เฉลยใบงานเรื่องการหักเหของแสง

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า การหักเหของแสง เราอาจ จะให้คำจำกัดความ การหักเหของแสงได้ว่า เป็น การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง  ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง  โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง ดังรูป 2

รูปที่ 2 แสดงการหักเหของแสงผ่านตัวกลาง

กฎการหักเหของแสง  เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง แสงจะเกิดการหักเห และเป็นไปตามกฎการหักเหของแสง ดังต่อไปนี้

 

เฉลยใบงานเรื่องการหักเหของแสง

การหักเหของแสงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านปรึซึม

มาศึกษาที่วีดีโอกัน

การทดลองการหักเหของแสงผ่านตัวกลาง

https://phet.colorado.edu/sims/html/bending-light/latest/bending-light_th.html

มุมวิกฤต

          มุมวิกฤต คือ มุมตกกระทบที่ทำให้เกิดมุมหักเหเป็นมุม 90 องศา พอดี เกิดจากแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า หรือแสงจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสู่ตัวกลางที่มีดัชนีหักเหน้อยกว่าดังรูป

เฉลยใบงานเรื่องการหักเหของแสง

การสะท้อนกลับหมด (Total reflection) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากมุมตกกระทบมีขนาดโตกว่ามุมวิกฤต จะทำให้แสงเกิดการสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิมทั้งหมด ไม่มีการหักเหออกไปอีก

ลึกจริง ลึกปรากฏ

นำแท่งพลาสติกใสผิวระนาบวางทับตัวหนังสือ ดังรูป  เมื่อมองดูตัวหนังสือใต้แท่งพลาสติก จะมองเห็นตัวหนังสือที่ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งจริง เป็นตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งจริง เป็นตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าตำแหน่งเดิม  การเห็นวัตถุในลักษณะนี้เนื่องจากอากาศมีดรรชนีหักเหน้อยกว่าแก้ว  ดังนั้นมุมหักเหในอากาศจึงมีค่ามากกว่ามุมตกกระทบในแก้ว  ภาพที่มองเห็น จึงเรียกว่า ความลึกปรากฏ  ส่วนตำแหน่งของวัตถุจริง  จึงเรียกว่า ความลึกจริง  ดังแสดงได้จาก รูปต่อไปนี้

"เรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติ"

Privacy & Cookies: This site uses cookies. By continuing to use this website, you agree to their use.
To find out more, including how to control cookies, see here: Cookie Policy

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

    เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางโปร่งหนึ่งไปยังอีกตัวกลางโปร่งใสหนึ่ง จะเกิดการหัก มีอัตราเร็วของแสงเปลี่ยนไป และอาจเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่  แสงที่เกิดการหักเหเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุที่วัสดุเป็นตัวกลางโปร่งใส    เช่น ปริซึม หรือหยดน้ำ แสงจะแยกออกเป็นแสงสีต่าง ๆ  เรียกว่า สเปกตรัมของแสง เนื่องจากแสงแต่ละสีมีอัตราเร็ว  ของแสงที่แตกต่างกันในตัวกลางนั้น ๆ จึงหักเหได้ไม่เท่ากันและกระจายออกให้เห็นสีต่าง ๆ เรียกว่า การกระจายของแสง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายการกระจายของแสงเมื่อผ่านปริซึม

- อธิบายปรากฎการณ์ทางแสงด้วยการหักเหของแสง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 - การสังเกต การกระจายของแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านปริซึม หรือหยดน้ำ

- การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทดลอง และลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการหักเหและการกระจายของแสง

          - การสร้างแบบจำลอง โดยเขียนแผนการเคลื่อนที่ของแสงแสดงการหักเหของแสงในปริซึม เพื่ออธิบายการกระจายแสงในตัวกลางโปร่งใส เช่นปริซึม หรือหยดน้ำในธรรมชาติ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับการกระจายของแสงจากความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบและการกระจายแสงภายในปริซึมได้สเปกตรัมของแสง และนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่กำหนด

          -  การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการกระจายของแสงเนื่องจากการหักเหของแสงที่เดินทางจากอากาศเข้าไปในปริซึม

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการการกระจายของแสงเมื่อผ่านปริซึมอย่างถูกต้อง

2. การทำแบบฝึกหัดเรื่องการหักเหของแสงในใบงานอย่างถูกต้อง
3. การสังเกต การบันทึกผลกิจกรรม มีความละเอียดรอบคอบและไม่ใส่แนวคิดผู้สังเกต เกี่ยวกับการกระจายแสงเมื่อแสงหักเหผ่านปริซึม หรือหยดน้ำ

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายและสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการหักเหของแสงในปริซึมและการกระจายของแสง

5. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผล และการตอบคำถามในใบงาน โดยใช้การเขียนแผนภาพแสดงการเคลื่อนที่และการหักเหของแสงในปริซึม เพื่ออธิบายการกระจายแสงในตัวกลางโปร่งใสให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

 6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงาน

8. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

9. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการบันทึกผลการการทำกิจกรรม การตอบคำถามในใบงาน และตั๋วออก สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับการหักเหของแสงในปริซึมและการ กระจายของแสง นำไปอธิบายปรากฎการณ์รุ้งหรือพระอาทิตย์ทรงกลดได้ถูกต้อง

10. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการกระจายของแสงเนื่องจากการหักเหของแสงผ่านปริซึมที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลและหลักฐาน