ซักซ้อมการส่งเงินสมทบ กบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ซักซ้อมแนวทางการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วันที่ออกหนังสือ : 20 กันยายน 2565

ซักซ้อมแนวทางการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ซักซ้อมแนวทางการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (พจ 0023.5/ว 4816 ลว. 2 ธ.ค. 64)

วันที่ออกหนังสือ : 2 ธันวาคม 2564

เรื่อง : ซักซ้อมแนวทางการส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (พจ 0023.5/ว 4816 ลว. 2 ธ.ค. 64)

#ทางบ้านขอคำปรึกษา ครับ
"...คนไข้โสตคมาแล้ว 7 เดือน ตอนนี้เวลาลุกนั่งเวียนหัววูบเกร็ง นวดสักพักหาย แต่เวลาวัดความดันต่ำกว่า 90/60 ยาความดันที่กินมีส่วนไหมคะ? เป็นยาความดันสูง คนไข้พอจะใช้วอก์คเกอร์ได้ถ้าไม่เวียนหัว"

‍⚕️
#อาการเวียน หรือ #วูบ ในเวลาที่เปลี่ยนท่าทางนั้นมีหลายลักษณะ
แต่ละแบบ ก็มีเหตุที่ต่างกัน รักษาต่างกันครับ

อาการแบบหนึ่งที่พบบ่อย คือ อาการ "#ความดันต่ำ" ระหว่าง เปลี่ยนแปลงท่าทาง
หมายความว่า ในท่านอน สมองของเรา กับ หัวใจ และเท้า อยู่ในระดับเดียวกัน การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ก็ทำได้ง่าย
แต่เวลาที่เรา ลุกขึ้นยืน สมอง จะอยู่สูงกว่าหน้าอก และ สูงกว่าเท้ามากพอสมควรเลย
หากไม่ได้ มีการ เร่งสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจให้แรง และเร็วยิ่งขึ้น บวกกับ เส้นเลือดที่ขา ไม่ได้มีการหดตัว เพิ่มเป็นพิเศษเลย

เช่นนี้แล้ว ตอนที่เปลี่ยนท่าจากนอนไปนั่งหรือ ไปยืน อาจทำให้ เลือดตกไปค้างในเส้นเลือดส่วนแขน และขา มากขึ้น
และมีเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองน้อยลง
ทำให้เกิดอาการเวียน วูบได้

การตรวจยืนยัน ควรทำโดยการ วัดชีพจร และ ความดันเลือด ด้วยเครื่องวัดตัวเอง แล้วจดบันทึกเอาไว้

หากจะไห้ดี ควรบันทึก ✍ ความดัน ชีพจร ขณะนอน หรือนั่งพัก และวัดซ้ำในขณะที่ลุกยืน เพื่อจะได้ทราบด้วยครับ

ถ้าวัดแล้ว ความดันเปลียนแปลงมาก คือความดันตัวบน ลดลงมากกว่า 20 มม ปรอท
หรือ ตัวล่างลดมากกว่า 10 มม ปรอท อาจผิดปรกติ
ไม่ควรรักษา ปรับยาตัวเอง อาจอันตรายได้

อันที่จริงแล้ว สาเหตุของการเวียนหัว เวลาเปลี่ยนท่ายังมีได้หลายอย่าง ถ้าไม่ใช่ภาวะความดันต่ำ ขณะเปลี่ยนท่าทาง ตามที่แนะนำให้ตรวจเช็คนี้ ก็ยังเป็นได้อีกหลายสาเหตุ ถ้าอาการรบกวน ควรปรึกษาแพทย์ จะดีกว่าครับผม
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
นอกจากโพสที่ท่านเพิ่งได้อ่านข้างบนนี้ ที่ เพจ stroke boot camp ยังมีบทความสั้น อ่านง่าย มีประโยชน์สำหรับ การดูแลฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ ผู้สูงอายุ ให้ท่านได้อ่านอีกนับร้อยเรื่อง

กด likes & follow จะช่วยให้ท่านไม่พลาดได้อ่าน บทความใหม่ที่มีมาทุกวันนะครับ

สำหรับบทความย้อนหลัง ขอเชิญชวนให้ลองเข้าไปอ่านดูตามลิงก์รวมโพสนี้
http://bit.do/StrokeBC-set-articles

หรือเลือกอ่านเรื่องที่สนใจตามหัวข้อใน All Photos ของเพจ
http://facebook.com/StrokeBC/photos

แต่หากท่านมีคำถามอื่นๆ เชิญส่งข้อความมาถามที่เพจ หรือที่ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ สำโรงการแพทย์ ก็ได้นะครับ ผมจะทยอยรีบตอบให้ครับ

ด้วยความเคารพ
นพ ภาริส วงศ์แพทย์

 

#ENTREND: การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ช่วยให้การเที่ยวลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
.
การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรง มองไปทางไหนก็เห็นว่าแต่ละจังหวัดในไทย และหลายประเทศทั่วโลกกำลังจะผลักดันเรื่องนี้ เพราะหลายฝ่ายตระหนักว่า การท่องเที่ยวก็เป็นอีกอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอีกอุตสาหกรรมกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เลยเกิดการคิดค้น หาวิธีที่จะทำให้การท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด และในแต่ละประเทศก็มีกิจกรรม คิดค้นวิธีที่แตกต่างกัน
.
ในไทยเอง วิธีช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ก็จะมีทั้ง
- มุ่งเน้นการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ลดการใช้พลังงานที่ได้มาจากพลังงานเชื้อเพลิง เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เช่น การใช้เรือโซลาร์เซลล์
- ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการต่าง ๆ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจากธรรมชาติ เช่น การขายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตกันเองในชุมชน
- ลดคาร์บอนฟุตปรินท์จากอาหาร เน้นใช้วัตถุดิบจากในชุมชนใกล้ๆ
- ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง และเน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ หรือย่อยสลายได้ เช่น การมีตู้กดน้ำให้นักท่องเที่ยวกดน้ำใส่ขวดตัวเองในสถานที่ต่าง ๆ
.
สถานที่พักก็มีส่วนช่วยในการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน ในไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเลยมีมาตรฐาน โครงการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ให้แต่ละโรงแรมเข้าร่วม และทำตามเพื่อพัฒนาโรงแรมตัวเอง และให้แขกเข้าไปเลือกเข้าพัก (นอกจากนี้ก็มีเกณฑ์อื่น ๆ ระดับโลกอีกมากมาย) หรือใน booking.com ก็จะมีไอคอน “ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน” ข้าง ๆ ชื่อแต่ละโรงแรมแสดงให้ดูด้วยว่าโรงแรมไหนผ่านเกณฑ์ของเว็บเขา
.
หรือแม้แต่กิจกรรมที่ทำระหว่างพักผ่อนหย่อนใจก็มีส่วนช่วย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเก็บขยะ พายเรือคายัก ปั่นจักรยานชมวิว และอีกมากมาย แต่ก็ต้องระวังด้วย เพราะบางกิจกรรมอาจไม่ยั่งยืนจริง เช่น การปลูกป่า ปลูกปะการัง ปลูกป่าชายเลน ถ้าเราไม่ได้ทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ การกระทำของเราอาจกลายเป็นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาากกว่าลด
.
ตอนนี้ไทยเราก็กำลังผลักดันให้เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็น Low Carbon Destination แห่งแรกของไทย ซึ่งตอนนี้เกาะหมากก็ติด 1 ใน 100 ของแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่ยั่งยืน ตาม Green Destinations Standard จากเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ด้วย
.
ที่นี่เขาก็พยายามผลักดันกิจกรรมที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ตาม ’ธรรมนูญ 8 ข้อ' คือ
1. ไม่สนับสนุนให้เรือเฟอร์รีนำยานพาหนะของนักท่องเที่ยวข้ามเข้ามา
2. ไม่ให้มีรถจักรยานยนต์ให้เช่าเกิน 70% ของจำนวนห้องพักบนเกาะ
3. ไม่ให้ใช้วัสดุจากโฟม หรือวัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษใส่อาหาร
4. ห้ามทิ้งสิ่งของใด ๆ ลงในที่สาธารณะ หรือแหล่งน้ำ
5. ไม่สนับสนุนให้ใช้สารเคมีตกค้าง
6. ห้ามส่งเสียงดัง รบกวนระบบนิเวศ ในเวลา 22.00-07.00 น.
7. ลดกิจกรรมทางบกหรือทางน้ำที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน
8. ห้ามนำ ห้ามเสพ ห้ามจำหน่ายสารเสพติดผิดกฎหมายทุกชนิดบนเกาะ
.
ใครอยากสัมผัสชีวิตแบบโลว์คาร์บอน ก็คงต้องลองไปเที่ยวที่เกาะหมากกันแล้ว แต่มากกว่าสถานที่ กิจกรรม แและวิธีการอำนวยความสะดวกต่อการเป็นที่เที่ยวแบบโลว์คาร์บอนแล้ว พฤติกรรมของเราก็มีส่วนนะ พวกพฤติกรรมรักษ์โลกที่เชารณรงค์กัน Reuse Reduce Recycle ก็มีส่วนด้วย ต่อให้เขาลดการสร้างขยะ แต่เรายังสร้างกันแบบเกินความจำเป็น หรือทิ้งขยะไม่ถูกที่ หรือกินแบบทิ้งขว้างก็ไม่สามารถทำให้การไปเที่ยวครั้งนี้โลว์คาร์บอนได้

