เครื่องมือหินกะเทาะ ความสําคัญ

         2. งานแกะสลักและงานปั้น  ปลายสมัยหินเก่ามีรูปปั้นและแกะสลักจากหินกระดูก  และดินเหนียวเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  และที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ  รูปปั้นผู้หญิงที่เน้นตรงหน้าอก  ตะโพก  และก้นแขนขาเล็ก  ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่า "วีนัสแห่งวิลเลนดอฟ"  สันนิษฐานว่าคงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

เครื่องมือหินกะเทาะ..ถ้ามองดูผิวเผินจะเห็นเป็นหินธรรมดาทั่วไป...

Posted by ตามรอยอารยธรรมโบราณ ตำบลวังด้ง กาญจนบุรี on Sunday, April 26, 2015

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย


สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดมนุษย์และวัฒนธรรมของมนุษย์ขึ้นในโลกเมื่อประมาณ ๒ ล้านปีมาแล้ว และสิ้นสุดลงในช่วงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งช่วงเวลาการสิ้นสุดสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในพื้นที่ต่างๆมีการประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษรไม่พร้อมกัน


ความสนใจเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในโลกเริ่มต้นมาเป็นเวลานานนับพันปี โดยเริ่มจากการเก็บสะสมเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงพัฒนาจากการเก็บสะสมของเก่ามาเป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบ จนเกิดคำว่า “ก่อนประวัติศาสตร์” ขึ้นครั้งแรกในฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖
การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ต่อมาจึงมีการดำเนินงานศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบโดยนักโบราณคดีชาวต่างประเทศ และมีการศึกษาต่อเนื่องโดยนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี เช่น การแบ่งยุคตามลักษณะวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ทำเครื่องมือ และลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ การแบ่งยุคตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ


๑. การแบ่งยุคตามลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์ได้ดัดแปลงวัสดุตามธรรมชาติทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้น การแบ่งยุคสมัยจึงใช้ชนิดของวัสดุแลัลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก สามารถแบ่งได้กว้างๆเป็น ๒ ยุค คือ


๑.๑ ยุคหิน แบ่งตามลักษณะเครื่องมือเป็น ๓ ยุค คือ
- ยุคหินเก่า เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบๆ
- ยุคหินกลาง เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำประณีตขึ้น ขนาดของเครื่องมือเล็กลง ยุคนี้นักวิชาการหลายท่านไม่ยอมรับ เนื่องจากขาดหลักฐานที่มาสนับสนุนได้อย่างชัดเจน
- ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินขัด มีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช้


๑.๒ ยุคโลหะ แบ่งตามชนิดของวัสดุเป็น ๒ ยุค คือ
- ยุคสำริด เป็นยุคที่ใช้โลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุกเรียกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
- ยุคเหล็ก เป็นยุคที่รู้จักการถลุงเหล็ก นำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้


๒. การแบ่งยุคตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์
นอกจากการแบ่งยุคตามชนิดของวัสดุและเครื่องมือเครื่องใช้แล้วยังพบว่าในบางครั้งนักวิชาการอธิบายยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ออกโดยดามลักษณะเศรษฐกิจสังคมออกเป็น


๒.๑ สังคมนายพราน เป็นยุคที่มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ เก็บอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ยังไม่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยถาวร มักอพยพตามฝูงสัตว์


๒.๒ สังคมเกษตรกรรม เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ยังคงมีการล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และเก็บอาหารที่ได้จากธรรมชาติ มักจะตั้งบ้านเรือนถาวรบนพื้นที่ที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม มีการรวมกลุ่มเป็นหมู่บ้าน เป็นเมือง มีการแลกเปลี่ยนผลผลิต และมีระบบการปกครองในสังคม


ยุคหินในประเทศไทย
ดินแดนประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือมนุษย์เดินตัวตรง(Homo erectus) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามนุษย์ชวา ซึ่งมีชีวิตอยู่บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเชีย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือมนุษย์ปักกิ่งซึ่งพบที่ถ้ำโจวกุเทียนในประเทศจีน มนุษย์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ในราว ๕-๘ แสนปีมาแล้ว


เนื่องจากในช่วงเวลายุคน้ำแข็งนั้น ดินแดนที่เป็นเกาะต่างๆของประเทศอินโดนีเชียได้เชื่อมต่อเป็นแผ่นดินเดียวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากมนุษย์ชวาแล้วในประเทศจีนยังพบร่องรอยของมนุษย์เดินตัวตรงที่เรียกกันว่ามนุษย์ปักกิ่งซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์เดินตัวตรงนี้ต่อมาได้มีวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน(Homo sapiens)ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเป็นต้นมา

๑. ยุคหินเก่า (Palaeolithic)
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันคือเครื่องมือหินกะเทาะที่พบที่เขาป่าหนาม บ้านแม่ทะ และบ้านดอนมูล จังหวัดลำปาง เครื่องมือหินกะเทาะที่บ้านแม่ทะและบ้านดอนมูลพบอยู่ใต้ชั้นหินบะซอลท์ซึ่งเป็นชั้นทับถมของลาวาภูเขาไฟกำหนดอายุได้ในราว ๗๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตรงกับช่วงเวลาประมาณ ยุคไพลสโตซีนตอนกลาง (Middle Pleistocene) ถึงยุคไพลสโตซีนตอนปลาย (Upper Pleistocene) ซึ่งในช่วงนี้พื้นที่บริเวณประเทศไทยเป็นป่าเขตร้อน มีต้นไม้ขึ้นทึบ มีฝนตกหนัก และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม


แต่ไม่มีการพบร่องรอยของมนุษย์แต่อย่างใด ร่องรอยของมนุษย์เก่าแก่ที่สุดคือฟันมนุษย์ที่ถ้ำวิมานนาคินทร์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ กำหนดอายุได้ในราว ๑๘๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว
นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีแหล่งอื่นที่พบเครื่องมือหินกะเทาะได้แก่แหล่งโบราณคดีถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย ซึ่งนายฟริทซ์ สารสินนักโบราณคดีชาวสวิสเรียกเครื่องมือเหล่านี้ว่า ไซแอมเมี่ยน (Siamian culture) หรือวัฒนธรรมสยาม แหล่งโบราณคดีที่แควน้อย จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งนายแวน ฮีกเกอเร็นนักโบราณคดีชาวเนเทอร์แลนด์ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขณะก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะเรียกเครื่องมือเหล่านี้ว่า ฟิงนอยเอียน (Fingnoian culture) หรือวัฒนธรรมแควน้อย
เครื่องมือหินกะเทาะในยุคหินเก่านี้ยังพบในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ได้แก่ ตำบลเวียงดอยคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย บ้านด่านชุมพล อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี บ้านท่ามะนาว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี บ้านจันเด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งโบราณคดีบ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นต้น


เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคหินเก่าในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะทำจากหินกรวดแม่น้ำที่เก็บได้ตามริมฝั่งแม่น้ำ(pebbles) ได้แก่ หินไรโอไรท์ (Rhyorite) หินควอทไซท์ (Quartzite) หินทราย (Sandstone) หินเคลย์ (Claystone) เป็นต้น หินเหล่านี้มักจะกลมมนเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัดพาและเกิดการขัดฝน มนุษย์จะนำเอาหินกรวดแม่น้ำเหล่านี้มากะเทาะเป็นเครื่องมือรูปร่างต่างๆแล้วนำมาใช้งาน เทคนิคการกะเทาะเป็นแบบกะเทาะโดยตรงระหว่างตัวเครื่องมือกับทั่ง หรือก้อนหินกับตัวเครื่องมือ กะเทาะเครื่องมือให้มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น เครื่องมือหินกรวดขนาดใหญ่กะเทาะหน้าเดียว (Unifacial tools) หรือเครื่องมือสับตัด (Choppers) ขวานถากรูปกำปั่น (Hand-adzes) เครื่องมือหินกรวดกะเทาะสองหน้า (Bifacial tools) เครื่องมือขุดตัด (Chopping tools) ฯลฯ


ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้แบบนี้เป็นลักษณะเครื่องมือที่พบแพร่หลายในยุคหินเก่าบริเวณทางตะวันออกของอินเดียจนจรดเอเชียตะวันออกไกล ( จีน ) แตกต่างจากทางตะวันตกของอินเดียและเอเชียตะวันตกซึ่งแตกต่างออกไปดังได้กล่าวมาแล้วในบทต้นๆ วัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้ของเอเชียได้ตั้งชื่อวัฒนธรรมต่างๆ กันออกไปในแต่ละประเทศ ตามสถานที่ที่พบก่อน เช่น วัฒนธรรมโซน(Soan Culture)ในอินเดีย วัฒนธรรมโจวกุเตียน(Choukoutiennian Culture)ในจีน วัฒนธรรมอันยาเธียน(Anyathian Culture) ในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน(Fingnioan Culture)ในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียน(Tampanian Culture)ในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัจจิตตาเนียน(Patjitanian Culture) ในอินโดนีเซีย


เครื่องมือเหล่านี้เมื่อพิจารณาจากลักษณะรูปร่าง และโดยการเอาไปเปรียบเทียบกับแหล่งอื่น สามารถสันนิษฐานลักษณะการใช้งานได้ คือ การตัดการโค่นต้นไม้ การปอกเปลือกไม้ผ่าไม้ การกะเทาะหรือทุบเปลือกหอยลูกไม้เปลือกแข็งหรือกระดูกสัตว์ อาวุธในการล่าสัตว์ การแล่หนังสัตว์ การหั่นและตัดเนื้อสัตว์ นอกจากนี้อาจใช้เครื่องมือหินในการทำไม้เป็นอาวุธหรือเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์ ซึ่งซากสัตว์ในยุคไพลสโตซีนที่พบแล้วในประเทศไทย ได้แก่ กะโหลกฮิปโปโปเตมัส ท่อนขาบนของควายพวกบูบาลัส กรามบนของช้างสเตโกดอน พบที่สะพานเดชาติวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ที่จังหวัดอ่างทอง ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ในยุคไพลสโตซีนตอนกลาง


สภาพชีวิตของมนุษย์ในยุคหินเก่านี้แม้ว่าจะไม่พบหลักฐานมากมายนักในประเทศไทย แต่เราก็สามารถกล่าวถึงเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ได้โดยเปรียบเทียบกับแหล่งอื่นที่พบหลักฐานมากกว่า ทำให้เราทราบว่า มนุษย์ในยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บอาหารที่หาได้ตามธรรมชาติเช่นพืชและผลไม้ป่าเป็นอาหาร ลักษณะสังคมเป็นแบบสังคมนายพรานหรือล่าสัตว์ เร่ร่อนไปตามฝูงสัตว์ ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน มักพบหลักฐานว่าอยู่อาศัยตาม ถ้ำ เพิงผา และที่ราบริมแม่น้ำ ส่วนสัตว์ที่ล่าเป็นสัตว์ยุคเก่าซึ่งหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว


อย่างไรก็ตามหลักฐานที่พบยังไม่สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของยุคหินเก่าในประเทศไทยได้มากมายนัก ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบกับแหล่งอื่นๆ หลักฐานที่สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวได้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ซึ่งมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในถ้ำแห่งนี้เมื่อประมาณ ๓๘,๐๐๐-๒๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว

๒. ยุคหินกลาง (Mesolithic)
ยุคหินกลางในประเทศไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากยุคไพลสโตซีนเข้าสู่ยุคโฮโลซีน มีอายุตั้งแต่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ปี จนถึงประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว


ในช่วงนี้สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศไม่แตกต่างจากปัจจุบันเท่าใดนัก ที่แตกต่างกันก็คงจะเป็นป่า คงมากกว่า ในช่วงนี้เองที่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ รับระดับน้ำทะเลที่ค่อยๆ สูงขึ้น จนทำให้ดินแดนบางส่วนจมลงทำให้ดินแดนที่เคยเชื่อมต่อหมู่เกาะต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย สุมาตรา บอร์เนียว ฯลฯ ได้ถูกตัดขาดลงจมสู่ใต้ระดับน้ำทะเลใหม่นี้


การค้นพบหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินในช่วงเวลาต่อมา เป็นเครื่องมือหินกะเทาะอย่างประณีต ขนาดเล็กลง ไม่หยาบ ใหญ่ และหนักเช่นยุคแรก เครื่องมือแบบนี้เรียกว่า เครื่องมือแบบฮัวบินเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องมือแบบนี้ครั้งแรกคือที่ฮัวบินห์ (Hoa Binh) ประเทศเวียตนาม ชนิดของเครื่องมือจะมีหลายรูปแบบและใช้งานเฉพาะด้านมากกว่ายุคก่อน เช่นเครื่องมือปลายแหลม เครื่องมือขูด เครื่องมือทำจากสะเก็ดหิน รวมทั้งมีการเครื่องมือด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์เป็นเครื่องมือสำหรับเจาะและขูด เป็นต้น


เครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินกลางในประเทศไทยและในกลุ่มทางเอเชียซีกตะวันออกนี้แตกต่างจากที่เป็นเครื่องมือหินขนาดจิ๋วในซีกโลกตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เครื่องมือยุคหินกลางที่นี่ยังคงเป็นเครื่องมือหินกะเทาะเช่นเดียวกับยุคหินเก่า แต่มีเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็คือ กะเทาะอย่างประณีตกว่าเดิม และมีลักษณะการใช้งานเฉพาะอย่างมากขึ้น นอกจากเครื่องมือหินยังมีเครื่องมืออื่นๆ เช่น ทำจากกระดูก ทำจากเปลือกหอย ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ แบบขวานกำปั้น(Proto-handaxes) เครื่องมือหินกรวดแม่น้ำที่กะเทาะอย่างหยาบแบบหน้าเดียว (Unifacial tools) และสองหน้า(Bifacial tools) เครื่องมือปลายแหลมรูปร่างคล้ายอัลมอนด์(Almond picks) หรือคล้ายถั่วลิสง กะเทาะหน้าเดียว เครื่องมือปลายแหลมรูปสามเหลี่ยม(Triangular picks)


เครื่องมือหินแบบสุมาตรา(Sumatralith) ทำจากหินกรวดรูปร่างแบนรูปไข่ กะเทาะหน้าเดียวหรือกะเทาะที่ขอบโดยรอบ เครื่องมือหินกะเทาะที่กะเทาะขอบทั้งสองด้าน(Edge-chipped bifaces) เครื่องมือขูด(Scrapers) อย่างที่มีรูปร่างกลมแบนมีผิวนอกเหลืออยู่ด้านหนึ่งและตรงกลางขอบที่กะเทาะ(Cortex disc) อย่างที่ทำจากสะเก็ดหิน(Flake disc) ขวานสั้น(Short-axes) พบที่เป็นแบบหนา(Thick short-axes) แบบแบน(Flat short-axes) และแบบปลายแหลม(Pointed short-axes)


เครื่องมือสะเก็ดหิน(Flake tools) พบเป็นแบบด้านข้างขนานกัน(Bladelet) มีขนาดเล็กเป็นแผ่นบางส่วนที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เครื่องมือกะเทาะหน้าเดียวรูปไข่(Flake oval) เครื่องมือขูดรูปกลมแบน(Flake disc) เครื่องมือปลายแหลมรูปคล้ายใบไม้(Leaf-shaped point) เครื่องมือหินกะเทาะปลายแหลม(Point) ซึ่งล้วนแต่ทำจากสะเก็ดหิน


นอกจากเครื่องมือที่กล่าวมาแล้วยังพบเครื่องมืออื่นๆ อีก แต่ไม่มากนัก เช่น ฆ้อนหินสำหรับกะเทาะเครื่องมือจักรหิน เครื่องมือสำหรับผ่า(Cleavers) เครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะ(Picks) และหินบดควบคู่ไปกับการพบเครื่องมือสับตัดและเครื่องมือสำหรับสับตัด (Choppers and Chopping tools) ซึ่งพัฒนามาจากยุคหินเก่า และยังพบเครื่องมือที่ทำจากเปลือกหอย และกระดูกสัตว์ เช่น เครื่องมือเจาะไม้หรือหนังทำด้วยกระดูก (Bone awls) เป็นรูปทรงกระบอกข้างหนึ่งแหลม (เทียบได้กับเหล็กหมาด) เครื่องมือขูดทำจากเปลือกหอย
ชนิดของหินที่ใช้ทำเครื่องมือพบว่ามีแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่มีข้อสังเกตว่าหินที่ถูกเลือกใช้จะมีเนื้อละเอียดมากขึ้นกว่าในยุคหินเก่า ชนิดของหินที่พบได้แก่ หินเชอร์ต(Schert) หินควอทไซท์(Quartzite) หินไรโอไลท์(Rhyorite) หินปูน(Limestone) หินชนวน(Shale) และแคลซิโดนี(Chalcedony) เป็นต้น
ในบางแหล่งยังพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นชิ้นส่วนของภาขนะดินเผาลายเชือกทาบแตกหักป่นมาก การทำลายใช้เชือกที่ทำจากพืชในตระกูลหมาก(Raphia) พันไม้ประทับหรือตีลงบนภาชนะดินเหนียว ขณะที่ดินยังชุ่มอยู่และพบเศษภาชนะผิวเรียบขัดมันอีกจำนวนหนึ่ง แตกหักมากเช่นเดียวกัน บางชิ้นพบร่องรอยการทำลายขูดเป็นลูกคลื่น การพบเครื่องปั้นดินเผาในยุคสมัยนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลก เนื่องจากเครื่องปั้นดินเผามักพบในยุคหลัง


นอกจากเครื่องมือเครื่องใช้แล้วยังพบกระดูกสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น เก้ง กวาง หมู กระทิง ควายป่า เสือ หมี ลิง ค่าง กระจง กระรอก หนู จระเข้ เต่า หอย ปู ปลาชนิดต่างๆ ฯลฯ ซากพืช ได้แก่ น้ำเต้า(Lagenaria หรือ Areca) พืชจำพวกถั่วเขียว ถั่วทอง ถั่วเหลืองหรือถั่วเหน้า(Phaseolus หรือ Glycene) มะกอกเลื่อม(Canarium) แตง(Cucumis) พืชจำพวกดีปลี พริกไทย หรือพลู(Piper) พืชจำพวกถั่ว(Vicia) มะเยา(Aleurite) มะซาง(Madhuca) ท้อ(Prunus) กระจับหรือมะแง่ง(Trapa) สมอไทยหรือสมอพิเภก(Terminalia) และซากเถ้าถ่านของไม้ไผ่ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่านอกจากทำที่อยู่อาศัยแล้ว ยังอาจใช้แทนภาชนะ(Bamboo containers)


ในช่วงยุคหินกลางนี้สภาพแวดล้อมไม่แตกต่างจากยุคปัจจุบันเท่าใดนัก จากการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งทำให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆสูงขึ้นทำให้ดินแดนบางส่วนจมลง เกิดหมู่เกาะต่างๆขึ้น มนุษย์ในยุคนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในถ้ำ เพิงผา และสร้างกระท่อมอยู่ริมน้ำ ชายฝั่งทะเล และริมทะเล ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การเก็บพืช เมล็ดพืช และผลไม้ป่าเป็นอาหาร อพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ที่ๆมีอาหารมากพอและอุดมสมบูรณ์


การรวมกลุ่มสังคมในยุคนี้จะมีมากขึ้น มีพิธีฝังศพแสดงให้เห็นความเชื่อในชีวิตหลังความตายและความสัมพันธ์ของคนตายกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะของโครงกระดูกของมนุษย์จะถูกฝังนอนงอเข่า หรือฝังนอนหงายชันเข่า มีแผ่นหินวางทับร่างอยู่ พบว่ามีดินแดงโรยอยู่บนร่าง และมีการฝังเครื่องเซ่นร่วมกับศพ มีลักษณะของคนยุคนี้พวกออสโตรเมลานิเซียน(Austro Melanesian) หรืออาจมีลักษณะของพวกมาเลย์รุ่นแรก(Early Malay) ผสม


แม้ว่าจะมีนักวิชาการจำนวนมากที่ไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องยุคหินกลางในประเทศไทย แต่จากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้สืบทอดลักษณะการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์ และเก็บอาหารกิน(Hunting and gathering) เช่นเดียวกับยุคหินเก่า แต่อาจจะมีการจับสัตว์น้ำ(Fishing) และการใช้ประโยชน์หรือบริโภค พืช(Plant exploitation) เพิ่มขึ้น จากการกำหนดอายุโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ของหลักฐานจากแม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี พบว่าสมัยนี้มีอายุระหว่าง ๑๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีในยุคหินกลางที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำหลังโรงเรียน และถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ ถ้ำผีหรือถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยค ถ้ำองบะ ถ้ำเขาทะลุ ถ้ำหีบ ถ้ำเพชรคูหา และถ้ำเม่น จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำใกล้เขาจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยถ้ำเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี เนินใกล้ถ้ำฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ถ้ำที่เขาแก้ว อำเภอโปงน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

แหล่งโบราณคดียุคหินกลางที่ถ้ำผีหรือถ้ำผีแมน
เป็นถ้ำเพิงผาขนาดเล็กบนภูเขาในเขตวนอุทยานถ้ำลอด ตำบลสบป่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการขุดค้นที่ถ้ำแห่งนี้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดียุคหินกลางอายุระหว่าง ๑๓,๐๐๐-๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงยุคหินใหม่


จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบินเนียน ซากสัตว์ ซากพืช นอกจากนี้ยังพบหลักฐานแสดงความต่อเนื่องถึงยุคหินใหม่ ได้แก่ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาแสดงให้เห็นสภาพชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผีซึ่งเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานชั่วคราว ล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และเก็บอาหารกิน มาสู่การเริ่มต้นทำการเกษตรกรรม


๓. ยุคหินใหม่ (Neolithic)
เมื่อยุคน้ำแข็งสุดท้ายสิ้นสุดลง สภาพแวดล้อมค่อยๆเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปัจจุบัน วิถีชีวิตบนลักษณะทางเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ ซึ่งในแต่ละบริเวณเริ่มต้นไม่พร้อมกัน แต่สามารถกล่าวโดยเฉลี่ยได้ว่าเริ่มต้นเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงประมาณ ๒,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ ซึ่งก็ไม่พร้อมกันเช่นเดียวกับจุดเริ่มต้น


ยุคหินใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งหมดจากการล่าสัตว์ ที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่บนที่สูง อพยพตามฝูงสัตว์ มนุษย์ได้อพยพลงจากที่สูงมาสู่ที่ราบ ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวรอยู่กันเป็นหมู่บ้าน เริ่มลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์(Cultivation and domestication) เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักรสาน ทำภาชนะดินเผาขึ้นใช้ รู้จักการทอผ้า ลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ก็เริ่มเปลี่ยนไปจากเครื่องมือหินกะเทาะไปสู่เครื่องมือหินขัด สันนิษฐานว่าคนในยุคหินใหม่ มีการแบ่งงานกันทำ และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยน หรือการติดต่อทางวัฒนธรรม เป็นต้น


พืชและสัตว์ในยุคหินใหม่ ยุคหินใหม่จัดว่าเป็นสมัยของการเริ่มสังคมกสิกรรม จึงจำเป็นที่คนยุคหินใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับพืชพรรณต่างๆ หลายชนิด พืชที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่ ข้าวจ้าว(Oriza sativa) ซึ่งยอมรับกันว่าปลูกขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรกในโลก (ที่โนนนกทา อายุประมาณ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ) นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟักทอง พริก บวบหรือแฟง ฯลฯ ซึ่งพืชส่วนใหญ่ ในยุคหินใหม่จะคล้ายหรือเป็นแบบเดียวกันกับพืชที่พบเห็นในปัจจุบัน


ส่วนสัตว์ก็เช่นเดียวกับคนยุคหินใหม่ ได้เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์กันอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงล่าสัตว์อยู่ สัตว์ในสมัยนี้ก็คล้ายคลึงกันกับในปัจจุบัน เช่น หมู วัว เก้งหรือฟาง กระต่ายป่า ตะกวด กวาง เต่า แรด กระรอก หมา เป็นต้น นอกจากสัตว์ดังกล่าวนี้แล้ว พวกที่อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งทะเล ได้นำทรัพยากรทางทะเลมาใช้ประโยชน์ด้วย(Marine adaptation) เช่น การจับปลา จับปู หาหอย ตลอดจนการจับตะพาบน้ำ มาเป็นอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะพบซากสัตว์ทะเลเหล่านี้หนาแน่นมากในแหล่งชายฝั่งทะเล


ยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งโบราณคดีมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบคือเครื่องมือหินขัด ที่สำคัญคือขวานหินขัดซึ่งชาวบ้านบางแห่งเรียกว่าขวานฟ้าเชื่อกันเป็นขวานศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากฟ้าใช้รักษาโรคได้ บางแห่งเรียกว่าเสียมตุ่นเชื่อกันว่าเป็นเสียมที่ตุ่นใช้ขุดดิน ลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามหน้าที่ เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว ฯลฯ เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ ได้แก่ ฉมวก สิ่ว เบ็ด ส่วนเครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน


เครื่องประดับ พบที่ทำด้วยหิน เช่น กำไลหิน ลูกปัดหิน ที่เป็นกระดูก ได้แก่ กำไล ลูกปัด ปิ่น จี้ นอกจากนี้ยังพบที่ทำจากเปลือกหอย เช่น ลูกปัด จี้ เป็นต้น


เครื่องปั้นดินเผา นอกจากภาชนะดินเผา เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา(ใช้ในการปั่นด้าย) หินดุ(ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา) ภาชนะดินเผานี้นอกจากันออกไปตามสถานที่ ตัวอย่างเช่นที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ยังพบว่าบางแหล่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบในยุคหินใหม่ ของจีน


ภาชนะดินเผายุคหินใหม่ เป็นภาชนะเนื้อค่อนข้างหยาบในช่วงแรกจะขึ้นรูปด้วยมือ โดยอาจใช้หินดุช่วย ต่อมาจึงใช้แป้นหมุน ลวดลายที่ตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นลายเชือกทาบ รองลงมาจะเป็นเศษภาชนะผิวเรียบ นอกจากนี้ก็ตกแต่งด้วยลายขูด ลายขีด ลายจุดประ เป็นรูปทรงเรขาคณิต และเป็นรูปต่างๆ พบว่ามีการเคลือบน้ำโคลนเหลว และน้ำโคลนขันสมานรูซึมรั่วก่อนเผา การเผามักจะเป็นเตาแบบง่ายๆ คือ เตาเปิด(Open kilns) โดยใช้เชื้อเพลิงมาสุม จึงมักพบว่าภาชนะดินเผาในระยะเเรกๆ นี้มักสุกไม่ทั่ว นอกจากเศษภาชนะดินเผา และภาชนะดินแล้ว ยังพบเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ เช่น หินดุ(เครื่องมือขึ้นรูปภาชนะรูปร่างคล้ายเห็ด) กระสุนดินเผา(ใช้ยิงกับคันกระสุน) เบี้ยดินเผา(อาจใช้ในการละเล่น) แวดินเผา(ใช้ปั่นด้าย) ตุ้มถ่วงแห ตลอดจนเครื่องประดับต่างๆ ที่ทำขึ้นจากดินเผา


เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม พืชที่สำคัญที่มนุษย์ยุคนี้ปลูกก็คือ ข้าว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ฯลฯ ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ หมา หมู วัว ควาย ฯลฯ การล่าสัตว์ยังคงพบหลักฐานการล่า เก้ง กวาง กระต่าย แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และปลาชนิดต่างๆ เป็นต้น


หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือหลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ส่วนที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผามีพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด ฯลฯ เครื่องประดับตกแต่งร่างศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ ทำด้วยวัสดุต่างๆ ซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จนก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบว่ามีพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น และทิศทางการฝังศพก็จะสะท้อนให้เห็นลักษณะความเชื่อ เช่น ฝังหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกอาจหมายถึงการเกิดใหม่เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น จากการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์พบว่าผู้ชายจะสูงระหว่าง ๑๖๐-๑๗๕ เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะสูงระหว่าง ๑๔๕-๑๖๖ เซนติเมตร โรคภัยไข้เจ็บที่พบ ได้แก่ โรคโลหิตจาง โรคฟันผุ


สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่บนที่ราบใกล้แหล่งน้ำ อยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน ดำรงชีวิตลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือ การเกษตรกรรม เป็นการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องจักสาน การทอผ้า เป็นต้น และพบว่ามีผลผลิตมากเกินกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ส่วนการล่าสัตว์และการจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่
เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ การทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรม


การเริ่มต้นของยุคหินใหม่ในแต่ละที่ไม่พร้อมกัน แต่สามารถกล่าวโดยเฉลี่ยได้ว่าเริ่มต้นเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงประมาณ ๒,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วมนุษย์เริ่มรู้จักการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ซึ่งก็ไม่พร้อมกันในแต่ละพื้นที่เช่นเดียวกัน


ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตรกรรม แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น ดังนั้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่จึงมักพบ อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำ เพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่างเช่น บ้านเก่าในเขตลุ่มแม่น้ำแควน้อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดีในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ฯลฯ

แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่บ้านเก่า
บ้านเก่าตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกแหล่งแรกของประเทศไทย จากการที่นายแวน ฮีกเกอเร็น นักโบราณคดีชาวเนเทอร์แลนด์ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยที่บ้านเก่า ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั้นจึงมีการสำรวจบริเวณนี้อีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการสำรวจและขุดค้นอย่างเป็นระบบขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย
จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็น ขวานหินขัดที่มีลักษณะแบบผึ่งหรือขวานถาก สิ่วหินขัด หัวลูกศร ปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทำเป็นรูปวงกลมเจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั้งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร ปลายหอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ


ภาชนะดินเผายุคหินใหม่ที่บ้านเก่าพบเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบต่างๆกันเช่น หม้อ ชาม กระปุก พาน และที่สำคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของยุคหินใหม่ที่บ้านเก่าคือหม้อสามขา ภาชนะดินเผาเหล่านี้นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้วยังพบอยู่ในหลุมฝังศพซึ่งอาจเป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสำหรับผู้ตาย จากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาพบว่าคล้ายคลึงกันกับภาชนะดินเผาของวัฒนธรรมลุงชานในประเทศจีน นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปั้นดินเผาชนิดอื่นเช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดินเผา เป็นต้น
โครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากขุดค้นพบที่บ้านเก่า มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่องประดับเช่นลูกปัด กำไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี้ยังมีการฝังเครื่องเซ่นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสำหรับผู้ตายด้วย


ยุคหินใหม่ที่บ้านเก่านี้มีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคโลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับยุคหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่าซึ่งสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการดำเนินงานขุดค้น

๔. ยุคโลหะ
หลังจากที่มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือที่ทำขึ้นจากหิน กระดูก เปลือกหอย ตลอดจนเครื่องมือที่ทำขึ้นจากไม้มาเป็นระยะเวลานาน มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ไปอีกระดับคือการรู้จักถลุงเอาทองแดงมาใช้ประโยชน์ ต่อมาจึงได้นำเอาทองแดงมาผสมกับโลหะอื่นเป็นสำริด และในที่สุดจึงได้พัฒนามาสู่การถลุงเหล็ก ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกกันว่า ยุคโลหะ (Metal age)


ยุคโลหะในประเทศไทยได้เริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่สุด คือเริ่มในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศคงเป็นยุคหินอยู่ และจากการกำหนดอายุชั้นดินที่พบโลหะ ( สำริด ) ที่โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น พบว่ามีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่ามีการทำสำริดในไทยก่อนการทำสำริดในราชวงศ์ชาง(Shang dynasty) ของจีนเกือบ ๑,๐๐๐ ปี และก่อนอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ของอินเดีย จะเริ่มทำเครื่องสำริดเกือบหรือกว่าร้อยปี เครื่องมือสำริดอันนี้พบในชั้นดินที่ ๑๙ ซึ่งในชั้นดินนี้ได้พบชิ้นส่วนสำริด เครื่องใช้สำริด ตลอดจนแม่พิมพ์หินทรายที่ใช้

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/245320

เครื่องมือหินกะเทาะมีความสําคัญอย่างไร

ลักษณะ : เครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มีการฝนให้เรียบ คม ประโยชน์ใช้สอย : ใช้ลับอาวุธ

เครื่องมือหินกะเทาะคืออะไร

ขวานหินขัดหรือ ขวานฟ้าคือ เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผลิตขึ้นเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ – ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีลักษณะเป็นก้อนหินที่มีการกะเทาะขัดแต่งให้เกิดความคม วิธีสังเกตว่าเป็นขวานหินหรือก้อนหินธรรมชาติ

เครื่องมือหินกะเทาะอยู่ในสมัยใด

3.1 ยุคหินเก่า 500,000–10,000 ปีมาแล้ว หลักฐานเก่าแก่ที่มีการค้นพบ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ เป็นเครื่องมือของมนุษย์โบราณพวก โฮโมอีเรกตัส (Homo erectus) มนุษย์ในยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ รู้จักใช้ไฟ ไม่มีถิ่นฐานที่แน่นอน พบหลักฐานว่าอาศัยตามถ้ำ

เครื่องมือหินกะเทาะพบที่จังหวัดใด

เสาดินนาน้อย อยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ยังพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นหินกรวดแม่น้ำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหินในกลุ่มเครื่องมือสับ-ตัด (Chopper - ...