การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

WHO แจงตัวเลขควันบุหรี่คร่าชีวิตคนทั่วโลกถึง 8 ล้านคน จำนวน 1.2 ล้านคนเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสอง ห่วงเด็กก่อนวัย 5 ขวบ พลอยฟ้าพลอยฝนเป็นเหยื่อควันบุหรี่ดับก่อนวัย 1.6 แสนคน สสส.จัด ROADSHOW นิทรรศการเรื่องลับควันพิศวงทั่วประเทศ หวังกระตุ้นครอบครัวรู้ทันภัยควันบุหรี่มือสอง รณรงค์บ้านปลอดบุหรี่ ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. โดยสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก ร่วมกับศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จัดนิทรรศการสัญจร “เรื่องลับควันพิศวง” ที่ สสส. มุ่งหวังให้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน เพื่อป้องกันไม่ให้ก้าวเข้ามาเป็นนักสูบหน้าใหม่ และกลายเป็นนักสูบประจำในที่สุด บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำมาซึ่งความเจ็บป่วย และเสียชีวิต ซึ่งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า คนทั่วโลกที่เสียชีวิตจากบุหรี่ราว 8 ล้านคน จะมีประมาณ 1.2 ล้านคน ที่เสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสอง ซึ่งในจำนวนเหล่านั้นมีเด็กราว 165,000 คน ที่เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปี เพราะติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นเพราะควันบุหรี่

“แม้ว่าจะมีงานวิจัยชี้ชัดถึงโทษจากการสูบบุหรี่ แต่ก็ยังพบนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นปีละราว 200,000 คน ที่สำคัญนักสูบหน้าใหม่อยู่ในช่วงวัย 19-24 ปี และพบว่าแนวโน้มการสูบบุหรี่ครั้งแรกนั้นอายุลดลง จาก 16.9 ปี เป็น 15.6 ปี โดยเด็กทุก 10 คนที่ติดบุหรี่ จะมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่สามารถเลิกได้ ส่วนอีก 7 คนจะติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ โดยควรได้รับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้สร้างความเข้าใจและเป็นเกราะป้องกัน ไม่ให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า สสส.ได้กำหนดบทบาทในการควบคุมยาสูบในกลุ่มเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการพัฒนารูปแบบ กิจกรรมและมาตรการใหม่ๆ รวมถึงการการพัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน การขยายรูปแบบการทำงานกับกลุ่มเด็กเยาวชนเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีวศึกษาซึ่งมีอัตราการสูบบุหรี่สูง โดยการป้องกันเด็กและเยาวชน จากการได้รับควันบุหรี่มือสอง และควันบุหรี่มือสาม ถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเช่นเดียวกัน การสนับสนุนให้เกิดพื้นที่รูปธรรมปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ที่กำหนดเพิ่มเติม รวมทั้งรณรงค์ให้บ้านปลอดบุหรี่ ถือเป็นประเด็นที่ สสส.ได้กระตุ้นให้ครอบครัวเห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าวร่วมกัน

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ทำหน้าที่ขยายองค์ความรู้สุขภาวะในประเด็นต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนัก ร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ ผ่านนิทรรศการที่ไขปริศนาลับเกี่ยวกับพิษภัยของควันบุหรี่มือสอง เพื่อกระตุ้นและย้ำเตือนให้เด็กและเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของบุหรี่ รวมทั้งสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนให้กับ 50 โรงเรียนพันธมิตร โดยนิทรรศการสัญจร “เรื่องลับควันพิศวง” จะจัดแสดงที่ชั้น 3 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซ.งามดูพลี ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2564 ขณะที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถเข้าชมได้ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค โดยติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/นิทรรศการสัญจร ซึ่งจัดแสดงถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ประชาชนสามารถเข้าชมได้ฟรีทุกที่ ทั้งนี้ผู้สนใจติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริหารนิทรรศการ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. โทร. 09-3124-6914

การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

ข้อมูลเผยแพร่จาก SOOK PUBLISHING

ข้อเตือนภัยเกี่ยวกับบุหรี่นานาชนิด

ขณะนี้มีบุหรี่หน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย ที่สำคัญบางชนิดมีหน้าตาไม่เหมือนกับบุหรี่ที่เราเห็นทั่วๆ ไป แต่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้าก็ล้วนแต่เป็นอันตรายทั้งสิ้น มีแต่จะทำให้นักสูบบุหรี่หน้าใหม่และหน้าเก่าอยากทดลองสูบบุหรี่มากยิ่งขึ้นไปอีก ข้อควรรู้ บุหรี่มวนเอง หรือยาเส้น มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ซองนั้นก็ไม่เป็นความจริง ผู้สูบบุหรี่มวนเองมีระดับสาร 1-HOP และ NNAL ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งไม่ได้แตกต่างไปจากผู้สูบบุหรี่โรงงาน และบุหรี่ทั้งสองชนิดยังทำให้สมรรถภาพของปอดเสื่อมพอๆ กันด้วย

บุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรทั้งแบบก้นกรองและไม่มีก้นกรอง ขอให้เข้าใจว่าก้นกรองบุหรี่ไม่ได้ช่วยทำให้ร่างกายปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะส่วนที่เป็นก้นกรองไม่สามารถทำให้พิษจากนิโคตินลดน้อยลงแต่อย่างใด บุหรี่ไลท์หรือไมลด์ เป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อน เป็นภัยแฝงทำให้คนสูบบุหรี่ง่ายขึ้นเพราะสูบแล้วไม่ระคายคอ สามารถสูบได้ลึกและอัดควันอยู่ในปอดได้นานยิ่งขึ้น ส่งผลให้เป็นมะเร็งได้มากขึ้นอีก บุหรี่ไฟฟ้า ผลการศึกษาผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 มวนจะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด

การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

ซิการ์ เป็นอันตรายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ เพราะในซิการ์มาตรฐาน 1 ออนซ์ ให้สารทาร์มากกว่าบุหรี่ 1 มวนถึง 7 เท่า ให้ก๊าซคาร์บอน  มอนอกไซด์มากกว่า 11 เท่า ให้สารนิโคตินมากกว่าถึง 4 เท่า เมื่อสารทาร์จับอยู่ในปอดทำให้ระคายเคือง ก่อมะเร็งปอดและถุงลมโป่งพอง บารากู่ พบการศึกษามีอันตรายและผลกระทบต่อร่างกายในระดับสูงเมื่อเทียบกับการใช้บุหรี่ 9 มวน (1 มวนใช้เวลา 5 นาที) สูบนาน 45 นาที ได้รับสารทาร์ 36 เท่า คาร์บอนมอนอกไซด์ 15 เท่า นิโคติน 70 เท่า มีโอกาสเป็นโรคเหงือกมากกว่าถึง 5 เท่า

ทุกวันนี้ การผลิตบุหรี่ทำให้มีขนาดเล็กลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ขายได้มากขึ้นเพราะเด็กซื้อถี่มากขึ้น แพ็กเกจดึงดูดใจทั้งกล่องบุหรี่และกล่องไฟแช็กมีความสวยงาม อีกทั้งบุหรี่ไฟฟ้าพกพาง่ายและกลิ่นไม่แรงเหมือนบุหรี่ทั่วไป รสชาติบุหรี่หลากหลายน่าทดลองมากขึ้น ที่สำคัญยังมีการโฆษณาแฝง มีภาพยี่ห้อบุหรี่ในภาพยนตร์ เป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล การโฆษณาขายบุหรี่ในอินเทอร์เน็ต

ข้อที่ควรจดจำก็คือ บุหรี่เป็นแหล่งรวมสารพิษกว่า 250 ชนิด มีสารเคมีต่างๆ มากกว่า 7,000 ชนิด แต่ละชนิดล้วนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ตั้งแต่ดวงตา ปาก สมอง จนถึงกระเพาะปัสสาวะ ก่อให้เกิดมะเร็งเงียบๆ ได้มากถึง 70 ชนิด

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกล่องเสียง ไอเรื้อรัง มีเสมหะเรื้อรัง มะเร็งกล่องเสียง เพราะก๊าซพิษในบุหรี่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ปอด โรงถุงลมโป่งพองเพราะสารไนโตรเจนไดออกไซด์ในควันบุหรี่ทำลายเนื้อเยื่อในปอดและในถุงลมให้ฉีกขาด ทำให้ถุงลมมีจำนวนน้อยลง แต่ใหญ่ขึ้นและพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง สมอง จะมีอาการปวดศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ซึมเศร้า เพราะสารสไตรีนในบุหรี่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ เป็นความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักกว่าปกติเพราะสารนิโคติน

