วิจัยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน full text


  1. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository
  2. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository - คลังปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  3. Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/247

Title:  การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Other Titles:  Administrion of Student Suppport System in the Elementary Schools in Samut Pradarn Educational Service Area Zone 1
Authors: 
Mapradit, Jidapa
Keywords:  โรงเรียนประถมศึกษา - การบริหาร
การบริหารการศึกษา
Issue Date:  2013
Publisher:  Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract:  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ในการบริหาร ระดับการศึกษา และขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้าฝ่ายทั้ง 4 ฝ่าย จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ การคัดกรองนักเรียน 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการบริหารและระดับการศึกษาที่ต่างกัน พบว่าไม่มีความแตกต่าง เมื่อจำแนกตามอายุและขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053) ปัญหาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนในภาพรวม พบว่า ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ส่วนข้อเสนอแนะการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวม ได้แก่ ผู้บริหารควรมีการประชุมผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง และมีการปรุชุมครูเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ครูเข้าใจตรงกัน โรงเรียนควรมีการระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง และชุมชนในการช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
URI:  http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/247
Appears in Collections: Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21Conditions, Problems and Guidelines for Operational Development on Student Assistance System in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 ผู้จัดทำวุฒิพงษ์ พันทิวา รหัส 58421229224 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาปี พ.ศ.2563ที่ปรึกษารองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตรบทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพ และปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,185 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง.44 - .83 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 และปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .56 - .96 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ One–Way ANOVA และ t-test ชนิด independent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับน้อย

3. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและจำนวนบุคลากรในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันและจังหวัดที่เป็นที่ตั้ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและจำนวนบุคลากรในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน จังหวัดที่เป็นที่ตั้ง และระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 นำเสนอ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการโดยกำหนดนโยบาย จัดทำแผนการดำเนินงานหรือปฏิทิน จัดกิจกรรมโฮมรูม การเยี่ยมบ้านนักเรียน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ดำเนินการโดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่มพิเศษ สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง 3) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ดำเนินการโดยสร้างความร่วมมือจากบุคลากรและทุกคนที่เกี่ยวข้อง และ 4) ด้านการส่งต่อนักเรียน ดำเนินการโดยการส่งต่อภายใน โดยครูที่ปรึกษาประสานครูฝ่ายปกครองและครูแนะแนว การส่งต่อนักเรียนภายนอกการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาเกินกว่าความสามารถของครูจะพัฒนาได้

Abstract

The purposes of this research were to investigate and compare operational conditions and problems concerning operational development on student assistance system in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 (SESAO 21), and to establish the guidelines for operational development on student assistance system in schools under the SESAO 21. The sample size of 175 people was drawn from a population of 2,185 people comprising school administrators, teachers in charge, and class/homeroom teacher in the 2018 academic year. The tool for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaire containing the operational conditions and problems of student assistance system in schools with the discriminative power ranged in value from .44 to .83 and .56 to .96 and the reliability of .98, and .99, respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA and Independent Samples t-test.

The findings were as follows:

1. The operational conditions of student assistance system in schools under the SESAO 21 were at a high level.

2. The operational problems of student assistance system in schools under the SESAO 21 were at a low level.

3. The operational conditions of student assistance system in schools under the SESAO 21 as classified by school sizes, showed an statistically significant overall difference of 01. In terms of distance from school to the provincial SESAO and number of school personnel, the differences as a whole, were at the level of .05 statistical significance. In terms of present positions and provincial location, there were no overall differences.

4. The operational problems of student assistance system in schools under the SESAO 21, as classified by participants with different school sizes and number of school personnel, were overall different at the level of .05 statistical significance. In terms of provincial location and distance from school to the provincial SESAO, there were no overall differences.

5. The proposed guidelines for developing student assistance system in schools under the SESAO 21 comprised four aspects: 1) Knowing Individual Student. This aspect should entail establishing school policies, action plans or work schedule, homeroom activities, and home visits; 2) Student Screening. To implement this aspect, the following operations should be established: Categorizing students into four groups: normal group, at-risk group, problematic group and specific group, and creating teacher-parent cooperation; 3) Prevention and Solutions to Student Problems. The operations should include the following: Building cooperation among personnel and relevant stakeholders; and 4) Student Transferring. The following operations should be established: Transferring students within the departments by class teachers through student affairs teachers and guidance teachers, and outside agencies in situations unrelated to their school academic environment.

คำสำคัญระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน KeywordsStudent Assistance Systemไฟล์วิทยานิพนธ์

ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,907.17 KB

วันที่นำเข้าข้อมูล21 มิถุนายน 2563 - 22:00:25

View 1454 ครั้ง