ผลงานทัศนศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้นเมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทยปัจจุบันคำว่า “ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ from พัน พัน

ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์กับศิลปรรมก่อนประวัติศาสตร์

การ สร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์ในยุคนั้นไม่ใช่ทำไว้เพื่อต้องการอวดโฉมไว้แก่ มนุษย์รุ่นหลัง แต่เขาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อบันทึกการดำรงชีวิตของตนเองไว้ ทั้งด้านการใช้สอย อาวุธ เครื่องมือ สร้างเพื่อผลทางความเชื่อ และเพื่อผลทางความงาม
สำหรับศักยภาพของมนุษย์ในสมัยนั้น ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะออกมาได้เป็นเพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ รู้จักคิด และเป็นความคิดที่น่าอัศจรรย์เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่นๆ ทำให้มนุษย์สามารถใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารหรือเป็นตัวแทนความคิดต่างๆได้ และได้กลายเป็นภาษาในการสื่อสารและทำให้เกิดความเจริญต่อๆมา เพราะภาษาที่ใช้นั้นซับซ้อนมากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านมันสมองและร่างกายเรื่อยมา


ชีวิตและศิลปกรรมของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปะ ของมนุษย์สมัยนั้นมีความผูกพันเกี่ยวกับเนื่องกับวิถีชีวิตของมนุษย์สมัย นั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อดูเชิงในการวิวัฒนาการของมนุษย์ในยุคนั้น นักโบราณคดีได้จำแนกช่วงเวลาเพื่อศึกษามนุษย์กลุ่มนี้ โดยอาศัยพัฒนาการวัตถุศิลปะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตเป็นตัว จำแนก  ดังนั้นศิลปกรรมของมนุษย์สมัยนั้นแบ่งเป็น 3 ช่วงที่สำคัญคือ..
-ยุคหินเก่า(Paleolithic or Old Stone Age, 30000-10000ปีก่อนคริสตกาล)
-ยุคหินกลาง(Mesolithic or Middle Stone Age , 10000-8000 ปีก่อนคริสตกาล)
-ยุคหินใหม่ (Neolithic or New Stone Age , 8000-3000 ปีก่อนคริสกาล)
ศิลปกรรมยุคหินเก่า (Paleolithic or Old Stone Age)

ในซีกโลกตะวันตก มนุษย์ที่มีชีวิตในช่วงยุคหินเก่าที่ปรากฎหลักฐานอย่างโดดเด่นคือ มนุษย์โครมายอง(Cro-Magnon)ซึ่งเรียกตามชื่อถ้ำโครมายองซึ่งอยู่ทางทิศตะวัน ตกของฝรั่งเศส ถ้ำนี้พบโครงกระดูกและศิลปะวัตถุของมนุษย์ยุคนั้นเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่ามนุษย์กลุ่มนี้จัดเป็นหนึ่งในมนุษย์สมัยใหม่ หรือมนุษย์โฮโมซาเปี้ยนส์(Homo Sapiens) มนุษย์กลุ่มนี้มีรูปร่างสูงใหญ่โดยมีความสูงเกือบ 6 ฟุต กะโหลดศรีษะยาว ใบหน้าสั้น มีปริมาณสมองใกล้เคียงชาวยุโรปปัจจุบัน มีถิ่นอาศัยกระจายอยู่ทั่วยุโรปและเอเชีย มนุษย์โครมายองนอกจากจะมีความสามารถในการเขียนภาพบนผนังถ้ำแล้ว ยังรู้จักเผาศพและสักบนใบหน้า ถัดจากสมัยโซลูเทรียน ในยุคหินเก่าตอนท้ายได้ก้าวเข้าสูสมัยแมกดาเลเนียน(Magdalenian) ซึ่งเป็นช่วงที่ปรากฏมนุษย์เผ่าพันธุ์หนึ่งชื่อว่ากริมาลดี(Grimaldi)ซึ่งมี ความสามารถทางศิลปะไม่แพ้มนุษย์โครมายอง ผลงานของพวกเขาเป็นภาพเขียนบนผนังถ้ำ ภาพแกะสลัก และปั้นรูปสัตว์ต่างๆ การทำเข็มกระดูกสัตว์เพื่อเย็บหนังสัตว์
อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้ว มนุษย์ในยุคหินเก่าจะดำรงชีพโดยการล่าสัตว์และหาพืชผักผลไม้เป็นอาหาร พวกเขาต้องพึ่งพาธรรมชาติ และสถาวะแวดล้อมอย่างมาก และเมื่อฝูงสัตว์หรือพืชผักหมดลง พวกเขาก็จะอพยพย้ายไปหาแหล่งใหม่ และมักอยู่ใกล้ทะเลหรือหนองน้ำเพื่อหาอาหาร และน้ำ แม้แต่ถ้ำที่อาศัยก็จะมีลำธารไหลผ่าน เมื่อลำธารนั้นอุกตันก็จะย้ายไปหาถ้ำใหม่อาศัย
ชีวิตส่วนใหญ่ของพวกเขาหมดไปกับการหาอาหาร การป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติและสัตว์ร้ายรวมทั้งต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกัน เพื่อการอยู่รอด โดยใช้หินกระเทาะเป็นอาวุธหรือเครื่องมือ ส่วนระบบสังคมยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นชุมชนหมู่บ้านหรือเมืองอย่างเด่นชัด
ศิลปะยุคหินเก่า(The Art of The Old Stone Age Paleolithic )

