การเปลี่ยนแปลงทาง การเมือง ของไทย

������������ � �͡�ҡ�Ѩ�����¹͡�ѧ��������� �������¹�ŧ�ҧ������ͧ���㹢ͧ�Ҹ�ó�Ѱ��ЪҪ��չ ���դ����Ӥѭ��� �����ѧ�ҡ������蹻�ǹ㹡�û���ѵ��Ѳ����� (�.�. 2508 - 2512) ������ش��С�����ª��Ե�ͧ��¾���Թ����� �.�. 2514 ��������Ӿ����͹������ ��觹��¹�¡�Ѱ����� ����Թ��� �����������Ǽԧ ���Ѻ���պ��ҷ��д��Թ��º�·���鹾Ѳ�����ɰ�Ԩ�ͧ�չ������˹�ҷѹ���� ��о�������鹿٤�������ѹ��ҧ��÷ٵ�Ѻ����ȵ�ҧ � ���͵�͵�ҹ��â����Է�ԾŢͧ���Ҿ����µ ������͵ا����������ҡ���ǡ���繴��¡Ѻ��â��¤�������ѹ��Ѻ�ҹһ����

��������������� �չ���������Ӥѭ�Ѻ������ҧ���������͵�͵�ҹ���Ҿ����µ���¡���������Ҫԡ�ͧͧ�����˻�ЪҪҵ� �.�. 2514 ��е������Դ��͡Ѻ���Ѱ����ԡҴ��¡�÷ٵ�ԧ�ͧ���������Ѱ����ԡ�㹡�äҹ�ӹҨ�Ѻ���Ҿ����µ����� �.�. 2513 ���仡��ҹ�� �չ�ѧ�������Ӥѭ�Ѻ����������µ��ѹ�͡��§�˹�ͨ�����öʶһ�Ҥ�������ѹ��ҧ��÷ٵ�Ѻ������������� �.�. 2515 ��л���������µ��ѹ�͡��§�������º����͹��ѧ��ҹ�ͧ�չ ��੾�����ҧ��觡�����������Ҥ�����µ��ѹ�͡��§����������¹� (ASEAN) �����駻�����«�觵������㹨ش�ط���ʵ�����Ӥѭ ��觨չ�ѧ��������Ҿ����µ�Ҩ�����������Է�Ծ������᷹������Ѱ����ԡҷ����ѧ�͹��Ǩҡ���µ����� �ա��駨չ�ѧ�շ�ҷ�����������»�йջ�й����͡�÷�����ȵ�ҧ � �ѧ���դ�������ѹ��ҧ��÷�����Ф�����觤��Ѻ���Ѱ����ԡ�

���������������� ��ǹ ������� �ա������¹�ŧ�ҧ������ͧ�������»�С����ѧ�ҡ�������������û���ͧ�ͧ༴稡�÷��÷����ӷҧ���â�鹴�ç���˹觹�¡�Ѱ������Ҫ�ҹҹ �ա����������Ӥѭ�Ѻ�ѭ�Ҥ�����蹤�����ѧ���件֧��õ�͵�ҹ��¤ء����ҡ�����ǹ�ʵ�͡�����

���������������� �������¹�ŧ�ҧ������ͧ���㹻�������������ѧ �.�. 2516 ���觼š�з�����Ӥѭ��͡�û�Ѻ��������ѹ�������ҧ�¡Ѻ�Ҹ�ó�Ѱ��ЪҪ��չ ��÷��ѡ�֡�һѭ�Ҫ���л�ЪҪ����պ��ҷ㹡�����¡��ͧ��û���ͧẺ��ЪҸԻ�� �������� "�˵ء�ó� 14 ���Ҥ� 2516" ����������ѧ��Һ������ǹ��ùѡ�֡�����ҧ�ع�ç���觼������ӷҧ������ͧ�ͧ�·���繷��� ��Ф�ͧ�ӹҨ�Ҫ�ҹҹ��ͧ����ӹҨŧ����������͡�͡����� �����������͡���������Ѱ��ŵ����ЪҸԻ�� ���ҷ����ӹҨ�ͧ������١�ӡѴŧ���Ǣ�� �Ѱ��ž����͹���������ͧ�ҧ��ҹ������蹤����ҧ�������Ѻ������͡��� ����ö���Թ��û�Ѻ��º�µ�ҧ���������ʹ���ͧ�Ѻ��Ҿ�Ǵ������¹͡�����ѧ����¹�ŧ����дѺ�š����дѺ�����Ҥ��ѹ��ǧ��

