วิจัย ใน ชั้น เรียน คณิตศาสตร์ ป 1 การบวก


  1. University of Phayao Digital Collections
  2. วิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (Thesis of Graduate Students)
  3. ระดับปริญญาโท (Master Degrees)
  4. ระดับปริญญาโท (Master Degrees)

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/153

ชื่อเรื่อง:  การพัฒนากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS
ชื่อเรื่องอื่นๆ:  A Development of Mathematics Instructional Activities on Addition and Subtraction of Numbers with Results, Augend and Minuend not More Than 20 for Prathom Suksa1, Based on QSCCS Model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
คำสำคัญ:  การพัฒนากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์
การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์ตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
การเรียนการสอนแบบ QSCCS
Mathematics teaching development
Addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 The Pathom Suksa 1 student
QSCCS teaching technique
วันที่เผยแพร่:  2562
สำนักพิมพ์:  มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง:  http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1460&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนเรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยใช้รูปแบบ QSCCS 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน จากจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 5 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ QSCCS แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 10 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบ QSCCS ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.11/86.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ในภาพรวมอยู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
URI:  http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: ระดับปริญญาโท (Master Degrees)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:

แฟ้มรายละเอียดขนาดรูปแบบ 
59170440.pdf Wimol Manop 1.41 MB Adobe PDF ดู/เปิด

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และ ตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/ 2   โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ   ปีการศึกษา       2552    โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย                     นางบรรจง  เสถียรสิริวิวัฒน์

 บทคัดย่อ

                 การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ3 )เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนเรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ   4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์    

                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 22  คน  แบบเจาะจง  โดยใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังปฏิบัติการ ผู้วิจัยใช้เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  เรื่อง  “  การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100  ”  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ดังนี้      1)   การบวกที่มีผลบวกไม่เกิน  100   2) โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน  100  3)   การลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน  100   4 ) โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน  100  โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการของนักวิชาการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ    ขั้นการวางแผน  ขั้นปฏิบัติการ  ขั้นสังเกตและบันทึกผล    และการสะท้อนผล  โดย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  18   แผน แบบฝึกทักษะ จำนวน 18   ชุด   และแบบวัดผลและประเมินผลผู้เรียน  แบ่งเป็น  3  ชุด  คือ  1) แบบทดสอบก่อน- หลังเรียน    2)  แบบบันทึกสังเกตความรับผิดชอบ   3)  แบบประเมินความพึงพอใจ   เครื่องมือเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน   5  ท่าน  มีความสอดคล้อง  ( IOC ) มีค่าตั้งแต่  .50   ขึ้นไปทุกรายการ  ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนการวิจัยด้วยตนเองตั้งแต่เดือน  ธันวาคม  2552 – มกราคม  2553    ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ ส่วนข้อมูลในเชิงปริมาณได้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การคำนวณผู้วิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  SPSS for Window

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 

                1. ภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 86.28 / 84.77 สูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80  ซึ่งผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

               2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.77  สูงกว่าก่อนการวิจัย  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.55 โดยเพิ่มขึ้น  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.23

                3. ความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการเรียนรู้  เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ ระหว่างการพัฒนาตลอดการวิจัย  อยู่ในระดับสูง   คิดเป็นคะแนนร้อยละ 98.24

           4.    ความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง  “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ  อยู่ในระดับมาก    คิดเป็นคะแนนร้อยละ  82.22  ความคิดเห็นใกล้เคียงกัน (X รวม = 4.11  ,  S.D.  = 0.57)