 จิตรกรรม
การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระยะแรกนั้นจะมีสภาพชีวิตคล้างคลึงกับสัตว์ป่า พวกเขาอาศัยในถ้ำมีความหนาแน่น คือถ้ำในประเทศสเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี ถ้ำที่มีชื่อเสียงคือ ถ้ำAltamira ,ถ้ำ์Niaux ,ถ้ำla Madeleine ,ถ้ำLascaux ,ถ้ำFont-de-Gaume ซึ้งอยู่ในบริเวณประเทศสเปนกับฝรั่งเศส
ร่องรอยของมนุษย์ได้ปรากฏผ่านงานจิตรกรรมที่วาดบนผนังถ้ำ โดยลักษณะรูปแบบก็แตกต่างกันออกไป ถ้ำลาสโคซ์ (Lascaux) อยุ่ใกล้ Montingnac บริเวณลุ่มน้ำ Dordone ประเทศฝรั่งเศส ถูกสำรวจพบใน ค.ศ.1940  ในส่วนของงานศิลปะได้ทดสอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์พบว่าเป็นผลงานของมนุษย์ สมัยหินเก่า ถูกวาดขึ้นประมาณ 15000-13000 ปีก่อนคริสตกาล รูปแบบผลงานมีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์เช่นภาพวัวไบซัน ม้า กวาง ศิลปินได้แสดงออกเป็นภาพด้านข้างที่คำนึงถึงความเป็นจริงและลีลาเครื่อนไหว ผลงานนั้นใช้เส้นสายที่กล้าหาญแต่ไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วน ภาพสัตว์ทั้งหลายเมือเทียบสัดส่วนกันแล้วจะไม่ัสัมพันธ์กับภาพอื่น เช่น ภาพวัวบางตัวยาวถึง 16 ฟุตขณะที่ภาพม้าสูงแค่ขาของวัวเป็นต้น

 

ผลงานทัศนศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์

http://www.crystalinks.com/lascaux.jpg

 ภาพเขียนที่ถ้ำ Lascaux

ถ้ำอัลตามีรา(Altamira) อยู่ในตอนเหนือของสเปน เป็นถ้ำหินปูน ลึกประมาณ300หลา มีผลงานศิลปะของมัษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จากการทดสอบพบว่าผลงานถูกเขียนขึ้นประมาณ 15000-10000 ปีก่อนคริสตกาล โดดเด่นดานทักษะการเขียนภาพ มีเจตนาที่จะแสดงความเป็นจริง แสดงให้เห็นว่าศิลปินมีความสามารถในการสังเกตุกริยาท่าทางของสัตว์ได้เป็น อย่างดี ด้วยการระบายตัวสัตว์ด้วยสีแดงผสมกับการตัดเส้น ภาพที่ปรากฎมีทั้งภาพม้า วัวไบซัน ทั้งเดี่ยวและฝูง มีทั้งหมด 25 ภาพ แต่ละถาพใกล้เคียงขนาดสัตว์ตัวจริง
จิตรกรรมที่ถ้ำแห่งนี้ถูกยกย่องว่าเป็นผลงานที่มีความถึงพร้อมทั้งด้าน สุนทรียภาพ และวิธีการเขียน จึงมักถูกยกเป็นตัวอย่างในการพูดถึงงานจิตรกรรมในยุคนี้เสมอ

 

ผลงานทัศนศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์

ผลงานทัศนศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์

ภาพเขียนที่ถ้ำ Altamira

          สำหรับวิธีการเขียนภาพบนผนังถ้ำของศิลปินยุคหินเก่ามีวิธีที่หลากหลาย แต่โดยรวมจะใช่วิธีการวาดอย่างง่ายเช่น เอาฝ่ามือประทับบนฝาผนังใช้สีแดงหรือดำระบายรอบๆฝ่ามือซึ่งเรียว่าวิธี อิมพริ้นท์(Imprints) หรือไม่ศิลปินจะใช้วิธีวาดภาพผสมกับการพิมพ์ภาพนูนโดยใช้วิสดุผิวนูนเช่นฝ่า มือหรือวัสดุบางอย่างจุ่มสีแล้วกดลงบนผนังถ้ำ นอกจากนี้ศิลปินยังใช้วิธีพ่นด้วยหลอดกลวงที่ทำมาจากท่อนกระดูดสัตว์ และมีการระบายสีเช่นเดียวกับจิตรกรรมปัจจุบัน ต่างตรงที่วัสดุอุปกรณ์ในการวาดต่างกันตามยุคสมัย ในสมัยนั้นจะใช้ไม้มาทุบปลายให้แตกหรือใช้ปีกขนสัตว์ และกิ่งไม้แทนพู่กัน และสีที่มีในธรรมชาติคือ ดินสีดำ แดง ขาว น้ำตาล เหลือง ส่วนสีดำได้จากถ่านและเขม่าไฟ ลักษณะพิเศษของจิตรกรรมผนังถ้ำยุคหินเก่าก็คือ ศิลปินมีการคักสรรพื้นผนังที่มีลักษณะสอดคล้องกับรูปลักษณ์ของสัตว์หรือ เรื่องราวที่จะวาด

 

ผลงานทัศนศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์

 http://emilypothast.files.wordpress.com/2008/11/niaux1a.jpg

ภาพเขียนที่ถ้ำ Niaux

          ลักษณะเด่นโดยภาพรวมของจิตรกรรมบนผนังถ้ำในยุคหินเก่าคือ ศิลปินพยายามถ่ายทอดภาพที่เห็นอย่างตรงไปตรงมาและแสดงความเป็นจริงที่ตาเห็น ด้วยความมั่นใจ ศิลปินสามารถจดจำลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบของสัตว์ได้เป็นอย่างดีและจับ ลีลาท่าทางต่างๆและถ่ายทอดออกมาได้อย่างชำนาญ

ประติมากรรม

ประติมากรรมสมันก่อนประวัติศาสตร์ปรากฎที่งในยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ มีที่งการปั้นและแกะสลัก วัสถดุหลักๆในการแกะสลักในสมัยนั้นคือหิน กระดูก ไม้ เขาสัตว์ และเครื่องมือก็ทำจากหินเช่นกัน ประติมากรสมัยหินเก่ามีการใช้วิธีขูด ขัแต่ง เซาะ รูปแบบประติมากรรมจึงเป็นแบบการตัดทอนรูปทรงในธรรมชาติ ให้ง่ายต่อการแสดงออกและรับรู้ อย่างไรก้ตามเป้นที่สังเกตุว่าประติมากรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เป็นภาพ คน มักจะเป็นภาพผู้หญิงและเน้นการบ่งบอกรูปทรงทางเพศที่แสดงออกถึงร่องรอยการ ให้กำเนิดมาอย่างโชกโชน เช่น ประติมากรรมสลักหินรูปวีนัสแห่งวิเลนดอร์ฟขนาดสูง4นิ้วเศษ พบที่วิเลนดอร์ฟ(Willendorf) ออสเตรีย อายุราว 25000-20000ปีก่อนคริสตกาล ประติมากรรมวีนัสแห่งเลส์ปุค สลักจากงาช้างอายุราว 20000ปีก่อนคริสตกาล พบที่ถ้ำเลส์ปุค ฝรั่งเศส  ต่างเน้นลักษณะทางเพศและมีขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อเน้นการตอบสนองทางความเชื่อ(Belief Art) ซึ่งอาจใช้เป็นสิ่งเคารพบูชาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ติดตามตัวเพราะขนาดไม่ใหญ่ สามารถจับถือได้เหมอะมือ และสาเหตุที่เลือกเพศหญิงเพราะเพศหญิงเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตใหม่ได้ ดังนั้นประติมากรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเน้นแสดงออกถึงลักษณะดังกล่าว อย่างเด่นชัด