รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ข้อคิด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก แม้จะมีเนื้อหาสั้น ๆ แต่ก็พร้อมด้วยความโดดเด่นทางด้านเนื้อหาที่ให้คุณค่าและให้ข้อคิดแก่ผู้เรียน อีกทั้งยังให้คุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีการพรรณนาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดจินตภาพตามไปกับเนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่อง พฤติกรรมตัวละครยังสะท้อนให้เห็นถึงความจริงของสังคมที่มนุษย์ทุกคนล้วนมีความรัก โลภ โกรธ หลง แต่ทั้งนี้ผู้เรียนต้องไตร่ตรองให้ดีก่อนนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้ถูกทำนองครองธรรม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

    ท 5.1 ม.2/3    อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
    ท 5.1 ม.2/4    สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายหลักการวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดีได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนตระหนักเห็นถึงความสำคัญจากวรรณคดีที่สะท้อนความจริงในสังคม 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินการวิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบ นนทก
- เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%81&dcr=0&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwikzpuYzdzYAhUDF5QKHYyZB0EQ_AUICigB&biw=1280&bih=918#imgrc=DFBMBj5fK7xUtM:

เรื่อง รามเกียรติ์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เป็นยอดแห่งกลอนบทละครผู้อ่านไม่ได้เกิดจินตภาพเท่านั้น แต่ยังมีเนื้อหาที่ให้ข้อคิด ควรพิจารณาและนำมาเปรียบกับพฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันได้ดังจะเห็นได้ว่า เมื่ออำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว ก็จะเกิดผลร้ายตามมาผู้มอบอำนาจจึงต้องพิจารณาก่อนว่าจะจำกัดขอบเขตอำนาจที่เป็นรางวัลได้อย่างไร มิฉะนั้นจะต้องมาแก้ไขภายหลังเพราะมองคน


ประวัติผู้แต่ง 

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ข้อคิด

https://www.google.co.th/search?dcr=0&biw=1280&bih=869&tbm=isch&sa=1&ei=EAReWq_AKYHB0gSWx6zoCQ&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+1&oq=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5&gs_l=psy-ab.3.0.0i67k1l3j0j0i67k1j0j0i67k1l4.61292.63559.0.64719.8.4.1.3.4.0.160.563.0j4.4.0....0...1c.1.64.psy-ab..0.7.457....0.3CPVlSImGuA#imgrc=IbxrdzYJk4fuRM:

พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ข้อคิด

https://www.google.co.th/search?dcr=0&biw=1280&bih=869&tbm=isch&sa=1&ei=tQdeWqa1IIKC8wWl5ZP4DQ&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%81&oq=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+&gs_l=psy-ab.3.0.0l10.5872.7214.0.8302.5.4.0.1.1.0.157.559.0j4.4.0....0...1c.1.64.psy-ab..0.5.563...0i67k1.0.y0lC8oei4GE#imgrc=psX99nderYaA6M:

เรื่องย่อ

นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระอิศวร พวกเทวดาชอบข่มเหง นนทกอยู่เป็นประจำโดยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมด นนทกแค้นใจเป็นอันมากจึงไปเฝ้าพระอิศวรกราบทูลว่าตนเองได้รับใช้มานานยังไม่เคยได้รับสิ่งใดตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชรมีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นถึงตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอเมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายลงเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้วโปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงกายเป็นนางฟ้าสวยงามมายั่วยวน นนทกนึกรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกร่ายรำก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ที่เข่าตนเอง นนทกก็ล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจมีถึงสี่กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้ นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง 20 มือมีฤทธิ์มากมายแล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือลงไปสู้ด้วยและจะเอาชนะให้ได้

วีดิทัศน์ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

https://www.youtube.com/watch?v=LS8yDQXq8hs&t=247s

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

     - อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้                                                         

     - เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก

     - คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น

     - ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน

     - วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ข้อคิด

https://www.google.co.th/search?dcr=0&biw=1280&bih=869&tbm=isch&sa=1&ei=tQdeWqa1IIKC8wWl5ZP4DQ&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%81&oq=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+&gs_l=psy-ab.3.0.0l10.5872.7214.0.8302.5.4.0.1.1.0.157.559.0j4.4.0....0...1c.1.64.psy-ab..0.5.563...0i67k1.0.y0lC8oei4GE#imgrc=WkW22nPMsYAv0M:

คุณค่าสะท้อนด้านสังคม

     - สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนไทย ที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
     - สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องของชาติหน้า ภพหน้า หรือโลกหน้า

     - สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ไทย ซึ่งมีการกล่าวถึงท่ารำแม่บทแบบต่าง ๆ ของไทย

อ้างอิง

http://th.knowledgefromtextbooks.wikia.com/wiki/%E2%80%8B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%81

เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก (ข้อคิด ( อำนาจอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว….
อำนาจอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้าย.
เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก.
คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น.

รามเกียรติ์ มีข้อคิดอะไร

๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้ ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น

เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกมีลักษณะเด่นด้านใดบ้าง

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก แม้จะมีเนื้อหาสั้น ๆ แต่ก็พร้อมด้วยความโดดเด่นทางด้านเนื้อหาที่ให้คุณค่าและให้ข้อคิดแก่ผู้เรียน อีกทั้งยังให้คุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีการพรรณนาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดจินตภาพตามไปกับเนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่อง พฤติกรรมตัวละครยังสะท้อนให้เห็นถึงความจริงของสังคม ...

ข้อคิดจากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดที่เราสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้

ข้อคิดจากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดที่เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การอดทนอดกลั้น