ที่มา


https://siamrath.co.th/n/390952

http://www.tgo.or.th/2020/index.php...เส้นทางการท่องเที่ยวแบบ-low-carbon-tourism-11

http://www.tgo.or.th/2020/index.php...เส้นทางการท่องเที่ยวแบบ-low-carbon-tourism-11

 

#RECAP: เมื่อเดือนพฤศจิฯ บรรจบครบเวียนมาอีกครั้งก็อดที่จะพูดถึงประชุม COP ระดับโลกไม่ได้ ซึ่งความสำคัญของเวทีนี้คือผู้นำทั่วโลกจะมาพูดคุยถึงมาตรการรับมือสภาวะโลกรวนกัน (แน่นอนว่าไทยก็ไปเข้าร่วมนะเออ) ก่อนที่จะเกาะติดประเด็นใน #COP27 ในปีนี้ เราก็ขอมารีแคปงานปีที่แล้วให้ฟังก่อนว่าข้อตกลงที่ทั่วโลกเขาคุยกันหลัก ๆ นี้มีอะไรบ้าง แล้วไทยได้เข้าร่วมกับเขาไหมนะ? ไปดูกัน!
.
[#COP26 คืออะไร]
COP (Conference of the Parties) คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จัดขึ้นทุกปี ซึ่งในปีล่าสุดเป็นปีที่ 26 จัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ และมีประเทศภาคีสมาชิกกว่า 197 ประเทศร่วมทำข้อตกลง 'Glasgow Climate Pact' ซึ่งเป็นข้อตกลงในการเร่งดำเนินการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
.
[#ลงนามลดการใช้ถ่านหิน ในปี 2030]
ถ่านหินถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อมลพิษมากที่สุด แม้จะมีภาระค่าใช้จ่ายน้อยแต่ก็สร้างก๊าซเรือนกระจกและมลพิษต่อสุขภาพผู้คนอย่างมาก เป้าหมายเดิมทีของการลงนาม Global Coal to Clean Power Transition Statement ใน COP26 นั้น กว่า 190 ประเทศเตรียมที่จะยกเลิกการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินโดย ยุติการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินภายในปี 2030 สำหรับประเทศร่ำรวย และภายในปี 2040 สำหรับประเทศยากจน
.
แต่การบรรลุข้อตกลงเรื่องการ 'หยุด' ใช้ถ่านหินนั้นไม่เป็นผลสำเร็จเสียทีเดียว เพราะมีการคัดค้านจากอินเดีย จีน และกลุ่มประเทศที่ยังมีการใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นหลัก จนในที่สุดแล้ว ประเด็นนี้จึงลดทอนเหลือเป็นการ “ลดการใช้ถ่านหิน” แทน และเพิ่มการสนับสนุนแก่ประเทศยากจนและเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน โดยการลงนามครั้งนี้ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเวียดนามก็ได้เข้าร่วมด้วย แต่ประเทศไทยกลับไม่ได้เข้าร่วมในการลงนามนี้
.
[#ลงนามลดการปล่อยก๊าซมีเทน 30% ในปี 2030]
มีเทนถือเป็นก๊าซอีกหนึ่งประเภทที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยมีที่มาจากทั้งอุตสาหกรรมน้ำมันและเกษตรกรรม โดย 'แถลงการณ์ด้านก๊าซมีเทน' (Global Methane Pledge) ที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปนี้มีเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนลงอย่างน้อยร้อยละ 30 ของปริมาณในปี 2020 ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยการลงนามครั้งนี้ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ก็ร่วมด้วย แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้ รวมถึงตัวท็อปในปล่อยก๊าซหลักอย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย
.
[#ลงนามยุติการตัดป่าไม้ ในปี 2030]
ที่ประชุม COP26 ได้ร่วมลงนาม 'แถลงการณ์กลาสโกว์ด้านการอนุรักษ์ป่าไม้' (Glasgow Leaders Declaration on Forest and Land Use) ระหว่างสมาชิก 128 ประเทศในการยุติการทำลายป่าไม้ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ซึ่งก็มีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จีน ประเทศกลุ่มที่มีพื้นป่ามาก เช่น แคนาดา รัสเซีย บราซิล โคลอมเบีย คองโก และเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและเวียดนามก็ลงนามด้วย แต่ประเทศไทยเองไม่ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้เช่นกัน โดยให้เหตุผลว่าเห็นด้วยในเป้าหมายการลงนาม แต่ด้วยเวลาที่กระชั้นชิดจึงทำให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีไม่ทัน
.
[#การประกาศเป้าหมายสู่สังคมไร้คาร์บอน Net Zero]
กว่า 132 ประเทศทั่วโลกได้ตั้งเป้าบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 แต่ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่เซ็ตเป้าหมายช้ากว่านั้น เช่น ผู้ปล่อยคาร์บอนรายใหญ่อย่างจีนที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2060 หรืออินเดียก็ตั้งเป้าบรรลุ Net Zero ภายในปี 2070 โดยประเทศไทยเองก็ประกาศกำหนดเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065
.
[#บทสรุปทิศทางโลก]
โดยสรุปแล้ว จาก 197 ประเทศที่เข้าร่วม COP26 นั้นมี 13 ประเทศที่ลงนามทุกฉบับที่ยกมา ได้แก่ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี เนปาล เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ไอวอรี่โคสต์ อัลเบเนีย เบลเยียม เซเนกัล และแซมเบีย ประเทศที่ลงนามสามฉบับมี 49 ประเทศ ลงนามสองฉบับ 65 ประเทศ ลงนามเพียงฉบับเดียวมี 49 ประเทศ และมีเพียง 21 ประเทศที่ไม่ลงนามซักฉบับเลย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
.
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการลงนามอย่างเป็นรูปธรรมในหลายประเด็น แต่รายงานจาก UNFCCC และ UNEP ชี้ว่าคำมั่นเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งวิกฤตนี้ ต้องมาจับตาดูการประชุม COP27 ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้กันว่าจะมีการปรับปรุงมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้นอย่างไรบ้าง รวมถึงความคืบหน้ามาตรการจากประเทศที่ลงนามสัญญา รวมถึงเพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทันเวลา

 

