บทบาทหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคารที่มีต่อผู้ถือหุ้นในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคารและผู้ถือหุ้น

1. คณะกรรมการธนาคารประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และมีภาวะผู้นำซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยมีทั้งกรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และกรรมการอิสระ ทั้งนี้ จำนวนและสัดส่วนของกรรมการประเภทต่างๆ จะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความจำเป็นที่เปลี่ยนแปลงไป

2. คณะกรรมการธนาคาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และแนวทางการประกอบธุรกิจของธนาคาร และกำกับดูแลการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยหน้าที่และความรับผิดชอบหลักดังกล่าว จะครอบคลุมทั้งในด้านการให้นโยบายหรือข้อชี้แนะในการประกอบธุรกิจแก่ฝ่ายจัดการ และกำกับดูแล การทำงานของฝ่ายจัดการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธนาคารและผู้ถือหุ้น

3. คณะกรรมการธนาคารกำหนดให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดวันประชุมล่วงหน้าเป็นประจำตลอดทั้งปี และอาจมีการเรียกประชุมเพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสม

4. ในการประชุมคณะกรรมการธนาคาร กรรมการสามารถอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น ตลอดจนใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจได้อย่างอิสระ

5. คณะกรรมการธนาคารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดให้มีการทำรายงานทางการเงินของธนาคารให้ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

6. คณะกรรมการธนาคารจะจัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เพื่อช่วยกลั่นกรองงาน ศึกษาในรายละเอียด ติดตามหรือกำกับดูแลในเรื่องสำคัญตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย โดยให้มีองค์ประกอบ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และความจำเป็นของธนาคาร เช่น คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เป็นต้น

7. ธนาคารกำหนดการดำรงตำแหน่งในบริษัทอื่นของกรรมการธนาคาร รวมถึงประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย และแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจสถาบันการเงิน รวมทั้งมีการจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการแต่ละคนซึ่งรวมถึงประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งจะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นได้ไม่เกิน 5 แห่ง

8. ธนาคารมีการพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนของประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมและการประกอบธุรกิจในฐานะสถาบันการเงินของประเทศ ทิศทาง และผลการดำเนินของธนาคาร ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

9. ธนาคารส่งเสริมสนับสนุนให้กรรมการธนาคารเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงาน และเข้าร่วมในหลักสูตรอบรมหรือกิจกรรมการสัมมนาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและต่อธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดรับเทศกาลตรุษจีน ปี 66 เพิ่มอีก 40,000 ล้านบาท ผ่านสาขาธนาคาร และตู้บัวหลวงเอทีเอ็ม เกือบ 10,000 จุดทั่วประเทศ รองรับการจับจ่ายซื้อของไหว้ ช้อปของขวัญ ใส่ซองอั่งเปา พร้อมมาตรการช้อปดีมีคืน หนุนบรรยากาศใช้จ่าย-ท่องเที่ยว ช่วงตรุษจีนปี 66 ให้คึกคักมากยิ่งขึ้น

17 มกราคม 2566

บทบาทหน้าที่ของธนาคารมีอะไรบ้าง

ธนาคาร หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน หรือเป็นตัวกลางที่รับเงินออม จากผู้มีเงินออมต่าง ๆ มาให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืม เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคหรือเพื่อการลงทุน การเกิดขึ้นของธนาคารในประเทศไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์มีบริการทางด้าน การเงินครบวงจรให้แก่ลูกค้าทุกประเภท ทั้งที่เป็น บริษัทขนาดใหญ่ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย ได้แก่ การรับฝากเงิน การโอนเงิน การให้กู้ยืมประเภทต่างๆ การรับซื้อลด การรับรองอาวัล ค้ำประกัน บริการด้านปริวรรตเงินตรา Bancassurance บริการด้านการค้าต่างประเทศ บริการ Cash ...

ธนาคารกรุงเทพให้บริการอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร.
บัญชีเงินฝาก เพื่อนคู่คิดเคียงข้าง ทุกเส้นทางการออม ... .
บัตรเดบิต ปลอดภัย มั่นใจ กับบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท บัตรเดบิตชิปการ์ด หลากหลายสไตล์บัตร เลือกได้ตามสไตล์คุณ พกไว้สะดวกคู่ใจ ทั้งช้อป กดเงิน เดินทาง ครบในบัตรเดียว ... .
ประกันชีวิต ... .
ประกันวินาศภัย ... .
กองทุนรวม ... .
ธุรกรรมต่างประเทศ ... .
บัตรเครดิต ... .
สินเชื่อบัวหลวง.

ธนาคารกรุงเทพคือธนาคารอะไร

BBL ธนาคาร กรุงเทพ จ ากัด (มหาชน) Indian ธนาคาร อินเดียนโอเวอร์ซีส์สาขากรุงเทพฯ SCBT ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จ ากัด (มหาชน)