เหตุผล ใน การ ลา ออก จาก งาน เก่า

พอดีเรามีนัดสัมภาษณ์ที่ทำงานใหม่เร็วๆนี้ งานตำแหน่งเดิมแหละ เราอยากลาออกจากที่ทำงานปัจจุบันเพราะเบื่อหัวหน้า+ไม่ชอบปัญหาต่างๆนาๆที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้เราทำงานไม่มีความสุข ไม่มีความอยากมาทำวานในแต่ละวันเลย มาทีไรเครียดทุกวัน
พนักงานเข้าๆออกๆคือเยอะมาก ด้วยความที่ปัญหามันเยอะในทุกๆฝ่าย เราเห็นแต่บะคนทำสองสามเดือนออก 
เรายอมกัดฟันทำถึงปีนึง เพราะกบัวเอชอาเซ้าซี้เรื่องอายุงาน

ถ้าเอชอาที่ใหม่ถามว่า “ทำไมถึงลาออกจากที่ทำงานเก่า?” ควรตอบคำถามนี้ยังไงดี
 เรามีอายุงานที่ทำงานปัจจุบันแค่ 1 ปีเอง  เราเห็นมีแต่คนบอกอย่าเผาที่เก่า อย่าพูดถึงที่เก่าในแง่ลบ

เห้อออ ท้อใจจัง ไม่รู้จะหาคำพูดอะไรให้ดูดีตอนไปสัมภาษณ์เลย

คำถามสัมภาษณ์งาน "ทำไมคุณถึงคิดจะลาออกจากที่ทำงานเดิม" ... ควรจะตอบอย่างไรดี

คำถามสัมภาษณ์งาน "ทำไมคุณถึงคิดจะลาออกจากที่ทำงานเดิม" ... ควรจะตอบอย่างไรดี
จะตอบยังไงให้ดูดีไม่เว่อเกินไปค่ะ
เรื่องจิงๆสาเหตุที่ลาออกคือ
1. ในฝ่ายมีการรับพนักงานใหม่เข้ามาประสบการณ์ และ ตำแหน่งของเค้าสูงกว่าเรา แต่ปรากฏว่าเค้าทำอะไรไม่เป็นเลย
     หัวหน้าจึงแอบมาสั่งดิฉันลับหลังว่าให้ช่วยดูแลสอนงานกะพนักงานใหม่หน่อย ดิฉันคิดว่าแบบนี้ไม่ยุติธรรมค่ะ
     ให้คนตำแหน่งต่ำกว่าไปสอนคนที่ควรจะเป็นงานมากกว่า
2. เงินเดือนที่เดิมถูก freeze ค่ะ

   อยากขอคำปรึกษาว่าถ้าสาเหตุเกิดจากสองอย่างนี้จะตอบยังไงที่จะไม่ดูแรงเกินไปค่ะ ขอบคุณคนที่เข้ามาตอบล่วงหน้าค่ะ


เหตุผล ใน การ ลา ออก จาก งาน เก่า

ปรากฏการณ์การลาออกระลอกใหญ่ของคนทำงาน (The great resignation) ถือเป็นสิ่งเหนือความคาดหมายของหลายๆ บริษัททั่วโลก ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยการระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบชีวิตการทำงานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แม้จะเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นชัดเจนในบ้านเรา แต่ในยุคที่ทุกอย่างเหมือนตกอยู่ในสนามแข่งขัน จนเกิดปัญหาแย่งบุคลากรที่มีความสามารถในตลาดเพิ่มสูงขึ้น บวกกับปัญหารุมเร้าอื่นๆ ที่เอื้อให้เป็นสาเหตุที่ลาออกจากงานหรืออยากเปลี่ยนงานกันมากขึ้น ซึ่งมาจากหลายเหตุผลด้วยกัน ดังนี้

9 สาเหตุที่ลาออกจากงาน กระตุ้นให้คนอยากย้ายงานยุคโควิด!