ประเพณีในราชวงค์จีน #มุขราตรี
เรื่องการสิ้นพระชนและพิธีกรรมทำพระศพ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงต้องอมไข่มุขดำก่อนนำไปฝังที่สุสานหลวง
.... ทำไมต้องใส่ไข่มุกในปาก??
บ้างก็ว่า สะกดวิญญาณ !! แต่ที่แท้จริงคือ....
ไข่มุกสีดำเรียกว่า..." ไข่มุกราตรี " ไม่ใช่ไข่มุกจริงๆ เป็นแร่หินประเภทหนึ่งที่หายากหรือเรียกว่าหยกเรืองแสงค่ะ มันจะเรืองแสงในเวลากลางคืนหรือในที่มืด แต่จะเหมือนหินในเวลากลางวัน เอามาเจียรนัยให้เป็นทรงกลม เมีความเชื่อกันว่ามุกราตรีนี้จะทำให้.......#พระศพไม่เน่าเปื่อย!!
ประวัติ “ มุกราตรี”
…บันทึกทางโบราณคดีเก่าแก่เคยมีบันทึกไว้ว่าในตำนานของจักรพรรดิเหยียน (炎帝) หรือ เทพกสิกร (神农氏) ที่ชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นบรรพกษัตริย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จีน ได้มีการกล่าวถึง “หยกเรืองแสง” ที่ชื่อว่า "เย่หมิง" (夜明= สว่างยามราตรี) ต่อมาในสมัยราชวงศ์จิ๋นก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับมุกราตรีที่ฝังอยู่ตามผนังของสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ เพื่อให้แสงสว่างต่างตะเกียง ตลอดจนในสมัยราชวงศ์ซ่ง หยวน และหมิง ที่ราชสำนักโปรดปรานมุกราตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์หยวนฮ่องเต้เคยถึงขนาดส่งคนไปซื้อมุกราตรีสีแดงถึงศรีลังกา
และยังมีเรื่องเล่าว่า.. ปี 1950 สามีภรรยาคนงานในโรงงานที่เมืองซีอาน รับเอาหญิงชราวัย 60 กว่ามาเลี้ยงดู คนที่เล่าบอกว่าย่าหวังเหลือตัวคนเดียว ไม่มีญาติพี่น้องที่ไหน 14 ปีต่อมาก่อนหญิงชราจะเสียชีวิตลง แกก็ได้มอบหมอนเก่าๆให้สองสามีภรรยา
เมื่อทั้งสองเปิดมันออกมาก็พบ “มุกราตรี” ไข่มุกในตำนานมูลค่า 800 ล้านหยวน (4,000 ล้านบาท) แล้วมุกราตรีนี้มาจากไหน?
จริงๆแล้ว เรื่องราวก็เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง เมื่อพูดถึงมุกราตรี พวกเราจะไม่พูดถึงซูสีไทเฮาก็คงไม่ได้ ไข่มุกในตำนานของย่าหวัง กับซูสีไทเฮามีจุดกำเนิดร่วมกัน ทุกคนล้วนรู้ว่าซูสีไทเฮาเป็นผู้ปกครองที่แท้จริงในสมัยปลายราชวงศ์ชิง พลังอันยิ่งใหญ่ ชีวิตที่หรูหรา หลังจากเธอควบคุมกำลังทหารทั้งหมดได้แล้ว ก็สั่งให้จัดทำมงกุฎ
มงกุฎของซูสีไทเฮาสวยงามมาก มีมังกรแกะสลัก 9 ตัว เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพเก้าสิบห้า แถมในปากของมังกรแต่ละตัวก็คาบมุกราตรีไว้ โดยมุกที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางที่สุดคือมุกที่สีสวยที่สุด และเม็ดใหญ่ที่สุด ที่เหลืออีก 8 เม็ดเทียบไม่ได้เลยกับเม็ดตรงกลาง มันเล็กลงมา แต่ในแง่ของคุณค่าและราคาแล้ว แทบจะประเมินไม่ได้
ปี 1900 เกิดพันธมิตรแปดชาติ พระนางซูสีไทเฮากลัวมากก็เลยหนีไป ทิ้งให้หลี่หงจาง อี้ซิน และคนอื่นๆรอเจรจากับพันธมิตรแปดชาติในเมืองหลวง แต่ก่อนที่พระนางจะจากไป บางทีพระนางอาจจะต้องการให้กำลังใจหลี่หงจาง ก็เลยแกะมุกราตรี 4 เม็ดออกจากมงกุฎแล้วเขียนจดหมายแนบมา ยื่นให้นางกำนัลหวังเอาไปให้หลี่หงจาง
นางกำนัลหวังเป็นคนสนิทของพระนางซูสีไทเฮา จึงได้รับความไว้วางใจเป็นอันมาก แต่ตอนนั้นราชวงศ์ชิงสั่นคลอนมาก การสิ้นสุดเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ นางกำนัลหวังคนนี้อาจจะละอายใจในสิ่งที่พระนางซูสีไทเฮาทำ หรือบางทีนางอยากเลือกทางเดินให้ตนเป็นทางสุดท้าย ก็เลยหาทางหนีออกมาจากกองกำลังคุ้มกันภายใน พร้อมกับนำมุกราตรี 4 เม็ดที่มีมูลค่ามากติดตัวมาด้วย แล้วหายตัวไป
ปี 1908 พระนางซูสีไทเฮาเสียสวรรคตในเมืองต้องห้าม ตอนนั้นหลี่เหลียนอิงขันทีผู้ยิ่งใหญ่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระนาง โดยฝังสมบัติล้ำค่ามากมายลงไปพร้อมพระศพ ซึ่งมงกุฎก็เป็นหนึ่งในสมบัติเหล่านั้น แต่หลี่เหลียนอิงแกะเอามุกราตรีเม็ดกลางออกมา ใส่เอาไว้ในปากของพระศพ เพื่อป้องกันร่างไม่ให้เน่า นอกจากมุกราตรี 4 เม็ดที่นางกำนัลหวังเอาไปแล้ว บนมงกุฎยังเหลืออีก 4 เม็ด
ในปี 1928 ขุนศึกซุนเตี้ยนอิงได้เข้าปล้นสะดม และขุดหลุมศพของพระนางซูสีขึ้นมา ไม่เพียงแต่มงกุฎของพระนาง แม้แต่มุกราตรีในปากก็โดนขโมยไป จนหลุมศพว่างเปล่า การเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ครั้งนี้รุนแรงมาก ซุนเตี้ยนอิงจำเป็นต้องส่งทรัพย์สมบัติเหล่านี้กลับไปให้ผู้มีอำนาจ เรื่องจึงเงียบลง
ตอนนั้นมุกราตรี 5 เม็ด 4 เม็ดถูกขายแยกกัน ส่วนเม็ดที่ใหญ่ที่สุดก็ถูกมอบให้ซ่ง ซึ่งถูกนำมาที่ไต้หวันด้วย ต่อมาซ่งเดินทางไปอเมริกาและขายมุกราตรีเม็ดนี้ให้จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์ มุกราตรีที่ใหญ่ที่สุดก็เลยยังคงอยู่ในตระกูล Rockefeller จนถึงปัจจุบันนี้ (บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่ามุกราตรีเม็ดนั้นซุนได้มอบให้แก่ซ่งเหม่ยหลิง ภริยาของเจียงไคเช็ก ซึ่งปราชัยต่อพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามกลางเมืองและถอยร่นไปตั้งรัฐบาลใหม่ที่ไต้หวันในปี ค.ศ.1949)
มุกราตรีที่สองสามีภรรยาได้มา ก็คือมุก 1 ใน 4 เม็ดที่นางกำลังหวังขโมยออกมา ส่วนย่าหวังที่สองสามีภรรยาเลี้ยงดูก็คือนางกำนัลหวัง ต่อมารัฐบาลก็ได้มอบหนังสือรับรองเกียรติยศและเงินรางวัลให้สองสามีภรรยา แล้วมุขราตรีก็กลับไปอยู่ในความดูแลของประเทศต่อไป
เมื่อมีการกล่าวขวัญถึงมุกราตรีแทบทุกสมัยเช่นนี้ แต่เหตุใดนักโบราณคดียังไม่เคยมีการขุดพบมุกราตรีโบราณเลยแม้แต่เม็ดเดียว หรือจะเป็นเพียงตำนานอย่างที่หลายคนสงสัย
ต่อข้อสงสัยเหล่านี้ศาสตราจารย์หลวนปิ่ง จากคณะอัญมณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรณีวิทยาแห่งประเทศจีน ควบตำแหน่งรองประธานสมาคมอัญมณีแห่งประเทศจีน และได้เคยเขียนตำราเรื่อง “มุกราตรี อดีตสู่ปัจจุบัน” รับอาสาไขข้อข้องใจดังกล่าว
“แร่มุกราตรีนั้นปรากฏขึ้นให้เห็นกันจริงๆ ครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 80 หลังจากนั้นก็มีการขุดพบแร่มุกราตรีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสีเขียว สีแดง โดยมุกราตรีนั้นเป็นแร่หินประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยสารเรืองแสงภายในพวกฟลูออร์สปาร์ทำให้สามารถเรืองแสงได้ในที่มืด ปัจจุบันมีการขุดพบแร่ประเภทดังกล่าวและมีการเจียระไนให้เป็นทรงกลมเหมือนไข่มุก”
อย่างไรก็ตาม มุกราตรีที่ขุดพบกันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการขุดพบแร่หิน หาใช่เป็นการขุดพบมุกราตรีโบราณในอดีตไม่ ดังเช่นมุกราตรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 เมตร หนัก 6.2 ตัน ก็เป็นแร่ที่ถูกขุดพบในเหมืองแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน ก่อนจะนำมาเจียรไนใหม่เป็นทรงกลม (คลิกข่าวเกี่ยวข้อง)
สาเหตุที่ปัจจุบันยังไม่มีการขุดพบมุกราตรีในประวัติศาสตร์นั้นศาสตราจารย์หลวนเชื่อว่า อาจเป็นเพราะมุกราตรีไม่เหมือนหยกที่มีอยู่ดาษดื่น แต่เป็นหินล้ำค่าที่มีอยู่ไม่มาก อีกทั้งคนทั่วไปน้อยคนจะรู้จัก หรือถึงขั้นคิดว่ามุกราตรีเป็นเพียงคำร่ำลือหรือมีแต่เพียงในนิยายเท่านั้น นอกจากนี้ในเวลากลางวันมุกราตรีจะไม่เรืองแสง ดังนั้นสิ่งที่ขุดพบขึ้นมาอาจมีมุกราตรีรวมอยู่ด้วย แต่ถูกมองข้ามไป
“ไม่มีใครลุกขึ้นมาดูเพชรพลอยตอนมืดหรอก” ศาสตราจารย์หลวนกล่าว
นอกจากนี้มุกราตรียังไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นทรงกลมหรือมีลักษณะเหมือนไข่มุกเสมอไป มองดูผิวเผินอาจเหมือนหินธรรมดาทั่วไป ถึงแม้ว่าจนถึงปัจจุบันจะยังไม่มีการยืนยันการพบมุกราตรีโบราณก็ตาม แต่ก็ยังมิอาจสรุปได้ว่ามันไม่มีอยู่จริง
“อย่างเช่นที่อินเดียก็มีการขุดพบแร่หินประเภทเดียวกับมุกราตรี แต่ที่นั่นเรียกกันว่า “หินนัยน์ตาอสรพิษ”หรือสมัยราชวงศ์ชิง มงกุฎของซูสีไทเฮาก็มีมุกราตรีฝังอยู่ 9 เม็ด ในจำนวนนี้มี 4 เม็ดเคยหายไป ก่อนจะได้กลับคืนมาไว้ยังคลังสมบัติของประเทศหลังจากจีนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ศาสตราจารย์หลวนมั่นใจถึงความมีอยู่จริงของมุกราตรีในตำนาน.
เครดิต: https://mgronline.com/china/detail/9500000119114
http://www.liekr.com/post_159446.html
เครดิตรูปภาพ: http://www.liekr.com/post_159446.html
____________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

