คุณสมบัติของนักสังคมสงเคราะห์

สำหรับผู้รับบริการในงานสังคมสงเคราะห์ มีหลายกลุ่มเช่นเดียวกัน ถ้าจะแบ่งกลุ่มผู้รับบริการที่ประสบปัญหาสังคม ตามการปฏิบัติงานของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการโดยตรง ที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ส่งเสริม และสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์ เพื่อสวัสดิภาพ และความผาสุกของประชาชน แบ่งได้ดังต่อไปนี้

กลุ่มเด็กและเยาวชน ได้แก่ เด็กกำพร้า อนาถา ถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน พิการทางร่างกาย หรือจิตใจ มีปัญหาทางความประพฤติ เด็กยากจน ขาดการศึกษา เด็กที่กระทำความผิด และศาลสั่งให้เข้ารับการฝึกอบรม

กลุ่มสตรี ได้แก่ หญิงม่ายที่ต้องการความช่วยเหลือ โสเภณี สตรีตั้งครรภ์นอกสมรส สตรีที่สามีต้องโทษจำคุก สตรีที่ยากจน ขาดการศึกษา และสตรีที่มีบุตร แต่สามีไม่รับเลี้ยง

กลุ่มหัวหน้าครอบครัว ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวที่มีปัญหาความแตกแยก หย่าร้าง ไม่มีงานทำ ไม่มีอาชีพ และหัวหน้าครอบครัว ซึ่งไม่มีที่พึ่ง (ขอทาน)

กลุ่มคนชรา ได้แก่ คนที่ไร้ญาติ ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือคนชราที่อยู่กับครอบครัวไม่มีความสุข

กลุ่มคนพิการ ได้แก่ คนปัญญาอ่อน คนที่พิการทางด้านร่างกาย และจิตใจ

กลุ่มผู้ประสบสาธารณภัย ได้แก่ ผู้ที่ประสบสาธารณภัยทุกชนิด ผู้ที่พ้นโทษแล้วไม่มีญาติ พี่น้อง ผู้ที่ติดยาเสพติด ผู้ที่ตายโดยไร้ญาติขาดมิตร ผู้อพยพมาจากประเทศอื่น (ผู้ลี้ภัย) ชนกลุ่มน้อยที่มีปัญหา

ถ้าหากมีคนถามคุณว่า ‘นักสังคมสงเคราะห์คืออะไร’ คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก การช่วยเหลือ การเยียวยา หรือว่าการให้ ถ้ามีคำเหล่านี้ผุดขึ้นมาระหว่างที่คุณหาคำตอบอยู่นั้น เราขอตอบว่า…คุณมาถูกทางแล้ว แต่!…นั่นนับว่ายังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเบื้องลึกเบื้องหลังของอาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด บทความนี้จะพาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งนักสังคมสงเคราะห์…พาคุณไปรู้จักกับอาชีพแห่งการให้ที่ยิ่งใหญ่สุดๆ

อย่างไรถึงจะเรียกว่า…นักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์ คือ บุคคลทำงานเพื่อสังคม พวกเขาเป็นผู้บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเน้นระดับรากหญ้าเป็นหลัก และรวมถึงประชาชนในสังคมทุกชนชั้นที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยงานหลักของนักสังคมสงเคราะห์จะทำงานเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาของสังคม เช่น เด็กและวัยรุ่น คนชรา ขอทาน ผู้พิการและทุพพลภาพ กลุ่มคนชายขอบ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงมีพลังใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งปัจจุบันปัญหาสังคม อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความยากจน ปัญหาการถูกทอดทิ้ง ก็ยิ่งมีมากขึ้นเรียกได้ว่าแปรผันตรงไปพร้อมกับการพัฒนาด้านวัตถุทีเดียว ถึงตรงนี้ เราขอให้คำนิยามว่าอาชีพนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ให้ได้ในสองทาง

ให้ที่หนึ่ง คือ การให้แก่ประชาชน เมื่อนักสังคงสังเคราะห์ช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว จะทำให้ผู้ประสบปัญหามีศรัทธาในคุณค่าของตัวเอง ไม่มองว่าตนเป็นภาระของสังคม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ส่วนให้ที่สอง คือ การให้แก่สังคม นักสังคมสงเคราะห์นั้นแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนของสังคม หากประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่นักสังคมสงเคราะห์ทำนั้นมีความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาด้านอื่นๆ