ด้วยควันบุหรี่มือสอง ควันบุหรี่มือสาม เป็นอันตรายที่ซุ่มเงียบ บุหรี่มวนเล็กๆ ส่งผลร้ายกับผู้สูบและยังลามไปถึงคนรอบข้างที่สูดควันพิษเข้าไป ทั้งควันบุหรี่มือสอง ควันบุหรี่มือสาม อันตรายที่มองไม่เห็นและยังแฝงอยู่รอบตัวโดยที่เราไม่รู้ เป็นอนุภาคละอองไอสารเคมีที่เป็นพิษจากควันบุหรี่ซึ่งตกค้างเกาะติดอยู่ตามสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่แม้ว่าจะบุหรี่จะดับไปแล้ว แต่กลิ่นที่ยังอวลอยู่ภายในห้องหรือกลิ่นที่ติดอยู่ตามสิ่งของต่างๆ ผม เสื้อผ้า มือ ซอกเล็บ ควันบุหรี่จะติดตามตัวซึ่งส่งต่อสารพิษไปสู่ผู้อื่นได้จากการใกล้ชิด แม้แต่สภาพแวดล้อม โซฟา ผ้าม่าน โต๊ะ พรม ทีวี ที่นอน ช่องแอร์ ผนังห้อง หรือแม้แต่ก้นกรองบุหรี่ในที่เขี่ยบุหรี่ ยิ่งสภาพห้องปิดที่ อากาศไม่ถ่ายเท ก็จะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่อย่างเต็มที่

รู้กันหรือไม่ว่า แม้ควันบุหรี่จะจางหายไปแล้วแต่พิษแฝงในสภาพแวดล้อมอยู่นานไม่น้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากควันบุหรี่ที่สูดเข้าสู่ร่างกายมีความเข้มข้นมาก มีทั้งส่วนที่เป็นละออง สารเคมี ส่วนที่เป็นก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อเผาไหม้จะก่อให้เกิดสารต่างๆ อีกกว่า 4,000 ชนิด ความร้อนของปลายมวนบุหรี่ขณะที่สูดควัน 900 องศาเซลเซียส และ 600 องศาเซลเซียส ขณะที่ไม่มีการสูดควันเป็นเหตุหนึ่งทำให้เกิดสารพิษต่างๆ จากการเผาไหม้ทั้งในควันที่สูดเข้าไปและควันที่ลอยอยู่ในอากาศ

ในควันบุหรี่มือสามประกอบด้วยนิโคติน สารชนิดอื่นๆ รวมถึงสารก่อมะเร็ง และโลหะหนักอย่างสารหนู ตะกั่ว สารไซยาไนด์ แต่สารนิโคตินในควันบุหรี่มือสามเป็นสารพิษร้ายแรง เมื่อสูดควันบุหรี่เข้าไปนิโคตินจะเข้าสู่สมองภายใน 10 วินาที นิโคตินเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซ Nitrous acid พบทั่วไปในอากาศ จะทำให้กลายเป็นสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าไนโตรซามีน

ควันบุหรี่มือสามเป็นฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ 2.5 PM ที่ถูกปล่อยออกมาปริมาณมากจากการเผาไหม้บุหรี่และเข้าสู่ปอดได้ง่าย ส่งผลให้เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคปอด หัวใจ เสียชีวิต

ผลงานวิจัยจาก San Diego State U พบว่า ผู้อยู่อาศัยใหม่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านผู้ที่สูบบุหรี่ มีระดับนิโคตินบนนิ้วปริมาณสูงกว่า 7-8 เท่า ของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีการสูบบุหรี่มาก่อน ยังพบควันบุหรี่มือสามตามพื้นผิวของสิ่งของภายในบ้าน แม้ว่าผู้สูบบุหรี่จะย้ายอกไปเป็นเวลากว่า 2 เดือน และทำความสะอาดบ้าน ทาสีใหม่แล้วก็ตาม

