หลักการเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

กิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพ   

เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริมความแข็งแรงสมบูรณ์ให้แก่ร่างกาย

ประเภทของกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพ และสมรรถภาพ มีดังนี้

- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

- การพักผ่อน

- การส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ไปเที่ยว ชมภาพยนตร์ ฝึกสมาธิ

คุณค่าของกิจกรรมพัฒนาสุขภาพ และสมรรถภาพ

- พัฒนาคุณภาพชีวิต ทางด้านสุขภาพกาย และจิตใจ

- พัฒนาสมรรถภาพทางกาย

- สร้างความสมดุลของร่างกาย

- ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการดำเนินชีวิตประจำวัน

      สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกคน  จุดมุ่งหมายของนันทนาการประการหนึ่ง ก็เพื่อพัฒนาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของคนให้สมบูรณ์  ดังนั้น  กิจกรรมนันทนาการอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น พร้อมกับความสนใจในสุขภาพของคนในปัจจุบัน คือ กิจกรรมนันทนาการประเภทพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพ ซึ่งกิจกรรมนันทนาการประเภทนี้เป็นกิจกรรมแบบผสมผสาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการลีลาชีวิต (Life Style Management)     ซึ่งนักวิชาการ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า นันทนาการสุขภาพ (Wellness) ว่าหมายถึง กิจกรรมประเภทลีลาชีวิต (lifestyle) ชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความประสงค์ที่จะฝึกฝนด้านสุขภาพและการทำให้มีสุขภาพดี  หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับมนุษย์  ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานของสุขภาพที่ดีและเป็นการพัฒนาของชุมชน และจะมี       ส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อสภาวะและสภาพความเป็นอยู่

     กิจกรรมนันทนาการสุขภาพ (Wellness) นั้นก็คือ กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพนั่นเอง  ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการจัดการของบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลการศึกษา โอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และยังเป็นการจูงใจในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกระทำในสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุด  เกี่ยวกับลักษณะการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดี 

     รูปแบบการจัดกิจกรรม
          1. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและสมรรถภาพ
          2. การจัดการเกี่ยวกับโภชนาการ
          3. การจัดการเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่ม สิ่งเสพติด
          4. การจัดโปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
          5. การสร้างสมดุลสุขภาพกายสุขภาพจิต
          6. การควบคุมความเครียดและการผ่อนคลาย
          7. การจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อพฤติกรรมเสี่ยง

สุขภาพ ที่แข็งแรง แสดงถึงคุณภาพชีวิตที่ดี  การออกกำลังกายจึงเป็นของคู่กัน  ชีวิตของคนเราไม่ควรขาดการออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตในสัดส่วน  ตั้งแต่สรีระร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความคิด ความจำ หากได้รับการออกกำลังกายก็ยิ่งสามารถพัฒนาสุขภาพโดยรวมได้ทุกๆ ด้าน พ่อ แม่ จึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนในด้านนี้ และฝึกให้ลูกออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ  เด็กที่ได้รับการออกกำลังกายจะมีข้อได้เปรียบดังนี้

1. ด้านความเจริญเติบโต     

ถ้าเด็กได้รับการออกกำลังกายอย่างถูกหลักวิธี  การเจริญเติบโตของเซลส์ ซึ่งเป็นจุดเจริญเติบโตของกระดูก (growth plate)  จะได้รับการกระตุ้นและแบ่งตัวมากขึ้น เอ็นและข้อต่อก็จะเจริญเติบโตตามสัดส่วนไปด้วย ส่วนเด็กที่ไม่ได้ออกกำลังกายตามวัยอันควรอย่างเหมาะสม กระดูกจะเล็ก เปราะบาง และขยายสัดส่วนในด้านความยาวได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้แคระแกรน เติบโตช้า

2. ด้านสติปัญญา  

การออกกำลังกายทำให้เกิดการกระตุ้นของฮอร์โมนต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง growth hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพื่อความเจริญเติบโต สามารถหลั่งออกมาได้มากขึ้น  เสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง เกิดเชาว์ปัญญา ส่งผลให้การศึกษาเล่าเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า

3. ด้านสุขภาพ       

การออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นระบบสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น  มีผลในการปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมของเชื้อโรค และสารภูมิแพ้ต่างๆ เด็กที่ขาดการออกกำลังกายจะมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนได้บ่อย ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพนี้มักจะติดตัวไปจนถึงผู้ใหญ่

4. ด้านสังคมและจิตใจ        

การออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นหมู่คณะ  ทำให้เด็กรู้จักปรับตัวในสังคม จึงเป็นการเพาะบ่มให้เกิด EQ (ความฉลาดทางอารมณ์)  สามารถเข้าใจความรู้สึก ความคิดของคนอื่นได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตในสังคมเมื่อเติบใหญ่

วัยที่แตกต่างกัน  :  การออกกำลังกาย

การเลือกชนิดหรือวิธีการออกกำลังกายที่จะให้ผลดีต่อร่างกาย ควรเลือกแบบวิธีที่เหมาะสมกับตน  อายุจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อวิธีการเลือกการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี  ดังนั้น ช่วงอายุของการออกกำลังกาย จึงควรมีความแตกต่างกัน