จักรพรรดินีนาม เฟือง (Nam Phương) จักรพรรดินีองค์สุดท้ายของเวียดนาม
ประสูติค.ศ. 1914 ในครอบครัวพ่อค้าที่นับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก เดิมมีนามว่า มารี แตเรซ เหงียน หู ถิ หลาน กำเนิดที่เมืองก่อกง เมืองแถบสามเหลี่ยมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสคือ โคชินไชนา เป็นดินแดนหนึ่งในสามของสหภาพฝรั่งเศสอินโดจีน บิดาของนางคือ ปีแยร์ เหงียน หืว-ห่าว เป็นพ่อค้าชาวคริสต์ผู้มั่งมี ในวัยเด็ก เหงียน หู ถิ หลาน เป็นพลเมืองฝรั่งเศสซึ่งแปลงสัญชาติ เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "มาเรียต" ศึกษาในกูว็องเดซัวโซ โรงเรียนคาทอลิกที่ทันสมัย ซึ่งตั้งอยู่ที่เนอยี-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส นางถูกส่งไปเรียนที่นั่นเมื่อมีอายุได้ 12 ปี และคาดว่ารู้จักกับจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยขณะศึกษาที่ฝรั่งเศส
.
นางเสกสมรสกับจักรพรรดิในปี 1934 และขึ้นเป็นจักรพรรดินีนาม เฟือง สื่อตะวันตกประโคมข่าวการอภิเษกสมรสครั้งนี้ เพราะเป็นเรื่องแปลกที่กษัตริย์เอเชียอภิเษกกับหญิงศาสนาคริสต์ หนังสือพิมพ์ New york times รายงานว่าการอภิเษกครั้งนี้สร้างความไม่พอใจไปทั่วประเทศ เพราะจักรพรรดินีทรงประกาศไม่ละทิ้งศาสนาคาทอลิก แม้กระทั่งพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงสดับดังนี้ก็ชื่นชมพระนางที่ไม่ละทิ้งพระผู้เป็นเจ้า และทรงประกาศจะรับธิดาองค์หนึ่งของพระนางในรีตคาทอลิก แต่ราชสำนักฝ่ายในของเวียดนามไม่ยินดีปรีดาด้วยที่ เวียดนามว่างตำแหน่ง ฮองเฮา มานานเพราะจักรพรรดิหลายพระองค์ก่อนไม่ทรงแต่งตั้ง และฮองเฮาองค์ใหม่กลับเป็นคาทอลิก และมีข้อกังขาว่าฝรั่งเศสสนับสนุนการสมรสนี้ พระนางดอน หวี้ ฮองไทเฮา พระมารดาของจักรพรรดิ ทรงพยายามขัดขวางการเสกสมรสทุกทางโดยเสนอสตรีนางอื่นให้จักรพรรดิ ทรงให้ความเห็นว่า จักรพรรดินีนาม เฟือง เป็นคาทอลิก และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ไม่ใช่จารีตนิยมโบราณของเวียดนาม ดังนั้น จักรพรรดินีนาม เฟือง จะมาเป็นฮองเฮาไม่ได้ เพราะไม่ได้มีความรู้ถึงกฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลของราชสำนักเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้นำแนวคิดชาตินิยมเวียดนาม หลายคนไม่พอใจการตัดสินใจของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ซึ่งมองว่าทรงเอาใจฝรั่งเศสมากไปเหมือนพระราชบิดาของพระองค์ เหล่าผู้นำชาตินิยมเหล่านี้จึงเริ่มหันหลังให้สถาบันกษัตริย์ แต่จักรพรรดิบ๋าว ดั่ยไม่สนพระทัย ดังนั้นนาม เฟืองจึงเป็นจักรพรรดินีอย่างเป็นทางการ
.
มีรายงานว่า จักรพรรดินีนาม เฟืองยังทรงเป็นคาทอลิกอย่างเข้มข้น เมื่อมีพระราชพิธีเคารพพระบรมศพอดีตจักรพรรดิราชวงศ์เหงียน พระนางทรงเลือกที่จะไม่เสด็จเข้าพระวิหารร่วมกับพระราชสวามี แต่กลับทรงประทับยืนข้างนอก ซึ่งทรงุถูกตีความว่า ทรงศรัทธาในคาทอลิกอย่างเข้มข้น หรือไม่ก็เพราะความไม่ลงรอยกับพระนางดอน หวี้ ฮองไทเฮา จึงไม่โปรดที่จะเผชิญหน้า
.
ทรงมีพระโอรสธิดาร่วมกัน 5 พระองค ์ แต่ในช่วงภายหลังจักรพรรดิกลับทรงรับพระสนมมามากขึ้น เป็นเหตุให้จักรพรรดินีไม่ทรงพอพระทัย ในปี ค.ศ. 1940 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประจวบกับเหตุการณ์ที่กองทัพเยอรมนีบุกฝรั่งเศส กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส ขณะที่ได้ขับไล่คณะบริหารอาณานิคมของฝรั่งเศส ผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองโดยมีระบอบวีชีอยู่เบื้องหลัง ญี่ปุ่นได้ให้สัญญาว่าจะไม่ก้าวก่ายกิจการของราชสำนักกรุงเว้ แต่พระสวามีต้องทรงกลายเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดของญี่ปุ่น แต่เมื่อ ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ต้องการปลดปล่อยเวียดนามให้เป็นอิสระ เขาได้รับการรวมกลุ่มโดยสมาคมชาวญี่ปุ่น โฮจิมินห์ได้โน้มน้าวให้พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย สละราชบัลลังก์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เพื่อเพิ่มพลังอำนาจให้เวียดมินห์ พระองค์ได้เป็น "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับเวียดนามเหนือของโฮจิมินห์ในฮานอย ที่ซึ่งเรียกร้องอิสรภาพในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 โดยอดีตจักรพรรดินีนาม เฟือง และอดีตฮองไทเฮา ได้รับอนุญาตให้ประทับที่พระราชวังต่อไปได้ แต่โดนเพิกถอนจากฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ต่อมาเกิดการเจรจาสันติภาพในปี ค.ศ. 1954 ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ในการประชุมที่เจนีวา ค.ศ. 1954 ทำให้มีการแบ่งแยกเวียดนามออกเป็นสองส่วนตามแบบเกาหลีคือ รัฐบาลบริหารเวียดนาม "ตอนเหนือ" และรัฐบาลบริหารเวียดนาม "ตอนใต้" พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เดินทางไปพำนักที่ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีพระยศใหม่คือประมุขแห่งรัฐเวียดนาม ทรงแต่งตั้งนักชาตินิยมคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คือ โง ดิ่ญ เสี่ยมเป็นนายกรัฐมนตรี โง ดิ่ญ เสี่ยม เคยเป็นอดีตข้าราชการในราชสำนักเว้ และเคยรับใช้จักรพรรดิบ๋าว ดั่ยในฐานะเสนาบดีระยะสั้นๆ แต่ในกรณีส่วนตัวจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ไม่โปรดเสี่ยม เพราะมีแนวคิดแบบสาธารณรัฐ พระองค์วิพากษ์วิจารณ์เสี่ยมบ่อยครั้ง แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะอเมริกาหนุนเสี่ยมอย่างมาก ในปี 1955 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงถูกขับออกจากอำนาจโดยนายกรัฐมนตรีเสี่ยม ต้องทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศส พร้อมพระมเหสีและพระโอรสธิดา
.
การทำประชามติของโง ดิ่ญ เสี่ยม นั้นทำเกิดข้อกังขาถึงการทุจริตในการลงประชามติ เนื่องจากเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องของสถาบันกษัตริย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ยุบเลิกพระจักรพรรดิ โง ดิ่ญ เสี่ยมปราศรัยโจมตีสถาบันจักรพรรดิเวียดนามในการประชุมรัฐสภา และต่อหน้าประชาชนในการออกอากาศตามวิทยุ เขานำเรื่องเสื่อมเสียของราชวงศ์ขึ้นมาโจมตี ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในการสู้รบกับฝรั่งเศสของอดีตจักรพรรดิราชวงศ์เหงียน และการเข้าหาฝรั่งเศสอย่างมหามิตรของจักรพรรดิด่ง คั้ญ จักรพรรดิขาย ดิ่ญ และจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เอง รวมถึงความฉ้อฉลของราชสำนักฝ่ายในที่เข้ามาก้าวก่ายในราชกิจจนทำให้เกิดความวุ่นวายในราชบัลลังก์ในช่วงที่ต้องสู้รบกับฝรั่งเศส และเรื่องสำคัญที่ถูกมาตีแผ่คือ เรื่องพระชนม์ชีพส่วนพระองค์ของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ที่ถูกนำมาปราศรัยจนเป็นเรื่องชวนหัว ซึ่งผู้สนับสนุนสถาบันจักรพรรดิไม่สามารถแก้ต่างได้ เนื่องจากโง ดิ่ญ เสี่ยมได้ออกกฎหมายคัดค้านการรณรงค์เพื่อสนับสนุนอดีตจักรพรรดิ วันที่ 23 ตุลาคม 1955 การลงประชามติเป็นที่โจษจันกันอย่างกว้างขวางว่ามีการโกงเกิดขึ้น โดยผลการลงประชามติกลับลงความเห็นว่าร้อยละ 98 ควรเป็นสาธารณรัฐ เมื่อผลการเลือกตั้งถูกเปิดเผยขึ้น ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งนั้น ผู้ลงคะแนนออกเสียงให้เป็นสาธารณรัฐมีมากกว่าผู้มีสิทธิลงคะแนน 380,000 คน อันเป็นสัญญาณอย่างชัดเจนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น
.
การลี้ภัยไปฝรั่งเศส เป็นช่วงที่ทำให้อดีตจักรพรรดินีนาม เฟืองและอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยต้องบาดหมาง เนื่องจากฐานะทางการเงินไม่สู้ดีนัก เนื่องจากจอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงเป็นผู้ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนมีหนี้สิน แต่ก็ได้เงินจากผู้สนับสนุนมาเป็นจำนวนมาก ทรงพยายามสร้างอิทธิพลทางการเมืองอยู่เสมอทั้งในเวียดนาม และฝรั่งเศส แต่ถึงกระนั้นก็ยังทรงไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเวียดนาม อดีตจักรพรรดินีนาม เฟืองทรงทนไม่ไหวต่อพฤติกรรมของพระสวามี ที่ทรงมีพระชายาลับเป็นจำนวนมาก และด้วยความเครียดด้านการเงินในครัวเรือนของครอบครัว ที่พระราชโอรสและธิดาทั้งห้าต้องได้รับการศึกษาในฝรั่งเศส และพระราชทรัพย์ของราชวงศ์เหงียนในเวียดนามถูกริบทรัพย์โดยรัฐบาลสาธารณรัฐของเสี่ยม ทำให้ทั้งสองพระองค์ทะเลาะเบาะแว้งกันรุนแรงหลายครั้ง จนในที่สุดพระนางขอแยกทางกับพระองค์ในปีค.ศ. 1955 ซึ่งเป็นปีเดียวหลังที่ถูกขับจากตำแหน่งประมุขแห่งเวียดนามใต้
