ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

ช่วงปี 2020 ถือว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤตอีกครั้งหนึ่งของโลก จากการระบาดของ COVID-19 จนทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าหากเราย้อนดูตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจโดยเฉพาะของไทย ปี 2020 น่าจะเป็นอีกช่วงเวลาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสูงติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน

เมื่อเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ 'การจ้างงาน' ที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีคนบางกลุ่มที่ตกงาน หรือมีการถูกหักโอที ปรับลดลงเงินเดือน ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาด 'สภาพคล่อง' ในการดำรงชีวิต เนื่องจากเมื่อรายได้หดหายไปแต่รายจ่ายไม่ได้ลดตามไปด้วย ทำให้บางคนมีกระแสเงินสดติดลบได้

เมื่อเวลาที่เราประสบกับเหตุการณ์ที่ขาดสภาพคล่องหลายคนมักจะมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่ม 'สภาพคล่อง' และ 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ก็เป็นแหล่งที่ถูกหมายตามากที่สุดแหล่งหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแหล่งเก็บเงินอื่น ๆ แต่รู้กันหรือไม่ว่าการถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุเกษียณนั้นมี 'ค่าใช้จ่ายแฝง' ที่ตามมา

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่เห็นในรายงาน เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องของภาษีเพิ่มเติม ซึ่งโดยทั่วไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรานั้นจะประกอบด้วยเงิน 4 ส่วน
1. เงินสะสม คือ เงินของสมาชิกที่ออม 2-15% ของรายได้เข้ากองทุนทุกเดือน
2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างออมเพิ่มเติมให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสะสม 
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบ

ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' แล้วจะต้องมีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติมจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

กรณีที่ 1: ถอนเงินจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานหรือออกจากงานโดยที่อายุงานน้อยกว่า 5 ปี สำหรับกรณีนี้จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 ไปคิดรวมกับเงินได้ในปีที่เราถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่ 2: ออกจากงานที่อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ 
สำหรับกรณีนี้ จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกัน จากนั้นให้นำ "7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน" หักลบออกไป และให้หารด้วย 2 อีกครั้ง สุดท้ายให้เรานำเงินที่ได้จากคำนวณแล้วไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือสามารถยื่นแยกกับภาษีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ได้

สมมติว่าทำงานมา 15 ปี แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเมื่อเรานำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกันได้ 300,000 บาท จากนั้นให้นำ 7,000 มาคูณกับ 15 ปีที่เป็นจำนวนปีที่ทำงานจะได้เท่ากับ 105,000 บาท และเมื่อนำไปลบกับ 300,000 บาทจะได้ 195,000 บาท สุดท้ายให้เราหารด้วย 2 อีกครั้งจะคิดเป็นเงินเท่ากับ 97,500 บาท เงินจำนวน 97,500 บาทนี้ คือจำนวนเงินที่ไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือเราสามารถเลือกนำเงินจำนวนนี้ไปแยกยื่นเพื่อให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงได้อีกด้วยนั่นเอง 

แต่สำหรับกรณีที่ลาออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่เรานำออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน  ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษีที่เราต้องคำนวณให้ดีก่อนถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องอัตรา 'เงินสมทบ' ที่เราอาจจะไม่ได้รับเต็มจำนวนสำหรับกรณีที่เราถอนออกก่อนด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปจะมีเรื่องของ 'อายุงาน' เป็นตัวกำหนดว่าจะต้องทำงานอย่างน้อยกี่ปีถึงจะได้ 'เงินสมทบ' เต็มจำนวน ซึ่งถ้าถอนก่อนหน้าเวลาที่กำหนดจะได้อัตราเงินสมทบตามอายุงานตามที่แต่ละบริษัทกำหนด 

'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' คือ แหล่งเก็บเงินเพื่อการเกษียณที่ดีที่สุดตัวหนึ่งที่จะช่วยการันตีให้กับเราได้ว่าในยามที่เราเกษียณตัวเองแล้ว จะสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตให้เหมือนกับตอนที่เรายังทำงานได้ ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ออกก่อนกำหนด นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีโอกาสที่เราจะนำเงินไปใช้จ่ายผิดประเภท เนื่องจากโดยปกติแล้วคนเรามักมีแนวโน้มจ่ายเงินมากขึ้นเมื่อมีเงินสดถืออยู่ในมือจำนวนมาก ทำให้เรามีความเสี่ยงที่อาจจะมีเงินไม่พอกับการเกษียณก็เป็นไปได้เช่นกัน

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

ติดต่อเรา

อ่านเพิ่มเติม

ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

คลังความรู้

อ่านเพิ่มเติม

กองทุนรวม

  • กองทุนรวมคืออะไร
  • มูลค่าหน่วยลงทุน
  • ผลการดำเนินงาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนส่วนบุคคล

  • กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับบริษัท
  • คณะผู้บริหาร
  • ข่าวสารต่างๆ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา

เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง

  • Principal Financial Group
  • Principal Indonesia
  • Principal Islamic
  • Principal Malaysia
  • Principal Singapore

อื่นๆ

  • ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลดเอกสารกองทุน
  • พันธมิตรทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • คำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงการใช้บริการ
  • ความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การบริหารความเสี่ยง
  • คู่มือผู้ลงทุน
  • ตารางวันหยุดกองต่างประเทศ
  • คู่มือการลงทุน SSF/RMF
  • แบบฟอร์มต่างๆ
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้

© 2022 Principal Asset Management Co.,Ltd

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ในการให้บริการและปรับปรุงเนื้อหา เพื่อเข้าใจความต้องการและมอบประสบการณ์ที่ดีสำหรับคุณ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว และ คุกกี้

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพควรทำยังไงเมื่อลาออก

จัดการเงินสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออกจากงาน? ตามขั้นตอนแล้วสมาชิกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ คือ ออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน และเสียชีวิต โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวน พร้อมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม

ลาออกจากงานแต่ไม่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไหม

แม้ว่าตัวคุณจะลาออกจากบริษัทแล้ว แต่คุณก็ยังสามารถเลือกที่จะเก็บเงินของคุณไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ถ้าคุณยังถูกใจกับนโยบายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิม แต่คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้จำนวน 500 บาทต่อปี

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่วัน ได้

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...

ถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไหม

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่ ...