Rmf ซื้อ กอง ไหน ดี

สำรวจผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( กองทุน RMF ) ประเภทลงทุนในหุ้น พบว่า 10 อันดับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) ส่วนใหญ่ยังเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยกลุ่ม SET50 เป็นหลัก โดยกองทุน Bualuang Infrastructure RMF เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ที่ 2.20% 

 

ขณะเดียวกันหุ้นที่กองทุน RMF มีการเข้าลงทุนมากที่สุด คือ บมจ.ปตท. (PTT), บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT), บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) 

 

Rmf ซื้อ กอง ไหน ดี

10 กองทุน RMF ที่ผลตอบแทนดีสุดตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน

Bualuang Infrastructure RMF ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2.20% ราคาปิด ณ 8 ส.ค. 2565 อยู่ที่ 28.52 บาท

Talis Equity RMF ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 1.71% ราคาปิด ณ 8 ส.ค. 2565 อยู่ที่ 12.61 บาท

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 1.38% ราคาปิด ณ 8 ส.ค. 2565 อยู่ที่ 10.89 บาท

Thanachart SET50 Retirement Mutual Fund ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 1.31% ราคาปิด ณ 8 ส.ค. 2565 อยู่ที่ 9.75 บาท

โค้งสุดท้ายแล้ว!! ใครที่กำลังมองหากองทุนลดหย่อนภาษี และยังไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนไหนดี วันนี้ aomMONEY มีกองทุนเด็ดจากทั้ง 4 ประเภทกองทุน RMF มาให้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซา มักทำให้บรรยากาศการลงทุนผันผวนตามไปด้วย หลายคนประสบปัญหาการเงินฝืดเคือง และไม่รู้ว่าควรจะเน้น เก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ก่อน หรือเอาไปลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก่อนดี 

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว “เงินลงทุน” กับ “เงินฉุกเฉิน” ควรต้องแยกออกจากกัน แน่นอนว่าเงินสำหรับยามฉุกเฉินเป็นเรื่องที่จำเป็น ขณะเดียวกันเราก็ควรต้องกันเงินเอาไว้เพื่อลงทุนด้วย แต่เงินทั้งสองกองนี้ก็เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ด้วย

ตัวอย่างเช่น ก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 เคยซื้อกองทุน RMF 1 แสนบาท แต่ปีนี้รายได้เท่าเดิมหรือลดลง แต่รายจ่ายเพิ่มสูงขึ้น ดูแล้วเงินอาจจะติดขัด ดังนั้น ความจำเป็นในระยะสั้นก็ต้องมาก่อน ก็อาจจะซื้อกองทุน RMF ด้วยจำนวนเงินที่ลดลง เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกปีก็ได้ ทั้งนี้ ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนในกองทุน RMF ควรพิจารณาข้อมูลทั้ง 4 ข้อนี้ให้ดีเสียก่อน  

1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นๆ มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน? 

ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์แต่ละ บลจ. หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)

2. กองทุนนั้นใครเป็น ‘ผู้จัดการกองทุน’?

กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่ดี มีประสิทธิภาพ ถ้าเทียบกับ กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่แย่ ผลตอบแทนต่อปีอาจจะแตกต่างกันอย่างลิบลับ โดยเราสามารถดูข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุน (Fund Fact Sheet) เช่น ดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง ซึ่งจะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารของผู้จัดการกองทุนนั้นๆ ด้วย 

3. นโยบายและสไตล์การบริหารกองทุนเป็นอย่างไร? 

กองทุนบางกองอาจจะมีนโยบายบริหารกองทุนที่เน้นการซื้อขายบ่อยๆ คือ มีอัตรา Turnover Ratio สูง บางกองอาจจะมีนโยบายบริหารกองทุนให้มี Turnover Ratio ต่ำๆ คือไม่เน้นซื้อขายบ่อย ๆ เป็นต้น โดยอัตรา Turnover Ratio บอกถึงการบริหารพอร์ตลงทุนของกองทุนนั้นเป็นอย่างไร ซึ่ง บลจ.จะประกาศข้อมูลในรายงานประจำปีของแต่ละกองทุน 

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการจัดค่าความเหมาะสมของอัตรา Turnover Ratio แต่ในสหรัฐอเมริกาได้จัดค่ามาตรฐานไว้ที่ 100% ดังนั้น ถ้าอัตรา Turnover Ratio สูงๆ แสดงว่าผู้จัดการกองทุนปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุนบ่อย แต่ถ้ามีอัตราต่ำๆ แสดงว่าไม่ค่อยปรับเปลี่ยนพอร์ตลงทุน

4. ผลการดำเนินงานในอดีตทำได้ดีแค่ไหน?  

