เจ้าชายสิทธัตถะต้องการออกบวชเพราะ

วันหนึ่งเสด็จออกจากปราสาทไปพักในสวน พอดีพระนางพิมพ์พาประสูติพระโอรส อำมาตย์ก็ไปกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่า บัดนี้พระนางพิมพาได้ประสูติพระโอรสแล้ว เพราะองค์ก็อุทาน "ราหุลํ ชาตํ" แปลว่า "บ่วงเกิดแล้ว"

อำมาตย์ผู้นั้นได้ยินก็นึกว่า เจ้าชายสิทธัตถะตั้งชื่อลูกชายว่า "ราหุล" เลยกลับไปทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า มกุฎราชกุมารพอพระทัยในการที่มีลูก ตั้งชื่อให้แล้วว่า "ราหุล"

ในความจริงนั้นไม่ใช่ พระองค์บ่นออกมาด้วยความรู้สึกในใจว่าบ่วงเกิดแล้ว "ราหุล" แปลว่า "บ่วง" มนุษย์เรานี่มีบ่วงอยู่ ๓ บ่วง

มีบุตร เรียกว่า บ่วงพันคอ

มีภรรยา เรียกว่า บ่วงผูกมือ

มีทรัพย์ เรียกกว่า บ่วงผูกเท้า

ถ้าตัด ๓ บ่วงนี้ได้ก็พ้นทุกข์ แต่ถ้ายังมี ๓ บ่วงนี้อยู่ ก็ยังจะต้องวุ่นวายทั้งหญิงและชายเหมือนกัน ถ้าเป็นบ่วงผูกมือของหญิง ก็คือ "สามี" ถ้าเป็นบ่วงผูกมือของชาย ก็คือ "ภรรยา" บ่วงทั้ง ๓ ในที่นี้ขยายความออกให้ชัดได้ว่า ถ้าคนมีบุตรมักกลืนอะไรไม่ลงเพราะคิดถึงลูก ถ้ามีโอกาสได้กินผลไม้อร่อย ต้องรีบเอาไปฝากลูก เท่ากับมีบ่วงพันอยู่ที่คอ คอยรัดคอให้แคบตลอดเวลา ส่วนภรรยาก็จูงมือไป(ผูกมือ) ทรัพย์ก็ผูกเท้าไว้ไม่ให้ไปไหนได้ ทำให้เป็นห่วงบ้าน ห่วงนั่น ห่วงนี่ พระองค์จึงถือว่าบ่วงเกิดแล้ว คือเกิดจากบุตรที่เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง

ก่อนที่พระองค์จะตัดสินใจแน่วแน่เพื่อออกบวช พระองค์เสด็จเข้าไปในห้องพระนางพิมพา ได้เห็นนางกอดลูกน้อยราหุลอยู่ นึกในใจว่า ควรบอกสักหน่อยดีหรือว่าอุ้มลูกชายสักหน่อย แล้วจึงค่อยไปดี อีกใจหนึ่งบอกว่า อย่านะ ขืนปลุกก็ไม่ได้ไปเด็ดขาด นางจะกอดแข้งกอดขาไว้จะไปได้อย่างไร ก็เลยไม่ปลุกไปยืนดูใกล้ๆ ดูด้วยความรัก

พระองค์ไม่ใช่คนใจหิน ย่อมมีอาลัยอาวรณ์เป็นธรรมดา ดูแล้วถอยออกมาแล้วกลับเข้าไปใหม่ ทำท่าจะจับจะปลุกให้ลุกขึ้น แต่ใจหนึ่งก็ว่าไม่ได้ๆ อย่ายุ่ง ให้เขานอนให้สบายแล้วก็เลยถอยหลังมาที่ประตู รีบปิดประตูแล้วผลุนผลันออกไปเลย

เจ้าชายสิทธัตถะต้องการออกบวชเพราะ


หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาค้นคว้า

หาทางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่ถึง 6 พรรษา วิธีหนึ่งที่ทรงปฏิบัติคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยา

ทุกกรกิริยา เป็นการทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เริ่มแต่ทรงกัดพระทนต์ด้วยพระทนต์

กดพระดาลด้วยพระชิวหา ผ่อนลมหายใจเข้าออกทีละน้อย เสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย จนร่างกายซูบผอม ยากที่ผู้ใดจะทำได้เท่าเทียมกับพระองค์ นับเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยมีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นพยาน แต่การปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ และพระองค์ได้ทรงเลิกในเวลาต่อมา

ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย

พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรอย่างแรงกล้าถึงขั้นอุกฤษฏ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในชมพูทวีป ถึงวาระที่ 3 คือ อดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม ซวนเซแทบจะทรงพระกายอยู่ไม่ได้นั้น อุปมาญาณก็ได้เกิดขึ้นในมโนธาตุของพระองค์ว่า "อันความเพียร ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลที่หวัง ถ้าเคร่งครัดเกินไปก็ให้ผลเสียหาย" ต่อเมื่อกระทำได้พอดีทั้งกายและใจจึงจะเกิดผลต่อผู้บำเพ็ญ ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักมักขาด ต่อเมื่อพอดีจึงจะให้เสียงนิ่มนวลฟังได้ไพเราะ

ภาพนี้ พระโบราณาจารย์ได้แสดงเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลายอยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ที่คอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์ แก่ธรรมจารีชนทั้งหลายอยู่เบื้องบน ได้เห็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวของพระมหาบุรุษ จะไร้ผลเสียเปล่า จึงได้ถือพิณสามสาย เสด็จลงมาดีดถวาย สายที่หย่อนยาน ดีดเข้าไม่ดัง สายที่ตึงนักดีดเข้าก็ขาด สายที่สามพอดีดีดเข้าประสานเสียงกลมกลืนไพเราะ พระมหาบุรุษได้สติ จึงยึดเอาพิณสายกลางที่พอดี มาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือตั้งความเพียรทางใจ ให้เป็นไปพอดี ไม่หย่อน ไม่ตึง จึงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จพระโพธิญาณสมประสงค์

บรรดาปัญจวัคคีย์ เมื่อเห็นพระองค์เลิกทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหาร ก็คลายศรัทธา พากันหลีกไป

เจ้าชายสิทธัตถะต้องการออกบวชเพราะ

ทรงรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาครั้นพระมหาบุรุษตื่นผทมแล้ว ก็ทรงดำริถึงข้อความในพระมหาสุบินทั้ง ๕ แล้วทำนายด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เอง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่แท้ ครั้นได้ทรงทำสรีระกิจ สระสรงพระกายหมดจดแล้ว ก็เสด็จมาประทับนั่ง ณ ที่ควงไม้นิโครธพฤกษ์ ในยามเช้าแห่งวันเพ็ญวิสาขะปุรณมี ดิถีกลางเดือน ๖ ปีระกา

ประจวบด้วยวันวาน เป็นวันที่นางสุชาดา ธิดาของคฤหบดีผู้มั่งคั่งในตำบลนั้น นางได้ตั้งปณิธานบูชาเทพารักษ์ไว้ว่า ขอให้นางได้สามีที่มีตระกูลเสมอกัน และขอให้ได้บุตรคนแรกเป็นชาย ครั้นนางได้สามีและบุตรสมนึก นางจึงคิดจะหุงข้าวมธุปายาสอันประณีตด้วยเครื่องปรุงทุกประการ ไปบวงสรวงเทพารักษ์ที่ได้ไปบนบานไว้ ดังนั้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ จึงสั่งให้บ่าวไพร่ตระเตรียมการทำข้าวปายาสเป็นการใหญ่ และกว่าจะสำเร็จเป็นข้าวปายาสได้ ก็ตกถึงเพลาเที่ยงคืน แล้วนางสุชาดาจึงสั่งนางปุณณทาสี หญิงคนใช้ที่สนิทให้ออกไปทำความสะอาด แผ้วกวาดที่โคนต้นนิโครธพฤกษ์นั้น เพื่อจะได้จัดเป็นที่ตั้งเครื่องสังเวยเทพารักษ์

ดังนั้น นางปุณณทาสี จึงได้ตื่นแต่เช้า เดินทางไปยังต้นนิโครธพฤกษ์นั้น เห็นพระมหาบุรุษทรงประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้นั้น ผันพระพักตร์ทอดพระเนตรไปทางปาจินทิศ (ตะวันออก) มีรัศมีพระกายแผ่สร้านออกไปเป็นปริมณฑล งามยิ่งนัก นางก็นึกทึกทักตระหนักแน่ในจิตทันทีว่า วันนี้ เทพยดาเจ้าลงจากต้นไทรงาม นั่งคอยรับข้าวปายาสของสังเวยของเจ้าแม่ด้วยมือทีเดียว นางก็ดีใจรีบกลับมายังเรือน บอกนางสุชาดาละล่ำละลักว่า เทพารักษ์ที่เจ้าแม่มุ่งทำพลีกรรมสังเวยนั้น บัดนี้ ได้มานั่งรอเจ้าแม่อยู่ที่ควงไม้ไทรแล้ว ขอให้เจ้าแม่รีบไปเถอะ

นางสุชาดามีความปลาบปลื้มกล่าวว่า ขอให้เจ้าเป็นลูกคนโตของแม่เถิด แล้วจึงมอบเครื่องประดับแก่นางปุณณทาสี และให้หยิบถาดทองมา ๒ ถาด ถาดหนึ่งใส่ข้าวปายาสจนหมด มิได้เหลือเศษไว้เลย ข้าวปายาสเต็มถาดพอดี แล้วให้ปิดด้วยถาดทองอีกถาดหนึ่ง แล้วห่อหุ้มด้วยผ้าทองอันบริสุทธิ์ ครั้นนางสุชาดาแต่งกายงามด้วยอาภรณ์เสร็จแล้ว ก็ยกถาดข้าวปายาสขึ้นทูลเหนือเศียรเกล้าของนาง ลงจากเรือนพร้อมด้วยหญิงคนใช้เป็นบริวารติดตามมาเป็นอันมาก ครั้นถึงต้นไทรเห็นพระมหาบุรุษงามด้วยรัศมีดังนั้น ก็มีความโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดาโดยแท้ เดินยอบกายเข้าไปเฝ้าแต่ไกลด้วยคารวะ ครั้นเข้าไปใกล้จึงน้อมถาดข้าวปายาสถวายด้วยความเคารพยิ่ง

ขณะนั้น บาตรดินอันเป็นทิพย์ ซึ่งฆฏิการพรหมถวายแต่วันแรกทรงบรรพชา เกิดอันตรธานหายไปจากที่นั้น พระมหาบุรุษก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกรับ แล้วทอดพระเนตรดูนางสุชาดา แสดงให้นางรู้ชัดว่า พระองค์ไม่มีบาตรจะถ่ายใส่ข้าวปายาสไว้ นางสุชาดาทราบชัดโดยพระอาการ ก็กราบทูลว่าหม่อมฉันขอถวายทั้งถาด พระองค์มีพระประสงค์ประการใด โปรดนำไปตามพระหฤทัยเถิด แล้วถวายอภิวาททูลอีกว่าความปรารถนาของหม่อมฉันสำเร็จฉันใด ขอสิ่งซึ่งพระหฤทัยของพระองค์ประสงค์จงสำเร็จฉันนั้นเถิด แล้วนางก็ก้มลงกราบ ถวายบังคมลา กลับเรือนด้วยความสุขใจเป็นล้นพ้น

เจ้าชายสิทธัตถะต้องการออกบวชเพราะ

ทรงลอยถาดเสี่ยงพระบารมี

หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาส แล้ว ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมกับทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำ แม้นว่าไม่ได้สำเร็จสมประสงค์ ขอให้ถาดลอยล่องไปตามกระแสน้ำ" พุทธประวัติกล่าวว่า ถาดนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป จนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง จึงจมลงสู่นาคพิภพ ไปกระทบกับถาดสามใบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์พญานาคราชซึ่ง กำลังนอนหลับอยู่ในนาคพิภพได้ยินเสียงถาดกระทบกัน จึงทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์อีกพระองค์หนึ่งแล้ว ( ในกัปปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๔ ทรงพระนามว่า "พระสมณโคดมพุทธเจ้า" )

เจ้าชายสิทธัตถะออกบวชที่ใด

เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงบรรพชา ในราตรีกาลวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส ก่อนพุทธศก 51 ปี คือในปีที่พระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา ภายหลังจากที่พระองค์ได้เสด็จประพาสอุทยาน และได้ทอดพระเนตรเห็นทูตทั้งสี่ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ แล้วเสด็จกลับพระราชวัง ได้ทรงสดับข่าวการประสูติพระโอรส ทรงเปล่ง ...

เจ้าชายสิทธัตถะออกบวชแล้วแสวงหาโมกขธรรมอยู่กี่ปีจึงได้ตรัสรู้

หลังจากพระองค์เสด็จออกผนวชแล้วได้ปี ผ่านการศึกษา ค้นคว้าปฏิบัติอย่างหนักก็ได้ค้นพบหนทางแห่งการหลุดพ้นที่เรียกว่า ตรัสรู้ และทรงได้พระนามใหม่ว่า “พุทธะ” แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และ การตรัสรู้นี้เป็นการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่มีครูอาจารย์หรือเจ้าลัทธิ Page 16 คนใดมาสอน จึงทรงมีพระนามว่า “สัมมาสัมพุทธะ” แปล ...

ผู้ที่มีความมั่นใจว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องออกบวชแน่นอนคือใคร

ทั้งนี้ พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

เหตุการณ์สำคัญใดที่เกิดขึ้นในขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตัดสินใจจะเสด็จออกผนวช

๑. มูลเหตุของการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะคือ อะไร ตอบ ทรงสลดพระทัยเมื่อได้เห็น คนแก่คนเจ็บ คนตาย และเกิดศรัทธาเมื่อเห็นสมณะหรือนักบวช ทรงคิดว่า ความแก่ความเจ็บป่วย และความตาย เป็นความทุกข์ จึงทรงต้องการแสวงหาหนทางในการดับทุกข์