ศาสตร์ของการช่วยเหลือ

นักสังคมสงเคราะห์จะต้องพิจารณาปัญหา และให้ความช่วยเหลือตามหลักของการสังคมสงเคราะห์ และจะเน้นไปที่การทำงานร่วมกับผู้ประสบปัญหามากกว่าให้ความช่วยเหลือฝ่ายเดียว นอกจากนั้นยังต้องใช้จิตวิทยา การวิเคราะห์ ค้นคว้าและศึกษาควบคู่กันไป หลายคนอาจคิดว่าคนที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์จะต้องเรียนจบคณะสังคมสงเคราะห์เท่านั้น อันที่จริงแล้วคนที่เรียนสายสังคมศาสตร์อย่างจิตวิทยา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ก็สามารถเป็นนักสังคมสงเคราะห์ได้ เพื่อประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมาช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหา เข้าใจและเยียวยาพวกเขา ให้พวกเขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

หน่วยงานภาครัฐกับงานสังคมสงเคราะห์

ปัจจุบันหน่วยงานราชการที่ดูแลเรื่องความผาสุกของประชาชนนั้นมีทั้งหมด ๔ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งแต่ละกระทรวงก็จะหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

นักสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานราชการ

สำหรับนักสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานราชการนั้น คุณสามารถเติบโตไปจนถึงระดับสูงสุด คือนักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ นั่นหมายความว่าความรับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ของคุณจะได้ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนั้นยังให้คำปรึกษากับส่วนราชการระดับกระทรวง กรมเพื่อแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างอีกด้วย

แต่ก่อนไปถึงนักสังคมสงเคราะห์ระดับเชี่ยวชาญนั้น คุณจะต้องบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งสายงานนักสังคมสงเคราะห์เสียก่อน โดยเริ่มจากระดับตำแหน่งดังต่อไปนี้

  • นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
  • นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ
  • นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ
  • นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ

ในแต่ละระดับตำแหน่ง คุณจะได้ฝึกปรือฝีมือในการช่วยเหลือประชาชน ลับคมความเชี่ยวชาญของตนเองจากการเยียวยา แก้ปัญหาสังคมจากระดับปกติไปจนถึงยากแบบเต็มขั้น

หากคุณสนใจงานด้านการสงเคราะห์ อาชีพนักสังคมสงเคราะห์นี้ก็เป็นอีกทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ คุณจะได้ช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไปในเวลาเดียวกัน คุณจะเป็นแรงขับเคลื่อนของสังคมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นความหวังให้พวกเขา หากคุณเป็นคน ๆ นั้นแล้วล่ะก็ จงมุ่งมั่น เตรียมความพร้อม เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในอาชีพแห่งการให้…อาชีพนักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือคณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม 6 2. มีใจรัก ชอบช่วยเหลือ เพราะงานสังคมสงเคราะห์ คือ การบริการ ให้ความ ม ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

เรียนอะไรเป็นนักสังคมสงเคราะห์

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นการศึกษาที่เน้นให้มีความรูทัศนคติ ทักษะของ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบสวิสดิการ และการพัฒนาสังคม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม

นักสังคมสงเคราะห์ คืออะไร

นักสังคมสงเคราะห์ คือ บุคคลทำงานเพื่อสังคม พวกเขาเป็นผู้บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเน้นระดับรากหญ้าเป็นหลัก และรวมถึงประชาชนในสังคมทุกชนชั้นที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยงานหลักของนักสังคมสงเคราะห์จะทำงานเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาของสังคม เช่น เด็กและวัยรุ่น คนชรา ขอทาน ผู้พิการและทุพพลภาพ กลุ่มคนชายขอบ เป็นต้น เพื่อ ...

ทักษะทางสังคมสงเคราะห์ มีอะไรบ้าง

ด้านการพัฒนาทักษะ (Skill) ในการปฏิบัติงานวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พบทักษะ 8 ด้าน ประกอบด้วย (1) ทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (2) ทักษะการบริหารข้อมูล (3) ทักษะการใช้เทคโนโลยี (4) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพทางวิชาชีพ (5) ทักษะการประสานงาน (6) ทักษะการบริหารจัดการ (7) ทักษะการ แสวงหาความรู้(8) ทักษะในการสื่อสาร การนาเสนอ และ ...