จดทะเบียนเลิกบริษัท ออนไลน์

จดทะเบียนปิดบริษัท

จดทะเบียนเลิกบริษัท ออนไลน์

การจดทะเบียนปิดบริษัท หรือ จดทะเบียนเลิกกิจการนั้นมีทั้งหมด 2 ขั้นตอน สำหรับคนที่ยังไม่เคยจดเลิกบริษัท หรือจดทะเบียนปิดบริษัทจะรู้สึกถึงขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร และต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีเซ็นงบให้อีกด้วย มีนิยามคำหนึ่งที่คนเคยปิดบริษัทจะต้องพูดกัน คือ “เปิดง่าย ปิดยาก” ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านจึงใช้บริการกับสำนักงานบัญชี หรือ ผู้ให้บริการรับปิดบริษัท

ขั้นตอนการปิดบริษัท

การดำเนินการจดทะเบียนปิดบริษัทจะมี 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. จดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2. ชำระบัญชี จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเซ็นงบรับรองด้วย

  • จัดทำหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และส่งเอกสารให้กับทุกท่าน หรือ ส่งให้กับผู้ถือหุ้นโดยตรง
  • ลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้นทุกท่าน โดยให้ลงมติ ต้องให้คะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มาประชุม
  • จัดทำเอกสารยื่นจดปิดบริษัท และนำเอกสารไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน
  • ลงประกาศหนังสือพิมพ์เพื่อให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ของบริษัท ติดต่อชำระหนี้ หรือ ยื่นเรื่องทวงหนี้
  • ให้บัญชีจัดทำงบเพื่อส่งสรรพากร
  • ทำเอกสารเชิญประชุมผู้ถือผู้ให้กับทุกท่าน เพื่ออนุมัติงบเลิกบริษัท และชำระบัญชี
  • ลงประกาศหนังสือพิมพ์
  • ยื่นเอกสารและชำระภาษีกับกรมสรรพากร
  • ดำเนินการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (จดภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุม)

เหตุผลที่ต้องปิดบริษัท หรือ เลิกกิจการ

ปิดบริษัทเพราะผลจากฎหมาย

  • มีการกำหนดระยะเวลาในการเปิดและปิดบริษัท เมื่อถึงวันที่สิ้นสุดต้องปิดบริษัท
  • เปิดบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่ง เมื่อกิจการนั้นทำสำเร็จลุล่วง จึงต้องปิดบริษัท
  • บริษัทเกิดสภาวะล้มละลาย

ปิดบริษัทเพราะความประสงค์ของผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นได้ลงมติกันว่าให้ปิดบริษัท หรือ เลิกกิจการ โดยการประชุมผู้ถือหุ้นให้ปิดบริษัทนั้น จะต้องจัดประชุมใหญ่และมีมติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของผู้เข้าประชุมทั้งหมด

ปิดบริษัทเพราะมีคำสั่งจากศาลให้เลิกบริษัท

  • การประชุมตั้งบริษัทและยื่นรายงานประชุมผิดวิธีที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทไม่ทำธุรกิจและไม่ยื่นเรื่องภายใน 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน
  • ขาดทุนตลอดทุกปีและไม่มีโอกาสที่จะฟื้นกำไร
  • ผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 ท่าน

สำหรับผู้ประกอบการท่านใดมีความประสงค์ที่จะปิดบริษัท หรือ จดเลิกบริษัท สามารถติดต่อเราได้ที่ 02 210 0281 หรือ LINE ID: @greenproksp

ให้บริการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้ง ผู้ตรวจสอบบัญชี (CPA) ประสบการณ์สูง

สนใจ จดทะเบียนปิดบริษัท รับคำปรึกษาฟรี

          มีคำกล่าวกันเล่น ๆ ว่าคิดจะเปิดกิจการสักอย่างนั้นง่ายมาก แต่ถ้าคิดจะเลิกนั้นไม่ง่ายเลย เพราะจะมีปัญหายุ่งยากตามมาเป็นหางว่าว แต่เราอยากจะบอกว่าจริง ๆ แล้ว ขั้นตอนการขอยกเลิกกิจการให้ชอบด้วยกฎหมาย นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซักทีเดียว เพียงแค่ยื่นเอกสารและทำตามระเบียบ คำแนะนำด้านล่างได้เลย

จดทะเบียนเลิกบริษัท ออนไลน์

การจะยกเลิกกิจการจะทำได้เมื่อไหร่กันนะ

          1. เลิกโดยผลของกฎหมาย

  • กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
  • ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
  • ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
  • บริษัทล้มละลาย
  • นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน (ถอนทะเบียนร้าง)