หากเปรียบชีวิตของเราเป็นถนนเส้นทางหนึ่ง ‘ช่วงวัยทำงาน’ คงเป็นช่วงที่มีระยะทางยาวไกลที่สุดบนถนนเส้นนี้เลยก็ว่าได้ ทั้งยังมีอุปสรรคและเหตุการณ์ใหม่ๆ ให้ได้สัมผัสและวัดใจไปตลอดทาง โดยเฉพาะเรื่องของการลาออกที่สามารถพบได้อย่างน้อยสักครั้งในชีวิต ซึ่งนอกจากสาเหตุที่ออกจากงานขั้นพื้นฐาน เช่น ปริมาณงาน ปัญหาจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานแล้ว จากเหตุการณ์ The great resignation ทำให้พบว่ามี 9 เหตุผลลาออกจากงานหลักๆ ที่ทำให้คนตัดสินใจเดินออกไปจากองค์กรได้ง่ายขึ้น ดังนี้

เหตุผล ใน การ ลา ออก จาก งาน เก่า

  • ความรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน

หนึ่งในความจริงที่พบได้จากประสบการณ์ทำงานของมนุษย์เงินเดือน จนเป็นสาเหตุที่ลาออกจากงานของคนทำงานเป็นอันดับแรกๆ คือความรู้สึกไม่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงานในตำแหน่งเดียวกัน หรือไล่เลี่ยกัน โดยมีเหตุจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ปริมาณงานที่ได้รับ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ไปจนถึงการอะลุ่มอล่วยระหว่างกัน ที่สะท้อนออกมาทั้งในรูปแบบของการกระทำและคำพูด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นง่ายแต่มักถูกเปิดเผยได้ยาก ทั้งยังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในหลายๆ บริษัททั่วโลก

  • ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือภาวะ Burnout ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลลาออกจากงาน และเป็นปัญหาใหญ่ที่พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือความเครียดที่ถูกสะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนมีผลต่อสภาวะด้านจิตใจและกระทบต่อไปถึงการทำงานและชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งผู้ที่มีภาวะนี้มักจะรู้สึกไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำอะไร หรือในบางคนอาจพบว่ามีอาการหลับยากร่วมด้วย จนท้ายที่สุดคือไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนช่วงปกติ และหากปล่อยภาวะนี้ไว้นาน หรือจัดการตัวเองได้ช้าอาจส่งผลต่อสุขภาพและปัญหาด้านจิตใจอื่นๆ ตามมาได้ด้วย

  • มองหาการทำงานที่ยืดหยุ่น (Work-life balance)

ความเครียดและแรงกดดัน คือสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนและคนทำงานทุกคนต้องพบเจอ ยิ่งในสถานการณ์ของการแข่งขันที่นับวันจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการแย่งบุคลากรที่มีความสามารถในตลาดเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริษัทฯ ยุคใหม่ที่มีลักษณะการทำงานค่อนข้างยืดหยุ่น บวกกับการทำงาน Work from Home ในช่วงโควิด-19 ที่ทำให้คนทำงานรู้สึกคุ้นชินกับการทำงานที่ไหนก็ได้ จากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นสาเหตุที่ลาออกจากงานชั้นดีที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจลาออกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
 

เหตุผล ใน การ ลา ออก จาก งาน เก่า

  • มองหาบริษัทที่มีความมั่นคง

ในยุคที่เศรษฐกิจซบเซาและการแข่งขันรุนแรงจนฉุดไม่อยู่ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน” อาจกลายเป็นหัวใจดวงที่สองที่ช่วยสร้างความอุ่นใจได้ดีที่สุด ยิ่งเมื่อองค์กรหรือบริษัทมีการเลิกจ้างพนักงานบางส่วน อาจเป็นเหมือนสัญญาณที่ทำให้พนักงานส่วนที่เหลือรู้สึกขาดความมั่นคงในอาชีพการงาน จากปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเงินของบริษัท จึงต้องการลาออกเพื่อย้ายไปทำงานในบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินและมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต

  • มองไม่เห็นความก้าวหน้าในองค์กร

สำหรับผู้ที่ทำงานที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน แต่รู้สึกเหมือนความก้าวหน้ายังล่าช้าออกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะหากการทำงานเป็นไปอย่างทุ่มเทเต็มที่ ผลงานมีประสิทธิภาพและเป็นที่น่าพึงพอใจ แต่กลับอยู่นอกสายตาและไม่ได้รับโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง นี่อาจเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่เหตุผลลาออกจากงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ที่มีอายุงานนานนับหลักปีเพียงเท่านั้น สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเข้ามาในบริษัทใหม่ๆ ก็อาจสัมผัสได้ถึงแนวโน้มอนาคตของตัวเองได้คร่าวๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน รูปแบบการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน ระบบการทำงานในบริษัท รวมถึงวัฒนธรรมโดยรวมของบริษัท เป็นต้น