.
อดีตจักรพรรดินีนาม เฟืองแยกมาประทับที่จังหวัดกอแรซ แคว้นนูแวลากีแตนในประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระโอรสธิดาเสด็จมาเยี่ยมเยือนบ่อยครั้ง แต่ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 พระนางสิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระหทัยวาย ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา พระศพถูกฝังที่สุสานท้องถิ่น ไม่ใช่สุสานหลวงราชสำนักเว้ ตามโบราณราชประเพณี พระนางทรงเป็นฮองเฮา หรือ จักรพรรดินีองค์สุดท้ายแห่งเวียดนาม อดีตจักรพรรดิทรงเสกสมรสใหม่กับชาวฝรั่งเศส
Cr.เพจ ประวิติศาสตร์ สถาบันกษัตริย์
________________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ราชรถม้าของกษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย
พระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ (พม่า: သီပေါ‌မင်း ตีบอมี่น) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โก้นบอง ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2459
พระเจ้าธีบอเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามินดงกับเจ้าหญิงจากเมืองสี่ป้อในดินแดนไทใหญ่ มีพระนามเดิมว่าเจ้าชายมองปุ (မောင်ပု) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2402 ที่กรุงมัณฑะเลย์ เมืองหลวงของราชอาณาจักรพม่าในเวลานั้น เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นได้ผนวชเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษาวิชาการต่าง ๆ เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระราชบิดาจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสี่ป้อ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามเมื่อเสวยราชสมบัติในเวลาต่อมา
พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 ด้วยความช่วยเหลือจากพระนางอเลนันดอ พระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดงผู้เป็นพระราชบิดา และเหล่าขุนนางชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง พระองค์ได้เสกสมรสกับพระนางศุภยาลัตพระราชธิดาของพระเจ้ามินดงกับพระนางอเลนันดอ และพระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาเดียวกัน ซึ่งพระนางศุภยาลัตเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยในเหตุสำคัญต่าง ๆ ของพระเจ้าธีบอเป็นอย่างมาก
พระเจ้าธีบอประสูติวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามินดงกับพระนางลองซีหรือพระมเหสีแลซา เจ้าหญิงไทใหญ่[6] ชมีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาพระราชมารดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงเมงเกง (พ.ศ. 2398 – ?) พระเชษฐภคินี
เจ้าหญิงผกันคยี (พ.ศ. 2401 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2454) พระเชษฐภคินี
เจ้าหญิงเมกถีหล่า พ.ศ. 2403 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2439) พระขนิษฐา
พระราชมารดาของพระองค์ทรงถูกเนรเทศออกจากราชสำนักโดยพระราชโองการของพระเจ้ามินดง พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพในช่วงบั้นปลายด้วยการเป็นตี่ละฉิ่นซึ่งก็คือคำเรียกแม่ชีในพม่า พระนางทรงใช้ชีวิตและสิ้นพระชนม์อย่างไร้เกียรติ
ขึ้นครองราชย์
เจ้าชายธีบอเป็นที่โปรดปรานของพระนางอเลนันดอ อัครมเหสีของพระเจ้ามินดง รวมทั้งสมาชิกเสนาบดีสภาอย่างกินหวุ่นมินจี มัคเวมินจี และเยนันจองมินจีก็สนับสนุนเจ้าฟ้าธีบอเพื่อให้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามที่วางแผนไว้[8] อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผนที่คาดไว้ พระองค์กับพระนางศุภยาลัต พระมเหสี ได้สั่งปลด มัคเวมินจี และเยนันจองมินจีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2421 และยกเลิกแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้ประหารเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในที่คุมขังไว้ตั้งแต่พระเจ้ามินดงประชวรระหว่างวันที่ 13–18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 จนหมดสิ้น
อังกฤษได้ประท้วงการสังหารหมู่ครั้งนี้ โดย R. B. Shaw ผู้แทนอังกฤษประจำราชสำนักมัณฑะเลย์ ได้ยื่นประท้วงและเสนอจะนำนักโทษการเมืองไปไว้ในพม่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ แต่ไม่เป็นผล อย่างไรก็ตาม อังกฤษได้ช่วยให้เจ้าฟ้านยองจันลี้ภัยไปอยู่ในพม่าตอนล่างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2421[8]
สงครามกับอังกฤษและสิ้นสุดอำนาจ
พระราชวังธีบอที่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย ที่ประทับของพระเจ้าธีบอหลังสิ้นสุดอำนาจ
ในรัชกาลของพระองค์ได้ส่งคณะทูตไปยังฝรั่งเศสเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2426 และได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้า ยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ซึ่งได้สร้างความหวาดระแวงให้อังกฤษ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2428 พม่าเรียกค่าปรับจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิงเป็นเงินจำนวน 2.3 ล้านรูปี อังกฤษจึงตัดสินใจยื่นคำขาดต่อพม่าในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2428 โดยให้พม่าลดค่าปรับ ให้ความสะดวกแกอังกฤษในการค้าขายกับจีนและให้อังกฤษควบคุมนโยบายต่างประเทศของพม่า พม่าปฏิเสธมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน กองทัพอังกฤษจึงเคลื่อนทัพออกจากย่างกุ้งไปยังพม่าเหนือในวันที่ 14 พฤศจิกายนและยึดมัณฑะเลย์ได้ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัตยอมแพ้ในวันนี้ ทั้งสองพระองค์เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศไปอินเดีย
หลังสิ้นอำนาจ
พระเจ้าธีบอไปประทับที่รัตนคีรีในบริติชราช ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลอาหรับ ในช่วงห้าปีแรก ทรงได้รับเงินจากอังกฤษเดือนละ 100,000 รูปี หลังจากนั้นเงินจำนวนนี้ลดลงครึ่งหนึ่ง และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ได้เพียงเดือนละ 25,000 รูปีเท่านั้น[10] พระองค์สวรรคตเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระศพของพระองค์ฝังไว้ใกล้ ๆ สุสานของชาวคริสต์[10] หลังจากพระองค์สวรรคต ลูกหลานของพระองค์ส่วนหนึ่งเดินทางกลับพม่า บางส่วนยังคงอยู่ในอินเดีย เมียะพยาจี (Myat Phayagyi) พระธิดาองค์โตของพระองค์ยังอยู่ในอินเดีย ส่วนเมียะพยา (Myat Phaya) พระธิดาองค์เล็กที่ประสูติที่รัตนคีรีเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้เดินทางกลับมายังพม่าใน พ.ศ. 2462 พระนางสมรสกับอูเนียงใน พ.ศ. 2464 และสิ้นพระชนม์ในมะละแหม่งเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2478 ลูกหลานของพระนางยังอยู่ในพม่า และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์ของพม่า
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 เต้นเซน ประธานาธิบดีพม่าได้เดินทางไปเยี่ยมหลุมฝังศพของพระเจ้าธีบอ และพบกับลูกหลานของพระองค์ที่อาศัยอยู่ที่นั่น นับเป็นครั้งแรกที่ประมุขรัฐบาลพม่าเดินทางไปเยือนสุสานของพระองค์
แป้หม่าเก่า Ancient Phrae # อนุรักษ์ สืบสาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เมืองแพร่
https://www.facebook.com/Ancient.Phrae
No History no Future
ที่มาภาพ Kyawkhaing
ที่มาข้อมูล https://th.wikipedia.org/.../พระ...
Via : แป้หม่าเก่า Ancient Phrae
___________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ
ซักซ้อมการส่งเงินสมทบ กบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