����������������� ��¡�Ѱ����վ����͹ �.�.�. �֡ķ��� ������ �ͧ��� ��õԴ����Դ��������ѹ��Ѻ�Ҹ�ó�Ѱ��ЪҪ��չ��Ҩ�������ª���ͪ���·�駴�ҹ������蹤� ��д�ҹ���ɰ�Ԩ ���з����չŴ��ê�����������ä�����ǹ�ʵ���觻������ŧ �ա������ѧ����ö����Թ����ɵ� �� ���� �ҧ���� ���Ѻ�չ���ҡ��� ���ͧ�ҡ�չ�ջ�Ъҡ��ҡ��м�Ե����Ҥ�ɵ������§�͵�͡�ú��������㹻���� �ŵ�� �ҵԪ�� �س���ѳ ���ջ��ʺ��ó��ҹ��÷ٵ��С�õ�ҧ����� �����´�ç���˹��͡�Ѥ��Ҫ�ٵ��Ш�����ਹ�Թ� ��С�Ѻ����͸Ժ�ա��������ͧ ��Т�鹴�ç���˹��Ѱ�������ҡ�á�з�ǧ��ҧ�������Ѱ��Ź�¡�Ѱ����� �.�.�. �֡ķ��� ������

����������������� ��ǹ�Ѩ��·ҧ��ҹ���ɰ�Ԩ��� ������ͧ����ѵ�شԺ��о�ѧ�ҹ�ѧ�繻Ѩ����Ӥѭ㹡�þѲ���ص��ˡ�����ТѺ����͹���ɰ�Ԩ ������Ѱ��ŵ�ͧ��Ѻ��ҷ���й�º�µ�ͻ���ȷ�������觷�Ѿ�ҡ����;�ѧ�ҹ����ҹ�� ������µ�ͧ༪ԭ�Ѻ�ԡĵ����ѹ���ͧ�ҡ����������觹���ѹ�ͧ���ͧ �ա��駹���ѹ㹵�Ҵ�š�����Ҥ�ᾧ���������ҡ ���ͧ�ҡ���������ȷ���Ե����ѹ (OPEC) �����ǹ�˭��繻��������Ѻ㹵��ѹ�͡��ҧ �Ѵ��駡Ѻ�������� ��������ѹ������ͧ���㹡�á��ѹ����������оѹ��Ե� ���¡��Ŵ����ҳ�ش��й���ѹ ��������ѹ�Ҵ��Ҵ������Ҥ�ᾧ ������µ�ͧ��ǧ�����觫��͹���ѹ���� �չ�ͺʹͧ���Ъ���������´��¡�â�¹���ѹ�Ժ��Ҥ��Ե��Ҿ ��������շ�ҷ����Եõ�ͨչ�ҡ���

���������������� ���ҧ�á��� ���Ӣͧ�·�駽��¾����͹㹡�з�ǧ��ҧ � ��н��¤�����蹤��ѧ���Ե��ѧ�šѺ�ѭ�Ҿ�ä�����ǹ�ʵ���觻�����·���ѧ���Ѻ���ʹѺʹع�ҡ��ä�����ǹ�ʵ�չ��з�ҷբͧ�չ��ͪ�Ǩչ�鹷���㹻���Ȩӹǹ�ҡ������Դ�Ѻ����ѹ������Է�Ծŷҧ���ɰ�Ԩ �����駻��������ǡѺ�Ż���ª��ҧ���ɰ�Ԩ�������ѹ���� ����繵�ҧ � ����ҹ�������õѴ�Թ㨻�Ѻ��������ѹ��ҧ��÷ٵ��ͨչ���ҧ�繷ҧ���������ͧ�����´��͹����ͧ�Ԩ�ó����ҧ�ͺ�ͺ

1.ความขัดแย้งทางการเมือง
ภายหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ.2475

1.1 ปัญหาเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎร : ภายหลังที่รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และบริหารประเทศไทยไปได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดปัญหาขัดแย้งกันภายในคณะราษฎร อันสืบเนื่องมาจากคณะราษฎรได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจเพื่อคณะราษฎรจะได้พิจารณาวางนโยบายเศรษฐกิจของชาติ แต่ปรากฏว่าเค้าโครงเศรษฐกิจที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมร่างขึ้นมานั้นมีผู้วิจารณ์ว่าคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศไทย ด้วยเหตุนี้สมาชิกของคณะราษฎรจึงแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่ามีลักษณะเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับลงความเห็นว่ามิได้เป็นเช่นนั้นและพิจารณานำมาใช้กับประเทศไทยได้

