ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

พิธี คือ แบบอย่าง แบบแผนหรือรูปแบบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเรียกว่า ศาสนพิธี ความจริงเรื่อง ศาสนพิธี เป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนา และเป็นเรื่องเกิดขึ้นทีหลังศาสนา หมายความว่า มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ เกิดตามมาภายหลัง แม้ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นเหตุเกิดศาสนพิธีในพระพุทธศาสนานี้ ก็เนื่องจากมีหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงวางไว้แต่ในปีที่ตรัสรู้ เพื่อสาวกจะได้ถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา อันเรียกว่า “โอวาทปาติโมกข์” ในโอวาทนั้น มีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป 3 ประการคือ
1. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
2. สอนให้อบรมกุศลให้พร้อม
3. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว

โดยหลักการทั้ง 3 นี้ เป็นอันว่าพุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง จนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสร้างได้ กับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ด้วยการพยายามทำตามคำสอนในหลักการการนี้ เป็นการพยายามทำดี เรียกว่า “ทำบุญ” และการทำบุญนี้แหละพระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุ คือที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยย่อ ๆ 3 ประการ เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ” คือ
1. ทาน การบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
2. ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงพุทธบัญญัติ
3. ภาวนา การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล

ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

ที่มาภาพ : http://thn2442555social.blogspot.com/2016/08/blog-post_49.html

บุญกิริยานี้เอง เป็นแนวให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเค้าให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม คือ ในกาลต่อ ๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญ ไม่ว่าจะปรารภเหตุใดๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปภาวนาด้วยการสวดมนต์เอง หรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควร เพราะนิยมทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดีดังกล่าวนี้ และทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงเกิดพิธีกรรมขึ้นมากประการ เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น ฉะนั้น ศาสนพิธีจึงมีมากมาย เมื่อแยกเป็นหมวดก็สงเคราะห์ได้ ๔ หมวด คือ
1. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๒
2. หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ
3. หมวดทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทาน
4. หมวดปกิณกพิธี ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด

ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

ที่มาภาพ : http://buddhabuddha-2600.blogspot.com/2014/08/blog-post_28.html

ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

http://www.dhammathai.org/practice/main.php

ศาสน พิธี ใด ไม่ เกี่ยว เนื่อง กับ พุทธ บัญญัติ

1. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ จะนิมนต์ไม่ต่ำกว่า 5 รูป จะเป็น 7 หรือ 9 รูปก็ได้ รวมทั้งไม่นิยมนิมนต์เป็นจำนวนคู่ ยกเว้นงานแต่งงาน

3. ดูแลรักษาและตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ควรดูแลบริเวณที่จะประกอบพิธีให้สะอาดเรียบร้อยเพื่อให้เป็นสิริมงคล ตกแต่งสถานที่ให้สวยงามตามกำลัง

2. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชา ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “โต๊ะหมู่บูชา” เป็นที่ตั้งพระพุทธรูป ประกอบด้วยโต๊ะตัวเล็ก 5 ตัว ปูผ้าขาว หันหน้าโต๊ะออกมาทางเดียวกับพระสงฆ์

4. วงด้ายสายสิญจน์ ปัจจุบันนิยมวางสายสิญจน์ไว้บนโต๊ะหมู่บูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ การโยงสายสิญจน์ไม่ควรวางต่ำจนคนเดินข้าม วงสายสิญจน์จากซ้ายไปขวา