          2. โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น

  • ผู้ถือหุ้นลงมติให้เลิกบริษัท

          3. เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัท คือ

  • ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัทหรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
  • บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปี นับแต่จะทะเบียนหรือหยุดทำการถึง 1 ปี
  • การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
  • จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 7 คน

เคลียร์บัญชีให้พร้อมรับรองไม่มีปัญหายุ่งยากตามมา

          เมื่อตกลงที่จะปิดกิจการแล้วอันดับแรกที่คุณควรให้ความสำคัญคือการเคลียร์พันธะภาระต่าง ๆ เช่นตรวจสอบว่าเรายังมีลูกหนี้การค้า หรือหนี้สินอื่น ๆ หรือไม่ พร้อมตรวจสอบสินค้าคงเหลือ หรือสินทรัพย์ถาวร เมื่อเคลียร์ในส่วนนี้เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงดำเนินการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด และต้องเช็คด้วยว่าบริษัทได้จดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หากเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  ก็จะมีขั้นตอนในการแจ้งเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ตามขั้นตอนดังนี้

          1. การจะจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัดนั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ

  • ออกหนังสือนัดผู้ประชุมผู้ถือหุ้น (ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 หรือตามที่กำหนดในข้อบังคับ)
  • ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้นด้วยมติคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  • เมื่อมติลงความเห็นให้ปิดกิจการจึงดำเนินการจัดทำคำขอจดทะเบียนขอยกเลิกกิจการ (ภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติ)

          2. จดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด

  • จดทะเบียนเลิกบริษัท
  • จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

          3. ยื่นเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัทประกอบด้วย

  • คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1)
  • รายการจดทะเบียน (แบบ ลช 2)
  • คำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (กรณีศาลสั่งให้เลิก)
  • สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้งซึ่งลงมติให้เลิกบริษัท โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อรับรองความถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

          4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าถูกต้องไม่มีข้อบกพร่องให้จัดตั้งผู้ชำระบัญชี เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้น ขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น

          5. หากการตรวจสอบบัญชีไม่ผ่าน ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) ยื่นต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน และในการกรณีชำระบัญชีไม่เสร็จเกินกว่า 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อครบปีทุกปี เพื่อรายงานความเป็นไปของการชำระบัญชี

          6. เมื่อชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรายงานผลการชำระบัญชี แล้วจึงจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

  • คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช 1)
  • รายการจดทะเบียน (แบบ ลช 2)
  • รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) พร้อมเอกสารประกอบ
  • รายละเอียดบัญชีและสรรพเอกสาร (แบบ ลช 6)
  • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  • สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิก
  • แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

          7. ดำเนินการขอแจ้งเลิกประกอบกิจการในทางภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางกรมสรรพากร ณ พื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ (ผู้ประกอบการต้องแจ้งเลิกประกอบกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันที่เลิกประกอบกิจการ) และต้องคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ในนามบริษัทที่เลิกภายใน 60 วันตามแบบ ลป.10.3 ซึ่งสามารถยื่นพร้อมกันกับการไปแจ้งเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มได้

โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ สำหรับแจ้งเลิกประกอบกิจการในทางภาษีมูลค่าเพิ่มตามนี้

  • ยื่นแบบ ภพ.09 จำนวน 5 ฉบับ
  • ภพ.01 และ ภพ.09 (ฉบับจริง)
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.20 (ฉบับจริง)
  • สำเนาใบเสร็จแสดงการชำระภาษี (ภพ.30) พร้อมสำเนาแบบนับแต่วันแจ้งเลิก ย้อนหลัง 2 ปี
  • สำเนาใบเสร็จแสดงการชำระภาษี (ภงด.50, ภงด.51) พร้อมสำเนาแบบ นับตั้งแต่วันแจ้งเลิก ย้อนหลัง 2 ปี (พร้อมงบการเงิน)
  • หนังสือรับรองการเลิกนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  • สำเนาบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (พร้อมตัวจริง)
  • หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจมากระทำการแทน)

          ทั้งนี้ขั้นตอนการขอยกเลิกกิจการนั้นอาจจะเสียเวลาในช่วงการเก็บเอกสารทางบัญชีและการตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้องเท่านั้น หากผ่านกระบวนตรงนี้ไปแล้วที่เหลือเพียงแค่ยื่นเอกสารตามขั้นตอนก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรแล้ว หรือคุณอาจจะใช้บริการบริการด้านกฎหมายและทนายความซึ่งจะมีบริการช่วยดำเนินการแทนในการยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้เช่นกันค่ะ

⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

จดทะเบียนเลิกบริษัท ออนไลน์

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไร