การจ่ายเงินสงเคราะห์สวนยาง2564

ในส่วนของยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)   ได้ดำเนินโครงการมาแล้ว  3 ระยะ วงเงินรวม 33,945.52  และอยู่ระหว่างจะเสนอประกันรายได้ในระยะที่ 4   ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำรงอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยาง

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)  กล่าวว่า  ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด 19 นั้นปริมาณการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นทวีคูณ ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับปรับขึ้นตามไปด้วย  ปัจจุบันที่เงินบาทอ่อนค่า ยิ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกยางพาราให้เพิ่มขึ้น

การจ่ายเงินสงเคราะห์สวนยาง2564

การจ่ายเงินสงเคราะห์สวนยาง2564

แต่การส่งออกยางพารายังมีปัจจัยลบที่เป็นปัญหาและส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรได้รับมีความผันผวน เนื่องจาก  ผู้ประกอบการที่สั่งซื้อยางพาราก่อนหน้านี้จำนวนมาก ตัดสินใจทิ้งออเดอร์ซื้อล่วงหน้า โดยยอมเสียค่าปรับ เพราะความต้องการในตลาดปลายทางลดลง เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะจีน ที่ยอดขายในเดือนพ.ค.2565 ลดลง 12.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนเพื่อ

 ทำให้ราคายางพาราปัจจุบันปรับตัวลดลง  23% จากปลายไตรมาส 2( 30 มิ.ย.2565 )โดยราคายางแผ่นดิบรมควัน ชั้น 3 ราคา 48.58 บาท/กิโลกรัม(กก.) น้ำยางสด ราคา 45.50 บาท/กก. ลดลงจากราคา 59.78 บาท/กก.

“ กยท. อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูล เพื่อเสนอให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวน เฟส 3 ดำเนินการเมื่อ 1 ต.ค.2564-มี.ค.2565 โครงการของบประมาณ 10,065.688 ล้านบาท งบที่ใช้จริง 2,319.59 ล้านบาท

     โดยในระยะที่ 3 ซึ่งใช้งบประมาณการชดเชยส่วนต่างน้อยกกว่าระยะที่ 1 และ 2 ดังที่กล่าว เนื่องมาจากความต้องการของตลาดมีมากขึ้น เป็นผลให้ช่วงต้นปีที่ผ่านมาราคายางพาราเริ่มฟื้นกลับมาสูงกว่าราคาที่รัฐประกันไว้ ดังนั้น งวดที่ 5 และ 6 ของระยะที่ 3 จึงไม่มีการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างแก่เกษตรกรแต่อย่างใด

การจ่ายเงินสงเคราะห์สวนยาง2564

“ธ.ก.ส.” กดปุ่มจ่ายเงินประกันรายได้ชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ให้เกษตรกรแล้ว 3.81 แสนราย วงเงิน 739 ล้านบาท หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำ-ภัยธรรมชาติ-ผลกระทบจากโควิด-19 ปักหมุดเดินหน้าจ่ายอีกเดือนละครั้ง จนถึง ก.ย. 2565

10 ธ.ค. 2564 นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เริ่มโอนเงินประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 สำหรับงวดเดือน ต.ค.-พ.ย. 2564 แล้วกว่า 739 ล้านบาท สำหรับเกษตรกร 381,480 ราย เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่แน่นอนจากการประกันรายได้ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำ จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตโควิด-19 ปัญหาภัยธรรมชาติ และช่วยสร้างความมั่นคงในอาชีพ

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเกษตรกร 1.88 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 19.16 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณ 9,783.61 ล้านบาท โดยประกันรายได้ตามการผลิตแต่ละประเภท ได้แก่ ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม, น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันราคา 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันราคา 23 บาท/กิโลกรัม กำหนดระยะเวลาประกันรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือน ต.ค. 2564 – มี.ค. 2565)

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรชาวสวนยางต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่การปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยเป็นสวนยางพาราอายุ 7 ปีขึ้นไป ที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน โดย กยท. จะทำการตรวจสอบและรับรองสิทธิ์ พร้อมทั้งประมวลผล ส่งมายัง ธ.ก.ส. เพื่อให้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

อย่างไรก็ดี ซึ่งเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = (ราคายางที่ประกันรายได้-ราคาอ้างอิงการขาย) X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ หากเจ้าของสวนกรีดเองจะได้รับส่วนต่างประกันรายได้ทั้งจำนวน กรณีจ้างกรีดยาง เจ้าของสวนยางจะได้ 60% และคนกรีดจะได้ 40% ของรายได้ทั้งหมด โดยมีการประกาศราคากลางอ้างอิงทุกเดือน และจะมีการจ่ายเงินเดือนละครั้ง ตั้งแต่บัดนี้ถึงเดือน ก.ย. 2565 ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบการโอนเงินได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

การจ่ายเงินสงเคราะห์สวนยาง2564

Tagsธ.ก.ส.ประกันรายได้สวนยาง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฮ ธ.ก.ส. ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ยังตรึงดอกเบี้ยเงินกู้

ธ.ก.ส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำสูงสุดร้อยละ 0.20 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อสนับสนุนการออมและเพิ่มผลตอบแทนให้กับลูกค้า พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาภาระให้กับลูกค้าในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ชาวนา รอรับเงินประกันรายได้ งวดที่ 9 อีก 150 ล้านบาทวันนี้

ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 9 อีกกว่า 150 ล้านบาท 15 ธันวาคมนี้

นายกฯ จ่ายเงินรอบสอง 1.78 พันล้าน เยียวยาชาวนา 2 แสนราย

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ชาวนาเฮลั่น 4.7 ล้านครัวเรือนแห่กดเงิน 'ประกันรายได้-ค่าไถหว่าน'

ชาวนาเฮลั่น 'จุรินทร์' ส่งพาณิชย์ติดตามดูแลช่วงเงินออก พบ 4.7 ล้านครัวเรือนปลื้มหนัก กดเงิน 'ประกันรายได้-ค่าไถหว่าน' ด้วยมือเกษตรกรเองตรงทุกตู้เอทีเอ็ม

เกษตรกรเฮ นายกฯ กดปุ่มเริ่มโอนเงินประกันรายได้เข้าบัญชีแล้ว

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกร โดยได้

'บิ๊กตู่' ลั่น จากนี้ไปจะติดตามผลและเร่งรัดการดำเนินงานนโยบายต่างๆของรัฐบาล

'บิ๊กตู่'โพสต์ต่อจากนี้ไปจะพยายามติดตามผลและเร่งรัดการดำเนินงานนโยบายต่างๆ แก้ปัญหายาเสพติด กดปุ่มโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ตั้งใจให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้ไทยก้าวขึ้นเป็น 'ครัวโลก'