รัฐศาสตร์ ราม แผน a ทํางานอะไร

รัฐศาสตร์ ราม แผน a ทํางานอะไร

คำถามนี้บอกก่อนเลยว่าเป็นปัญหาโลกเเตกมากเหมือนกัน ไม่ใช่อะไรนะครับ เพราะว่างานที่คนจบรัฐศาสตร์มาสามารถทำได้นั้น มันเยอะมาก !!!!!!!!!!!!!!!!!

หลายคนจะคุ้นเคยนะครับถ้าบอกว่าจบรัฐศาสตร์มานั้น จะไปเป็น นักการเมือง ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าฯ นักการทูต เเต่อันที่จริงเเล้วคนจบรัฐศาสตร์มานั้นมีงานให้ทำมากมาย

ในวันนี้ สู้สอบตรงจะรวบรวมอาชีพต่างๆที่คนจบรัฐศาสตร์นั้นได้ทำกันมาให้กับน้องๆได้ดูกัน

อาชีพที่คนจบรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่นั้นทำกัน ได้เเก่ ปลัดอำเภอ, นายอำเภอ, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ปลัดกระทรวง, เจ้าหน้าที่ด้านการปกครองอื่น ๆ, ข้าราชการในกระทรวงต่างๆ, ข้าราชการในองค์กรอิสระต่างๆ นักการเมืองระดับประเทศ, นักการเมืองระดับท้องถิ่น, นักวิชาการ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักการฑูตในระดับต่างๆ, พนักงานในองค์กรระหว่างประเทศ, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน, เจ้าหน้าที่ประสานงาน, เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล, เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล, นักวิเคราะห์โครงการ, นักวิเคราะห์การลงทุน, นักวิเคราะห์ระบบงาน, นักบริหารองค์การระดับสูง, พนักงานธนาคาร, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, ผู้ประกาศข่าว ฯลฯ

โอ้โหทำไมมันเยอะขนาดนี้ !!! นี่ยังเป็นเเค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่คนจบรัฐศาสตร์เขาทำกัน ที่สายงานมันเยอะขนาดนี้ก็เพราะว่า รัฐศาสตร์ไม่ใช่สาขาวิชาที่เป็นวิชาชีพเฉพาะ เเต่เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์หลายเเขนงเข้าด้วยกัน ทำให้ทักษะของคนจบรัฐศาสตร์นั้นสามารถทำงานได้มากมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรืองานอิสระ

เราเห็นได้ครับว่าเรียนรัฐศาสตร์จบมา มีสายงานรองรับบัณฑิตมากมาย เเต่ที่มากกว่าการนั้นรัฐศาสตร์ได้สอนให้เราเข้าใจโลก เข้าใจสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ให้เรามองโลกได้กว้างขึ้น เข้าใจผู้คนมากขึ้น

ดังนั้นการเรียนรัฐศาสตร์จะได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด มาสู้ไปพร้อมกันกับพวกเราชาวสู้สอบตรง

ที่มา TU Fight Camp

รัฐศาสตร์ ราม แผน a ทํางานอะไร

คณะรัฐศาสตร์ ต้องเรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร ?

คณะรัฐศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐและสังคม การเมืองเปรียบเทียบแนวความคิด และระบบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ซึ่งส่วนใหญ่ตามมหาลัยต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ แต่ในบางมหาวิทยาลัยในปัจจุบันจะมีเพิ่มสาขาวิชาแตกออกไปอีก ยกตัวอย่าง สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย เป็นต้น แล้วแต่ละสาขาต้องเรียนอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

1.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

การศึกษาในสาขานี้ มุ่งทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเรา โดยจะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ

2.สาขาการระหว่างประเทศ

เป็นสาขาที่มุ่งทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชน  เพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว ความกินดีอยู่ดีของประชาชนในแต่ละประเทศ ความสำเร็จในธุรกิจการค้าองอาศัยความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ

3.สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

การศึกษาในสาขานี้จะศึกษาเรื่องการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ การบริหารบุคคล การคลัง การ งบประมาณ และการวางแผนจัดทำโครงการ เทคโนโลยีการบริหาร และการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ โดยเป็นปัญหาที่สำคัญ ๆ ที่ได้รับการสนใจและมีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน

4.สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นสิ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบ แต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติงาน และการพัฒนาสังคม

5. สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ  วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักและทฤษฎีการบริหาร กระบวนการและการบริหารคดี หลักการสืบสวนสอบสวน ทฤษฎีทางอาญาวิทยา  การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันอาชญากรรมและปัญหาสังคม หลักยุติธรรมชุมชน และการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในสังคม  ตลอดทั้งการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในองค์การ

ลักษณะนิสัย/คุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนรัฐศาสตร์

  • เป็นคนช่างสงสัย เชื่ออะไรยาก ไม่ยอมรับอะไรอย่างปราศจากเหตุผล
  • ชอบตั้งคำถาม มีความสนใจในปัญหาของบ้านเมืองและสังคม
  • ใส่ใจกับความเดือดร้อน ทุกข์สุขของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม

เรียนจบรัฐศาสตร์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

– ประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ หรือ “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ  เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการ นายอำเภอ เป็นต้น

– งานรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานไม่ต่างจากงานราชการ ก็จะเป็นงานทางด้านบริหาร จัดการข้อมูล และวิจัย

– งานบริษัทเอกชน  ความรู้เรียนมาสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งอะไร ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับงานการวิเคราะห์ การวางแผนนโยบายต่างๆ เช่น  เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น

มหาลัยไทยที่เปิดสอนคณะ/สาขา เกี่ยวกับ รัฐศาสตร์

  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • หลักสูตรรัฐศาสตร์และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ (สิงห์ไพล)
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (สิงห์ไพร)
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (U-MDC)
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • หลักสูตรรัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Cr / https://campus.campus-star.com/variety/60577.html