โครง งาน ปุ๋ย หมัก รักษ์ ดิน

จัดทำโดย

เด็กหญิงอภิสรา พุทธประวัติ

เด็กหญิงสุทธิดา ยางสี

เด็กหญิงวิลาสินี พรมทองมี

­

คุณครูที่ปรึกษา 

นางธิดารัตน์ ประสมสุข

นางนภาพร ภูชำนิ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

สถานศึกษา โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา 2555

­

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

จากการสังเกตของสมาชิกในกลุ่มเห็นแม่ครัวและแม่ค้าในโรงเรียนนำไข่มาประกอบอาหารเกือบทุกวัน วันละประมาณ 300-500 ฟอง แล้วทิ้งเปลือกไข่ลงในถังขยะ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงได้ไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเปลือกไข่จากอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่าในเปลือกไข่มีสารประกอบอินทรีย์เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต 95 เปอร์เซ็นต์ อีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นแร่อื่นๆ ผสมกัน เช่น แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมคาร์บอเนต และโปรตีน จึงได้ไปปรึกษาคุณครูเพื่อจะได้นำเอาเปลือกไข่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป คุณครูได้พาพวกเราไปพบผู้รู้คือ นายสัตวแพทย์ปฏิวัติ คุณดิลกพจน์ ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น นายบุญชู ชมภูสอ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ และเกษตรกร บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี ซึ่งเป็นบ้านของสมาชิกในกลุ่ม ผู้รู้ได้ให้คำแนะนำว่าเอาเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้แร่ธาตุ(แคลเซียม) ที่สามารถนำไปใช้กับพืช จะช่วยทำให้โครงสร้างของพืชแข็งแรง นำไปให้สัตว์กินเพื่อบำรุงกระดูก และเป็นการช่วยลดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดและอากาศบริสุทธิ์ เป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ปลูกจิตรักษ์สิ่งแวดล้อม

­

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

เพื่อลดปัญหาเรื่องขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

เพื่อเป็นการนำขยะเปลือกไข่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชน

­

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

นำเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้น้ำหมักเปลือกไข่ไปใช้กับพืชและสัตว์

­

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น เปลือกไข่ น้ำซาวข้าว

ตัวแปรตาม น้ำหมักจากเปลือกไข่

ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้ในการหมักน้ำหมักจากเปลือกไข่

­

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. โรงเรียนสนามบิน ถนนประชาสโมสร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

2. บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3. บ้านบึงฉิม หมู่ที่ 4 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

4. ระยะเวลาที่ศึกษา มิถุนายน-สิงหาคม 2555

­

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ความรู้เกี่ยวกับสารประกอบของเปลือกไข่ ประโยชน์น้ำซาวข้าว

ได้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักเปลือกไข่

ลดปัญหาขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

อภิปรายผลการศึกษา

จากการทดลองพบว่า น้ำหมักจากเปลือกไข่และน้ำซาวข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปัญหาขยะจากเปลือกไข่และน้ำเสียที่เกิดจากน้ำซาวข้าวของโรงเรียนสนามบินและช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน หลังจากการทดลองนำน้ำหมักจากเปลือกไข่ไปทดลองใช้ในชุมชนพบว่า ประชาชนในชุมชนมีความสนใจในน้ำหมักจากเปลือกไข่เนื่องจากน้ำหมักจากเปลือกไข่มีคุณภาพในการเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้กับสัตว์และรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง และเนื่องจากเปลือกไข่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน และประเด็นสุดท้ายประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาการหมักเปลือกไข่ด้วยน้ำซาวข้าวและทดลองนำไปใช้ในชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนสนามบิน สรุปผลการศึกษา ดังนี้

น้ำหมักเปลือกไข่ที่มีคุณภาพสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ รดพืชผักและทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

ปริมาณขยะเปลือกไข่และน้ำซาวข้าวในโรงเรียนสนามบินลดลง

นำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนและประชาชนในชุมชนให้ความสนใจ

­

โครง งาน ปุ๋ย หมัก รักษ์ ดิน

­

โครงงานเรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ

คณะผู้จัดทำ

นางสาวสิรภัทร         สิริวรรณ์

นางสาวจรัสศรี          พรมพุ้ย

นางสาวประสพโชค  รักษา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

เสนอ

อาจารย์รตนัตตยา     จัททนะสาโร

โรงเรียนภัทรบพิตร   ตำบลเสม็ด   อำเภอเมือง    จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัคย่อ

เนื่องจากในบริเวณรอบๆบ้านของบ้านของเรามีใบไม้และมูลสัตว์เป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากที่ในบริเวณบ้านมีต้นไม้เป็นจำนวนมากและมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดนำใบไม้และมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาทำปุ๋ยชีวภาพซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งช่วยลดปริมาณใบไม้และมูลสัตว์และยังนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรในการเพาะปลูกต้นไม้ การปลูกผักและการทำเกษตรกรรมอื่นๆทำให้เราลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาการเผาไหม้ของใบไม้ ซึ่งเป็นวิธีที่เรานิยมใช้กันซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดังนั้นหลังจากที่ท่านศึกษาโครงงานนี้แล้วท่านอาจนำความคิดนี้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาปุ๋ยชีวภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องจากในบริเวณรอบๆบ้านของเรามีใบไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการทับถมของใบไม้บางคนอาจมองในแง่ดีว่า ทำให้มีปุ๋ยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่การย่อยสลายในรูปแบบนี้ต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร จึงเกิดแง่คิดอีกรูปแบบหนึ่งว่า ควรกำจัดใบไม้เหล่านั้นทิ้งไป โดยบางคนอาจเลือกวิธีเผาใบไม้ทิ้ง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบถึงภาวะโลกร้อนที่กำลังทำความเดือดร้อนทั่วทุกมุมโลก ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศของโลก ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงคิดหาวิธีช่วยโลกในรูปแบบของปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเหมาะกับการบำรุงในภาคการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งพวกเราได้ทำการทดลองในการทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อที่จะนำไปบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม ทำให้ต้นไม้เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นต้นไม้ที่ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนเพื่อลดภาวะโลกร้อน และช่วยในงานเกษตรรูปแบบต่างๆ