ความขัดแย้งเรื่องความคิดดังกล่าวขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในคณะราษฎร ในคณะรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในที่สุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีจึงได้กราบบังคมทูลแนะนำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ออกพระราชกฤษฎีกานัดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2475 เป็นต้นไป

1.2 การรัฐประหารในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2476 : ภายหลังการออกพระกฤษฎีกานัดสภาผู้แทนราษฎรแล้ว พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เห็นว่าถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้จะส่งผลเสียต่อจุดมุ่งหมายของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ จึงได้นำกำลังเข้าทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และบังคับให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี

1.3 กบฏบวรเดชในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2476 : เมื่อพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้ามาบริหารได้ไม่นานก็มีบุคคลคณะหนึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ซึ่งมี “พระองค์เจ้าบวรเดช” เป็นหัวหน้าได้ก่อการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2476 โดยเรียกร้องให้รัฐบาลบริหารประเทศให้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง และนอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องอื่นๆ อีกหลายประการ แต่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำเรียกร้องได้ จึงส่งกำลังทหารเข้าปราบปราม “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ที่ยกกำลังมาจากโคราชเข้ามาถึงดอนเมืองและบางเขน การสู้รบได้ดำเนินติดต่อกันหลายวัน ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลชนะ คณะกู้บ้านกู้เมืองเป็นฝ่ายแพ้ จึงได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏเรียกว่า “กบฏบวรเดช”

1.4 การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : ภายหลังการเกิดกบฏบวรเดช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ในระหว่างที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ได้ทรงมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาลเพื่อให้นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาซึ่งถ้าหากรัฐบาลสามารถปฏิบัติตามพระราชประสงค์ พระองค์ก็จะรีบเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย

พระราชบันทึกดังกล่าวมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ พระองค์ทรงเรียกร้องให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกสภาราษฎร ประเภทที่ 2 ตามรัฐธรรมนูญ โดยคำนึงถึงคุณวุฒิและความเหมาะสม ขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 39 กล่าวว่า…พระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ทรงคัดค้าน สภาอาจยืนยันให้เป็นไปตามเดิม โดยความเห็นข้างมากเพียงเสียงเดียวให้แก้เป็น… “ถ้าสภาลงมติตามเดิมโดยให้มีเสียงข้างมาก 3 ใน 4 ของสมาชิก” รัฐบาลควรจะให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคมแก่ประชาชนอย่างแท้จริง และมียกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ เพราะขัดกับหลักเสรีภาพทางกายของประชาชน อภัยโทษนักการเมืองที่ถูกลงโทษเพราะความคิดทางการเมืองและที่สำคัญรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรจะต้องให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะไม่ตัดกำลังและงบประมาณของทหารรักษาวังให้น้อยกว่าเดิม

ปรากฏว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบไป โดยมีกรมหมื่นอนุรัตน์จาตุรนต์ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2.นโยบายรัฐชาตินิยม
ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.2481-2487 อันเป็นช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ปลุกเร้าความรู้สึกในเรื่อง “ชาตินิยม” ในหมู่ประชาชนอย่างแรง เพราะในทางนั้นสถานการณ์ของโลกไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ทั้งในสถานการณ์ในอินโดจีน ฝรั่งเศส และสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกำลังก่อตัวในยุโรป พ.ศ.2482 ประกอบกับเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศกำลังตกอยู่ในกำมือของคนต่างด้าวรัฐบาลโดยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้ดำเนินนโยบายปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทย ทั้งที่พำนักอยู่ในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยเกิดความรักชาติและเสียสละเพื่อชาติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ใช้ยุทธวิธีสร้างความรักชาติให้เกิดในหมู่คนไทยดังต่อไปนี้

2.1 ด้านการเมือง : ได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนทั้งชาติมีความสำนึกต่อการรับผิดชอบร่วมกันกับรัฐบาลในเรื่องเอกราชของชาติ ส่วนศัตรูในทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ประชาชนมองเห็นร่วมกัน คือ ศัตรูที่เป็นชนชาติตะวันตก 2.2 ด้านเศรษฐกิจ : ได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงของชาติเสมอ เร่งเร้าให้ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันประกอบอาชีพ อาชีพใดที่รัฐบาลเสาะแสวงหามาให้ขอให้ประชาชนรีบรับรองไว้ และรีบประกอบกิจการให้เจริญก้าวหน้าต่อๆ ไป สำหรับคนต่างด้าวควรทำแต่เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ไม่ใช่เข้าครอบครองอาชีพของเจ้าของประเทศเสียหมดทุกชนิด เขาขอให้คนไทยรักชาติด้วยตนเอง ช่วยคนไทยด้วยกันเอง คำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” หรือทำในเมืองไทยโดยคนไทยและเป็นของคนไทย ดังนี้เป็นต้น ศัตรูที่เป็นเป้าหมายในการสร้างชาตินิยมทางเศรษฐกิจ คือ คนจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย

2.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างชาติ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเห็นว่า การสร้างชาติจะต้องเริ่มต้นด้วยการที่ประชาชนในชาติจะต้องสร้างตนเองให้เป็นพลเมืองดีขึ้นมาก่อน ด้วยการมีวัฒนธรรมที่ดี มีศีลธรรมที่ดี มีอนามัยดี มีการแต่งกายเรียบร้อยดี มีที่อยู่อาศัยดี และมีที่ทำมาหากินดี เมื่อพลเมืองดีคุณลักษณะดังกล่าว ชาติก็จะมั่งคั่งสมบูรณ์ ประชาชนก็สามารถช่วยกันประกอบกิจการงานของชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้

2.4 ด้านรัฐนิยม : จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พยายามมุ่งดำเนินงานให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจให้ได้ในที่สุด ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลออกประกาศรัฐนิยมเสริมสร้างวัฒนธรรมของชาติด้วยการดำเนินงานผ่านสภาวัฒนธรรมแห่งชาติในเรื่องรัฐนิยมนี้ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศรัฐนิยมรวมทั้งสิ้น 12 ฉบับ เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” การเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อคนไทยตามภาคเป็นเรียก… “คนไทย” เหมือนกันหมดโดยไม่แบ่งแยก หลักการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี การให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีกำเนิดหรือทำขึ้นในประเทศไทย เป็นต้น

2.5 ด้านวัฒนธรรม : ได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ทางจิตใจของคนไทยหลายอย่าง โดยยึดเรื่องปากท้องเป็นสำคัญ เช่น การตราพระราชบัญญัติหางานให้ผู้ไร้อาชีพ เรียกร้องให้ประชาชนใช้สิ่งผลิตอุตสาหกรรมพื้นบ้าน คือ ประเภทไทยทำไทยใช้…มีการโอนกิจการป่าไม้ เหมืองแร่ กิจการสาธารณูปโภค ด้านสินค้าหรือสินค้าออกเข้าเป็นของรัฐ สนับสนุนให้คนไทยขยันทำมาหากิน รู้จักค้าขายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำสวนและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการวางแบบแผนชีวิตใหม่ได้สอดคล้องกับนโยบายสร้างชาติของผู้นำ เป็นประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” เปลี่ยนปีใหม่จากวันสงกรานต์ คือ วันที่ 13 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม การยกเลิกบรรดาศักดิ์ การประกาศให้คนไทยแต่งกายให้เรียบร้อย ตามระเบียบที่วางไว้ เพื่อเป็นการเชิดหน้าชูตาของชาติ การมีมารยาทอันดีงาม เป็นต้น

นอกจากนี้ก็มีการสร้างชาติทางศิลปกรรมและวรรณกรรมอีกมากมายหลายประการ อย่างไรก็ตามภายหลังจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งคณะรัฐมนตรีแล้ว นโยบายบางอย่างก็ได้รับการยกเลิกไปในรัฐบาลยุคต่อมา เพราะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีบางอย่างปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสังคมไทยยอมรับได้

3.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

3.1 สงครามระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2483 : ในช่วงที่ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเยอรมนีเป็นผู้ก่อขึ้นใน พ.ศ.2482 นั้น ประเทศไทยก็มีนโยบายเป็นกลาง แต่ก็พร้อมที่จะป้องกันอธิปไตยของชาติ ถ้าถูกรุกรานจากภายนอก ฝรั่งเศสยอมแพ้แก่เยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2483 หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้เกิดความขัดแย้งกับประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส จนกระทั่งเกิดการปะทะกันด้วยกำลังบริเวณชายแดนของประเทศไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2484 เกิดการสู้รบระหว่างสองฝ่ายจนกระทั่งญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น ผลของการเจรจาปรากฏว่าฝรั่งเศสยอมยกดินแดนให้กับไทยบางส่วน ได้แก่ เมืองศรีโสภณ มงคลบุรี พระตะบอง โดยฝ่ายไทยต้องจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยความเสียหายให้กับฝรั่งเศส

