กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่างๆ ต้องจัดทำขึ้น ซึ่งข้อดีมีมากมาย ทั้งให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร เข้าใจกฎเกณฑ์ ข้อบังคับการทำงาน ข้อควรปฏิบัติและอื่นๆ ที่บริษัทต้องการให้พนักงานรับทราบ

ปัจจุบัน Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ของแต่ละบริษัทก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลของบริษัทตนเอง
ในปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่ หลายบริษัทก็มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มและส่งมอบให้พนักงาน และเซ็นต์รับทราบรายละเอียด กฎข้อบังคับการทำงานไปพร้อมๆ กันเลย ซึ่งถ้ามาลองคิดดูแล้วการจัดทำคู่มือก็ใช้งบประมาณค้อนข้างสูงเช่นกัน ยกตัวอย่าง พนักงาน 300 คน คนละเล่ม เลือกแบบรูปเล่มที่ไม่แพงมาก 4 สี น่าจะราคาเล่มละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท บวกกับมีพนักงานเข้า-ออกอีก ดูแล้วค่าใช้จ่ายเยอะไม่ใช่น้อย บางบริษัทลงทุนน้อยก็ถ่ายเอกสารเอา หรืออย่างงายก็ปิดประกาศไปเลย ซึ่งทั้งหมดก็มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้พนักงานรับทราบรายละเอียดบริษัท ข้อบังคับการทำงาน บทลงโทษ หรืออื่นๆ แต่พนักงานอ้างว่าไม่ได้อ่าน เมื่อกระทำความผิด เราจะลงโทษเค้าได้อย่างไร

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ในยุค 4.0 ยุคที่มีโซเชียล Line, Facebook เราต้องมาทำอย่างนี้กันอยู่อีกหรือ หากต้องการให้พนักงานได้รับทราบกฎระเบียบของบริษัท
จะดีกว่าไหม หากมี Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ที่เป็น Applications ให้พนักงานสามารถอ่านที่ไหน เวลาไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกอีกทางหนึ่ง ของการบริหารทรัพยากรบุคคล พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการผลิตคู่มือให้สำหรับพนักงานในเวลาเดียวกัน อีกทั้ง ยังสามารถทราบได้อีกว่าพนักงานคนไหนอ่านแล้วบ้าง และยังสามารถให้พนักงานกดตกลงเพื่อรับทราบกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน และบทลงโทษ หรือสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย

 
แค่นี้ก็เป็นเรื่องง่ายๆ อีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระงานด้านบริหารทัพยากรบุคคล แถมยังสามารถรู้ได้อีกด้วยว่าพนักงานคนใดตอบตกลง รับทราบเงื่อนไขของบริษัทได้แล้วบ้าง แค่นี้ก็ช่วยให้งาน HR เบาลงไปเป็นกองแล้ว

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร


กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

กฎ ระเบียบ พนักงาน ร้านอาหาร

ระเบียบข้อบังคับ ในการทำงาน

บริษัท พรีเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

1. วัน – เวลาทำงาน, เวลาพัก และการเข้างาน

                            บริษัทฯ ได้กำหนดวัน- เวลาทำงานไว้ดังนี้

    •       ฝ่ายบริหารและสำนักงาน ได้แก่ พนักงานที่ทำงานอยู่ในฝ่ายบัญชีการเงิน, ฝ่ายจัดซื้อ, ฝ่ายการขายและบริการลูกค้า, ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและงานธุรการทั่วไปมีวันทำงานสัปดาห์ละ 5          วัน คือ วันจันทร์ ศุกร์ เวลา 09.00 -18.00 น.
    •      ฝ่ายผลิต มีการทำงานในลักษณะเป็นกะ ดังนี้

                         พนักงานกะเช้ามืด

ปฏิบัติงานตั้งแต่วันจันทร์วันศุกร์ ระหว่างเวลา         05.00น. 14.00น. โดยยืดหยุ่นให้ทำครบ 8 ชั่วโมงทำงานโดยไม่รวมเวลาพัก

                         พนักงานกะกลางวัน

         สัปดาห์แรก                         วันจันทร์ วันศุกร์         เข้างานยืดหยุ่นระหว่าง   เวลา   07.00น. - 08.00น. และ เลิกงานสิ้นสุด    เวลา   17.00น. - 18.00น.

                                    (โดยยืดหยุ่นให้ทำครบ 9 ชั่วโมงทำงานโดยไม่รวมเวลาพัก)

                       วันเสาร์                           ระหว่างเวลา    8.00 น.  - 17.00 น.  (อย่างน้อย 5 ชั่วโมง)

                                    (แต่ผู้บังคับบัญชาอาจอนุญาตให้เลิกงานเวลา 13.00 น.ก็ได้)

        สัปดาห์ที่สอง                     วันจันทร์ วันศุกร์       เข้างานยืดหยุ่นระหว่าง     เวลา    07.00น. - 08.00น.  และ เลิกงานสิ้นสุด   เวลา    17.00น. - 18.00น.

        สัปดาห์ที่สาม                     วันจันทร์ วันศุกร์        เวลา        14.00น. 22.00น.

                        (หมายเหตุ: ตารางเวลาปฏิบัติงานกะกลางวันจะนับรอบวนทุกๆ 3 สัปดาห์ โดยหลังจากสิ้นสุดการทำงานในสัปดาห์ที่ 3 แล้วให้วนกลับไปใช้ตารางเวลาปฏิบัติงานของสัปดาห์แรก)

                        พนักงานกะกลางคืน

                                                                        วันจันทร์ – วันศุกร์      เข้างานยืดหยุ่นระหว่าง   เวลา   21.00น.  และ เลิกงานสิ้นสุดระหว่าง   เวลา    06.00น.

                                                                                (โดยยืดหยุ่นให้ทำครบ 8ชั่วโมงต่อวัน และเวลาพัก 1 ชั่วโมง รวมเป็น 9 ชั่วโมงต่อวัน)

 2.     เวลาพัก 

                            บริษัทฯจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง หลังจากทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเวลาพักตามความเหมาะสม ซึ่งจะได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า สำหรับงานกะ ให้มีการผลัดเปลี่ยนเวลากันไปพัก ไม่ว่างานสำนักงานหรืองานกะก็ตาม โดยจะให้พักไม่น้อยกว่าครั้งละ 30นาที และเมื่อรวมกันแล้วจะให้พนักงานมีเวลาพักวันละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ไม่วาจะเป็นการทำงานปกติหรือทำงานในกะใด ๆก็ตาม

         ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินที่ไม่อาจหยุดทำได้เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้เวลาพักตามกำหนดในข้อ 3 ได้ บริษัทฯจะเปลี่ยนแปลงเวลาพักตามความเหมาะสมเป็นคราวๆไป โดยจะมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากการทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

หมายเหตุ  : 1).บริษัทฯ สามารถจะจัดทำกำหนดเวลาการทำงาน ชนิดใหม่ที่แตกต่างกับที่กล่าวมานี้ได้หากมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น  และในกรณีดังกล่าวบริษัทฯ จะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าถึงชั่วโมงการทำงานซึ่งจะต้องไม่เกินกว่าชั่วโมงทำงานตามปกติ เช่นนั้น  โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

        1.                           พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาทำงานที่ บริษัทฯ แจ้งให้ทราบอย่างเคร่งครัด

2.                           บริษัทฯ สงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวันทำงาน เวลาทำงาน วันหยุดและเวลาพักได้ตามความเหมาะสมกับการบริหาร บางส่วน บางแผนก หรือทั้งหมดได้  ถ้าบริษัทฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเป็นการสมควรเพื่อเสริมสมรรถภาพในการทำงานเพื่อเหตุอื่นใด โดยแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า  โดยบริษัทฯ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน

การมาทำงานสาย   และการเลิกงานก่อนเวลา

1.             การมาทำงานสาย     พนักงานผู้ใดมาทำงานสาย ไม่เกิน 15นาที สามารถทำงานชดเชยได้ตามจริง หากเข้างานสายเกินกว่า 15 นาทีทางบริษัทฯจะคำนวณจ่ายค่าจ้างรายนาทีโดยหักค่าจ้างตามนาทีที่สาย โดยพิจารณาจากการบันทึกเวลาเข้างานของพนักงาน กรณีมีเหตุฉุกเฉินอันสุดวิสัยซึ่งอาจทำให้มาเข้างานล่าช้ากว่าเวลาเข้างานปกติที่กำหนดไว้  จะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลก่อนเวลาเริ่มงาน  ซึ่งทางบริษัทฯจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยอาจจะให้ทำงานชดเชยเท่ากับระยะเวลาที่ล่าช้าตามความเหมาะสม

ในกรณีที่มาทำงานสาย เกิน 120นาที ในรอบของการคำนวณค่าล่วงเวลา คือทุกวันที่ 21ของเดือนก่อนหน้า ถึงวันที่ 20 ของเดือนปัจจุบัน พนักงานจะได้รับใบเหลืองพร้อมสลิปเงินเดือน เพื่อเป็นการแจ้งเตือน หากได้รับใบเหลือตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไปในรอบปี ท่านอาจจะไม่ได้รับการพิจารณาโบนัสรายปี รวมถึงการพิจารณาปรับเงินเดือนประจำปี ซึ่งพนักงานสามารถมาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ของตนเองหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 วัน หรือ 16 ชั่วโมง ต่อ ใบเหลือง 1 ใบ เพื่อเป็นการชดเชย โดยพนักงานยังคงได้รับค่าจ้างในการทำงานในวันหยุดในอัตราตามที่กฏหมายแรงงานกำหนดไว้