ประเภทของพิธีกรรม
พิธีกรรมทางศาสนาพุทธหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาสนพิธีด้วยกัน เช่น พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโบสถ ฯลฯ จำแนกเป็น 2 ประเภท
1. พิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ เป็นพิธีการเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมนั้น ๆ ให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้
2. พิธีกรรมที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น คือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นต่าง ๆ กำหนดขึ้น โดยมีการผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้เข้ากับกิจกรรมทางพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี
หลักปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  มีหลักการปฏิบัติ 4 ประการ คือ
                     - ความถูกต้อง ตามพุทธบัญญัติ
                     - คำนึงถึงความเหมาะสม
                     - คำนึงถึงความประหยัด และภาวะทางเศรษฐกิจ
                     - คำนึงประโยชน์ที่จะได้รับต้องคุ้มค่า
คุณประโยชน์ของพิธีกรรม มี 3 ประการ คือ
                   - มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้ศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์
                   - ส่งเสริมความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม
                   - ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ที่ดีงาม เป็นการสร้างสมวัฒนธรรมคงอยู่ต่อไป
พิธีบรรพชาอุปสมบท (พิธีบวช)
      เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธ โดยเฉพาะชาวไทยนิยมปฏิบัติกัน การบวชเป็นคำรวมทั้งการบวชเณร (การบรรพชา) และการบวชพระ (การอุปสมบท)
การบรรพชา 
     คือ การบวชสามเณร ผู้บรรพชาต้องอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปี ไม่เป็นโรคร้าย วิปริต หรือทุพพลภาพ ไม่เป็นโจรผู้ร้าย บิดามารดาต้องอนุญาต ภายหลังจากมีการปลงผมแล้ว
นำเครื่องบริขารไปหาพระอุปัชฌาย์ แล้วกล่าวคำบรรพชาเป็นภาษาบาลี ปฏิญาณตนต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รับศีล 10การอุปสมบท 
     คือ การบวชพระ ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น การบวชมี 3 วิธี คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้โดยเปล่งวาจาว่า "จงเป็นภิกษุเถิด" ต่อจากนั้น
ก็ครองผ้าเหลือง ประพฤติตนตามธรรมได้เลย ผู้อุปสมบท ต้องเป็นชายอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาต้องอนุญาต และต้องถือศีล 227 ข้อ
พิธีเข้าพรรษา 
     คือ การจำวัดของพระสงฆ์ เป็นเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน จะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ ถ้ามีความจำเป็นไปค้างแรมที่อื่น จะต้องกลับวัดภายใน 7 วัน ตามที่บัญญัติไว้ในพรวินัย
พิธีปวารณา
     เป็นพิธีที่พระสงฆ์ปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ คือ พระภิกษุจำพรรษาจนครบ 3 เดือนแล้ว พระภิกษุต้องทำพิธีกล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน พิธีปวารณามี 3 วัน คือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (บัณณรสี) วันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 (จาตุททสี) และวันสามัคตี
พิธีทอดกฐิน
     ความเป็นมา กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง หรือไม้แบบตัดเย็บจีวร เป็นผ้าที่นำมาถวาย
พระภิกษุสงฆ์ในพิธีทอดกฐิน เริ่มนับตั้งแต่ออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลาง
เดือน 12
ลักษณะพระภิกษุสงฆ์ที่ควรได้รับผ้ากฐิน มีดังนี้
ต้องจำพรรษามาแล้ว 3 เดือน มีจีวรเก่ากว่าพระภิกษุรูปอื่น เรียนพระวินัยแตกฉาน คณะสงฆ์เห็นชอบให้เป็นพระภิกษุที่จะรับผ้ากฐินได้ พิธีในการทอดกฐินมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
- ทำการจองวัดที่จะทอดกฐินตามความเหมาะสมกับกำลังผู้ทอด
- ต้องทำการจองเมื่อเข้าพรรษาแล้ว
- ประชาชนทั่วไปจะจองได้แต่วัดราษฎร์ทั่วไปเท่านั้น
- ในวัดหนึ่งจะรับกฐินได้ครั้งเดียวใน 1 ปี
- ต้องมีการประกาศจองกฐินให้พระในวัดรู้ทั่วกัน
พิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา
1. พิธีมาฆบูชา จากพุทธประวัติ ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นเหตุกำเนิดวัน
จาตุรงคสันนิบาต (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ให้เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 4ป ในวันนั้นได้เกิดนิสิตอันน่าอัศจรรย์ถึง 4 ประการ คือ
                         - มีพระอริยสงฆ์มาประชุมกันพร้อมโดยมิได้นัดหมาย
                         - พระอริยสงฆ์ที่มาประชุมมีจำนวนถึง 1,250 รูป
                         - พระอริยสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปา และทุกรูปเป็นพระอรหันต์
                         - วันนั้นตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่มีพระสงฆ์มาอยู่รวมกัน ณ ที่เดียวกัน
เป็นจำนวน 1,250 รูป พระองค์จึงได้แสดงธรรมแก่ที่ประชุมสงฆ์ ธรรมที่พระองค์แสดง คือ
"โอวาทปาติโมกข์"
ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ณ วัด
พระศรีรัตน์ศาสดาราม
2. พิธีวิสาขบูชา ตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานใน
วันเดียวกัน เดือนเดียวกัน คือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ถ้ามีเดือน 8 สองหน เลื่อนไปวันขึ้น 155 ค่ำเดือน 7) การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะในประเทศไทยตามหลักฐาน คือ ตำนานนางนพมาศมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้หายไปในสมัยอยุธยา จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นความสำคัญ จึงมีพระราชกุศลพิเศษ พิธีวิสาขบูชากลับมาอีกเมื่อ พ.ศ. 2350 < อ่านเพิ่มเติม >

3. พิธีอาสาฬหบูชา หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จไปยัง
ป่าอิสิปมฤคทายวัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์ และพระพุทธองค์ได้ทรงแสดง "ปฐมเทศนา"
พระธรรมจักกัปปวัฒนสูตร ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปเดือน 8 หลัง) ปัญจวัคคีย์ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้เห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็น
พระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา และสำเร็จเป็นพระอรหันต์
สำหรับพิธีอาสาฬหบูชาในประเทศไทย คณะสงฆ์ได้มีประกาศให้ถือวันนี้เป็น
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ได้เริ่มครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2501 (วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2501)  < อ่านเพิ่มเติม >

ยังมีพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น
            พิธีแสดงตนเป็นพุทธมา  พิธีรักษาอุโบสถศีล
            พิธีถวายทานต่าง ๆ
            พิธีแต่งงาน

            พิธีศ

ศาสนพิธีเนื่องด้วยพุทธบัญญัติ มีพิธีใดบ้าง

- พิธีบรรพชา - พิธีอุปสมบท - พิธีเข้าพรรษา - พิธีปวารณา - พิธีทอดกฐิน

พุทธศาสนพิธีคืออะไร

ศาสนพิธีในทางพระพุทธศาสนาเป็นการสร้างความดี การท าบุญ การถวายทานต่างๆ ได้มีการรวมไว้ และแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. กุศลพิธี คือ พิธีกรรมที่เนื่องด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคล เช่น การรักษาศีล การฟังธรรม การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา

งานบุญพิธี มีอะไรบ้าง

หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๑. พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ๒. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๓. พิธีสวดพระพุทธมนต์ ๔. พิธีสวดพระอภิธรรม ๕. พิธีสวดมาติกา ๖. พิธีสวดแจง ๗. พิธีสวดถวายพรพระ ๘. พิธีอนุโมทนากรณีต่าง ๆ

ศาสนพิธี มีอะไรบ้าง

ศาสนพิธี แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ 1 1. หมวดกุศลพิธี เป็นเรื่องเกี่ยวกับพิธีบำเพ็ญกุศล ได้แก่ พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษา อุโบสถศีล และพิธีการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2. หมวดบุญพิธี เป็นเรื่องเกี่ยวกับพิธีการทำบุญ ได้แก่ การทำบุญในงานมงคล และการทำบุญในงาน 2555.