ข้อดีข้อเสียของระบบเศรษฐกิจ

ข้อดีข้อเสียของระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ             หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น  การจำแนกระบบเศรษฐกิจ
การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี โดยจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจเพราะจะถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง
2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ            - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม              คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
- รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
- ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น     -รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
- เอกชนมีเสรีภาพ
- มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
- รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
- มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น

ข้อดีข้อเสียของระบบเศรษฐกิจ

http://mosszyeuei.blogspot.com/

ข้อดีข้อเสียของระบบเศรษฐกิจ
 

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นการผสมผสานระหว่าง “เศรษฐกิจแบบตลาด” กับ “ระบบเศรษฐกิจแบบตามสั่ง” และ “ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม” มันได้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสาม ในขณะที่มีข้อเสียอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ระบบแบบผสมนั้น มีลักษณะที่โดดเด่นดังนี้ คือเป็นระบบที่ปกป้องทรัพย์สินส่วนตัว, ช่วยให้ของอุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดราคาได้ และสุดท้าย ขับเคลื่อนโดยแรงจูงใจของผลประโยชน์ของตนเอง หรือแต่ละบุคคล

เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะบางอย่างของเศรษฐกิจแบบวางแผน อนุญาตให้รัฐบาลออกมาปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีจะบทบาทอย่างมากในการทหาร การค้าระหว่างประเทศ บทบาทของรัฐบาลในด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของพลเมือง เศรษฐกิจแบบผสมอาจอนุญาตให้รัฐบาลเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน การผลิตพลังงาน หรือแม้กระทั่งธนาคาร นอกจากนี้รัฐบาลอาจจัดการด้านดูแลสุขภาพ สวัสดิการ และโครงการเกษียณอายุด้วย

ข้อดีของระบบแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสมมีข้อดีทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ก่อนอื่นจะกระจายสินค้าและบริการไปยังที่ที่มีความต้องการมากที่สุด ช่วยให้สามารถวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงของความอุปสงค์-อุปทานได้ ประการที่สองมันตอบแทนผู้ผลิตพร้อมผลกำไรสูงสุด ประการที่สามส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสร้างสรรค์ ถูก และมีประสิทธิภาพ ประการที่สี่จัดสรรเงินทุนให้กับผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมทันสมัยมากที่สุดโดยอัตโนมัติ

เศรษฐกิจแบบผสมยังช่วยลดข้อเสียของเศรษฐกิจการตลาดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจตลาดไม่ได้รวมถึงการป้องกันชาติ เทคโนโลยี หรือ การบินและอวกาศ ในขณะที่มีรัฐบาลขนาดใหญ่จะทำหน้าที่ดูแลผู้แข่งขันทุกคนอย่างทั่วถึง โดยเป็นการลบข้อเสียเปรียบจากระบบเดิม ด้วยการเพิ่มจุดแข็งใหม่เข้าไปแทน ซึ่งจะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่แข่งขัน หรือสร้างสรรค์มากที่สุดเท่านั้น

ข้อเสียของระบบแบบผสม

แน่นอนว่าระบบผสมยังคงมีข้อเสียเปรียบจากทั้งแต่ละรูปแบบอยู่ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลต้องการที่จะเน้นจุดแข็งในส่วนไหนก็ปรับในส่วนนั้นให้เข้ากัน ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดมีความเสรีมากเกินไป มันจะทำให้เกิดการแข่งขันน้อยลง แถมยังเป็นการจำกัดขนาดของธุรกิจไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไป ตามกฎระเบียบการต่อต้านการผูกขาด สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ถัดมาคือ “การจ่ายภาษีมากขึ้น” แน่นอนว่าการแทรกแซงของรัฐมากขึ้นในทางเศรษฐกิจนั้น ต้องอาศัยการลงทุนจากรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษี เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นหมายความว่าประชาชนต้องจ่ายภาษีมากตามไปด้วย สิ่งนี้จะนำไปสู่ผลกระทบด้านลบหลายอย่าง เช่น แรงจูงใจในการทำงานลดลง เนื่องจากพนักงานเห็นสัดส่วนรายได้ที่หายไป เพราะต้องนำไปจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้น ในขณะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมากนั้น อาจล็อบบี้รัฐบาลเพื่อรับเงินอุดหนุนและลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบแบบผสม

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบผสม ช่วยปกป้องความเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว นอกจากนี้ยัง จำกัดการแทรกแซงของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมนวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นในตลาด ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญยังส่งเสริมให้รัฐบาลต้องส่งเสริมสวัสดิการทั่วไป ที่สร้างความสามารถในการใช้แง่มุมต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเมื่อจำเป็น โดยยังคงให้สิทธิเสรีในการบริหารเช่นใน ”อามิช” รัฐเพนซิลเวเนีย ยังคงใช้ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจของโลกส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจแบบผสม โลกาภิวัตน์ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยง ประชาชนส่วนใหญ่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการจากการค้าระหว่างประเทศ มันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าในการนำเข้าน้ำมันจากซาอุ เสื้อผ้าจากจีน เพราะการผลิตเองจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ตลาดเสรีเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกเพราะไม่ใช่มีแค่รัฐบาลเดียวที่ควบคุม อาจมีองค์กรระดับโลกมีอำนาจในการออกกฎระเบียบหรือข้อตกลง แต่ไม่มีใครที่สามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