             2.    การเลิกงานก่อนเวลา พนักงานที่ประสงค์จะเลิกงานก่อนเวลาจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลทุกครั้งไป และการเลิกงานก่อนเวลาจะถูกหักค่าจ้างตามจริงคำนวณเป็นรายนาที หากพนักงานไม่แจ้งให้ทราบจะได้รับการลงโทษทางวินัย

ประเภทการลาและหลักเกณฑ์ในการลา

1.         ประเภทการลา บริษัทฯ กำหนดประเภทการลาไว้ดังนี้

          1.1      ลาป่วย

             1.2     ลากิจ

             1.3     ลารับปริญญาบัตร

             1.4     ลาพักร้อนประจำปี

          1.5      ลาเพื่อคลอดบุตร

          1.6      ลาเพื่อทำหมัน

1.7      ลาเพื่อรับราชการทหาร

1.8      ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ

1.9      ลาเพื่ออุปสมบท

1.10             ลาออก

1.11   ลาหยุดในกรณีอื่นๆ

การลาป่วย

1.     พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน

2.     วันลาป่วยของพนักงาน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพนักงานเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือป่วยด้วยเหตุอื่น ๆ จนทำให้ไม่สามารถทำงานได้โดยไม่ทราบล่วงหน้า

3.     การลาป่วยต้องแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลทราบ โดยต้องแจ้งก่อนเริ่มงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยให้พนักงานหรือบุคคลอื่นติดต่อแจ้งให้บริษัทฯ หรือผู้บังคับบัญชาของตนทราบด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ถ้าไม่อาจทำได้จะต้องแจ้งโดยเร็วที่สุดและต้องยื่นใบลาตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มงานในวันแรกที่กลับเข้าทำงาน

4.     กรณีการลาป่วยเกิดขึ้นภายหลังจากที่มาทำงานแล้ว ให้ขออนุมัติการลาต่อ         ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเอง หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล

5.     การลาป่วยตั้งแต่ 3วันทำงานขึ้นไปจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามจะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดง (ต้นฉบับ) ถ้าพนักงานไม่อาจสามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ให้พนักงานชี้แจงให้บริษัทฯ ทราบ    และบริษัทฯ สงวนสิทธิจะให้แพทย์ประจำบริษัทฯ ตรวจรักษาอีกครั้งในกรณีที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา

6.     พนักงานที่ลาป่วยโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรบ่อยครั้งและบริษัทฯพิสูจน์ได้ว่าไม่ป่วยจริงบริษัทฯ จะพิจารณาโทษทางวินัยตามความเหมาะสมซึ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป

7.     การลาป่วยที่เป็นเท็จ นอกจากจะเป็นการแจ้งรายงานข้อมูลไม่จริงต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว  ยังถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงต่อบริษัทฯ ฐานกระทำทุจริตต่อบริษัทฯ โดยเจตนาให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย จะพิจารณาลงโทษตามระเบียบของบริษัทฯ

8.     การลาป่วยหรือจำนวนวันลาป่วย จะนำไปประกอบการพิจารณาเงินเดือน / ค่าจ้างประจำปี

           ลากิจ                 

หากพนักงานมีความประสงค์ที่จะลากิจจะต้องกรอกแบบฟอร์มการลาและยื่นแก่ผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติ ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ หากยังไม่ได้รับการอนุมัติจะถือเป็นการขาดงาน

ลาเพื่อรับปริญญาบัตร

พนักงานที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมงานรับปริญญาบัตร ของตนเอง จะต้องกรอกแบบฟอร์มการลา และยื่นแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายทรัพยากรบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ ซึ่งทางบริษัทฯอนุญาติให้หยุดงานได้ 1 วันโดยจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ

             ลาหยุดพักผ่อนประจำปี มีสิทธิ์ในการขออนุญาติลาหยุดดังต่อไปนี้

1.             พนักงานที่ ผ่านการทดลองงานเรียบร้อยแล้ว แต่อายุงานไม่ถึง 1ปี จะได้รับสิทธิ์ในการขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 2 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน (หรือตามที่จะเจรจาต่อรองกับผู้ว่าจ้าง)

2.             เมื่อได้ทำงานครบหนึ่งปีเต็ม จะได้รับสิทธิ์ในการขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน7 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน (หรือตามที่จะเจรจาต่อรองกับผู้ว่าจ้าง)

3.             เมื่อได้ทำงานครบสองปีเต็ม จะได้รับสิทธิ์ในการขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 8 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน (หรือตามที่จะเจรจาต่อรองกับผู้ว่าจ้าง)

4.             เมื่อได้ทำงานครบสามปีเต็ม จะได้รับสิทธิ์ในการขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 11 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน (หรือตามที่จะเจรจาต่อรองกับผู้ว่าจ้าง)