เทพปกรณัมเซเมติกตอน แอสตาร์ (Astarte) เทพีแห่งความรัก
ในเทพปกรณัมกรีกเทวีองค์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดได้แก่เทวี อโฟรไดร์ อโฟรไดร์ที(Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) ซึ่งเป็นเจ้าแม่ครองความรักและความงาม สามารถสะกดเทพและมนุษย์ทั้งปวงให้ลุ่มหลง ทั้งอาจจะลบสติปัญญาของผู้ฉลาดให้ตกอยู่ในความโฉดเขลาไปได้ และเจ้าแม่จะคอยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความเย้ายวนของเจ้าแม่ร่ำไป
.
หากจะสืบสาวต้นกำเนิดของอโฟร์ไดที่ อาจต้องสืบสาวไปไกลกว่าตำนานของกรีกเสียอีก เนื่องจากเจ้าแม่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนซีกโลกตะวันออก ว่ากันว่าเจ้าแม่เป็นเทวีองค์แรกเริ่มของชนชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคมมากมายในดินแดนตะวันออกแถบตะวันออกกลาง ทราบกันมาว่าเจ้าแม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวอัสสิเรียกับบาบิโลเนีย รวมทั้งชาวไซโร-ฟีนิเซี่ยน ผู้มีนามกรว่า แอสตาร์ (Astarte) หรือ (Ninsun) , เทพีแห่งวัวศักสิทธิ์ Lady Wild Cowจึงนับได้ว่าเป็น เทวีที่มีความสำคัญมากมาแต่ดึกดำบรรพ์ของชาวเซเมติกในยุคสำริดบูชาเทพีองค์นี้ในลิแวนต์โบราณในหมู่บ้านชาวคานาอันและในชาวอียิปต์ ชาวโรมันและชาวกรีกระบุว่ามี ชาวฟินีเซียนบูชาเธอเป็นหัวหน้าเทพ ชาวอียิปต์และชาวคานาอันแห่งเผ่าชาวยิวได้บูชาเทพี Astarte อย่างยิ่งใหญ่ ในฐานะเทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรักเป็นตัวแทนของดาวศุกร์และเกิดลัทธิ บูชาAstarteขึ้นมา ความเคารพบูชาเทพธิดาแห่งฤดูใบไม้ผลิความอุดมสมบูรณ์และความรัก,กระจายออกไปอย่างรวดเร็วจากกลุ่มชาว Phoenicia ไปจนถึงชาวกรีซโบราณแล้วไปยังกรุงโรมและจากนั้นไปยังเกาะอังกฤษ
.
เรื่องราวของพระนางมีอยู่ว่าพวกนางเป็นชาวเพลีเดี้ยนที่อพยพมาจากดาวศุกร์ นางเป็นชายาของเทพ "เมลการ์ต"( Melkart )เทพแห่งการนำทางและยังเป็นที่รู้จักในนามบุตรแห่งมหาเทพ"บาอัล"หรือ"เอล" (ผู้ปกครองจักรวาลและ ราชาแห่งยมโลก และผู้พิทักษ์จักรวาล) มีบุตรชายด้วยกันคือเทพ"ทัมมุซ"Tammuz เทพแห่งความความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเทพองค์นี้เสียชีวิตในช่วงที่เดินทางมายังโลก แต่ยานที่ใช้ในการเดินทางเกิดลุกไหม้ติดไฟตกลงที่ทะเลสาบ Alfaka และเทพทัมมุซ หลบหนีออกมาไม่ทันจึงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น แต่บางตำนานก็กล่าวว่า เทพทัมมุซถูกเทพนรกจับแขวนไว้ในนรกแทนพระชายา "อินันนา"ผู้บังอาจบุกรุกนรก
.
ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลา 1567 ถึง 1320 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตามตำรา"อราเมอิก"แห่งอียิปต์ตอนเหนือ ในวัยสาวแรกรุ่น เทพีแอสตาร์ได้รับเลือกให้เป็นมเหสีของพระเยโฮวาห์ แต่ไม่ผ่านการพิจารณา ชาวอียิปต์โบราณสร้างรูปเหมือนของพระนางเป็นรูปผู้หญิงที่เปลือยเปล่ากับงูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
.
คนที่บูชาพระนางสร้างลัทธิ Astarte บูชาพระนางเป็นเทพแห่งบ้าน มีพิธีกรรมบูชาที่เรียกว่า "Holy marriage" พิธีกรรมมีมาต่อเนื่องจนถึงยุคกลางในช่วงพันปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นลัทธิก็ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งระบุว่าแอสตาร์เป็นผู้อุปถัมภ์ของคนรักร่วมเพศและโสเภณี หญิงรับใช้ในวิหารของเทพีแอสตาร์ ถูกเรียกว่า"โสเภณีของพระเจ้า"
.
และในช่วงเวลาต่อมาผู้บูชาเทพธิดาองค์นี้ถูกกล่าวหาจากชาวครีสต์ในเยรูซาเล็มว่ากำลังบูชาปีศาจหญิงที่ชื่อว่า Astarot (Mylitta)ซึ่งเป็นปีศาจแห่งความสุขความปรารถนาและความต้องการทางเพศ ชาวครีสต์ยังกล่าวอีกว่านางปีศาจMylittaเป็นราชินีแห่งวิญญาณของคนตาย เธอได้รับการบูชาเสมือนว่าเป็นเทพAstarte ลัทธิบูชาปีศาจMylittaมีส่วนทำให้เกิดพิธีการบวงสวรโสเภณี "ศักดิ์สิทธิ์" ด้วยเหตุนี้ในยุคกษัตริย์โซโลมอนซึ่งเป็นกษัตริย์ยิวที่ชมชอบเวทย์มนต์และบูชาปีศาจจึงสร้างวิหารชั่วคราวของเทพีAstarteขึ้นมาเพื่อทำพิธีพลีความบริสุทธิบูชาเทพีปีศาจ Mylitta
.
เป็นเวลานานผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เก่าพยายามต่อสู้กับลัทธิของปีศาจMylitta แม้แต่พระคัมภีร์ครีสศาสนายังเรียกเทพธิดาMylittaว่า "สิ่งที่น่าสะอิดสะเอียนของเมืองไซดอน" และใน Kabbalah ภายหลังเธอได้รับบทเป็นปีศาจในวันศุกร์ - หญิงที่มีปลายหางงูหาง
.
จากในพระคัมภีร์ฉบับภาษาฮิบรู ของชาวเซเมติกมีคำเรึยก "โสเภณี" อยู่สองคำคือ "โซนาห์" (zonah) กับ "เคเดชาห์" (kedeshah บางทีก็เขียนว่า qedesha) คำว่า "โซนาห์" ก็หมายถึง "โสเภณี" ธรรมดาๆนี่แหละครับ แต่คำว่า "เคเดชาห์" ต่างหากที่น่าสนใจเพราะมันแปลว่า "ผู้อุทิศตน" ซ้ำยังเป็นผู้อุทิศตนที่มีรากศัพท์มาจาก "q-d-sh" (กลุ่มภาษาในโลกตะวันออกกลางประสมศัพท์ขึ้นจากอักษรสามตัว ก่อนจะเติมสระเข้าไป) ที่มีความหมายถึง "ความศักดิ์สิทธิ์" เสียด้วย (กิจกรรมทางเพศนี่มีความศักดิ์สิทธิ์เสมอในยุคเมโสโปเตเมีย)
.
อย่างไรก็ตาม ไม่มีที่ว่างเพียงพอสำหรับโสเภณีทุกประเภทในศาสนาของพระยะโฮวาห์ คำศัพท์ที่ปรากฏอยู่จึงเป็นเพียงร่องรอยให้ทราบว่า มีโสเภณีประเภทที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วยในโลกยุคโบราณ
.
หญิงสาว "เฮไทรา" ทำพิธีเปิดบริสุทธิ์
ชาวกรีก ผู้ทึ่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์โลกอย่าง เฮโรโดตุส (Herodotus, มีชีวิตอยู่ในช่วง 484-425 ก่อนคริสต์กาล) บันทึกเอาไว้ในหนังสือ The Histories ว่า ในดินแดนแห่งลุ่มน้ำไทกริส และยูเรติส หญิงสาวชาวบาบิโลนโบราณพาจะต้องนั่งคอยชายแปลกหน้าในวิหารองค์เทวีซึ่งมีอยู่มากมาย เพื่อเข้าสู่พิธีสละพรหมจารีกับชายแปลกหน้า ถ้าชายพึงใจในหญิงคนใดก็จะโยนเหรียญมาที่ตักของเธอ หญิงที่ได้รับเหรียญจะต้องลุกตามเขาไปทันทีเพื่อประกอบพิธีภายในห้องภายในวิหารนั้นเอง ไม่ว่าหน้าเหรียญที่ชายโยนให้นั้นจะมีค่ามากน้อยเพียงไรก็ตาม โดยชายผู้นั้นจะต้องเอ่ยประโยคที่ว่า