  • มองหางานที่ให้เงินเดือนสูงขึ้น

เงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ลาออกจากงานอันดับต้นๆ  เมื่อรู้สึกว่าตนเองได้รับเงินเดือนต่ำกว่าความสามารถและภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พนักงานหลายคนพร้อมที่จะยอมรับความรับผิดชอบที่มากขึ้นหากได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น บริษัทจึงควรใส่ใจเรื่องการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนรวมถึงค่าตอบแทนพนักงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น โบนัส คอมมิชชัน ค่าล่วงเวลา (OT) ให้สอดคล้องกับความสามารถ ผลการปฏิบัติงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน
 

เหตุผล ใน การ ลา ออก จาก งาน เก่า

  • สวัสดิการไม่คุ้มค่า 

ปัจจัยคลาสสิกตลอดกาลที่เป็นเหตุผลลาออกจากงานของคนทุกยุคทุกสมัย ยังต้องยกให้เรื่องของค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แต่ละบริษัทเป็นผู้กำหนดขึ้น เช่น การรักษาสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันหลายๆ บริษัทจะมีการเพิ่มสวัสดิการพนักงานอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ส่วนลดเมื่อเข้าใช้บริการภายในบริษัท หรือพาร์ทเนอร์ต่างๆ รวมถึงสวัสดิการดูแลครอบครัวพนักงานอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ดึงดูดพนักงานเอาไว้ได้นานขึ้น

  • ต้องการความท้าทายใหม่ๆ

หลังจากทำงานที่เดิมมาได้สักระยะ พนักงานบางคนจะเริ่มคุ้นเคยกับงานในความรับผิดชอบของตนเองจนรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงานแบบเดิมซ้ำๆ และอาจนำไปสู่สาเหตุของการลาออกเพื่อหางานใหม่ที่มีความท้าทายมากขึ้น ถ้าบริษัทรู้ทันถึงสาเหตุและความต้องการของพนักงานในเรื่องนี้ อาจลองมอบหมายงานชิ้นใหญ่ที่มีความสำคัญและยากขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพื่อช่วยให้พนักงานที่กำลังหมดความท้าทายรู้สึกมีไฟในการทำงานขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ อย่าลืมตอบแทนพนักงานที่ทำงานสุดท้าทายได้สำเร็จด้วยคำชื่นชม และให้โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานด้วย

  • การย้ายที่อยู่อาศัย

สาเหตุที่ลาออกจากงานข้อสุดท้ายนั้นอาจเกิดจากเรื่องส่วนตัวได้เช่นกัน เช่น พนักงานบางคนจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ด้วยเหตุผลต่างๆ เพราะต้องแต่งงาน หรือต้องการย้ายกลับไปอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านค่าครองชีพในเมืองที่สูงกว่าต่างหวัดอย่างเห็นได้ชัด บวกกับสังคมคนเมืองที่ต้องเผชิญปัญหารถติด และการใช้เวลาเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่ายจนกลายเป็นสาเหตุที่ลาออกจากงานได้ในที่สุด
 

แม้การลาออกจะเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปในทุกๆ บริษัททั่วโลก แต่เชื่อว่าทุกบริษัทล้วนอยากรักษาพนักงาน หรือบุคลากรที่มีความสามารถไว้ในองค์กรให้ได้นานที่สุด ซึ่งหัวใจสำคัญคือ การสร้างความรู้สึกผูกพันที่จริงจังซึ่งกันและกันให้ได้ คงดีกว่าถ้าองค์กรหรือบริษัทมีแผนสำรองเพื่อเตรียมรับมืออยู่เสมอ รวมถึงฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ควรรู้ให้ได้ว่าสาเหตุที่ลาออกจากงานที่แท้จริงของพนักงานนั้นคืออะไร หน้าที่ต่อไปคือการใส่ใจช่วยแก้ปัญหาเพื่อลดอัตราการลาออกให้น้อยลง เช่น กำหนดความรับผิดชอบชัดเจนขึ้น (Job description) วัดผลงานตามจริง และให้ค่าตอบแทนรวมถึงสวัสดิการพนักงานที่คุ้มค่า 

รวมถึงการทำแผนความคุ้มครองเพิ่มเติมที่คุณสามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ตามความต้องการของบริษัท หรือองค์กร

หากคุณสนใจแผนประกันกลุ่มของ Cigna เพื่อความคุ้มครองที่ดียิ่งขึ้นสำหรับพนักงานในบริษัท

  • แผนประกันสุขภาพแบบกลุ่ม ที่นี่

  • ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มที่นี่

หรือติดต่อฝ่ายขายองค์กรได้ที่