                พนักงานจะต้องยื่นใบลาเพื่อขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนการลาพักผ่อนประจำปี อย่างไรก็ตาม ใบลาดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บริหารก็ได้ กล่าวคือ บริษัทมีสิทธิที่จะไม่อนุญาตการขอลาก็ได้ถ้ามีงานเร่งด่วนที่ต้องทำให้แล้วเสร็จซึ่งต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพนักงานเพื่อจัดการกับจำนวนงานดังกล่าว ในกรณีนี้บริษัทฯและพนักงานจะตกลงร่วมกันเพื่อเลื่อนวันลาพักผ่อนประจำปีออกไปเป็นวันอื่น

                นอกจากนั้น พนักงานทุกคนจะต้องจัดสรรการใช้วันลาพักผ่อนประจำปีตลอดทั้งปี โดยให้เป็นไปตามระเบียบดังนี้ กล่าวคือ พนักงานทุกคนจะใช้วันลาพักผ่อนประจำปีสำหรับช่วงแรกของปีปฏิทิน (เดือนมกราคม-มิถุนายน) ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนวันลาตามสิทธิของตน และใช้อีกร้อยละ 50 ที่เหลือสำหรับช่วงที่สองของปีปฏิทิน (กรกฎาคม-ธันวาคม)

                 บริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่พนักงานแต่ละคน   ในกรณีที่พนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯ ยังไม่ครบหนึ่งปี บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่พนักงาน โดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ 

บริษัทฯ ไม่มีนโยบายให้พนักงานสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนั้น  พนักงานจะต้องใช้สิทธิให้หมดในแต่ละปีนั้น และห้ามพนักงานใช้สิทธิขอหยุดพักผ่อนหลังการยื่นใบลาออก

การลาเพื่อคลอดบุตร

1.                          พนักงานหญิงที่มีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่ง ไม่เกินเก้าสิบวัน (รวมวันหยุดบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างในวันทำงานให้แก่พนักงาน ซึ่งลาคลอดตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน โดยลาล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน  

2.                   เนื่องจากการคลอดแม้ว่าจะได้หยุดตามเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดตามข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ยังไม่สามารถจะมาปฏิบัติงานได้ บริษัทฯ จะอนุญาตให้ลาหยุดเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง

3.        กรณีฉุกเฉิน  พนักงานไม่สามารถยื่นใบลาล่วงหน้าได้ตามระเบียบ  ให้พนักงานแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงเหตุผลโดยวิธีใดวิธีหนึ่งทันที  เช่น  ทางโทรศัพท์หรือ จะให้ญาติหรือคู่สมรสมาแจ้งการลาแทน   

4.        ถ้าพนักงานหญิงมีครรภ์มีใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ให้มีสิทธิขอให้บริษัทฯ เปลี่ยนงานในหน้าที่เป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้โดยบริษัทฯ จะพิจารณาเปลี่ยนงานให้แก่พนักงานนั้นตามที่เห็นสมควร

             การลาเพื่อทำหมัน

1.           บริษัทฯ อนุญาตให้พนักงานลาเพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการ        

2.                                    ทำหมันโดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้จำนวนวันลาให้เป็นไปตามระยะเวลาที่แพทย์แผน

ปัจจุบันชั้นหนึ่งเป็นผู้กำหนด 10111หลักฐานประกอบการลา

การลาอุปสมบท

1.     พนักงานที่ผ่านการทดลองงานแล้ว  สามารถขอลาอุปสมบทได้ไม่เกิน 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง   โดยสามารถลาได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม  การลาอุปสมบทดังกล่าวนี้  พนักงานต้องใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีที่มีสิทธิก่อน ที่เหลือเป็นลากิจที่บริษัทฯ จะพิจารณาอนุมัติให้

2.     การลาอุปสมบท   บริษัทฯ จะอนุมัติหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา   ซึ่งจะต้องไม่เป็นผลเสียหายต่องานของบริษัทฯ

3.     ในวันที่พนักงานกลับมาปฏิบัติงานตามปกติ พนักงานต้องนำหลักฐานหรือ        หนังสืรับรองการอุปสมบท (ใบสุทธิมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

การลาออก

 พนักงานที่มีความประสงค์จะลาออกจากการเป็นพนักงานจะต้องแสดงความจำนงค์ด้วยการเขียนแบบแจ้งการลาออกล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน โดยยื่นต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง    และการลาออกจะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับการอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯหรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนิน การแทนเท่านั้น

กรณีลาออกระหว่างการฝึกอบรม พนักงานจะต้องชำระเงินอุดหนุนระหว่างการฝึกอบรม พร้อมเบี้ยปรับตามสัญญาการฝึกอบรม ให้แก่บริษัทฯ ภายใน 3วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งลาออก โดยมีอัตราดอกเบี้ยรายปี ปีละสิบห้าเปอร์เซ็นต์

การลาหยุดในกรณีอื่นๆ

ในกรณีที่พนักงานมีความประสงค์จะลาหยุดได้ในกรณีอื่นๆ จะต้องได้รับการอนุญาติจากผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารแล้วเท่านั้น โดยจะต้องแจ้งก่อนที่จะลาหยุด