"ขัาขอเชิญท่านในนามแห่งเทวีไมลิตตา"
.
การร่วมประเวณีอย่างนี้จึงถูกถือเป็น "การร่วมประเวณีอันศักดิ์สิทธิ์" เพราะถือกันว่าเป็นการกระทำเพื่อสังเวยแก่เทวีไมลิตตา (Mylitta) อันเป็นชื่อเทวีองค์หนึ่งของชาวอัสซีเรียน แต่เฮโรโดตุสเข้าใจว่าเทวีองค์นี้คือ เทวีอโฟรไดต์ (Aphrodite, หรือ วีนัส, Venus, ของพวกโรมัน) ของพวกบาบิโลเนียน จึงเรียกชื่อวิหารที่มีการประกอบกามกิจอันศักดิ์สิทธิ์นี้ว่า วิหารแห่งเทพีอโฟรไดต์เสมอ
.
และเมื่อได้กระทำการร่วมรักพลีพรหมจารีแล้วก็เป็นอันหมดหน้าที่ หญิงเหล่านั้นจะได้กลับไปบ้านเมืองและครองชีวิตอย่างมีเกียรติพร้อมกับตั้งหน้าคอยโชคลาภต่อไป โดยผู้หญิงทุกคนจำต้องปฏิบัติพิธีกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นหญิงสูงศักดิ์หรือหญิงสาวชาวบ้านก็ตาม เฮโรโดตุสเล่าต่อไปว่าหญิงสูงศักดิ์อาจจะนั่งโดยที่มีผ้าม่านกั้นคลุมเอาไว้ ในขณะที่หญิงที่รูปไม่งามอาจต้องนั่งรอชายแปลกหน้าเป็นเวลานานกว่าปี
.
เฮโรโดตุสเรียกพิธีกรรมอย่างนี้ว่า "พิธีกรรมที่โง่เขลา" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเหยียดหยามพิธีกรรมนี้ และอันที่จริงแล้วอาจถึงกับดูแคลนเหมือนกับเป็นอนารยชน จึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่เมื่อ ผู้สืบทอดเทคโนโลยีและอารยธรรมของกรีกอย่างพวกโรมันเข้าไปสร้างศูนย์กลางอำนาจแห่งที่สองของจักรวรรดิโรมันที่อิสตันบุล คือกรุงคอนสแตนดิโนเบิล โดยจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine, มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 272-337) จะสั่งให้ยกเลิกพิธีกรรมนี้ทั้งหมด ทั้งที่จริงๆ แล้วก็มีหลักฐานว่ามีพิธีทำนองเดียวกันในอารยธรรมของกรีกด้วย
.
นักประวัติศาสตร์และนักภูมิศาสตร์คนสำคัญของกรีกอีกคนหนึ่งคือ สตราโบ (Strabo) ได้บันทึกไว้ในงานที่เขียนขึ้นเมื่อราว 2 ปีก่อนคริสต์กาลว่า เมื่อราว 700-400 ปีก่อนคริสต์กาล วิหารของเทวีอโฟรไดต์ในเมืองคอรินธ์ (Corinth) มี "เฮไทรา" (hetaira) คือผู้ที่ถูอุทิศให้เป็นข้าวัด ทั้งชายและหญิงมากกว่า 1,000 คน
.
สตราโบ บันทึกเอาไว้ว่า หญิงสาว เฮไทรา เหล่านี้ แลกเปลี่ยนเงินตราด้วยร่างกายของตนเอง ความตอนนี้ตรงกับที่ อาเธเนอุส (Athenaeus) นักปาฐกถาคนสำคัญชาวกรีก ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2-ศตวรรษที่ 3 บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับไฮไทราเช่นกัน
.
ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมากจากบทกวีของ พินดาร์ (Pindar, มีอายุอยู่ในช่วง 522-433 ปีก่อนคริสต์กาล) กวีชาวกรีก บันทึกเอาไว้ว่าเมื่อ 464 ปีก่อนคริสต์กาล ซีโนฟอน (Xenophon) แข่งปัญจกรีฑาชนะเลิศในการแข่งขันโอลิมปิค ได้รับรางวัลเป็นสาวเฮไทรา จากวิหารของเทพีอโฟรไดท์แห่งเมืองคอรินธ์เป็นจำนวน 100 นาง
.
อันที่จริงแล้วยังมีร่องรอยอื่นๆเกี่ยวกับโสเภณีศักดิ์สิทธิ์ในอารยธรรมกรีกอีกมากนอกเหนือจาก บรรดาเฮไทราที่วิหารเทพีอโฟรไดท์แห่งเมืองคอรินธ์ ลักษณะอย่างนี้ยังคงตกทอดไปถึงโรมอีกด้วย
พวกโรมันยังมีพิธีกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทวีอโฟรไดท์ ที่มีโสเภณีข้าร่วมเป็นส่วนประกอบสำคัญของพิธีกรรม ที่น่าสนใจคือ พิธีเฉลิมฉลองเทวีฟอร์ทูนา (Fortuna) ที่มหากวี โอวิด (Ovid, มีชีวิตอยู่ในช่วง 43 ปีก่อนคริสต์กาล-ค.ศ. 17) พรรณนาเอาไว้ว่า "ทุกวันที่ 1 เมษายน จะต้องให้โสเภณีและหญิงสาวที่แต่งงานแล้วจะร่วมกันเปลี่ยนฉลองพระองค์ และทำความสะอาดองค์เทพี" ในกรณีนี้ จึงดูเหมือนว่ากะหรี่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์เท่าเทียมกับหญิงสาวผู้มีสามีแล้ว?
.
ในอารยธรรมของพวกโรมัน โสเภณีเป็นผู้หญิงประเภทเดียวที่จะสวมผ้าโทก้า (toga) คือผ้าคลุมชั้นนอก ซึ่งเป็นผ้าแสดงศักดิ์ฐานันดรของผู้ชาย ยิ่งเป็นโสเภณีชั้นสูงด้วยแล้ว ผ้าโทก้าจะถูกทอขึ้นจากผ้าไหม มองทะลุ ที่มึสีสันฉูดฉาดบาดตาความตรงนี้ถูกตีความกันโดยผู้ศึกษาอารยธรรมโรมันกันออกไปหลายแนวคิดหลายทฤษฎีเลยทีเดียวว่าทำไมกะหรี่จึงมีสิทธิ์สวมผ้าโทก้า ซึ่งเป็นอภิสิทธิ์เฉพาะของผู้ชาย โดยเฉพาะสังคมที่ถือผู้ชายเป็นใหญ่อย่างยิ่งอย่างโรม?
.
เรื่องของโสเภณีศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีเฉพาะในโลกตะวันตก ในโลกตะวันออก โดยเฉพาะในอู่อารยธรรมอย่างอินเดีย การร่วมประเวณียังมีบทบาทในปรัชญาศาสนาด้วย รูปเคารพในพุทธศาสนาที่เป็นรูปการเสพสังวาสระหว่างพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆ พระโพธิสัตว์ เทพ ฯลฯ กับชายาของตน เรียกกันว่า "ยับยุม" นิยมอยู่ในพุทธศาสนา ตันตระยาน โดยเฉพาะที่ ธิเบต เนปาล และบริเวณใกล้เคียง เป็นสัญลักษณ์ของทางสู่นิพพาน ทางกลับไปสู่ "ศูนยะ"
.
ก่อนเกิด ก่อนมีชีวิต ชีวิตซึ่งเต็มไปด้วยทุกข์ เราเป็นศูนย์ เราจึงมาจากศูนย์ และทางที่เราออกมาจากความเป็นศูนย์ก็คือทางกลับเข้าไปนั่นเอง
ปรัชญาอย่างนี้ก็มีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะว่าเป็นความเชื่อพื้นเมืองมาก่อน มีเรื่องเล่าว่าในเทวาลัยของเจ้าแม่กาลี บางแห่งมีนางเทวทาสี ที่ทำหน้าที่ไม่ต่างไปจาก นางไฮเทราของพวกกรีก
.
โสเภณีบางทีจึงศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่อาชีพที่ถูกเหยียดหยามจนต่ำต้อยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพียงแต่คำหลายคำ (ในทุกๆภาษา) ในปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนและบดบังความหมายและสถานภาพดั้งเดิมไปหมดแล้ว
cr.
https://www.silpa-mag.com/history/article_2419
(ภาพประกอบ มาจากอาคารหลังหนึ่งเมือง Pompeii ที่เรียกกันว่า Lupanar คำๆ นี้เป็นภาษาละตินแปลว่า "ซ่อง" รูปผู้หญิงคนนี้จึงเชื่อกันว่าเป็นหญิงบริการนั่นเอง)
cr.
https://www.google.com/search?q=เทพ...client=firefox-b-d&hl=th#imgrc=pj8QFVmO5G0KyM
cr.
https://th.gov-civ-guarda.pt/tammuz
cr.
https://hmong.in.th/wiki/Melkart
รวมทุกตอนสนุกๆของเทพปกรณัมเซเมติก