วัยเด็ก  : ก่อน 11 ปี สำหรับเด็กผู้หญิงและ ก่อน 12 ปี สำหรับเด็กผู้ชาย ในวัยนี้จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ความสามารถของร่างกายต่อกิจกรรมการกีฬายังมีข้อจำกัด การออกกำลังกายหรือการฝึกทักษะกีฬาที่ต้องใช้เทคนิคสูงๆ ใช้แรงมาก  ใช้ความเร็วสูง จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี  ดังนั้น จึงควรเป็นกิจกรรมหรือกีฬาง่ายๆ  ที่มุ่งเน้นความสนุกสนาน

เพลิดเพลิน ไม่ควรเน้นเรื่องของการแข่งขันแพ้หรือชนะ เนื่องจากจะทำให้เด็กรู้สึกกดดันและไม่ชอบ

เล่นกีฬา

วัยรุ่น  : ระหว่างอายุ 12-15 ปี  ซึ่งเป็นวัยของการฝึกฝนที่จะเตรียมสู่การเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถสูงได้  สภาวะของร่างกายกำลังมีความเจริญเติบโต  การเลือกเล่นกีฬาสามารถเลือกเล่นได้แทบทุกประเภทที่มีความชอบหรือสนใจ และถ้าหากมีความพยายามที่จะฝึกทักษะ เทคนิค และความชำนาญอย่างจริงจัง สม่ำเสมอก็มีโอกาสประสบผลสำเร็จ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬายิมนาสติก และว่ายน้ำ ซึ่งเหมาะสำหรับฝึกขณะร่างกายกำลังเจริญเติบโตในช่วงนี้

วัยหนุ่มสาว  :  ตั้งแต่ 16 – 30 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว สมรรถภาพทางกายมีความพร้อม  พวกที่มีพื้นฐานมาดีจากวัยรุ่นก็สามารถพัฒนาสืบต่อและฝึกเทคนิคในขั้นสูงได้ง่าย  ซึ่งจะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุดในวัยนี้

วัยผู้ใหญ่  : ตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป   เป็นวัยที่สมรรถภาพทางร่างกายในด้านต่างๆ เริ่มถดถอยลดลงแล้ว  โดยเฉลี่ยจะลดลงร้อยละ 1 ของทุกปี  วัยนี้จึงควรเลือกการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากกว่ากีฬาเพื่อการแข่งขัน  ไม่ควรหักโหม  และเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ   ควรอยู่ในขั้นพอเหมาะ พอควรที่ร่างกายรับได้  ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายจากการออกกำลังกายในช่วงนี้อย่างมาก เพราะสามารถทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมช้าลงด้วย

วัยชรา  :  ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป   เป็นวัยที่อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมอย่างชัดเจน สมรรถภาพการทำงานร่างกายลดลง  ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนัก, เร็ว, การเหวี่ยง, การกระแทก หรือนานเกินไปโดยไม่มีจังหวะพัก  สิ่งที่ควรตระหนักอีกประการคือ   ควรได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและความสมบูรณ์ของตน  เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น  ลดความเสี่ยงในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาสำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ในวัยนี้ควรได้รับการตรวจเลือดและคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test)

แหล่งที่มา

นำเสนอโดย : พรพิมล สุรินทร์วงศ์และทีมงานประชาสัมพันธ์, สุชาติ อาจทรัพย์ งานสารสนเทศ

หลักการสำคัญในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายมีอะไรบ้าง

หลักการฝึกเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ความถี่ของการฝึก ความเข้มของการฝึก ระยะเวลา ของการฝึก และแบบของการออกกําลังกาย การฝึกมีหลายแบบ แต่ละแบบอาจให้ผลที่แตกต่างกัน ผู้ฝึกสามารถ เลือกแบบการฝึกได้ตามจุดประสงค์และสมรรถภาพร่างกายของ นักกีฬา

หลักการเลือกชนิดของกิจกรรมการออกกำลังกายต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

กิจกรรมที่ใช้ในการออกกำลังกายควรเลือกตามความถนัดและความชอบของแต่ละคน เพราะจะทำให้วางแผนการออกกำลังกายได้ง่ายและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว โดยชนิดของการออกกำลังกายสามารถเลือกได้หลายรูปแบบ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ยกน้ำหนัก เป็นต้น การออกกำลังกายแต่ละอย่างจะมีความหนัก-เบา แตกต่างกัน เช่นความหนักของการวิ่งอยู่ที่การคุม ...

กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพมีอะไรบ้าง

การออกกำลังกายหรือการฝึกฝนร่างกาย (Exercise training) คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่สร้างขึ้นอย่างเป็นแบบแผน กระทำซ้ำๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างหนัก เช่น เดิน จ้ำ วิ่ง/วิ่งเหยาะ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ กระโดดเชือก กรรเชียงเรือ เล่นกีฬาประเภทฝึกความ ...

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น.
งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น.
เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น.
กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล.
การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น.