หมวด 5

วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

1.         วันหยุดประจำสัปดาห์

                      1.1      วันอาทิตย์

                         1.2      บริษัทฯ สามารถจะจัดทำกำหนดเวลาการทำงาน  ชนิดใหม่ที่แตกต่างกับที่กล่าวมานี้ได้หากมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น  และในกรณีดังกล่าวบริษัทฯ จะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าถึงชั่วโมงการทำงานซึ่งจะต้องไม่เกินกว่าชั่วโมงทำงานตามปกติ เช่นนั้น  โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

2.         วันหยุดตามประเพณี  บริษัทฯ กำหนดให้มีวันหยุดตามประเพณีปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดได้ตามความเหมาะสมในแต่ละปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยและพนักงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ซึ่งบริษัทฯ จะประกาศให้ทราบ   ล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป

หมวด 6

หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด

1.        หลักทั่วไป

             1.1       ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานจำเป็นต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ บริษัทฯ โดยกรรมการผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อาจจะสั่งพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนหรือทั้งหมดให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตามความในหมวด 3   หรือมาทำงานในวันหยุดตามหมวด 5 ได้

           1.2      เพื่อประโยชน์แก่การผลิต  การจำหน่าย และการบริการ พนักงานจะทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลาในวันหยุดได้ตามที่บริษัทฯ สั่งเท่านั้น บริษัทฯ อาจให้พนักงานทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ หรือในวันหยุดเท่าที่จำเป็น

2.        อัตราค่าล่วงเวลา

           2.1      ค่าล่วงเวลา         

            บริษัทฯ ให้พนักงานทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน พนักงานจะได้รับค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมง ที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวน      ผลงานที่ทำได้สำหรับพนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

3.        ค่าทำงานในวันหยุด

           3.1      พนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี 

         และวันหยุดพักผ่อนประจำปี )

            ถ้ามาทำงานในวันหยุด จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามผลงานที่ทำได้ในวันหยุดสำหรับพนักงานตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วยตามที่ได้รับคำสั่งให้มาทำงานใน    วันหยุด

      3.2      พนักงานที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์สำหรับพนักงาน  

                    รายชั่วโมง รายวัน และตามผลงาน)     

          ถ้ามาทำงานในวันหยุด จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดสองเท่าครึ่งของค่าจ้างใน         วันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามผลงานที่ทำได้ในวันหยุด

4.              ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด 

          พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด เมื่อได้ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานในอัตราสามเท่าครึ่งของค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินเวลาทำงานปกติ หรือตามผลงานที่ทำได้เกินสำหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ตามที่ได้รับคำสั่งให้มาทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

หมวด 8

วินัยและโทษทางวินัย

1.         วัตถุประสงค์ บริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในหมวดนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

             1.1       เพื่อเป็นแนวทางของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณา ส่งเสริม แก้ไข หรือปรับปรุงความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชา

         1.2      เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพนักงานในเรื่องวินัยในการปฏิบัติของบริษัทฯ

          1.3      เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับวินัย อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของพนักงานและบริษัทฯ

           1.4      เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินกิจการของบริษัทฯ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ด้วยความมีระเบียบ เป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและก่อให้เกิดความสงบสุขในการทำงานร่วมกัน

2.         นโยบาย   บริษัทฯ ได้วางนโยบายในเรื่องวินัยของพนักงานไว้ดังนี้

             2.1       ผู้บังคับบัญชาจะต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการลงโทษทางวินัย ด้วยการใช้หลักเกณฑ์การบริหารบุคคล หรือการปกครองที่ดี

             2.2       ตามปกติแล้วการดำเนินการลงโทษทางวินัยจะทำเป็นขั้นตอน เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง นอกเสียจากความผิดนั้นมีลักษณะร้ายแรง

3.         วินัยพนักงาน    เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบดังต่อไปนี้

          3.1      วินัยทั่วไป

                  3.1.1     ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีอยู่ในระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคมไม่ประพฤติชั่ว กระทำหรือร่วมกันกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฎหมายของบ้านเมืองทั้งในและนอกบริเวณบริษัทฯ

                  3.1.2      เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

                  3.1.3      ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด

                         3.1.4      แจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของตนเองให้บริษัทฯ ทราบในกรณีเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ที่อยู่อาศัย สมรส/หย่าร้าง มีบุตร บุคคลในครอบครัวเสียชีวิต       เปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ภายในเจ็ดวันนับจากวันที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละกรณี

                         3.1.5      รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งสิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ นอกภาชนะที่บริษัทฯ จัดไว้

                         3.1.6     ช่วยกันดูแลประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้พลังงานและสิ่งอื่นๆให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด

                      3.1.7     ไม่มาทำงานสาย ไม่กลับก่อนเวลา หรือไม่ลาหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร  หรือเป็นการพร่ำเพรื่อ

                         3.1.8      ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุน ชักจูง รู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยต่อการกระทำความผิดต่อกฏระเบียบของบริษัทฯ หรือกฏหมายแห่งราชอาณาจักรไทยของพนักงานอื่น

                          3.1.9      ห้ามรับจ้างทำงานให้ผู้อื่นหรือดำเนินธุรกิจใด ๆ อันอาจเป็นผลกระทบกระเทือนเวลาทำงานหรือกิจการของบริษัทฯ

                       3.1.10    ห้ามนำสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือใช้เพื่อการอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต

                       3.1.11   ไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใด ๆ ให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออาจได้รับความเสียหาย

             3.1.12    ระมัดระวังดูแลรักษาสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ และต้องแจ้งให้ผู้บังคับ-บัญชาทราบเมื่อทำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เสียหายหรือสูญหาย

                      3.1.13    ห้ามปิดประกาศ โฆษณา ขีดเขียนข้อความ แจกใบปลิว เผยแพร่เอกสาร หรือ  สิ่งตีพิมพ์ใด ๆ ในบริเวณของบริษัทฯ โดยมิได้รับอนุญาต รวมทั้งการปลด ทำลาย ขีดเขียน เพิ่มเติมเอกสาร ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ ของบริษัทฯ ด้วย

                       3.1.14   ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย      

                       3.1.15   ไม่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่น หรือเหยียดหยามผู้บังคับบัญชา หรือลูกค้า หรือผู้มาติดต่อ หรือกระทำอื่น ๆ ที่เป็นการอันไม่สมควร

                         3.1.16    หากพนักงานหญิงตั้งครรภ์ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร

3.1.17    พนักงานปฏิเสธไม่ยอมรับการตรวจโรคและตรวจสุขภาพโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

             3.2       ระเบียบการเข้าหรือออกบริเวณบริษัทฯ

                         3.2.1      พนักงานที่บริษัทฯ กำหนดให้บันทึกเวลาทำงาน ต้องบันทึกเวลาด้วยตนเอง   ทุกครั้งเมื่อเข้าทำงาน พัก เลิกงาน และ/หรือ ตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดห้ามบันทึกเวลาแทนผู้อื่น หรือรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นบันทึกเวลาให้

                     3.2.2     พนักงานที่เข้ามาในบริเวณของบริษัทฯ จะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

                     3.2.3     พนักงานที่จะออกจากสถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน และเวลาพักของ  ตนเอง ไม่ว่ากรณีใดต้องปฏิบัติตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดทุกครั้ง และในกรณีที่เป็นการออกจากบริษัทฯ โดยไม่กลับมาอีกให้บันทึกเวลาด้วย

                         3.2.4      ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานต่อยามรักษาการณ์เมื่อผ่านเข้าบริษัทฯ หรือเมื่อยามรักษาการณ์ขอให้แสดง

                     3.2.5     นอกจากการทำงานตามหน้าที่ ห้ามเข้ามาหรืออยู่ภายในสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต

                     3.2.6     การนำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ออกจากบริษัทฯ ไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะต้องแสดงใบอนุญาตนำสิ่งของหรือทรัพย์สินที่จะนำออกนั้นต่อยามรักษาการณ์

                                                                ต้องให้ยามรักษาการณ์ตรวจสิ่งของที่นำติดตัวเข้ามา หรือเมื่อออกจากบริษัทฯ              

                         3.2.8     ไม่ใช้เวลาทำงานต้อนรับ หรือพบปะผู้มาเยือนในธุรกิจส่วนตัว หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน และให้ใช้สถานที่ตามที่บริษัทฯ จัดไว้โดยใช้เวลาเท่าที่จำเป็น

                    3.2.9     ห้ามพนักงานนำบุคคลภายนอกเข้ามาในบริเวณบริษัทฯ เว้นแต่ผู้ที่มาติดต่องานกับทางบริษัทฯ หากจำเป็นสามารถให้นั่งรอในห้องประชุมหรือบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น

                    3.2.10   ห้ามนำเข้าหรือใช้เสพ หรือมีไว้ครอบครองซึ่งอาวุธ ยาเสพติด สิ่งมึนเมา หรือสิ่งที่ผิดกฎหมายภายในบริเวณบริษัทฯ

                    3.2.11    ห้ามพนักงานที่อยู่ในลักษณะมึนเมาเข้ามาภายในบริษัทฯ                                                       

           3.3       การมาทำงาน

                     3.3.1      พนักงานต้องมาทำงานอย่างปกติและสม่ำเสมอตามวันเวลาทำงานที่บริษัทฯกำหนด

                     3.3.2     พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบในเรื่องการลงเวลาเข้าและออกงานโดยเคร่งครัด

                     3.3.3     พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลา หรือการหยุดงานโดยเคร่งครัด

                     3.3.4     พนักงานต้องปฏิบัติตามกำหนดการและเวลาในเรื่องการเข้าทำงาน การออกไปและการกลับเข้ามาในการปฏิบัติงานนอกบริษัทฯ และการเลิกงาน

                     3.3.5     พนักงานห้ามทำบัตรบันทึกเวลาชำรุด สูญหาย หรือแก้ไขข้อความใด ๆ

             3.4       การปฏิบัติหน้าที่

3.4.1     พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อบริษัทฯ มีคำสั่งให้โยกย้ายพนักงานไปประจำ                          หน่วยงานใด หรือเวลาการปฏิบัติงานใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือเป็นการถาวร 

                    3.4.2     พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร

                    3.4.3     พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ สุขุมรอบคอบ และด้วยความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ

                     3.4.4     พนักงานต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งหมดของตนให้เป็นประโยชน์ต่องานตามหน้าที่

                     3.4.5     พนักงานต้องไม่ทำงานให้กับบุคคลหรือองค์กรอื่นใด อันอาจกระทบต่อการทำงานให้แก่บริษัทฯ ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่

                         3.4.6      พนักงานต้องไม่ดื่มสุรา หรือยาเสพติด หรืออยู่ในอาการมึนเมาภายในบริเวณบริษัทฯ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่

                     3.4.7     ห้ามพนักงานปิดประกาศ นัดพบ ประชุม อภิปรายภายในบริษัทฯ รวมทั้งจำหน่ายจ่ายแจกเอกสารภายในบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ        ผู้จัดการ

                     3.4.8     ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต

                    3.4.9     ห้ามสูบบุหรี่ภายในบริเวณบริษัทฯ เว้นแต่สถานที่ที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้                                    

                    3.4.10  ห้ามฝ่าฝืนระเบียบการแต่งชุดทำงาน

                    3.4.11  ห้ามใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใด โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงานของบริษัทฯ

                         3.4.12  ห้ามรับประทานอาหาร หรือของขบเคี้ยวในเวลาทำงาน

                    3.4.13  ห้ามละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงาน

                    3.4.14    ห้ามทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดย  

                                    ถูกต้องและสุจริต

                    3.4.15  พนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือความรับผิดชอบตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด

                    3.4.16          พนักงานจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ในกรณีเลื่อนตำแหน่ง     โยกย้าย หรือการมอบหมายงาน

                    3.4.17  พนักงานจะต้องพึงรักษาสุขภาพของตนให้พร้อมที่จะทำงานให้กับบริษัทฯ

                    3.4.18  พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของพนักงานรักษาความปลอดภัย

                         3.4.19    พนักงานจะต้องปฏิบัติตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด วิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน  

                         3.4.21    กรณีที่พนักงานแสดงเจตนาที่จะทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดแล้วแต่กรณีแต่ไม่มาปฏิบัติงานนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย บริษัทฯ อาจจะพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

             3.5       ความซื่อสัตย์สุจริต

                     3.5.1     พนักงานต้องไม่เปลี่ยนแปลง ปลอม แก้ไข ตัดทอน หรือทำลายเอกสารต่าง ๆ ของบริษัทฯ หรือเอกสารที่มีการเกี่ยวข้องระหว่างบริษัทฯ กับพนักงานโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำการดังกล่าว

                     3.5.2     พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัทฯ ต้องการแก่บริษัทฯ ตามความเป็นจริงและถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งไว้แล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัทฯ ทราบโดยเร็วที่สุด

                     3.5.3     พนักงานต้องให้ความร่วมมือกับบริษัทฯ ในการสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ ที่บริษัทฯ ต้องการ และในการร่วมมือดังกล่าวพนักงานจะต้องกระทำการต่าง ๆ ด้วยความสุจริต

                         3.5.4      พนักงานต้องไม่อาศัยอำนาจหน้าที่ หรือโอกาสในการทำงานกับบริษัทฯ เพื่อแสวงหาประโยชน์ใด ๆ อันขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพของตน ระเบียบประเพณีในการทำงาน กฎหมาย หรือขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ

                     3.5.5     พนักงานต้องไม่แจ้งข้อความเท็จหรือลาป่วยเท็จต่อผู้บังคับบัญชาหรือบริษัทฯ

                     3.5.6     พนักงานต้องยินยอมให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทฯ ตรวจในกรณีที่เกิดความสงสัยว่าจะมีสิ่งของที่ผิดกฎหมาย หรือได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย หรืออาวุธอยู่ในตัวพนักงาน

                    3.5.7      พนักงานต้องไม่ปกปิด หรือบิดเบือนความจริงเพื่อได้มาซึ่งประโยชน์ของตนและผู้อื่น

                    3.5.8     พนักงานต้องไม่แจ้งหรือให้ข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา

                    3.5.9     พนักงานต้องรักษาไว้ซึ่งงานในหน้าที่ในลักษณะสร้างเสริม หรือรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และไม่จงใจหรือเจตนาปฏิบัติงานให้ล่าช้า

