Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

ปัญหาเบราว์เซอร์ Safari เข้าเว็บไม่ได้ บนเครื่อง Mac, iPhone, iPad จากสาเหตุหน้าเว็บไม่โหลด เซิร์ฟเวอร์หยุดการโต้ตอบ หรือไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi ต้องแก้ไขอย่างไร

Safari ถือเป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้นในระบบปฏิบัติการ Apple ที่มีติดเครื่อง MacBook, iPhone และ iPad พร้อมเปิดใช้ท่องเว็บไซต์ได้ทันที แม้ประสิทธิภาพทั้งความรวดเร็วความปลอดภัยจะไม่ด้อยกว่า Chrome และ Edge แต่บางครั้งก็เกิดปัญหากวนใจทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดหน้าเว็บได้ราวกับถูกตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

เช็คปัญหาเบื้องต้นที่อาจมองข้าม

  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi
  • กรณีเปิด Bluetooth ไว้ให้ลองปิดดูก่อน
  • โดเมนหรือเว็บไซต์ที่เข้าถึงอาจขัดข้องเซิร์ฟเวอร์ล่ม
  • เปลี่ยนไปใช้เบราว์เซอร์อื่น เช็คว่าเข้าเว็บได้ปกติหรือไม่

วิธีแก้ปัญหา Safari เข้าเว็บไม่ได้

บทความนี้ได้รวบรวมการแก้ไขปัญหา Safari เข้าเว็บไม่ได้ จากประสบการณ์ของผู้ใช้ MacBook หรือ iMac การตั้งค่าส่วนต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาบนอุปกรณ์ iPhone และ iPad ได้เหมือนกัน

แนะนำ: รวมคีย์ลัด Macbook ปุ่มลัดที่นิยมใช้บ่อย

ล้างประวัติข้อมูลเว็บไซต์

การล้างประวัติข้อมูลการท่องเว็บไซต์ (Clear History and Website Data) เป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใช้เบราว์เซอร์ต้องรู้เพราะมันอาจช่วยแก้ปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้กับเว็บไซต์ที่กำลังเข้าชม ซึ่งการล้างประวัติในเบราว์เซอร์ Safari บนเครื่อง Macbook ทำได้ดังนี้

เปิดเบราว์เซอร์ Safari ไปที่แถบเมนูด้านบน เลือก ประวัติ > ล้างประวัติ…

Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ
Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

จะปรากฏหน้าต่างล้างประวัติเอาคุกกี้และข้อมูลเว็บไซต์ออก เลือกเมนู ล้างประวัติทั้งหมด กดปุ่ม ล้างประวัติ

Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ
Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

วิธีล้างประวัติ Safari บน iPhone

  • เปิดแอปฯ Safari ไปที่เมนู การตั้งค่า (Settings)
  • เลือกเมนู ล้างประวัติและข้อมูลเว็บไซต์ (Clear History and Website Data)
  • แตะปุ่ม ล้างประวัติและข้อมูลเว็บไซต์ (Clear History and Website Data)

เปิดโหมดไม่ระบุตัวตน

เบราว์เซอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันจะมีโหมดไม่ระบุตัวตนในการท่องเว็บไซต์ ซึ่งแอปฯ Safari ก็มีให้เปิดใช้งานได้เช่นกัน กรณีเปิดเว็บไซต์ในเบราว์เซอร์ปกติไม่ได้ให้กดปุ่ม Shift + Command + N คำสั่งเปิดหน้าต่างส่วนตัว จากนั้นลองทดสอบเข้าเว็บไซต์ได้หรือไม่

ตรวจสอบเราเตอร์

Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ
Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

อุปกรณ์กระจายสัญญาน Wi-Fi Router ขัดข้องหรือไม่ ลองตรวจสอบโดยการเช็คจากอุปกรณ์อื่นที่เชื่อมต่อไวไฟอยู่ในเครือข่ายจากเราเตอร์เดียวกันอย่างมือถือสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี หากเราเตอร์มีปัญหาให้ลองถอดปลั๊กหรือรีสตาร์ทเครื่องใหม่

ตั้งค่า DNS Server

การตั้งค่าเครือข่าย DNS Server แบบกำหนดเอง ช่วยให้การท่องเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงอาจแก้ปัญหาหน้าเว็บไม่โหลดได้ โดยทั่วไปการเปลี่ยนค่า DNS บนเครื่อง Macbook จะนิยมใช้ของ Google Public DNS มีขั้นตอนการตั้งค่าดังนี้

กดรูป ไอคอน Apple มุมขวาบน ไปที่เมนู การตั้งค่าระบบ เลือกแท็บ Wi-Fi

Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ
Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

คลิกที่ปุ่ม รายละเอียด หลังชื่อไวไฟที่เชื่อมต่ออยู่ จากนั้นระบบจะแสดงหน้าต่างตั้งค่าเครือข่าย

Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ
Safari หา เซิ ฟ เวอร์ ไม่พบ

ไปที่แท็บเมนู DNS กดที่เครื่องหมายบวก [+] ใส่เลข DNS ของผู้ให้บริการ Google DNS : 8.8.8.8 หรือ 8.8.4.4 กดปุ่ม ตกลง

วิธีเปลี่ยนค่า DNS บน iPhone

  • เปิดเมนู Wi-Fi ในหน้าการตั้งค่า (Setting)
  • กดปุ่ม ‘i’ ด้านหลัง Wi-Fi ที่เชื่อมต่ออยู่ เลือก Configure DNS
  • เลือก Manual กดเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ (Add Server)
  • ใส่เลข DNS ของผู้ให้บริการที่ต้องการ

รีสตาร์ทอุปกรณ์

ทุกปัญหาจะหายไปแค่กดปุ่ม Restart ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับแอปฯ Safari รวมถึงแอปพลิเคชันอื่นๆ หลังจากเริ่มระบบใหม่ของอุปกรณ์ ข้อผิดพลาดทั้งหมดอาจได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับ Macbook หรือ iPhone การรีสตาร์ทอุปกรณ์แนะนำให้เป็นทางเลือกสุดท้าย

เปลี่ยนไปใช้เบราวเซอร์อื่น

หากยังพบปัญหาในการใช้งาน Safari คงต้องเปลี่ยนไปใช้บราวเซอร์อื่นแทน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไปที่ตัวเลือกอย่าง Chrome, Opera หรือ Firefox เนื่องจากรองรับแพลตฟอร์ม MacOS และ iOS สามารถใช้ท่องเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังใช้ตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเบราวเซอร์ Safari กรณีปัญหาการโหลดหน้าเว็บไม่ได้

อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ใช้ Safari เป็นเบราวเซอร์สำหรับท่องเว็บไซต์บน Macbook, iPhone และ iPad ควรติดตามและอัปเดตแอปฯ ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยอีกทั้งไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในระหว่างใช้งานอุปกรณ์ หากพบปัญหาอื่นๆสามารถค้นหาวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Apple