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

มูลสัตว์ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เฉพาะมูลของสุกร

ใบไม้แห้งที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ใบไม้แห้งทั่วไปที่มีในบริเวณบ้าน

ดินที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือดินร่วน

ระยะเวลาในการศึกษา 60 วัน

สมมติฐานในการศึกษา

ใบไม้แห้งสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพได้

มูลของสุกรสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพได้

ปุ๋ยชีวภาพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยบำรุงการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้

ตัวแปร

ตัวแปรต้น

ปริมาณของ ใบไม้แห้ง

มูลสัตว์

ดินร่วน

ตัวแปรตาม

คุณภาพของปุ๋ยชีวภาพ

การเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ

ตัวแปรควบคุม

ชนิดของใบไม้

ระยะเวลาที่ทำการทดลอง

ชนิดของดิน

ปริมาณและอุณหภูมิของน้ำ

สถานที่ที่ทำการทดลอง

ชนิดของมูลสัตว์

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์ที่ใช้

1.ใบไม้แห้ง 500 กรัม

2.มูลสุกร 10 กิโลกรัม

3.น้ำ 5 ลิตร

4.จอบ

5.กระถางต้นไม้ 3 กระถาง

6.ต้นไม้ 3 ต้น

7.แกลบ 3 กิโลกรัม

วิธีการทดลองขั้นที่หนึ่ง การทำปุ๋ยชีวภาพ

1) เตรียมสถานที่โดยการนำจอบมาขุดดินร่วนให้ละเอียด

2) นำมูลสุกรปริมาณ 10 กิโลกรัมมาเททับลงไปบนดินร่วน

3) นำแกลบปริมาณ 3 กิโลกรัมมาเททับลงไป

4) นำใบไม้แห้งปริมาณ 500 กรัมวางลงบนมูลสุกรและแกลบแล้วนำจอบมาเกลี่ยให้เข้ากัน

5) นำน้ำมารดให้ชุ่มโดยใส่น้ำปริมาณ 5 ลิตร ดังรูป

6) ทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 30 วัน

7) สามารถนำไปใช้ในงานเกษตรได้

โครง งาน ปุ๋ย หมัก รักษ์ ดิน

วิธีการทดลองขั้นที่สอง การนำปุ๋ยชีวภาพมาใช้ประโยชน์

1) นำต้นไม้ไปปลูกในกระถางที่เตรียมไว้

2) นำปุ๋ยชีวภาพไปใส่กระถางที่1,2,3ในปริมาณ 50,100,150 กรัมตามลำดับ

3) รดน้ำต้นไม้เช้าเย็นในปริมาณที่เท่ากันและใส่ปุ๋ยชีวภาพทุกสัปดาห์ตามที่กำหนด

4) สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

ผลการทดลอง

บันทึกผลการทดลอง

กระถางที่ 1 การเจริญเติบโตของต้นไม้มีขนาดเล็กกว่ากระถางที่หนึ่งและสอง

กระถางที่ 2 การเจริญเติบโตของต้นไม้มีขนาดใหญ่กว่ากระถางที่หนึ่งแต่เล็กกว่ากระถางที่สามเล็กน้อย

กระถางที่ 3 การเจริญเติบโตของต้นไม้มีขนาดใหญ่กว่ากระถางที่หนึ่งและกระถางที่สอง

กระถางที่หนึ่ง

ก่อน

หลัง

กระถางที่สอง

ก่อน

หลัง

กระถางที่สาม

ก่อน

หลัง

สรุปผลการทดลอง

จากการทดลอง พบว่าต้นไม้ในกระถางที่หนึ่งมีการเจริญเติบโตเล็กน้อยจากทั้งหมดสามกระถางมีการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าต้นไม้ในกระถางที่สองและสาม ต้นไม้ในกระถางที่สองมีการเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจแต่ยังมีขนาดเล็กกว่าต้นไม้ในกระถางที่สามซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในการทดลองปุ๋ยชีวภาพ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ได้

2. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงต้นไม้

3. ลดปริมาณของใบไม้ในบริเวณรอบๆบ้าน

4. ลดปริมาณมูลสัตว์

5. ลดมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากกลิ่นของมูลสัตว์

ข้อเสนอแนะ

การทำปุ๋ยชีวภาพระยะเวลาเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นเมื่อยังไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนด จึงไม่ควรนำปุ๋ยมาใช้ก่อนเพราะอาจมีคุณภาพที่ด้อยประสิทธิภาพหรืออาจให้ผลที่ไม่น่าพอใจ

บรรณานุกรม

ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล.เศรษฐศาสตร์พอเพียง,กรุงเทพมหานคร;พัฒนาคุณภาพ

วิชาการ(พว.),2544.

ละออ อัมพรพรรดิ์.ความหลากหลายทางชีวภาพ.กรุงเทพมหานคร;พัฒนาคุณภาพ

วิชาการ(พว.),2544.