กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง

ปี 2564 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกปีที่หนักหนาสาหัส สำหรับพวกเราทุกคน แต่ก็น่ายินดีกับหลายๆ ท่านที่สามารถข้ามผ่านไปต่อได้ในปีนี้ แต่สำหรับหลายท่านที่ยังติดอยู่ในปีที่ผ่านมา คิดว่าควร Move On มาปีนี้ได้แล้ว มาตั้งต้นกันใหม่ ว่าเราจะทำยังไงกับการลงทุนในปีนี้ดี

จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่มีปัจจัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ทุกท่านอาจจะได้สัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งปัจจุบันอาจจะดูเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ทั้งเรื่องของการ WFH หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของการลงทุนทั้งใน ตลาดหุ้น และตลาดใหม่ ๆ อย่าง คริปโตเคอเรนซี่ โดยส่วนตัวมองว่า ปีหน้าเป็นปีที่เรา ๆท่าน ๆ ควรจะหันมามองเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปีที่แล้วมาเป็นบทเรียนที่สำคัญและเตรียมรับมือกับมัน ดีกว่าจะมานั่งเสียดายและเสียใจคร่ำครวญกับสิ่งต่าง ๆ ที่มันย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้

หลัก ๆ ที่อยากจะแนะนำสำหรับการลงทุนในปีนี้ในแบบฉบับของความคิดเห็นส่วนตัว ที่ลองนำมาใช้แล้วได้ผลและอยากจะแชร์ให้กับนักลงทุนก็คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งเรื่องนี้สามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ทำให้หลายคนอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ได้ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึงวิธีการบริหารจัดการเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการคาดการณ์ และลดทอนผลเสีย ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น โดยมีวิธีการจัดการต่างๆ มากมายหาอ่านในตำราได้ แต่สำหรับส่วนตัวแล้ว คิดว่าใช้กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงแบบ 4T เอาอยู่ โดยขออธิบายสั้น ๆ ดังนี้

1. Take (ยอมรับ) เป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งในระดับของพอร์ตการลงทุน และหุ้นรายตัวควรมีแผนสำรองสำหรับกรณีที่เลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีแผนในการจัดการหรือตั้ง Budget รองรับไว้ เช่น ตั้งมูลค่าที่จะเข้าลงทุนที่ยอมรับได้กับความผันผวนของหุ้น จะด้วยการประเมินคุณภาพของหุ้น หรือผลตอบแทนในอนาคตก็ตาม และอาจจะเตรียมแผนสำรองสำหรับที่จะเฉลี่ยต้นทุนไว้บ้าง หากมองว่าความเสี่ยงที่จะเกิด ยอมรับได้ สามารถลงทุนในระยะยาวได้ การลงทุนเพิ่มอาจจะเป็นโอกาสในการลงทุนที่ส่งผลดี

2. Treat (ลดหรือควบคุม) ความเสี่ยงชนิดนี้ยังเป็นความเสี่ยงที่รับได้แต่จำเป็นจะต้องหาวิธีการควบคุมไม่ให้เสี่ยงมากขึ้น หรืออาจจะดีกว่านั้นคือหาวิธีลดความเสี่ยงให้พอที่จะรับได้ เช่น ควบคุมกำหนดสัดส่วนการลงทุนหุ้นแต่ละตัว ไม่ให้มีสัดส่วนสูงเกินไปในพอร์ต ไม่ว่าจะ 10% หรือ 20% เพื่อควบคุมความเสี่ยงไม่ให้หุ้นบางตัวที่มูลค่าลดลงอาจจะกระทบมูลค่าการลงทุนทั้งพอร์ตมากเกินไป หรือการขายออกบางส่วนอาจจะสามารถลดและควบคุมจำกัดความเสียหายของพอร์ตการลงทุนให้ลดลงได้

3. Transfer (ถ่ายโอนหรือกระจาย) เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้แต่จะต้องมีกระบวนการเพิ่มเติมค่อนข้างมาก ในการโอน การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนหรือกระจายความรับผิดชอบกับผู้อื่น เช่น การทำประกันภัยสำหรับธุรกิจทั่วไป หรือ การกระจายการลงทุนในพอร์ตการลงทุน ให้มีทั้ง หุ้นที่พื้นฐานดี หุ้นหรือ REIT ที่มีอัตราผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอ และหุ้นที่เติบโตเร็ว ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ตัวของนักลงทุนเองจะยอมรับได้

4. Terminate (หยุดหรือหลีกเลี่ยง) เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ จำเป็นจะต้องหยุดหรือการดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น หุ้นบางตัวอาจจะกระทบมูลค่าการลงทุนทั้งพอร์ตมากไป ควรประเมินสถานการณ์ของหุ้นนั้นว่ายังคงมีคุณภาพดี หรือยังคงเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ตอนเริ่มลงทุนอยู่หรือไม่ หากสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว อาจต้องตัดสินใจ Cut Loss หุ้นบางตัวออกไป เพราะถ้าถือต่อไปก็จะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตเพิ่มอีกได้

กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง

ถึงแม้ว่า แนวทางการลงทุนที่แนะนำสำหรับนักลงทุนในปี 2565 จะเน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น แต่ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของหลักทรัพย์แต่ละตัวด้วย รวมถึงข้อมูลก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะให้การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก แต่เป็นไปเพื่อการลงทุนที่มีคุณภาพและยั่งยืน ช่วยลดความกังวลในการลงทุน แต่ถ้าหากนักลงทุนมีความกังวลมากเกินไป อาจส่งผลให้พอร์ตการลงทุนไม่เติบโตได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นนักลงทุนควรบริหารจัดการพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้เช่นกัน

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ 

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
          1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
          2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
          3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
          4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)


ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
          ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
          1) ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
          2) ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ


การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
          การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
          1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
          2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
          3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
          4) เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น


การควบคุม (Control)
          การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
          1) การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
          2) การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
          3) การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
          4) การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

ที่มา : เว็บไซต์ การบริหารความเสี่ยง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PDF)

การบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในตามแนวทางข้างต้น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ/ควบคุม

วิธีการจัดการความเสี่ยง มีกี่วิธี อะไรบ้าง

กำหนดความชัดเจนในจุดประสงค์ของธุรกิจ ... .
คาดการณ์ความเสี่ยง ... .
ประเมินความเสี่ยงที่จะทำให้คุณไม่บรรลุจุดประสงค์ ... .
จัดการกับความเสี่ยง ... .
ควบคุมความเสี่ยง ... .
ติดตามผล.

กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง มีอะไรบ้าง

การหลีกเลี่ยง (Avoid) การดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง.
การร่วมจัดการ (Share) การร่วมมือหรือแบ่งความรับผิดชอบกับผู้อื่นในการจัดการความเสี่ยง.
การลด (Reduce) การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสที่อาจเกิดขึ้นหรือผลกระทบความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้.

องค์ประกอบ ของการจัดการความเสี่ยงประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

ขั้นตอนของกระบวนการบริหารความเสี่ยง มี 3 ขั้นตอน คือ.
ความเสี่ยงเกี่ยวกับกลยุทธ์ (Strategic Risk).
ความเสี่ยงเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน (Operational Risk).
ความเสี่ยงเกี่ยวกับการรายงานทุกประเภท รวมทั้งรายงานทางการเงิน (Financial Risk).

การประเมินความเสี่ยงมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

วิธีการประเมินความเสี่ยงในที่ทำงานของคุณ.
ระบุเหตุการณ์เสี่ยงในที่ทำงานของคุณ ... .
ประเมินสถานการณ์และตัดสินใจ ใครที่อาจจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยง ... .
การบันทึกผลการวิจัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ... .
การประเมินผลการสอบทานความเสี่ยงและปิดความเสี่ยง.