การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการตาม tfrs for npaes

คำถามที่ 1 กิจการใดที่สามารถใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs

บทที่ 2 เรื่องขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs ระบุถึงกิจการที่ส ามารถใช้มาตรฐานฉบัับนี้้ได้ โดยมีรายละเอียด ดัังนี้้ สภาวิชาชีพบัญชีฯ กำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินนี้้เพื่่อกิจการที่่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะโดยครอบคลุมถึงผู้มีหน้าที่่จัดทำบัญชีตามที่่กำหนดในพระราชบัญญัตัการบัญชีพ.ศ.2543 มาตรา8 ที่่มิใช่กิจการที่่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ว่าจะอยู่ในลักัษณะของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือบริษัทจำกัดที่่จัดตั้้งขึ้้นตามกฎหมาย นิติบุคคลที่่ตั้้งขึ้้นตามกฎหมายต่างประเทศที่่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร และเป็นไปตามเงื่่อนไขในย่อหน้าที่่ 6 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้้

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้้

1.  กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter) รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาคหรือกิจการ ที่่นําส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนําส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สํานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่่น เพื่่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใด ๆ ต่อประชาชน

2.  กิจการที่่ดําเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้างเช่น สถาบันการเงิน บริษัท ประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาด สินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้้น เป็นต้น

3.  บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชน

4.  กิจการอื่นที่่จะกำหนดเพิ่มเติม

กิจการบางกิจการไม่ได้ดําเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง แต่ได้รับความเชื่่อถือจากลูกค้าให้ดูแลหรือจัดการทรัพยากรทางการเงินของลูกค้าโดยที่่ลูกค้าหรือสมาชิกไม่ได้เข้ามามีส่วนในการบริหารกิจการนั้้น กิจการเหล่านี้้ถือเป็นกิจการที่่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ตัวแทนการท่องเที่่ยว ตัวแทนหรือนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์โรงรับจำนำ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่่มีสถานภาพ เป็นบริษัทจำกัด เป็นต้นในกรณีที่่กิจการที่่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะไม่ประสงค์ที่่จะจัดทํารายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้้ให้กิจการ จัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRSs) ทุกฉบับ โดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ


คำถามที่ 2 หากปัจจุบันกิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) ต่อมาเข้าเงื่่อนไขที่่จะใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs (เช่น บริษัทจำกัดที่่เคยมีวัตถุประสงค์ที่่จะออกขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกแผนการดังกล่าวแล้ว) กิจการจะสามารถใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs ได้หรือไม่

1.  กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้มาตรฐานฯ ให้เหมาะสมกับกิจการและต้องเปิดเผยเหตุผลว่าทำไมจึงเลือกใช้ มาตรฐานฯ นั้้นโดยกิจการต้องให้เหตุผลว่าการใช้มาตรฐาน TFRSfor NPAEs ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลที่่น่าเชื่่อถือ และเกี่่ยวข้องกับการตัดสินใจมากยิ่งขึ้นอย่างไร และต้องคำนึงถึงประโยชน์์ต่อผู้ใช้งบการเงิน เนื่่องจาก TFRS for NPAEs บทที่่ 5 และ TAS 8 กำหนดว่าการเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชีทำได้ถ้าการเปลี่่ยนแปลงนั้้นเข้้าเงื่่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งดัังนี้้

  • เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
  • ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้้นในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบของรายการค้าเหตุการณ์และสถานการณ์อื่่นที่่มีต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ

2.  อย่างไรก็ตามเมื่อกิจการประเมินแล้วและให้เหตุผลได้ว่าการเปลี่่ยนแปลงไปใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs เป็นไปตามบทที่่ 5 และ TAS8 แล้วการเปลี่่ยนแปลงการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่่ใช้ต้องมีการปรับัปรุงงบการเงินโดยวิธีปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินเสมือนว่าใช้ TFRS for NPAEs ตั้้งแต่แรกตามข้อกำหนดในบทที่่ 5 เรื่่อง การเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชี


คำถามที่ 3 ในกรณีที่่กิจการเคยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้ถูกเพิกถอนแล้ว รวมถึงเพิกถอนโดยสมัครใจหรือโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงกรณีที่่กิจการได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเปลี่่ยนความตั้้งใจที่่จะไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วแต่ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนอยู่กิจการจะสามารถเปลี่่ยนมาใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสำหรับ NPAEs ได้หรือไม่

กิจการไม่สามารถเปลี่่ยนมาใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs ได้ด้วยเหตุผลของการถูกเพิกถอน หลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือเพิกถอนโดยสมัครใจ เพราะแม้จะไม่เข้านิยามของ “กิจการที่่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ”ตามย่อหน้าที่่ 6.1 ของTFRS for NPAEs ที่่เป็นกิจการที่่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้้ของกิจการซึ่่งมีการซื้้อขายต่อประชาชน1  แต่กิจการยังคงเข้านิยามตามย่อหน้าที่่ 6.3 ของ TFRS for NPAEs ซึ่่งระบุว่าเป็น “บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน” ดัังนั้นกิจการจึงยังคงต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) ต่อไปเช่นเดิม


คำถามที่ 4 กิจการที่่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS 15 เรื่่อง รายได้จากสัญญาที่่ทำกับลูกค้าหรือ TFRS 16 เรื่่อง สัญญาเช่า หรือไม่

กิจการต้องไม่นำ TFRS15 หรือTFRS16 มาถือปฏิบัติเนื่องจาก TFRS15 หรือTFRS16 มีผลบังคับใช้กับกิจการ ที่่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ PAEs เท่านั้้น ดังนั้นกิจการที่่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs ยังคงต้องรับรู้รายได้ตามข้อกำหนดในบทที่่ 18 เรื่่อง รายได้หรือยังคงต้องแบ่งประเภทสัญญาเช่า เป็นสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงาน และปฏิบัติตามข้อกำหนดในบทที่่ 14 เรื่่อง สัญญาเช่าเท่านั้้น


คำถามที่ 5 กิจการที่่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs และมีรายการอนุพันธ์ที่่ ใช้ในการป้องกันความเสี่่ยงกิจการ NPAEs จะถือปฏิบัติในเรื่่องการบัญชีสำหรับการบัญชีป้องกันความเสี่่ยงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงินได้หรือไม่

เนื่่องจาก TFRS for NPAEs ไม่กำหนดให้กิจการรับรู้รายการสำหรับการบัญชีป้องกันความเสี่่ยง หากกิจการเห็นถึงประโยชน์ของการรับรู้รายการสำหรับรายการดังกล่าว กิจการก็สามารถจัดทำได้โดยอาจปฏิบัติตามข้อกำหนดที่่เกี่่ยวข้องกับการบัญชีป้องกันความเสี่่ยงในมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่่องมือทางการเงิน รวมถึงการเปิดเผยที่่เกี่่ยวข้องซึ่งหากถือปฏิบัตดังกล่าวกิจการต้องถือเป็นการเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามข้อกำหนดในบทที่่ 5 เรื่่อง การเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด


คำถามที่ 6 กิจการที่่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs จะสามารถเลือกใช้วิธีการตีราคาใหม่ในการวัดมูลค่าภายหลังของที่่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และ/หรือใช้วิธีการวัดมูลค่ายุติธรรม ในการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่่อการลงทุนได้หรือไม่

สำหรับงบการเงินที่่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่่เริ่มในหรือหลังวันที่่ 1 มกราคม 2563 กิจการสามารถเลือกใช้วิธีการตีราคาใหม่ในการวัดมูลค่าภายหลังของที่่ดิน อาคารและอุปกรณ์และ/หรือวิธีการวัดมูลค่ายุติธรรมอสังหาริมทรัพย์ เพื่่อการลงทุนได้โดยต้องปฏิบัติตามประกาศสภาวิชาชีพ ที่่ 42/2563 เรื่่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับมาตรฐาน การรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะเรื่่องที่่ดิน อาคารและอุปกรณ์และอสังหาริมทรัพย์เพื่่อการลงทุน


คำถามที่ 7 ในกรณีที่่กิจการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ NPAEs แต่มีการนำหลักการบัญชีขีองมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) มาถือปฏิบัติ 2 ซึ่งหลักการของมาตรฐานการรายงานทางการเงินนั้้นได้กำหนดให้กิจการรับรู้รายการกำไรหรือขาดทุนบางประเภทใน “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่่น (Other Comprehensive Income – OCI)” สำหรับงวดในงบกำไรขาดทุุนเบ็ดเสร็จ แต่ TFRS for NPAEs บทที่่ 4 เรื่่อง การนำเสนองบการเงิน ย่อหน้าที่่ 31.2 ระบุให้กิจการจัดทำ งบกำไรขาดทุนเท่านั้น เพื่่อแสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวด ดัังนั้้น กิจการจะต้องรับรู้รายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นดังกล่าว อย่างไร

สำหรับรายการซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) กำหนดให้รับรู้ไว้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับงวดนั้้นให้กิจการถือปฏิบัติกับรายการดังกล่าวโดยรับรู้ไปยังส่วนของเจ้าของโดยตรงแทน

รายการกำไรขาดทุนที่ รับรู้ไปยังส่วนของเจ้าของโดยตรง : รายการทั้้งหมดที่กิจการใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสำ หรับ NPAEs ต้องรับรู้ผลกำไร (ขาดทุน) ไปยังส่วนของเจ้าของโดยตรงได้ ประกอบด้วย

1.  เงินลงทุนในตราสารหนี้้ที่เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด ประเภทหลักทรัพย์เผื่อขาย: ให้รับรู้ผลกำไร (ขาดทุน) จากการปรับมูลค่าเงินลงทุนไปยังส่วนของเจ้าของโดยตรงโดยเมื่่อมีการจำหน่ายเงินลงทุนให้โอนผลกำไร (ขาดทุน)จากการปรับมูลค่าที่อยู่ในส่วนของเจ้าของโดยรับรู้ เป็นผลกำไร(ขาดทุน)จากการจำหน่ายเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุนทันที (ดูบทที่่ 9 ของ TFRS for NPAEs เรื่่อง เงินลงทุน)

2.  ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กรณีกิจการเลือกวิธีการตีราคาใหม่ : เมื่่อรับรู้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ไปยังส่วนของเจ้าของโดยตรงภายใต้หัวข้อ “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์” แล้วกิจการอาจโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่แสดงอยู่ในส่วนของเจ้าของนั้นไปยังกำไรสะสมโดยตรง ทั้งนี้การโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาไปยังกำไรสะสมต้องไม่ทำผ่านงบกำไรขาดทุน (ดูประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 42/2563 เรื่่อง ข้อกำหนด เพิ่มเติมสำหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะเรื่่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และอสังหาริมทรัพย์เพื่่อการลงทุน)

3.  ผลกำไรขาดทุนจากหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยจากการวัดมูลค่าใหม่ของโครงการผลประโยชน์ของพนักงานทีกำหนดไว้ (ในกรณีทีกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน) : ผลกำไรขาดทุนจากหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้รับรู้ในส่วนของเจ้าของและต้องไม่ถูกจัดประเภทรายการใหม่ในงบกำไรขาดทุนในงวดต่อมา (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน)

4.  ส่วนของผลกำไรและขาดทุนที่มีประสิทธิผลจากเครื่่องมือที่่ใช้ป้องกันความเสี่่ยงในการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด (กรณีเลือกใช้เรื่่องของการบัญชีป้องกันความเสี่่ยง) : ให้รับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนในส่วนที่มีประสิทธิผลของเครื่่องมือที่่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในส่วนของเจ้าของ และผลกำไรหรือขาดทุนส่วนที่่เหลือของเครื่่องมือที่่ใช้ป้องกันความเสี่่ยง (หรือผลกำไรหรือขาดทุนที่่คงเหลือของการเปลี่่ยนแปลงของสำรองการป้องกัน ความเสี่่ยงในกระแสเงินสด) ถือเป็นส่วนของการป้องกันความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิผลที่ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุน ทั้้งนี้้ จำนวนเงินสะสมในสำรองการป้องกันความเสี่่ยงในกระแสเงินสด สามารถโอนไปรวมอยู่ในราคาทุนเริ่มแรกหรือมูลค่าตามบัญชีอื่นของสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้้น หรืองบกำไรขาดทุน แล้วแต่กรณี ทั้้งนี้้ให้ถือปฏิบัติตามที่่กำหนดในมาตรฐาน การรายงานทางการเงินที่่เกี่ยวข้อง (ดูย่อหน้าที่่ 6.5.11 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน)

หากต้องการรับข่าวสารดีๆ อัพเดทความรู้บัญชี-ภาษี และโปรโมชั่นจากเรา สมัครรับข่าวสารได้ ที่นี่

ขอบคุณที่มา https://www.tfac.or.th/upload/9414/09g0uJAMJu.pdf

การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการตาม tfrs for npaes

ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยมในการส่งต่อความรู้ดีๆ ให้กับนักบัญชีและผู้สอบบัญชีในรูปแบบ e-learning ที่ช่วยให้การเก็บชั่วโมง CPD เป็นเรื่องง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน