แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย

12 ก.ค.63-ที่บ้านเลขที่ 2หมู่ 5 ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง  นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร. รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช หรืออาจารย์ “อิ๋ว” นักโบราณคดี  และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้เข้าตรวจสอบวัตถุโบราณ  มีภาชนะดินเผาบรรจุอาหาร เครื่องมือหินและเครื่องประดับจากหิน กระดูกหรืองาช้าง หลุมศพด้วย และยังพบวัตถุโบราณ และ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ขวานสำริดที่พบนั้น ใช้เพื่อในการล่าสัตว์ จำนวนมาก ที่บ้านของนายสมเกียรติ บริบูรณ์  อายุ 54ปี

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย

หลังจากที่นายสมเกียรติได้ขุดพื้นที่นาจำนวน17ไร่ บริเวณกลางทุ่งนาด้านข้างองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง เพื่อทำการขายหน้าดิน โดยขุดลึกไปประมาณ 1.50เมตร ก็พบโครงกระดูกมนุษย์  ฟอสซิลสัตว์ รูปร่างคล้ายมีด ขวานหิน  เครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก จึงหยุดการขุดดินขาย และนำวัตถุโบราณมาเก็บไว้ที่บ้าน พร้อมได้แจ้งไปยังจังหวัดอ่างทอง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อตรวจสอบ

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแจ้งว่าให้ทราบว่า แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3,000ปี และทางด้านเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร พร้อมเตรียมนำข้อมูลเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อสืบค้นหาแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ส่วนทางด้าน นายพงษ์พันธ์  กล่าว มีแนวความคิดว่า หากเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จริงก็เตรียมร่วมมือกับทางศิลปากร ทำเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยว ในอนาคตต่อไป

แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่บ้านก้านเหลือง หมู่บ้านที่มีไม้ยืนต้นประเภทไม้เนื้อแข็งแก่นของลำต้นมีสีเหลืองขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตสมัยก่อนที่จะมีตัวหนังสือใช้ในแถบนี้ มีอายุประมาณ 1500-2500 ปีมาแล้ว โดยสำรวจพบโบราณวัตถุเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากกระจัดกระจายบนเนินดินด้านทิศตะวันออกของวัดบ้านก้านเหลือง และเมื่อขุดค้นทางโบราณคดีแล้ว ได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งโบราณคดีขึ้น เพื่อจัดแสดงเรื่องราวพฤติกรรมของมนุษย์และคติความเชื่อในการฝังศพสมัยโบราณ ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง ตั้งอยู่ในวัดก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย
การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติการค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อุบลราชธานี

เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2534 เป็นต้นมา ได้ปรากฏข่าวการค้นพบโบราณวัตถุจากการขุดไถปรับพื้นที่เพื่อทำบ้านจัดสรรในบริเวณบ้านก้านเหลือง และเมื่อมีข่าวแพร่กระจายออกไป ได้มีกลุ่มชาวบ้านพากันมาขุดหาโบราณวัตถุเพื่อไปจำหน่าย จนหลักฐานต่าง ๆ ทางโบราณคดีถูกทำลายเสียหายเป็นจำนวนมาก

กรมศิลปากร จึงจัดทำโครงการเพื่อหางบประมาณมาทำการสำรวจ ศึกษา และเก็บข้อมูลทางวิชาการไว้ และในปี พ.ศ. 2535 หน่วยศิลปากรที่ 6 พิมาย กองโบราณคดีซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เขตอีสานล่างในขณะนั้น ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี ซึ่งได้ทำการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีและศึกษาหลักฐานต่าง ๆ พร้อมกับจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งโบราณคดี

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย
เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง

การเก็บหลักฐานและข้อมูลวิชาการตามแนวทางโบราณคดีวิทยา ในแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง

กรมศิลปากร ได้วางแนวทางการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองไว้โดยการสำรวจหลักฐานที่พบบนผิวดินและเก็บข้อมูลวิชาการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทางโบราณคดีจึงต้องขุดค้นหาหลักฐานที่อยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไปกว่าชั้นดินปัจจุบัน โดยได้เลือกบริเวณที่ไม่ถูกรบกวนเป็นหลุมขุดค้นทางโบราณคดีขึ้น 2 หลุม ขุดลงไปทีละชั้นจนกระทั่งถึงชั้นดินที่ปราศจากการกระทำของมนุษย์

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย
เศษเครื่องปั้นดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง

ความสำคัญของแหล่งโบราณคดรบ้านก้านเหลือง

ผลของการขุดค้นศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าบริเวณบ้านก้านเหลืองในอดีตมีคนเข้ามาใช้พื้นที่นี้ตั้งแต่เมื่อ 1500-2500 ปีมาแล้ว เป็นคนในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อกับระยะเริ่มต้นประวัติศาสตร์

หลักฐานที่พบในระดับลึกที่สุด จัดให้อยู่ในสมัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคโลหะตอนปลาย) พบหลักฐานเครื่องมือเหล็ก ขี้แร่ที่เหลือจากการถลุง แกลบข้าว เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือช่วยปั้นหม้อที่เรียกว่า หินดุ แท่งดินเผาไฟ เป็นต้น

หลักฐานที่สำคัญที่สุด คือ การค้นพบภาชนะบรรจุกระดูกขนาดใหญ่จำนวน 11 ใบ 7 แบบ โดยภาชนะในกลุ่มรูปทรงรีพบอยู่ในชั้นดินลึกที่สุด ต่อมาพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปทรงภาชนะเป็นทรงกลมแทน จึงได้พบรูปทรงกลมอยู่ในชั้นดินที่สูงกว่า ภาชนะทั้งสองทรงเป็นภาชนะที่มีฝาปิดเสมอ

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย

แม้ในการขุดค้นภาชนะขนาดใหญ่ดังกล่าว จะไม่พบร่องรอบของชิ้นกระดูกอยู่ภายในเลยก็ตาม แต่ได้นำตัวอย่างดินที่พบในภาชนะนั้นไปให้นักวิทยาศาสตร์ของกรมศิลปากรวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดิน พบว่าดินในภาชนะมีปริมาณของฟอสเฟตและแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าดินทั่วไป ทำให้เชื่อว่าน่าจะเกิดมาจากองค์ประกอบหลักทางเคมีของกระดูกที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตและคาร์บอเนตของแคลเซียม ซึ่งถูกย่อยสลายไปหมดเนื่องจากความเป็นกรดของฝนซะในเวลานานหลายร้อยปี

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย
เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณบ้านก้านเหลือง

ในภาคอีสานบริเวณลุ่มน้ำมูลและชี ได้ค้นพบภาชนะบรรจุกระดูกอยู่โดยทั่วไปด้วยเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่มีกระดูกหักรวมกันอยู่ภายในภาชนะดินเผา หรือที่เรียกกันว่าเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 ภายหลังจากการทำศพครั้งแรกแล้วทิ้งระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง จึงนำกระดูกมาใส่รวมกันในภาชนะมีเครื่องเซ่นศพฝังรวมกันไปด้วย ประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะ พบว่ามีการแพร่กระจายเข้าไปดินแดนลาวที่เรียกว่าทุ่งไหหิน และในประเทศเวียดนามด้วย

แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองจึงอาจแสดงหลักฐานการฝังศพครั้งที่ 2 ของคนในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อันเป็นสังคมที่รู้จักการเพาะปลูก (ข้าว) รู้จักการถลุงโลหะ และทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะเหล็กและสำริด รู้จักการปั้นภาชนะดินเผา อายุของชุมชนนี้อยู่ระหว่าง 1500 – 2500 ปีมาแล้ว

หลักฐานที่พบจากชั้นดินระดับบน ๆ น่าจะมีอายุอยู่ในระยะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่าวัฒนธรรมทวารวดี โบราณวัตถุที่พบมีพวยกาดินเผา แวดินเผา เศษเหล็ก ขี้แร่ แท่งดินเผา ลูกปัดดินเผา กระพรวนสำริด และขวานเหล็ก เปรียบเทียบอายุสมัยของโบราณวัตถุเหล่านี้ กับหลักฐานที่พบในแถบอีสานโดยทั่วไปมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16

แหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ การขุดค้นที่บ้านโนนนกทา ตำบลนาดี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัด อุดรธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดค้นที่บ้านเชียง นับเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทางโบราณคดีไปทั่วโลก

แหล่งโบราณคดีของไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือข้อใด *

แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีการขุดพบหลุมศพ ...

แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

10 สุดยอดโบราณสถานไทย แหล่งอารยธรรมโบราณและความเป็นมาของชาติ.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย.
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ “วัดพระแก้ว” จังหวัดกรุงเทพฯ.

แหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกคือที่ใด

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในประเทศไทยนั้น ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญมาแห่งหนึ่ง เพราะมีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่ใช้ระบบมาตรฐานสากลขึ้นเป็นครั้งแรก