3.2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย : ขณะเดียวกันสถานการณ์โลกกำลังอยู่ในความตึงเครียดสงครามขยายตัวจากทวีปยุโรปมายังเอเชีย ประเทศไทยจึงประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็เตรียมพร้อมป้องกันตนเอง ถ้าถูกรุกรานจากภายนอก ผู้นำของประเทศไทยคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะต้องเปิดฉากสงครามในบริเวณเอเชียตะวันออกแน่นอน ประเด็นสำคัญ คือ ญี่ปุ่นต้องประกาศสงครามกับสหรัฐและอังกฤษ กองทัพญี่ปุ่นต้องขอเดินทัพผ่านประเทศไทย เพื่อโจมตีดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ แต่เนื่องจากไทยมีนโยบายเป็นกลางจึงตอบปฏิเสธ เป็นผลทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพญี่ปุ่นในตอนเช้าเองของ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 รัฐบาลไทยได้ตกลงยุติการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นเพื่อสงวนเลือดเนื้อชีวิตของคนไทย ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย โดยญี่ปุ่นให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรกับรัฐบาลไทยว่า ญี่ปุ่นจะเคารพเอกราชอธิปไตยและเกียรติศักดิ์ศรีของคนไทย

3.3 การจัดตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น : ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2484 นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แทนเจ้าพระยายมราชซึ่งถึงแก่อสัญกรรม หลังจากนั้นต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2484 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตกลงทำสัญญาสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเพื่อป้องกันประเทศไทยซึ่งเท่ากับเป็นการร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ก็ริเริ่มจัดตั้งขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ก็ประกาศจัดตั้งขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน สำหรับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศด้วยการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยมีฐานะเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2488

3.4 การเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองของไทย : อย่างไรก็ตามเมื่อใกล้จะสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพาซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อและมีทีท่าว่าญี่ปุ่นอาจจะต้องเป็นฝ่ายแพ้ต่อสัมพันธมิตร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็จำต้องกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2487 เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ พระราชกำหนดที่รัฐบาลเสนอต่อสภาจำนวน 2 ฉบับ และนายควง อภัยวงศ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ภายหลังที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้ฝ่ายพันธมิตรในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2488 แล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออกประกาศสันติภาพ โดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ และประเทศไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนที่ได้มาให้กับอังกฤษ หลังจากนั้นต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2488 นายควง อภัยวงศ์ ก็กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2484 เพื่อรอการกลับมารับตำแหน่งของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา

เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับสู่ประเทศไทยแล้ว นายทวี บุณยเกตุ ก็กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2488 รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ออกแถลงการณ์ยกเลิกสถานการณ์สงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ และทำข้อตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2489 โดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ คือ

1) ประเทศไทยจะต้องยืนยันว่าการกระทำของไทยต่ออังกฤษภายหลังกองทัพญี่ปุ่นเข้าประเทศไทยเป็นโมฆะและจะต้องชดเชยค่าตอบแทนสำหรับทรัพย์สินของอังกฤษที่เสียหายไป

2) ไทยยอมรับผิดชอบที่จะมอบคืนทรัพย์สิน สิทธิและผลประโยชน์ทุกชนิดของอังกฤษในประเทศไทยในสภาพเดิมและไม่เสื่อมราคา

3) รัฐบาลอังกฤษและอินเดียจะสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

4) ไทยจะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตของไทยเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย โดยรัฐบาลอังกฤษไม่เห็นชอบด้วย

5) ห้ามประเทศไทยส่งข้าว ดีบุก ยางพารา ไม้สัก ออกนอกประเทศ เว้นเสียแต่จะได้รับการขอร้องจากองค์กรพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้น

6) ไทยจะให้ข้าวสารโดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 1.5 ล้านตัน แก่องค์การพิเศษซึ่งรัฐบาลอังกฤษจะได้ระบุ

7) ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2450 ไทยจะต้องขายข้าวที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศให้กับองค์การดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน

8) ไทยจะร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้การยอมรับข้อตกลงเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศซึ่งองค์การสหประชาชาติหรือคณะรัฐมนตรีความมั่นคงเห็นชอบแล้ว

การที่รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยอมทำข้อตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศพันธมิตร ทั้งๆ ที่ไทยประกาศสงครามกับพันธมิตร ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติงานของขบวนการเสรีไทยและการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้อย่างน่าชื่นชมของ “ผู้นำไทย” ในขณะนั้นไงเล่าครับ