ข้อดี ข้อเสียของการใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน

สุรศักดิ์ แซ่ลิ้ม

          ในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ครูต้องเสาะหากิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสื่อมือเพื่อนำมาสอนภายในห้องเรียน ซึ่งอาจไม่หลากหลายเท่ากับในปัจจุบัน อีกทั้งครูต้องหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมอีก เช่น หนังสือ หรือสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าแหล่งเรียนรู้ออฟไลน์จำพวกหนังสือจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แต่กว่าจะอ่านจบแต่ละเล่มและสังเคราะห์ออกมาเป็นความคิดรวบยอดก็ใช้เวลานาน และอาจไม่ทันสำหรับการสอน ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยีเป็นที่แพร่หลายแล้ว ครูและนักเรียนจึงมีแหล่งเรียนรู้มากขึ้น และสามารถทำกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการใช้โทรศัพท์เป็นสื่อการสอนอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชั้นเรียนเป็นอย่างมากหากใช้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ แต่ในอีกมุมหนึ่งโทรศัพท์ก็มีโทษมากเช่นกันหากใช้ไม่ถูกวิธี

ประยุกต์ใช้โทรศัพท์มือถือในฐานะเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้
          ประโยชน์แรกที่อาจเห็นได้ชัดในปัจจุบันสำหรับครู คือการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การตอบคำถามร่วมกันทั้งชั้นเรียนผ่าน Kahoot! การระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในชั้นเรียนผ่าน Jamboard หรือการจัดชั้นเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Google Classroom รวมถึงการใช้โทรศัพท์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การให้นักเรียนช่วยกันหาตัวอย่างหลักฐานในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยรวบรวมความคิดของนักเรียนภายในห้องเรียนให้เป็นระบบระเบียบและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมภายในชั้นเรียน หรืออาจใช้ในขั้นสรุปเพื่อสรุปความรู้ภายในชั้นเรียนก็ได้เช่นกัน

          ประโยชน์ข้อต่อมานี้ก็สำคัญมากสำหรับทั้งครูและนักเรียน  นั่นคือแหล่งความรู้ออนไลน์ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เปิดให้เราสามารถท่องโลกกว้างได้เพียงแค่ใช้แค่ไม่กี่คลิกบนโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว เช่น การเปิดดูคลิปวิดีโอที่เล่าประวัติศาสตร์โลกโดยย่อได้ หรือการเปิดดูเว็บไซต์ที่เป็นคลังความรู้เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในการทำรายงาน หรือสืบค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาอภิปรายในห้องเรียน ทั้งนี้ แหล่งความรู้ออนไลน์นี้จะไม่มีประโยชน์ต่อชั้นเรียนเลย ถ้าครูไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้หาความรู้ภายนอกร่วมกันภายในชั้นเรียน และไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนให้เป็นระเบียบ

ข้อควรระวังในการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องเรียน

ข้อดี ข้อเสียของการใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน

         ข้อเสียหลักประการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ อาการวอกแวก ใจไม่อยู่กับบทเรียน ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการชั้นเรียนของครูว่าจะผสานเอาโทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร นักเรียนอาจสับสนจากการใช้โทรศัพท์สืบค้นข้อมูลในหัวข้อนั้น ๆ เพราะอาจเป็นหัวข้อที่ใหม่หรือซับซ้อนเกินไปสำหรับนักเรียน เช่น ประวัติศาสตร์สากล เศรษฐศาสตร์จุลภาค หรืออ่านบทความภาษาอังกฤษที่ไม่คุ้นเคย ประกอบกับนักเรียนอาจใช้โทรศัพท์ไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องขณะที่เรียนก็เป็นได้ ดังนั้น การที่ให้นักเรียนใช้โทรศัพท์สืบค้นข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ โดยครูสามารถรับบทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้นักเรียนให้นักเรียนใช้โทรศัพท์เพื่อสืบหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในห้องเรียน แทนที่จะรับบทครูฝ่ายปกครองคอยยึดโทรศัพท์ของนักเรียน และไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เลย เพื่อให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคอยเดินตรวจตรารอบห้องเรียนขณะที่นักเรียนกำลังสืบค้นและให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ

         เทคโนโลยีปัจจุบันล้ำหน้าขึ้นทุกวันทำให้การเรียนรู้ในห้องเรียนนั้นทันสมัยมากขึ้นด้วย หากครูสามารถใช้ประโยชน์ ของเทคโนโลยีทำลายขีดจำกัดการเรียนออฟไลน์แบบเดิม ๆ ได้จะเปิดโลกให้นักเรียนและครูพบเจอกับสิ่งที่ห้องเรียนออนไลน์ช่วยให้เกิดขึ้นได้ เช่น แหล่งเรียนรู้จากอีกฟากหนึ่งของโลก หรือนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันครูจำเป็นต้องลดโอกาสที่นักเรียนจะใช้โทรศัพท์ไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน เพื่อดึงให้นักเรียนยังอยู่ในชั้นเรียน และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จริง

แหล่งอ้างอิง
Klein, C. (2022, April 14). Guiding students to develop a clear understanding of their cell phone use. Edutopia. https://www.edutopia.org/article/guiding-students-develop-clear-understanding-their-cell-phone-use

Oxford Learning. (2019, April 22). Should cell phones be allowed in classrooms?. https://www.oxfordlearning.com/should-cell-phones-be-allowed-classrooms/

PISA THAILAND. (2562, 5 มิถุนายน). เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเรียนรู้. https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-42/

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และยิ่งเทคโนโลยีนั้นถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จนมีผู้คนนับล้านบริโภคเทคโนโลยีดังกล่าว จนทำให้ขนาดของปัญหาใหญ่และสำคัญยิ่งขึ้น

                ดังเช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  “โทรศัพท์มือถือ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายในโลกปัจจุบัน ก็มีประเด็นให้ถกเถียงกันในแง่ปัญหาสุขภาพอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ต้องสัมผัสแนบศีรษะและหู เพื่อให้ได้ยินเสียง และพูดผ่านไมโครโฟนภายในเครื่อง เมื่อสนทนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักการของสัญญาณคลื่นไมโคร เวฟที่นำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก็ได้ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความร้อนและพลังงานรังสี  จากเครื่องว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร?

                ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสุขภาพ แต่ก็มีการวิจัยที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ในประเทศอังกฤษได้บอกไว้ว่า คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสมอง ทำให้สมองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำถามแบบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ได้รวดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองในแง่อื่น ๆ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอันตรายต่อสมอง

                หากพิจารณาถึงความถี่ของคลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือก็พบว่าเป็นคน ละความถี่กันกับที่ใช้ในเตาไมโครเวฟสำหรับประกอบอาหาร รวมถึงกำลังในการส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือก็ต่ำมาก ความกังวลที่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน แล้วจะเป็นเนื้องอกในสมอง ทำให้สมองเสื่อม ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงนั้น จึงยังไม่ควรวิตกกังวลไป อย่างไรก็ตาม การลดอัตราจากพลังงานความร้อนและรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถสนทนาได้โดยไม่ต้องถือ โทรศัพท์แนบกับศีรษะหรือ สมอลล์ ทอล์ก ซึ่งก็มีประโยชน์ในการลดอันตรายขณะขับขี่ยานพาหนะ และลดความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพได้

                แต่หากกล่าวถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยโดยทั่วไป ผู้ใช้จำเป็นต้องมองหน้าจอโทรศัพท์บ้างไม่มากก็น้อย แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมากมายถูกนำมารวมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องมองหน้าจอมือถือมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพสายตาหรือไม่ อย่างไร? ก่อนจะทราบถึงผลกระทบของการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คงต้องอธิบายถึงส่วนประกอบและการทำงานของหน้าจอโทรศัพท์มือถือกันก่อน

เริ่มต้นที่ส่วนของหน้าจอ ซึ่งเป็นส่วนแสดงผลของโทรศัพท์ มือถือ หน้าจอที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเป็นชนิด แอลซีดี (ลิควิดคริสตัล ดิสเพลย์) ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นบาง ๆ ระดับความหนาเป็นไมครอนมาประกอบกันหลายชั้น คำถามก็คือ..การเกิดภาพให้เห็นบนหน้าจอแสดงผลได้นั้นทำได้อย่างไร สามารถอธิบายได้ต่อไปนี้

                1. ส่วนให้แสงสว่าง จะอยู่ลึกที่สุด ทำหน้าที่ให้แสงหรือความสว่าง โดยอาจใช้หลอดไฟเป็นแบล็กไลต์ หรือในจอรุ่นใหม่ ๆ แต่ละจุดบนหน้าจอจะปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตัวเอง แสงที่เกิดขึ้นนี้จะส่องผ่านรูเล็ก ๆ ขึ้นมานับพันรู ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าจอ

                2. ส่วนควบคุมการแสดงผล มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรมากมายที่ประมวลผลการแสดงออกมาว่าจะเป็นรูปอะไร แบบใด เช่น ให้เป็นเลข 9 หรือเป็นตัวอักษร ก.

                3. ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่เป็นที่มาของชื่อหน้าจอแอลซีดี เพราะในส่วนนี้จะมีลิควิด คริสตัล หรือคริสตัลเหลว เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ และมีส่วนของคัลเลอร์ ฟิลเตอร์ เป็นตัวกำหนดสี การเกิดภาพโดยคริสตัลเหลว ทำได้โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น คริสตัลเหลวจะจัดเรียงตัวไปปิดรูที่แสงส่องผ่านตามที่ส่วนควบคุมการแสดงผล กำหนด ทำให้เห็นเป็นภาพขึ้นมา จากนั้นแสงจะผ่านคัลเลอร์ ฟิลเตอร์ กำหนดเป็นสีต่าง ๆ เช่น เห็นอักษร A เป็นแบบตัวเอียงและมีสีน้ำเงิน เป็นต้น

จากส่วนประกอบดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า จอโทรศัพท์มือถือที่ให้ความสว่างที่เหมาะสม การประมวลผลรวดเร็ว การทำงานของคริสตัลเหลวมีประสิทธิภาพ และหน้าจอมีความละเอียดมาก ก็จะให้ภาพที่คมชัด และเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเก่ามีราคาถูกลง โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ ที่หน้าจอแสดงผลคมชัด มีสีสันสวยงาม จึงมีราคาไม่แพง และเป็นที่นิยม

                ดังที่กล่าวมาแล้วว่าปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยของโทรศัพท์มือถือมีมากกว่าการ สนทนาระหว่างบุคคล รูปแบบการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์จึงมีมากขึ้น และระยะเวลาในการใช้งานนานขึ้น บางครั้งก็มีอาการหรือความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมองเกิดขึ้น จึงเกิดประเด็นสงสัยถึงผลกระทบด้านสุขภาพตาในการมองจอโทรศัพท์มือถือเป็น เวลานาน ๆ

                 ปัญหาทางตาที่พบบ่อยได้แก่ การปวดเมื่อยตา สายตาล้า ภาพไม่ชัดเมื่อเปลี่ยนระยะมอง หรือเมื่อเงยหน้าจากจอโทรศัพท์ รู้สึกแสบตา ตาแห้ง ตาพร่า ไปจนถึงการกลัวว่ามองหน้าจอโทรศัพท์นาน ๆ แล้วจอประสาทตาจะเสื่อม เป็นต้อกระจก ต้อหิน ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายโดยแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

                1.อันตรายต่อดวงตาในแง่ความร้อนและรังสีจากโทรศัพท์มือถือขณะกำลังใช้งาน หน้าจอ อาจกล่าวได้ว่ามีอันตรายน้อยมาก เนื่องจากขณะใช้งาน เราถือโทรศัพท์ไว้ที่ระยะการมองชัด (ระยะอ่านหนังสือ) โดยอยู่ห่างจากศีรษะและดวงตาประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งห่างมากพอที่พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นและพลังงานจากรังสีในย่านความ ถี่ไมโครเวฟที่มีกำลังส่งต่ำอยู่แล้ว จะส่งกระทบต่อตาน้อยมาก และจากข้อมูลในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือมีผลทำให้เกิดโรคทางตาที่ มีผลต่อการสูญเสียการมองเห็น ประมวลจากองค์ความรู้ในขณะนี้ ไม่พบหลักฐานว่าการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก และต้อหิน

                2.อาการต่าง ๆ ที่พบได้แก่ ปวดล้า ตาพร่า ปรับระยะภาพไม่ชัด แสบตา ตาแห้ง อาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลจากการใช้สายตาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับการใช้สายตาทั่วไป ไม่เฉพาะกับการมองจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้น อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ใช้ การเพ่งมอง ระดับการมองเห็นของแต่ละคน ความผิดปกติของค่าสายตาที่มีอยู่เดิม ความสว่างของหน้าจอ ขนาดของหน้าจอ ระยะเวลาหรือความถี่ในการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น

ข้อดี-ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ

ข้อเสีย

1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ  หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข

2.ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ว่าได้ยินเสียงโทรเข้ามา

3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ หากโทรศัพท์ของคุณสะดุดเข้าตาโจร

4.ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเติมเชื้อไฟ มากว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา

5.ทำให้คุณโกหกมากยิ่งขึ้น  เช่น หากแฟนถามว่าอยู่ใหน คงไม่มีใครตอบตรงๆว่าอยู่กับกิ๊ก

6.ทำให้สมองของคุณ ฟ่อลง คุณจะพึงพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน เช่น เบอร์โทรต่างๆ

7.ทำให้สังคมของคุณ แคบลง เพราะเมื่อคุณหลงทาง คุณคงโทรหาเพื่อน มากกว่าที่จะถาม คนข้างๆที่ไม่รู้จัก

8.ทำให้เป็นภาระทางใจ  เช่น กลัวว่าจะหาย  กลัวจะลืมไว้บ้าน  กลัวพัง กลัวหล่น กลัวตกรุ่น กลัว.........

9.ทำให้เป็นภาระทางการเงิน ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทร

10.ทำให้คุณสูญเสีย อวัยวะได้ หากใช้แบตเตอรี่ปลอม

ข้อดี

1.ใช้สื่อสารทางไกลสื่อสารรวดเร็ว

2. มือถือทำได้เกือบทุกอย่างนอกจาการใช้สื่อสาร ส่งข่าวสารแล้ว ยังสามารถถ่ายรูป  หาข้อมูลทางอินเทอร์เนท บางรุ่นยังสามารถใช้งานเสมือนเป็นคอมพิวเตร์ได้อีกด้วย