หลักการจัดเก็บภาษีอากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากร เพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกลในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจในการเสียภาษี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล (เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม นโยบายประชากร) ด้วย

หลักการจัดเก็บภาษีอากร

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติ กฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล
- มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

หลักการจัดเก็บภาษีอากร

การจำแนกประเภทภาษีอากร โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ประเภทที่สอง ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

หลักการจัดเก็บภาษีอากร

   https://www.gotoknow.org/posts/300089

หลักการจัดเก็บภาษีอากร

1. หลักความเป็นธรรม นับว่าสำคัญมากเนื่องจาก การจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมจะมีส่วนช่วยยกระดับความสมัครใจในการเสียภาษีอากร ของประชาชนได้มาก

– ความแน่นอน และชัดเจนในตัวบทกฎหมาย

– ความแน่นอน และชัดเจนในวิธีปฏิบัติจัดเก็บ

– ความแน่นอนในด้านภาระภาษีว่าตกอยู่กับผู้ใด

– ความแน่นอนในการลดรายจ่ายของภาคเอกชน

– ความแน่นอนในการทำรายได้แก่รัฐบาล

3. หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เพื่อมิให้กระทบกระเทือนการตัดสินใจทาง ธุรกิจของประชาชน

4 . หลักอำนวยรายได้ ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีลักษณะทำรายได้ให้กับรัฐบาลได้ดี ได้แก่

– เป็นภาษีอากรที่มีฐานกว้าง

– การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้หากมีลักษณะก้าวหน้าจนเกินไปอาจจะมี ผลกระทบกระเทือนในด้านอื่นได้

5. หลักความยืดหยุ่น ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น หรือปรับตัวเข้ากับการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม เอื้ออำนวย ต่อการบริหารการ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ

6. หลักประสิทธิภาพในการบริหาร ระบบภาษีอากรที่ดีต้องเป็นระบบที่สามารถ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

– เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

– ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บภาษี สามารถจัดเก็บได้อย่างทั่วถึง เต็มเม็ดเต็มหน่วยการนำหลักที่ดีของการจัดเก็บภาษี จะต้องคำนึงถึงแนวนโยบายของรัฐบาล และคำนึงถึงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

จากหนังสือเรื่อง The Wealth of Nation (1776) ของ Adam Smith ได้อธิบายหลักการภาษีอากรที่ดีไว้ 4. ประการ คือ 1) ความเป็นธรรม (equity) Fuente. 2) ความแน่นอน (certainty) 3) ความสะดวก (convenience of payment) 4) ความประหยัด (economy of collection) สำหรับแนวคิดสมัยใหม่ของการปฏิรูปภาษีอากร ซึ่งนักวิชาการนำมาใช้กับประเทศต่างๆ

หลักการจัดเก็บภาษี มีกี่ประเภท

ภาษีอากร แบ่งเป็น 5 ประเภท

หลักความแน่นอนในการจัดเก็บภาษีที่ดี คือ ข้อใด

2. หลักความแน่นอน (Certainty) ภาษีที่ประชาชนแต่ละคนจะต้องเสียนั้น จะต้องมีความแน่นอนและชัดเจน ลักษณะและรูปแบบของภาษีตลอดจนจำนวนภาษี ลักษณะและรูปแบบของภาษีตลอดจนจำนวนภาษี อัตราภาษี ฐานภาษี เวลา หรือสถานที่ชำระภาษี และหรือการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชัดแจ้งแก่ผู้เสียภาษีทุกคน

หลักอํานวยรายได้คืออะไร

วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2558 หลักอำนวยรายได้ หมายถึง หากมองจาก ภาครัฐ ภาษีที่ดีนั้นควรนำมาซึ่งรายได้ให้แก่รัฐบาล เป็นอย่างดี คือ มีฐานภาษีใหญ่ และการขยายตัว ของฐานภาษีเป็นไปตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นผลให้รัฐได้รับรายได้จากภาษีอากรนั้น มาขึ้นโดยไม่จำต้องเพิ่ม ...