จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022

นโบบายความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณสามารถใช้เว็บไซต์ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คุกกี้ส์จะช่วยจัดให้คุณเห็นโฆษณาที่เหมาะกับคุณจริงๆ พร้อมทั้งช่วยให้คุณใช้ฟีเจอร์ที่หลากหลาย การอนุญาตทั้งหมดถือว่าคุณยอมรับการใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ คุณสามารถจัดการ เปลี่ยนการตั้งค่าของคุณได้ตลอดเวลา

อนุญาติคุกกี้

3 มิถุนายน 2565 | 16:05:52

(VOVWORLD) - นิตยสาร Times Higher Education ได้ประกาศการจัดอันดับมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมของเอเชียประจำปี 2022 

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022
มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกฮานอย (HUST)

เวียดนามมีมหาวิทยาลัย 5 แห่งที่ถูกระบุในรายชื่อดังกล่าว ได้แก่ มหาวิทยาลัยโตนดึ๊กทั้งถูกจัดอยู่อันดับที่ 73 มหาวิทยาลัยยวีเตินอยู่อันดับที่ 91มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม301-350 มหาวิทยาลัยแห่งชาติโฮจิมินห์ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม401-500 และมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกฮานอยติดกลุ่ม601-800

ในมหาวิทยาลัย 5แห่งของเวียดนามที่ติดรายชื่อดังกล่าว มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยอยู่อันดับที่ 1 ในด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยโตนดึ๊กทั้งและมหาวิทยาลัยยวีเตินอยู่มีจุดแข็งในด้านการอ้างอิงผลงานการวิจัยและมหาวิทยาลัยแห่งชาติโฮจิมินห์อยู่อันดับ1ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี.

คำติชม

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD World Competitiveness Center ประจำปี 2022

ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปี 2022 พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในปี 2022 อยู่ในอันดับที่ 38 คงที่เท่ากับปี 2021 แต่ในขณะเดียวกัน มีหลายตัวชี้วัดที่มีการพัฒนาดีขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจาก 6,219 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เป็น 6,647 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2022 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.14 ในปี 2021 เป็นร้อยละ 1.33 ในปี 2022 จำนวนนักวิจัยที่ทำงานเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) ต่อประชากร 1,000 คน จากเดิม 1.9 FTE เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 FTE จำนวนผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1,000 รายการ และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนสิทธิบัตรที่ให้กับคนในประเทศที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 367 รายการ ในปี 2021 เป็น 473 รายการในปี 2022

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022
จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022

สำหรับปัจจัยด้านการศึกษา ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา จากอันดับที่ 56 ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 53 ขยับขึ้น 3 อันดับ มีหลายตัวชี้วัดที่พัฒนาดีขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของทั้งประเทศต่อจีดีพี จากเดิมร้อยละ 3.00 ในปี 2021 จัดอยู่ในอันดับที่ 59 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.70 ในปี 2022 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 49 เพิ่มขึ้น 10 อันดับ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของทั้งประเทศต่อจำนวนนักเรียน ในทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้นจาก 986 เหรียญสหรัฐต่อคน ในปี 2021 เป็น 1,294 เหรียญสหรัฐต่อคนในปี 2022  นอกจากนี้ อัตราส่วนประชากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษายังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นด้วย จากเดิมร้อยละ 32 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 34

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022
จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022

อย่างไรก็ตาม อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปี 2022 ในภาพรวม ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 ขยับลงจากปี 2021 มา 5 อันดับ จากผลการจัดอันดับรวม 63 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศ/เขตเศรษฐกิจ 5 อันดับแรก ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด ได้แก่ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สวีเดน ฮ่องกง ตามลำดับ และเมื่อจัดอันดับเทียบกับประเทศในอาเซียน ภาพรวมประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย

จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022
จัดอันดับการศึกษาในอาเซียน 2022