                         3.5.10    พนักงานจะต้องบริการลูกค้าเต็มความสามารถ หรือจะต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ อย่างสูงสุด

             3.6       ความประพฤติ

                     3.6.1     พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ ความในข้อนี้หมายความรวมถึงสถานที่อื่น เมื่อบริษัทฯ จัดงานหรือมีงานนอกสถานที่บริษัทฯ หรือในขณะทำงานนอกสถานที่และรถรับ-ส่ง

         3.6.2     พนักงานต้องเป็นผู้ตรงต่อเวลาในการนัดหมายอันเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

                         3.6.3      พนักงานต้องใช้จ่ายเงินทองที่เหมาะสมกับสถานภาพทางการเงินของตน โดยไม่ปล่อยให้ตนเองมีหนี้สินล้นพ้นตัว

                     3.6.4     พนักงานต้องไม่พกอาวุธ หรือครอบครองสิ่งผิดกฎหมายเข้ามาในบริษัทฯ    หรือในขณะปฏิบัติหน้าที่

                     3.6.5     พนักงานต้องประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี หรือไม่ประพฤติชั่วร้ายอย่างร้าย    แรงทั้งในและนอกบริเวณบริษัทฯ

                     3.6.6     พนักงานต้องเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบธรรมของผู้บังคับบัญชา หรือบริษัทฯ ทั้งคำสั่งด้วยวาจาลายลักษณ์อักษร และการสื่อข้อความอื่น ๆ

                         3.6.7      พนักงานต้องเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ไม่พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว หรือแสดงข้อความหรือแสดงกิริยาอาการเป็นการส่อเสียด เหยียดหยาม ประณาม หรือดูหมิ่นพนักงานอื่น หรือผู้บังคับบัญชา

                         3.6.8     พนักงานต้องไม่ยุยง ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดการแตกแยกความสามัคคี   การทะเลาะวิวาท  หรือการทำร้ายร่างกายในหมู่พนักงานของบริษัทฯ หรือ ระหว่างพนักงานของบริษัทฯ กับบุคคลภายนอก

                         3.6.9     พนักงานต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม เช่น เล่นการพนัน

                     3.6.10  พนักงานต้องไม่เล่นการพนันในบริเวณบริษัทฯ หรือ ในบริเวณสถานที่พักของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน หรือนอกเวลาทำงานก็ตาม หรือห้ามเล่นการพนันในขณะปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ทำงาน หรือส่งเสริมให้มีการเล่นการพนัน หรือมีหนี้สินจากการเล่นการพนัน หรือถูกจับกุมเนื่องจากเล่นการพนันในสถานที่ทำงาน

                         3.6.11    พนักงานต้องไม่กระทำการล่วงเกินทางเพศซึ่งกันและกันในเวลาทำงาน หรือในสถานที่ทำงาน หรือในบริเวณสถานที่พักของบริษัทฯ หรือบนรถโดยสารรับ - ส่งพนักงาน ที่บริษัทฯได้จัดไว้

4.         บทลงโทษ

          วินัยของพนักงานตามที่ระบุมานี้พนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และอนุโลมบังคับใช้ถึงสถานที่พักหรือรถโดยสารรับ - ส่งพนักงานด้วย ถ้าพนักงานผู้ใดปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติใด ๆ อันถือว่าเป็นการฝ่าฝืนวินัยดังกล่าวจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยตามลักษณะแห่งความผิด หรือความหนักเบาของการกระทำผิด หรือร้ายแรงเกิดขึ้น การลงโทษจะเป็นไปตามข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกันก็ได้ตามบทลงโทษทางวินัย บริษัทฯกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ 3 ประการดังนี้

                      4.1         การตักเตือนด้วยวาจา โดยบันทึกเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน

          4.2      การตักเตือนเป็นหนังสือ

                      4.3         การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

5.         การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ผู้มีอำนาจลงโทษมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพนักงานผู้กระทำผิด ดังนี้

         5.1      ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่บริษัทฯ

         5.2      จงใจทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย

         5.3      ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง                                 

         5.4      ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของบริษัทฯ อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและบริษัทฯ ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ ลูกจ้างได้กระทำผิด                           

             5.5       ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

             5.6       ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

6.                           ทางบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ เพื่อความเหมาะสม ตามสภาพของสถานการณ์ภายหน้า    โดยบริษัทฯ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน

7.                           ผู้มีอำนาจพิจารณาและดำเนินการลงโทษทางวินัย คือ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บังคับบัญชา   แต่ละแผนกเป็นผู้ลงโทษ หรือ บุคคลที่ได้รับการมอบหมาย

หมวด 12

สภาพการบังคับใช้

ระเบียบข้อบังคับทุกข้อนี้มีผลบังคับใช้กับ ลูกจ้างประจำ, ลูกจ้างชั่วคราว, ลูกจ้างรายวัน และการจ้างทำของ หรือสภาพการจ้างอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงานของ บริษัท พรีเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป