แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร

ขนาด

2.00 ม., 2.05 ม., 2.10 ม., 2.15 ม., 2.20 ม., 2.25 ม., 2.30 ม., 2.35 ม., 2.40 ม., 2.45ม., 2.50 ม., 2.55 ม., 2.60 ม., 2.65 ม., 2.70 ม., 2.75 ม., 2.80 ม., 2.85 ม., 2.90 ม., 3.00 ม., 3.05 ม., 3.10 ม., 3.15 ม., 3.20 ม., 3.25 ม., 3.30 ม., 3.35, 3.40 ม., 3.45 ม.

การใช้งานแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จ


• สามารถใช้ในงานต่อเติมชั้นต่างๆของอาคาร
• งานรั้วบ้าน งานพนังกั้นน้ำ งานกำแพงกันดิน
• ทำบันไดบ้านหรืออาคารภายนอก

ข้อดีของแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จ


• แผ่นพื้นคอนกรีต สะดวกในการใช้งาน ง่ายต่อการติดตั้ง
• แผ่นพื้นคอนกรีต ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเทปูน ฉาบปูนตามฉบับวิธีการเดิมๆ
• แผ่นพื้นคอนกรีต สามารถทนแดดทนฝนได้อย่างดี
• แผ่นพื้นคอนกรีต สามารถทาสีได้สวยงาม
• แผ่นพื้นคอนกรีต สามารถเจาะเผื่อตอนยึดพุกแขวนอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆได้

Skip to content

  • หน้าแรก
  • สินค้าของเรา

    • แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร

  • โปรโมชั่น/ข่าวสาร
  • ผลงาน
  • แจ้งการโอนเงิน
  • ติดต่อเรา
  • บัญชีลูกค้า
    • Checkout
    • Cart

“แผ่นพื้นสำเร็จรูป” มีกี่แบบ ใช้งานอย่างไร?

“แผ่นพื้นสำเร็จรูป” มีกี่แบบ ใช้งานอย่างไร?

  • View Larger Image
    แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร

ปัจจุบันการก่อสร้างบ้านหลายรูปแบบ จะเลือกใช้ “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” กันมากขึ้น เพราะพื้นสำเร็จรูปนั้นใช้เวลาไม่นาน ทำให้ประหยัดเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างด้วย งานของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น ออกแบบให้สามารถรับน้ำหนัก และมีความแข็งแรงทนทานได้ดี ในการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูป ว่าเป็นแบบไหน? จะมีวิธีวางอย่างไร? ตาม KACHA มารู้จักไปพร้อมกันเลย

แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร


ซึ่งจำนวนเหล็กที่ใช้ในการเสริม จะมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด หลายจำนวน โดยในการเลือกใช้ จะเลือกใช้ตามน้ำหนักที่ต้องทำการแบกรับของพื้นที่ที่ต้องการสร้างขึ้นตามตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (Safe superimposed service load) ที่ทางผู้ผลิตได้จัดทำไว้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ตามความต้องการ

แผ่นพื้นสำเร็จรูปหรือแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบ (Pre-Stressed Concrete Slab) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีขนาด ความกว้าง 35 ซม., หนา 5 ซม., ความยาวตั้งแต่ 0.5 – 5 ม., หรือเรียกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูป ขนาด 0.35 × 0.05 ม. ใช้เหล็กลวดอัดแรง PC Wire ขนาดของเส้นศูนย์กลางเหล็กลวด 4 มิลลิเมตร ชนิดรับแรงดึงสูง

แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร

ชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูป

แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบ (Plank Panel)

คือ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรงแบบตันที่ด้านล่างมีลักษณะเรียบ แม้ไม่ต้องฉาบก็ดูสวยงาม สำหรับด้านบนจะมีลักษณะที่ขรุขระ เพื่อให้สามารถประสานกับคอนกรีตที่เททับลงมาเป็นเนื้อเดียวกัน

** แผ่นเรียบชนิดนี้นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้าน ทาวเฮ้าส์ หรืออาคารขนาดเล็ก และขนาดกลาง **

2. แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดกลวง (Hollow core Slab)

คือ แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบมีรูกลวงยาวตลอดทั้งแผ่น ซึ่งรูกลวงจะเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อของหน้าตัด แผ่นคอนกรีตชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบากว่าแผ่นคอนกรีตชนิดแรก แต่มีสามารถรองรับน้ำหนักได้เช่นเดียวกัน นิยมใช่ในงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ตัวอาคารมีน้ำหนักเบาลง

ขั้นตอนการวางแผ่นคอนกรีต

สำหรับขั้นตอนในการวางแผ่นคอนกรีตนั้น มีดังนี้

1. เตรียมพื้นที่

การเตรียมพื้นที่จะเป็นการเตรียมคานสำหรับใช้วางแผ่นพื้นสำเร็จนั่นเอง ซึ่งการเตรียมคานจะต้องทำให้เสร็จก่อน ถึงจะสามารถนำแผ่นพื้นสำเร็จมาวางได้ ซึ่งขั้นตอนการเตรียมคานสำหรับจัดวาง มีดังนี้

  • เตรียมคานให้มีความกว้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เนื่องจากการวางแผ่นพื้นสำเร็จ จะต้องมีส่วนซ้อนกันระหว่างคานกับแผ่นพื้นอย่างน้อย 5 – 7.5 เซนติเมตร และความยาวของคานจะต้องพอดีกับความยาวของแผ่นสำเร็จต่อกัน เพื่อที่เวลาวางแล้วแผ่นจะได้ไม่เกิดการซ้อนกัน
  • เคลียร์พื้นคานด้านบนให้เรียบ และสูงเท่ากันทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหัว กลาง และท้ายคาน เพื่อที่เวลาวางแผ่นพื้นสำเร็จแล้ว แผ่นพื้นสำเร็จจะแนบชิดกันสวยงาม
  • เตรียมไม้ค้ำยันชั่วคราวที่บริเวณด้านล่างแผ่นพื้นสำเร็จ เพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักของคอนกรีต เวลาที่ทำการเททับด้านบนแผ่นพื้นสำเร็จ ซึ่งไม้ค้ำยันจะช่วยรองรับน้ำหนักคอนกรีตที่เทลงมา ทำให้แผ่นพื้นสำเร็จไม่เกิดการแตกร้าวขึ้นได้
  • เตรียมเหล็กขนาด 9 มม. 2 เส้น เสียบฝั่งลงในคานที่จุดเดียวกัน โดยการฝั่งเหล็กจะต้องทำการฝั่งทุก 35 หรือ 40 เซนติเมตร โดยเหล็กนี้จะเป็นตัวเพิ่มแรงยึด และลดการแตกร้าวของพื้น

2. วางแผ่นพื้นสำเร็จรูป

  • การวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะใช้เครื่องมือสำหรับยกแผ่นพื้น เช่น เครน, รถเฮี้ยบ เป็นต้น โดยทำการคล้องสลิงที่หูหิ้วเหล็กที่ติดมากับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
  • นำแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาวางบนคาน โดยมีระยะนั่งคานอยู่ระหว่าง 5 – 7 เซนติเมตร
  • ทำการจัดเรียงแผ่นพื้นสำเร็จรูปให้เป็นระเบียบ และวางแนบสนิทกัน โดยไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น

3. เทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จรูป

การเทคอนกรีตทับหลังจากวางแผ่นพื้นสำเร็จเพื่อประสานแผ่นพื้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น โดยก่อนที่จะเทคอนกรีต ต้องทำการวางเหล็กเสริมพิเศษและเหล็กกันร้าวก่อน จึงค่อยทำการเทคอนกรีตลงไป

ในการเทคอนกรีต จะต้องทำการเกลี่ยคอนกรีตให้มีความหนาเท่า ๆ กันทุกส่วน และทำการบ่มคอนกรีต เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อทุกสภาพอากาศ 👉 สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ คอนกรีต ได้ที่นี่

ลักษณะของแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดี

  1. มีเหล็กหูหิ้วที่ยึดติดมากับแผ่นพื้น สำหรับใช้ในการขนย้าย และเป็นตัวช่วยในการยึดเกาะกับคอนกรีตที่เททับด้วย
  2. ไม่มีรอยแตกร้าวบนแผ่น
  3. จำนวนเหล็กแรงดึงสูงตรงตามที่กำหนด
  4. ขนาดความยาว และความหนาของแผ่น ต้องตรงตามที่กำหนด เพราะหากมีขนาดที่ไม่ตรงกัน การรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จจะเปลี่ยนตามไปด้วย

แผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูป 3 เมตร


จะเห็นว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น นับว่าเป็นตัวช่วยในการก่อสร้างที่ได้ผลดี ทำให้งานก่อสร้างเสร็จรวดเร็ว ช่วยประหยัดทั้งเงิน และเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี ดังนั้นควรทำความเข้าใจ ให้ดีก่อนเลือกใช้งาน เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของเรานั่นเอง

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

Share This Post With Others!

Title

Page load link

Go to Top