เด็กทารกและเด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงตกเป็นเหยื่อควันบุหรี่มือสามได้ง่ายที่สุด ทั้งนี้เพราะเด็กมีโอกาสสัมผัสนิโคตินมากกว่าผู้ใหญ่จากการคลาน เดิน สัมผัส และใช้มือหยิบสิ่งของเข้าปาก อีกทั้งเด็กหายใจได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสได้รับฝุ่นนิโคตินมากกว่าถึง 2 เท่า เด็กยังมีสัดส่วนน้ำหนักตัวเบากว่าผู้ใหญ่ เมื่อได้รับควันบุหรี่มือสามจึงเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 20 เท่า สำคัญที่สุดก็คือแม่ ที่ได้สัมผัสควันบุหรี่มาเมื่อให้นมลูก สัมผัส อุ้มเล่น ป้อนอาหาร ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการรับสารพิษและป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง

เคล็ดลับที่จะต้องเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด 3 หา 7 ไม่ 1.หาที่ปรึกษา รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์เลิกบุหรี่ โทร. 1600 2.หาคนใกล้ชิด บอกคนที่คุณรักและสนิทให้รู้ว่าคุณกำลังตั้งใจเลิกบุหรี่ และขอให้เขาให้กำลังใจเพราะกำลังใจเป็นพลังสำคัญที่ช่วยเลิกบุหรี่ได้ 3.หาเป้าหมาย วางแผนการปฏิบัติตัว กำหนดวันที่จะลงมือเลิกสูบบุหรี่ เลือกวันสำคัญต่างๆ ของครอบครัว วันเกิดตัวเอง วันเกิดของลูก วันครบรอบแต่งงาน 7 ไม่ 1.ไม่รอช้า เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมด้วยการทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ให้หมด เตรียมผลไม้รสเปรี้ยวหรือของขบเคี้ยว ช่วยลดความอยากบุหรี่ 2.ไม่หวั่นไหว เมื่อถึงวันลงมือให้บอกตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีให้กับตนเองและคนใกล้ชิด ระลึกถึงเหตุผลที่คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ ทั้งนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถเว้นระยะห่างกับคนที่สูบบุหรี่

3.ไม่กระตุ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้อยากสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4.ไม่หมกมุ่น เมื่อรู้สึกเครียดให้หยุดพักสมองด้วยการพูดคุยกับคนอื่น 5.ไม่นิ่งเฉย จัดเวลาออกกำลังกายวันละ 15-20 นาที ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง เพิ่มประสิทธิภาพหัวใจและปอด เป็นการควบคุมน้ำหนัก 6.ไม่ท้าทาย อย่าคิดกลับไปลองสูบบ้างเป็นครั้งคราว เพราะการสูบบุหรี่เพียงมวนเดียวหมายถึงการหวนคืนไปสู่ความเคยชินเก่าๆ อีก 7.ไม่ท้อแท้ หากหันกลับไปสูบบุหรี่อีกไม่ได้หมายความว่าคุณล้มเหลว แต่อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตัวเองในคราวต่อไป แล้วพยายามดูใหม่อีกครั้งหนึ่ง.

เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจเลิกเมา

ของขวัญให้ครอบครัวสู้โควิด-19

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมรณรงค์ปีใหม่ ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจเลิกเมา...นิวนอร์มอลยกกำลังสอง” ดื่มเมาก็หลายปี พ.ศ.ใหม่นี้เลิกเหอะ ปีใหม่เริ่มต้นชีวิตใหม่ ลด ละ เลิก เหล้า ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2563 โดยในงานกำหนดผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 50 คน ตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.และภาคีเครือข่ายฯ พยายามรณรงค์ชวนคนลด ละ เลิกเหล้าในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ช่วงปีใหม่นี้ และยังคงเน้นย้ำให้ประชาชนยกระดับการใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอลที่เข้มข้นขึ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อให้ผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้เช่นที่ผ่านมา

ดร.สุปรีดากล่าวว่า จากประสบการณ์ของแกนนำที่เข้าร่วมโครงการ “family club” หรือกลุ่มชมรมครอบครัวสุขใจ เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดตั้งกลไกคณะทำงาน สำรวจและชี้แจงข้อมูล คัดกรองประเมินปัญหาสุรา ค้นหาจูงใจผู้สมัครใจลด ละ เลิก เหล้า ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ติดตาม บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา โดยพัฒนานำร่อง 20 แห่งในเขตภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง

การป้องกัน ตัว เอง จาก ค วัน บุหรี่

สำหรับ “family club” ถูกออกแบบให้ชุมชนสามารถคัดกรองและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายให้ลด ละ เลิกเหล้า ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถูกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำร้ายในระดับที่รุนแรง การมีตัวช่วยจึงสำคัญมาก ทั้งคนในครอบครัว คนรอบข้าง คนในชุมชน หรือแม้กระทั่งจากคนภายนอกอย่างมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลที่เข้ามาหนุนเสริม สร้างพลังใจ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้เขาเห็นคุณค่าในตัวเอง จึงเป็นหัวใจสำคัญมาก และสิ่งสำคัญตามมาคือ การรวมกลุ่มกันของคนที่ผ่านพ้นเพื่อไปช่วยเหลือคนอื่นแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ยิ่งนำไปสู่ความยั่งยืน และยังเห็นการทำงานในมิติอื่นด้วย อาทิ ความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาอบายมุขในชุมชน การทำพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน การยุติความรุนแรงในครอบครัว ฯลฯ

“ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ระบุว่า ในปี 2560 ตัวเลขคนดื่มเหล้าอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านคน และคนติดเหล้าหรือมีพฤติกรรมการดื่มแบบอันตราย อยู่ที่ 2.75 ล้านคน นับเป็นตัวเลขที่น่าห่วง ดังนั้นความพยายามในการลุกขึ้นมาสร้างกลไกระดับชุมชนเพื่อลด ละ เลิกเหล้า ในแบบของกลไก family club จึงเป็นอีกโมเดลหนึ่งที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การขยายผลต่อไป อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์โควิดที่กำลังระบาดอีกครั้งในขณะนี้ สิ่งที่ยังจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหา คือการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และควรงดการปาร์ตี้สังสรรค์ทุกรูปแบบ งดการสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ซึ่งมีผลทำให้ร่างการอ่อนแอภูมิต้านทานลดลง และอย่าลืมสแกนไทยชนะทุกครั้งในการเดินทางเข้าออกสถานที่ต่างๆ” ดร.สุปรีดากล่าว

สาเหตุส่วนหนึ่งที่เขาอยากเลิกแต่ยังดื่ม เป็นเพราะความอยากที่สมองสั่งการ ยิ่งมีการต่อต้านก็จะรู้สึกทรมาน กระสับกระส่าย หงุดหงิด มือสั่นใจสั่น ความทรมานที่เกิดขึ้นทำให้ยังเลิกดื่มไม่ได้ อีกทั้งคนที่ดื่มสุราต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานหลายปี เกิดภาวะสมองเสพติดสุราหรือเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง ถือเป็นโรคทางกายอย่างหนึ่ง เกิดความต้องการที่จะดื่มสุราในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหยุดดื่มหรือดื่มน้อยลงก็จะมีอาการถอนตามมาด้วย คนที่มีอาการถอนสุราร่วมด้วยใจอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอ ความทรมานจากอาการถอนจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกทนไม่ไหวและกลับมาดื่มสุราต่อไปอีก

บางคนเลือกที่จะหักดิบ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีอาการถอนพิษสุราหรืออาการลงแดงในช่วงเช้าหลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก และไม่เคยมีอาการถอนพิษสุราที่รุนแรงหลังหยุดดื่มสุราในอดีต มีอาการชัก กระสับกระส่าย หูแว่ว ประสาทหลอน เพราะระดับความเสี่ยงต่อการถอนสุรารุนแรงยังไม่มากมายนัก ผู้ที่หักดิบในการดื่มจะต้องหมั่นสังเกตตนเองด้วยว่าในช่วง 3 วันแรกมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก กระสับกระส่ายหรือไม่ หากมีอาการควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยบำบัดอาการถอนพิษสุราด้วย

พลังสำคัญที่จะช่วยให้เลิกดื่มไดนั้น ถือหลัก “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” หากผู้ดื่มพยายามเลิกแต่ไร้แรงสนับสนุนก็จะละความพยายามได้โดยง่าย ดังนั้นคนใกล้ชิดโดยเฉพาะคนในครอบครัวควรเป็นแรงใจและต้องเข้าใจอาการติดสุราของผู้ดื่มให้มากยิ่งขึ้นด้วย

นรินทร์ ตึกโพธิ์ วัย 45 ปี อดีตนักมวยที่ชอบดื่ม ผันตัวเองมาเป็นแกนนำคนละเลิกเหล้าชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม กล่าวว่า เริ่มดื่มเหล้าตั้งแต่อายุ 12 ปี เดินสายชกมวยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้เงินมาจากการชกมวยก็ตั้งวงดื่มกับเพื่อน จนร่างกายแย่ต้องออกจากวงการมวย ต้องหันมาทำงานก่อสร้าง ก็ยิ่งดื่มหนักขึ้น สุขภาพแย่ลง ทำงานช้าลง มีโรคประจำตัว และสังคมรอบข้างเอือมระอา กระทั่งอยากเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ เลิกดื่มเพื่อลูกเมีย จึงได้พยายามลดละเลิกจนสำเร็จ เปลี่ยนตัวเองมาเป็นแกนนำชวนคนเลิกเหล้า และจากที่ได้เข้าโครงการ Family Club ช่วยให้ตระหนัก และเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้ตอนนี้อาจจะดื่มอยู่บ้างแต่ก็น้อยลงมาก และตั้งใจว่าปีใหม่นี้จะเลิกให้ได้ พ.ศ.ใหม่นี้อยากฝากถึงคนที่ดื่มอยู่ ให้เริ่มลด ละ เลิกเหล้า หันมาทำอะไรที่มีประโยชน์ เช่น ทำอาหารทานในครอบครัว ปลูกพืชผักสวนครัว อ่านหนังสือ เป็นต้น เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจริงๆ สิ่งดีๆ จะเริ่มเข้ามา

สีสัน แสงแป้น วัย 56 ปี แกนนำคนลดละเลิกเหล้า ชุมชนสวนหลวง 1 กล่าวว่า สมัยก่อนตนดื่มหนักมาก วันละ 4-5 ขวด เที่ยงคืนตีหนึ่งตีสองทุกวัน กลับบ้านไม่เคยเห็นหน้าลูกเมีย มักมีเรื่องทะเลาะวิวาทชกต่อยในวงเหล้าเป็นประจำ ถูกจับนอนห้องขังแทบทุกเดือน ยังดีที่ช่วงเข้าพรรษาได้งดดื่ม 3 เดือน พอออกพรรษาก็กลับมาดื่มหนักเหมือนเดิม ชีวิตอยู่กับความสูญเสียจากการดื่มมากมาย ทั้งเรื่องสุขภาพ ครอบครัว ชุมชนคนรอบข้าง จุดเปลี่ยนที่ทำให้อยากเลิกดื่มเพราะเข้าร่วมทำกิจกรรมครอบครัวสุขใจ และกิจกรรมแชร์ประสบการณ์ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ทำให้รู้พิษภัยผลกระทบ ทำให้เราอยากเป็นคนใหม่เพื่อลูกเพื่อเมีย จนตอนนี้หันมาเป็นแกนนำลดละเลิกเหล้าทำประโยชน์ให้สังคม เราก็ภูมิใจครอบครัวก็สบายใจปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดก็ลดลง ความสุขที่เราแทบจะหาไม่เจอเลยก็ค่อยกลับมา ที่ผ่านมาผมเสียเวลาไปกับเหล้ามากเกินไปแล้ว

อุไร กุลชัย วัย 43 ปี แกนนำคนเลิกเหล้า จากสมาคม ส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา (ไทยเกรียง) กล่าวว่า สมัยก่อนดื่มเหล้าหนัก จุดเปลี่ยนที่ทำให้เลิกเหล้าได้ เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ รายได้น้อยลง มีหนี้สินเพิ่มขึ้น อีกทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับทางสมาคมและมูลนิธิ เกิดแรงบันดาลใจและมีกำลังใจที่จะเลิก

ล่าสุด มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน มีกลุ่มเพื่อนๆ ที่ผ่านพ้นเลิกเหล้าแล้วคอยมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาช่วยเหลือในหลายๆ เรื่อง มีโอกาสได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของเราและได้รับคำแนะนำจากที่ดีๆ จนรู้แล้วว่าเราไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขของมึนเมาอีก และปีใหม่นี้ตั้งใจที่จะเลิกเพื่อลูก เพื่อครอบครัวให้สำเร็จ อยากเชิญชวนทุกคนให้ห่างไกลเหล้า-บุหรี่ ปีใหม่ขอให้เปลี่ยนเป็นคนใหม่กันเถอะ ทั้งเหล้า-บุหรี่มันเป็นความสุขชั่วคราว มีแต่จะทำลายเราและครอบครัว