาติผู้ป่วยก็มีผลต่ออาการของคนไข้เช่นกัน

อาชีพนี้ต้องทำงานร่วมกับอาชีพ/ตำแหน่งงานใดบ้าง

คุณหมอจะมีการส่งต่องานระหว่างหมอด้วยกันเองตามอาการของโรค แพทย์ที่ตรวจโรคทั่วไปจะส่งต่อคนไข้ไปที่แพทย์เฉพาะทางของโรคนั้นๆ  ระดับการส่งต่องานของคุณหมอตามความยากง่ายของอาการก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงานของคุณหมอด้วย  นอกจากนั้นยังต้องทำงานร่วมกับ แพทย์ผู้ช่วย พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล หากมีการผ่าตัด จะต้องมีหมอดมยา หากต้องส่งชิ้นเนื้อไปตรวจจะต้องส่งไปที่ ทีมวิจัย  จะมีการส่งต่องานเสมอแล้วแต่ว่าต้องทำขั้นตอนอะไรต่อ ซึ่งมีมากมายตามอาการของโรคนั้นๆ  

2. คุณลักษณะของงาน

เป้าหมายของงาน/โจทย์ใหญ่ของงาน/ความท้าทายของงาน

แพทย์แบ่งออกเป็นหลากหลายแขนงมากตามอาการของโรค ซึ่งทุกแขนงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และมีจุดประสงค์หลักเดียวกัน คือการได้ใช้ความรู้ความสามารถรักษาคนไช้ให้หายขาดหรืออาการดีขึ้นจากเดิม โดยผ่านกระบวนการวินิจฉัยและหาหนทางการรักษา ซึ่งสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการรักษาชีวิตของคนไข้ให้ได้นานที่สุดไม่ว่าจะวิธีทางการแพทย์หรือในเรื่องของกำลังใจที่ให้คนไช้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

Work process

ขั้นตอนการทำงานของอาชีพหมอคือ 

  1. พูดคุยเพื่อสอบถามอาการของคนไข้ มีการตรวจเบื้องต้นว่าป่วยเป็นโรคอะไร 
  2. เมื่อทราบอาการแล้ว หากเป็นอาการป่วยที่สามารถรักษาได้ทันที  คุณหมอจะจ่ายยา และบอกถึงวิธีการที่คนไข้จะดูแลตัวเองหลังจากกลับบ้าน แต่หากเป็นอาการที่ต้องรักษาต่อก็จะส่งต่องานไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามอาการนั้นๆ 
  3. หากเป็นหมอผู้เชี่ยวชาญ ในตอนเช้าก็เดินจะตรวจดูอาการของคนไข้ในความดูแลทุกๆคนว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 
  4. นำผลที่ได้มาวินิจฉัยเพื่อจะดำเนินการรักษาต่อในขั้นตอนต่อไป ซึ่งคนไข้บางรายอาจใช้เวลารักษานานหลายปีกว่าจะหายขาด 
  5. นอกจากนี้ก็จะมีการแบ่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณหมอตามแผนกต่างๆซึ่งมีการทำงานที่ไม่เหมือนกัน คุณหมอที่มีหน้าที่ตรวจชิ้นเนื้อ ฉายรังสี  ผ่าตัด จ่ายยา การทำงานในแต่ละวันก็จะขึ้นอยู่กับว่าเป็นคุณหมอแผนกไหน   
  6. ยังมีในเรื่องของการเข้าเวร ที่ต้องทำงานเกินเวลาจากเดิม และ เหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจถูกเรียกตัวเข้ามาปฏิบัติหน้าที่นอกเวลางาน ซึ่งคุณหมอต้องมีความพร้อมเสมอ

Career path/ความก้าวหน้าของสายอาชีพ

ความก้าวหน้าของอาชีพหมอจะมาจากอายุการทำงาน เพราะจะเป็นระบบเดียวกับข้าราชกาล คือมีการเลื่อนขั้นตาม ซี เมื่อมีอายุการทำงานและประสบการณ์มากขึ้น ตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถรักษาโรครักษาและวินิจฉัยอาการที่ยากของคนไข้ได้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของวิชาการ คือ การเรียนต่อในระดับปริญญาโท และ เอก เพื่อเพิ่มเติมความรู้ในเชิงลึกของการรักษาในแขนงนั้นๆ   

บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้

  1. คุณหมอต้องเป็นคนใจเย็นเพราะต้องทำงานกับคนไข้ที่มีทั้งความกังวลใจไม่สบายใจ คุณหมอจำเป็นต้องมีวิธีการพูดคุยและให้การรักษาอย่างเข้าใจมากที่สุด 
  2. มีน้ำใจเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีจิตวิทยาในกรรักษาและการพูดเพื่อหาทางออกและสร้างความสบายใจให้กับคนไข้ 
  3. เป็นคนที่ชอบศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา เพราะมีโรคใหม่ๆ เทคโนโลยีและการรักษาใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา 
  4. มีทักษะความรู้ที่ดีสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีมาก เพราะต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอยู่ตลอดเวลา เช่นคนไข้ช๊อค การผ่าตัดมีการผิดพลาด เลือดไหลไม่หยุด ต้องมีคนที่มีสติและคิดหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 
  5. ต้องมีความกล้าในทุกๆอย่าง กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำ ไม่กลัวเข็ม ไม่กลัวเลือด อุปกรณ์การแพทย์ต่างๆหรืออวัยวะต่างๆในร่างกาย เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องพบเจอในทุกๆวัน

3. คุณค่าและผลตอบแทน

ผลตอบแทน

ในเรื่องของระบบเงินเดือนนั้นหากเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ จะมีระดับเงินเดือนตามขั้นโดยข้าราชการพลเรือนมีระดับขั้นตั้งแต่ ซี 1 ถึง ซี 11 ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน   โดยแพทย์เริ่มต้นจะได้รับบรรจุเป็น ซี 4 ซึ่งมีขั้นเงินเดือน 8,190 บาท ในแต่ละซี จะมีขั้นเงินเดือนหลายๆขั้นเป็น 10 ขั้น เช่น ซี 1 มีขึ้นเงินเดือนต่ำสุดคือ 4,100 บาท สูงสุดคือ 7,260 บาท ซี 11 ขั้นต่ำสุดคือ 29,690บาท สูงสุดคือ 57,190 บาท ซึ่งตัวเลขต่างๆเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ตลอด  ขึ้นอยู่กับระเบียบของก.พ. หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำหรับคุณหมอถ้าไม่มีปัญหาอะไรทุกๆปีก็จะได้เลื่อนขึ้นเงินเดือน 1 ขั้น หรือ 2 ขั้นถ้ามีความสามารถ นอกจะนี้ยังมีการเลื่อนซีด้วย บรรจุครั้งแรกเป็นซี 4 แต่เป็นขั้นควบคือควบซี 5 และซี 6 ด้วย ถ้างทำงานครบ 2 ปีเต็ม จะถูกเลื่อนให้เป็นซี 5 โดยอัตโนมัติและถ้าทำงานต่อไปอีก 4 ปีก็จะได้เลื่อนไปเป็นซี  6 เห็นได้ว่าจะเลื่อนตำแหน่งและฐานเงินเดือนขึ้นไปเรื่อยๆตามอายุการทำงาน

คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม 

อาชีพหมอกำเนิดขึ้นเป็นวิชาชีพแรกๆและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการเกิด   แก่ เจ็บ และ ตาย ต่างต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางการแพทย์ทั้งสิ้นและวิชาชีพหมอก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆทั้งในเรื่องความรู้ความสามารถ เทคโนโลยีทางการแพทย์  การค้นคว้าวิธีการรักษาใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการ เจ็บน้อยลง และย่อระยะเวลาในการรักษาให้สั้นลง วิธีการต่างๆก็เพื่อให้คนในสังคมไม่ทุกข์จากการมีโรคภัยไข้เจ็บ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติจากการได้รับการรักษา โรคภัยเกิดขึ้นได้ทุกวันและเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาชีพหมอจึงถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก 

4. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ

วิชาที่จะเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์นั้น มีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันตามสถาบัน แต่มีวิชาหลักที่เหมือนกันนั้นคือ  ปี 1-3 เรียน Basic science และ Basic medical science

Basic science คือเคมี ชีวะ ฟิสิกส์
Basic medical science เป็นวิชาแพทย์

  • behavior sci เป็นวิชาการจัดการ จิตวิตยา การวิจัย การเข้าใจคนไข้ 
  • anatomy กายวิภาค เป็นสิ่งที่จับต้องได้ทั้งหมด
  • physiology เป็นการทำงานของร่างกาย
  • pathology การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้เกิดโรค
  • phamacology เรื่องของยาหลักการ การออกฤทธิ์ กลไล ฯลฯ

ซึ่งแต่ละเรื่องก็จะแบ่งแยกไปตามระบบต่างๆของร่างกาย

  • basic sci เกี่ยวกับเชื้อโรค กลไกการเกิด
  • Integument  ระบบปกคลุมร่างกาย เช่น ผิว ผม เล็บ
  • locomotive ระบบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ได้แก่กระดูก กล้ามเนื้อ,,,,
  • cardiovascular ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • respi การหายใจ
  • gastro-intestinal ทางเดินอาหาร
  • KUB ทางเดินปัสสาวะ
  • reproductive การสืบพันธ์
  • neurology ระบบประสาท

ปี 4-5 จะเป็น clinical skill คือการเรียนรู้การทำงานจริง และการฝึกกับผู้ป่วยจริง

จะแบ่งออกเป็นแผนกต่างๆดังนั้น

  • OB-gyne สูติ-นรีเวช
  • surgery การผ่าตัด
  • internal medicine การรักษาโดยการใช้ยา
  • pediatric เด็ก
  • orthopedics กระดูกและข้อ
  • ophthalmology ตา
  • ENT หู คอ จมูก
  • Emergency ฉุกเฉิน
  • Anas ดมยาสลบ
  • commed-fammed การดูแลแบบองค์รวม การทำวิจัย
  • psychiatric จิตเวช
  • rehabilitation กายภาพบำบัด

ปีที่ 6  เป็นการเริ่มทำงานจริง ภายใต้การควบคุมก็จะวนไปหลายหลายส่วนหลายๆโรงพยาบาล ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด อาทิตย์ละ 7 วัน วันใหนอยู่เวรก็ต้องอยู่บนโรงบาล 24 ชั่วโมงวันรุ่งขึ้นก็ทำงานต่อ แต่เป็นชั้นปีที่สนุกที่สุดเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง 

ซึ่งการเรียนตามหลักสูตรทั้งหมดนี้นอกจากจะต้องมีความถนัดทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ และต้องเรียนสาย  วิทย์ – คณิต ในชั้นมัธยมปลายแล้ว ยังต้องมีความชอบและสนใจในวิชาย่อยต่างๆด้วย เพราะเนื้อหาการเรียนค่อนข้างเยอะมีการท่องจำ ต้องมีวินัยและความขยันอย่างมากในการเรียน ซึ่งคุณหมอจะเรียนแพทย์ทั่วไป 6 ปี และ แยกเป็นแพทย์เฉพาะทางอีก 3 ปี

5. เครื่องมือที่ใช้ในอาชีพนั้น

คุณหมอแต่ละคนจะมีเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาโรคแตกต่างกันตามอาการของโรค แต่จะมีสเตตโตสโสป(Stethoscope) หรือ หูฟัง ที่มีไว้สำหรับฟังเสียงผิดปกติในร่างกาย โดยเฉพาะเสียงการเต้นของหัวใจพกไว้ เพื่อใช้ในการตรวจอากาศเบื้องต้นของโรค เป็นเครื่องมือเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคุณหมอที่คุณหมอทุกคนจะขาดไม่ได้