_______________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ซักซ้อมการส่งเงินสมทบ กบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565



- ขุนศึกโฉดกับปฏิบัติการปล้นสุสานซูสีไทเฮา ◕‿-
ในยุคสาธารณรัฐ (ยุคหมินกว๋อ) แผ่นดินจีนมิได้เป็นปึกแผ่น แต่ถูกควบคุมโดยขุนศึกต่างๆ ที่ปกครองดินแดนของตนเองราวกับเป็นแม่ทัพมณฑลทหาร แต่มีอำนาจเด็ดขาดทั้งการทหารและการเมือง "มณฑลทหาร" ที่ว่านี้ แท้จริงแล้วคืออาณาจักรย่อยๆ ของบรรดาขุนศึกในยุคหมินกว๋อนั่นเอง
ขุนศึกเหล่านี้บางคนเป็นวีรชน บางคนเป็นยอดฝีมือ บางคนรักชาติยิ่งชีพ บางคนขายชาติอย่างน่าละอาย และบางคนโสมมสิ้นดี หนึ่งในขุนศึกที่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ที่สุดคนหนึ่งคือ "ซุนเตี้ยนอิง"
วีรกรรมวีรเวรที่ทำให้ชาวจีนจดจำชื่อของซุนเตี้ยนอิงได้มากที่สุดคือ การนำทัพบุกปล้นสุสานหลวงราชวงศ์ชิงฝั่งตะวันออก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1928
สุสานราชวงศ์ชิงนั้นไม่เหมือนราชวงศ์อื่น เพราะแบ่งออกเป็น 2 แห่ง แห่งแรกอยู่ที่เมืองอี้เซี่ยน มณฑลเหอเป่ย เรียกว่า สุสานชิงตะวันตก อีกแห่งอยู่ที่เมืองจุนฮั่ว มณฑลเหอเป่ย เรียกว่า สุสานชิงตะวันออก
สุสานชิงตะวันออก หรือชิงตงหลิง เป็นที่ตั้งของหมู่สุสานใหญ่ประกอบไปด้วยสุสานหลวงของฮ่องเต้ 5 พระองค์ ฮองเฮา 15 พระองค์ พระสนม 136 พระองค์ อ๋อง 3 องค์ และเจ้าหญิงอีก 2 องค์ ในบรรดาสุสานฮ่องเต้ทั้ง 5 คือ ซุ่นจื้อ คังซี เฉียนหลง เสียนเฟิง และถงจื้อ ล้วนแต่สร้างอย่างยิ่งใหญ่อลังการ มีแนวกำแพง อาคารน้อยใหญ่ ศาลบวงสรวง และเนินดินฮวงซุ้ย ซึ่งเป็นที่เก็บพระศพและทรัพย์สมบัติล้ำค่ามากมาย
สุสานหลวงของจีนนั้นมักถูกปล้นมาแต่ไหนแต่ไร ส่วนใหญ่หากยังหาทางเข้าคลังสมบัติไม่พบ ก็มักถูกขุดจนพรุน มีเพียงสุสานราชวงศ์หมิงที่รอดการปล้นชิงมาได้ อย่างไรก็ตาม การปล้นสุสานหลวงไม่ใช่เรื่องดีงามนัก แม้จะเป็นศัตรูกันก็ตาม เพราะชื่อจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นคนต่ำช้า มีการกระทำเยี่ยงโจรปล้นสุสาน ซึ่งเป็นอาชญากรชั้นต่ำ
ซุนเตี้ยนอิง เป็นทั้งนักฆ่าและอาชญากรชั้นต่ำ ไม่แยแสคุณธรรมจรรยาใดๆ ทั้งสิ้น ในช่วงเช้าของวันที่ 28 มิถุนายน 1928 ขุนศึกซุนได้นำกองกำลังทำการยึดพื้นที่สุสานหลวงไว้ ซึ่งเดิมนั้นเป็นพื้นที่ควบคุมของขุนศึกจางจั้วหลิน แต่แทนที่จะควบคุมพื้นที่ไว้เฉยๆ ขุนศึกซุนกลับสั่งให้ทหารดำเนินการเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางทางเข้าสุสานที่ฝังพระศพ โดยทำการซ้อมรบเพื่อปิดบังอำพราง ทั้งยังห้ามผู้อื่นเข้ามาในบริเวณนั้น อ้างว่า "เพื่อพิทักษ์สุสานหลวง"
จากนั้นก็ทำการบุกเข้าไปปล้นสุสานของพระนางซูสีไทเฮากับพระเจ้าเฉียนหลงกันอย่างไม่เกรงใจเจ้าของสถานที่ หน่วยของหานต้าเป่า บุกเข้าปล้นสุสานพระเจ้าเฉียนหลง ช่วงชิงทุกอย่างที่หยิบติดมือมาได้ แล้วโยนพระอัฐิของฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ทิ้งลงกับพื้นโคลนตม ไม่มีใครทราบได้ว่า หานต้าเป่าได้อะไรไปบ้าง แต่อนุมานจากยุคสมัยอันร่ำรวยของเฉียนหลงแล้ว คงได้ทั้งทรัพย์มหาศาลและงานศิลป์ชั้นเลิศไป
ที่น่าตื่นเต้นกว่าการบุกสุสานเฉียนหลง คือการบุกสุสานของซูสีไทเฮา ศัตรูอันดับหนึ่งของพวกนิยมสาธารณรัฐ
หน่วยของถานเวินเจียง ทำการบุกรุกสุสานของพระนางซูสีไทเฮา เมื่อเปิดโลงพระศพทหารของขุนพลซุนพยายามจะกระทำลามกกับพระศพ แต่ขุนพลห้ามปรามไว้ ส่วนอีกกระแสหนึ่งอ้างว่า ทหารเปิดโลงพระศพแล้วคิดจะกระทำมิดีมิร้าย แต่ครั้นเปิดโลงได้ไม่นานอากาศจากภายนอกเข้าไป พระศพเน่าเปื่อยลงอย่างรวดเร็วเหลือแต่โครง ไม่อาจกระทำบัดสีได้อีกต่อไป
ข่าวลือนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์บอกเล่าข่าวร่วมสมัย ซึ่งไม่อาจเชื่อถือได้ แต่ที่เชื่อถือได้คือ หลักฐานที่เกิดขึ้น พระศพถูกรื้อค้นไม่มีชิ้นดี รื้อหมดแม้กระทั่งฉลองพระองค์ชั้นใน ส่วนทหารในหน่วยของซุนเตี้ยนอิงเคยสารภาพว่า ตอนที่บุกรุกสุสานได้มีการยกพระศพออกมาวางกับพื้น (ที่จริงโยนออกมา) เพื่อค้นหาของมีค่า ใช้ดาบปลายปืนบั่นพระศอเพื่อค้นหาไข่มุกพันปี ส่วนพระศพก็แห้งลงมากแล้ว ไม่มีการกล่าวถึงความคิดจะกระทำอนาจารต่อพระศพ
การปล้นสุสานครั้งนั้นสร้างความตื่นตะลึงไปทั่วประเทศจีนและทั่วโลก มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเจียงไคเช็คเอาผิดซุนเตี้ยนอิง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีการจัดการใดๆ ลือกันว่า เพราะภริยาผู้ทรงอิทธิพลของเจียงไคเช็ค คือ ซ่งเหม่ยหลิง ได้ของปิดปากไป คือไข่มุกพันปีที่เคยบรรจุในพระโอษฐ์ของพระนางซูสีไทเฮาเป็นของล้ำค่าในตำนานที่ผู้คนกล่าวขวัญถึง แต่ซ่งเหม่ยหลิงนำมุกดาล้ำค่ามาประดับที่รองเท้าของนาง แต่ต้องย้ำว่านี่เป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น...
สำหรับซุนเตี้ยนอิง หลังจากปล้นสุสานแล้ว ก็ยังโลดแล่นช่วงชิงอำนาจในสงครามกลางเมืองต่อไป จนกระทั่งในปี 1947 ถูกกองทัพปลดปล่อยประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จับตัวได้ และเสียชีวิตในปีถัดมาระหว่างการถูกควบคุมตัว ที่เขตเมืองหานตาน มณฑลเหอเป่ย
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานจัดการสุสานชิงตงหลิง (สุสานราชวงศ์ชิงฝั่งตะวันออก) เปิดเผยว่า จะจัดสรรงบประมาณบูรณะสุสานหลวงครั้งใหญ่ เนื่องจากสุสานในกลุ่มนี้มีความสำคัญยิ่งยวด แต่ถูกทำลาย ปล้นชิงหลายครั้ง โดยเฉพาะสุสานของพระเจ้าเฉียนหลง และสุสานติงตงหลิงของพระนางฉือสี่ หรือซูสีไทเฮา ที่มีความหรูหราอลังการ สมบัติล้ำค่ามากมาย แต่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถูกขุนพลซุนเตี้ยนอิง ปล้นชิง ทำลายพระศพ แม้สมบัติชิ้นเล็กชิ้นน้อยจะถูกปล้นไป แต่ตัวสุสานอันเป็นสถาปัตยกรรมล้ำค่ายังคงอยู่ และจำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซม
ในเวลาต่อมา ผู้เชี่ยวชาญของสุสานหลวงชิงตงหลิง ได้ทำการสำรวจสิ่งล้ำค่าในทางโบราณคดีที่ยังเหลืออยู่ในสุสาน ผู่ถัวอวี้ ติ้ง ตงหลิง หรือสุสานของพระนางซูสีไทเฮา และได้เปิดเผยว่า สภาพพระศพของพระนางซูสีไทเฮา ได้กลายเป็นศพแห้ง หรือมัมมี่แล้ว พระวรกายมีความสูงราว 153 ซม. หดลงจากเดิม 9 ซม. พระอุระ (หน้าอก) มีรอยแยก ขนาดพระบาทเท่ากับรองเท้าขนาดเบอร์ 38
แสดงว่า พระองค์มิได้ทรงรัดเท้าให้เล็กเหมือนสตรีจีนทั่วไป ตามธรรมเนียมของหญิงชาวแมนจูที่จะไม่รัดเท้า มีแต่หญิงชาวฮั่นเท่านั้นที่รัดเท้าให้ "สวยเหมือนดอกบัวตูม"
นี่เป็นความลับเกี่ยวกับพระศพของสตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนสุดท้ายแห่งยุคศักดินาจีน..../*
°.•°•.★* *★ .•°•.°°.•°•.★* *★ .•°•.°°.•°•.★* *★ .•°•.°°.•°•.★* *★ .•°•.°
โดย กรกิจ ดิษฐาน
ที่มา : http://www.gypzyworld.com/article/view/1075
(จากภาพ :
ภาพ 1 : สุสานชิงเซี่ยวหลิง เป็นสุสานหลวงของพระเจ้าซุ่นจื้อ แห่งราชวงศ์ชิง สร้างขึ้นในปีซุ่นจื้อที่ 18หรือค.ศ. 1661แล้วเสร็จในปีคังซีที่ 1หรือ 1662 สุสานแห่งนี้รอดพ้นจากการปล้นชิงของซุนเตี้ยนอิง ขุนศึกสมัยสาธารณรัฐที่บุกเข้าปล้นสุสานหลวงราชวงศ์ชิง
ภาพ 2 : โลงพระศพของพระเจ้าชิงเกาจง หรือ พระเจ้าเฉียนหลง ในสุสานหลวงชิงอวี้หลิง
ภาพ 3 : พระศพของพระนางซูสีไทเฮา เมื่อครั้งถูกเปิดออกคราวถูกปล้นชิง ปี 1928และในการสำรวจโดยทางการในอีกหลายปีต่อมาแสดงส่วนพระวรกายในโลงพระศพที่เปิดออก ส่วนพระกายที่พระภูษาถูกปลดออกไป และส่วนพระเศียร / ภาพจาก - เหรินหมินรื่อเป้า
ภาพ 4 : หอบวงสรวงด้านใน หรือ หมิงโหลว ของสุสานผู่ถัวอวี้ ติ้งตงหลิง)
Via : Hathairat Traithip
https://m.facebook.com/groups/687507851327585...
______________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