ต้องศึกษาผลตอบแทนในอดีตว่าเป็นอย่างไร ทำผลตอบแทนได้เพราะอะไร ทำไมถึงทำได้ ถึงแม้ว่าสำนักงาน ก.ล.ต. จะบอกว่าผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บอกอนาคต แต่อย่างน้อยก็บอกได้ว่าหากผลงานในอดีตทำได้ดี ในอนาคตก็น่าจะทำได้ดี หรือหากอดีตทำได้แย่ นักลงทุนต้องคิดแล้วว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยดูผลดำเนินงานย้อนหลัง (เช่น 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี, 10 ปี) เพราะถึงแม้จะเป็นกองทุน RMF เหมือนกัน แต่กองทุนแต่ละกองนั้นจะให้ผลตอบแทนต่างกัน บางกองทุนสร้างผลตอบแทนเป็นบวก บางกองทุนติดลบ

จากความหลากหลายของกองทุน RMF ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าชอบการลงทุนแบบไหน โดยสามารถเลือกลงทุนได้ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำๆ ไปจนถึงความเสี่ยงสูง ซึ่งมีความหลากหลายในการเลือกลงทุน 

อีกทั้ง ในระหว่างทางที่ลงทุน สามารถสับเปลี่ยน (Switch) กองทุนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนของตัวเอง และสภาวะการลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย สำหรับใครที่ต้องการสับเปลี่ยนกองทุน RMF สามารถสับเปลี่ยนกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัดจำนวน กรณีสับเปลี่ยน บลจ.เดียวกันจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สับเปลี่ยนต่าง บลจ. อาจมีเอกสารและค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องศึกษาข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแต่ละ บลจ. ด้วย 

ลงทุนในกองทุนไหนดี
ได้ประโยชน์ด้านการลงทุน
และลดหย่อนภาษี เพียงตอบแบบสอบถามสั้นๆ
เพื่อให้เราแนะนำพลิตภัณฑ์กองทุน SSF,RMF
ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

เก็บออมเงินเพื่อลงทุนระยะยาว 10 ปี

ผู้ลงทุนที่อายุน้อยกว่า 45 ปี

สะสมเงินเกษียณต่อเนื่อง 5 ปีจนอายุ 55 ปี

ผู้ลงทุนอายุ 45 ปีขึ้นไป

  • ช่วยประหยัดหรือขอคืนภาษีได้ เช่น
    • เงินเดือน 50,000 บาท ขอคืนภาษีได้ประมาณ 10%ของเงินลงทุน
    • เงินเดือน 100,000 บาท ขอคืนภาษีได้ประมาณ 20%ของเงินลงทุน
  • ช่วยเพิ่มวินัยลงทุน ด้วยเงื่อนไขการลงทุนระยะยาว และลดความกังวลใจในการลงทุน ด้วยเงินคืนภาษีที่เหมือนส่วนเพิ่มผลตอบแทนหรือเงินชดเชยในช่วงที่ขาดทุน
  • มีนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่หลากหลาย เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้นไทย/หุ้นต่างประเทศ
  • สามารถปรับเปลี่ยนเงินลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ด้วยการสับเปลี่ยนกองทุน SSF ด้วยกัน หรือกองทุน RMF ด้วยกัน ระหว่างที่ยังไม่ครบเงื่อนไขขายคืน

  • เงินที่ลงทุน ต้องถืออย่างน้อย 10 ปีเต็ม (วันชนวัน) โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง
  • ลงทุนได้ไม่เกิน 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 200,000 บาท*
  • SSF บางกองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ตอบโจทย์คนที่ต้องการเงินคืนระหว่างทาง
  • เหมาะกับคนอายุน้อยกว่า 45 ปี ที่อยากลงทุนให้งอกเงย พร้อมกับลดหย่อนภาษี
  • * กองทุน SSF + กองทุน RMF + ประกันบำนาญ + กองทุนเกษียณอื่น ใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท

  • ต้องลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม
  • ลงทุนได้ไม่เกิน 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 500,000 บาท*
  • RMF ทุกกองทุนไม่จ่ายเงินปันผล เพื่อเน้นสะสมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ
  • เหมาะกับคนที่อยากสะสมเงินพื่อเกษียณ หรือคนที่อายุมากกว่า 45 ปี และอยากลงทุนให้งอกเงย พร้อมกับลดหย่อนภาษี
  • * กองทุน SSF + กองทุน RMF + ประกันบำนาญ + กองทุนเกษียณอื่น ใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท