ตัวอย่างการวิเคราะห์ swot บริษัท โตโยต้า

Core Competencies TOYOTA

TOYOTA
Internal Environment Analysis
            โตโยต้าถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ดีที่สุดเมื่อเทียบเคียง (Benchmark) กับองค์กรอื่นในประเภทเดียวกันหรือคู่แข่งจากทั่วโลก ซึ่งการที่โตโนต้าเป็นองค์กรระดับโลกดังนั้นจึงมีต้องมี Global mind-set เนื่องจากคน วัฒนธรรมในแต่ละประเทศก็ต่างกัน ซึ่งโตโยต้าก็สามารถจัดการเรื่องนี้ได้เนื่องจากมีความยืดหยุ่นขององค์กรในการพยายามเติบโตในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายนั้นเอง
            และสาเหตุที่โตโยต้าประสบความสำเร็จมาทุกวันนี้เนื่องจากโตโยต้ามีความสามารถในการใช้ทรัพยากร (resources) อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Tangible resources ก็ไม่ต่างจากบริษัทอื่นๆทั่วไป เช่น
Financial resources: มีความสามารถในการหาเงินทุน (เช่นการกู้และออกหุ้นเพื่อระดมทุน)
Organizational resources: ได้แก่กระบวนการของ TPS วิธีการและเอกสารต่างๆ ที่อธิบายเรื่องมาตรฐาน รวมไปถึงวิธีต่างๆ ที่จะใช้ในการนำไปใช้ในที่อื่นๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน เป็นต้น
Physical resources: เช่น อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ โรงงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนา รวมไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตรถ
Technological resources: ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายทางการค้า และความลับทางการค้า เป็นต้น

            แต่ความที่น่าสนใจอยู่ที่ Intangible resources
Human resources: ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงงานก็ตามจะเข้าใจและเชี่ยวชาญกับ Toyota Production System-TPS ซึ่งเป็นระบบที่พยายามกำจัดความสูญเปล่า (Waste) ให้หมดไปเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลผลิตรวมถึงทุกคนในองค์กรก็คุ้นเคยกับ Toyota Way เป็นอย่างดี รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรของโตโยต้าที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
Reputation resources: ความมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของ Brand และของคุณภาพงผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่โตโยต้ามีให้กับลูกค้าเป็นอันดับแรก และ supplier เป็นอันดับต่อมา
Innovation resources: ด้วยความที่โตโยต้ามีศูนย์วิจัยและพัฒนาประกอบกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้างทางด้านความคิด จึงทำให้เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องยนต์ของรถยนต์ในอนาคตอยู่เนื่องๆ

            และเมื่อพิจารณาดูแล้วจะพบว่ากระบวนการเพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้านั้นเริ่มจากทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร(คนที่เข้าใจ local market ในประเทศนั้นๆเป็นอย่างดี)ใช้ความรู้ความสามารถและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( kaizen ) ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งใน TPS นอกจากนี้ยังสร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับหุ้นส่วนพันธมิตรอีกด้วย หรือพูดอีกแง่ก็คือโตโยต้าพยายามจะใช้ทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ซึ่งยากที่คู่แข่งจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งและลอกเลียนแบบได้ อย่างทรัพยากรมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่าง supplier ลงไปใน TPS ซึ่งเป็น Organizational resources ทั้งนี้ก็เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มผลผลิตนั้นเอง ซึ่งก็จะส่งผลถึงการเพิ่มขิ้นของรายได้นั้นเอง และนี้ก็แสดงให้เห็นได้ว่าโตโยต้ามีความสามารถในการใช้ทรัพยากร(Capability)ให้บรรลุเป้าหมายที่จะมากเพียงใด

            และสิ่งที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น Core competency ส่วนมากกจะมาจากความรู้ ความสามารถภายในองค์กร สำหรับโตโยต้าก็เช่นกัน ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถหลักคือ Toyota Production System-TPS , การบริหารโรงงานที่เรียกว่า Lean Manufacturing System ซึ่งเราถือได้ว่าโตโยต้าเป็นต้นตำรับ สามารถสะท้อนความเป็นโตโยต้าได้อย่างดี ถึงแม้ปัจจุบันคู่แข่งจะพยายามลอกเลียนแบบ แต่ก็ยังไม่มีบริษัทใดนำระบบการจัดการทั้งหมด (Entire Management System) ไปใช้ได้ซึ่งทำให้โตโยต้าสามารถทำได้ดีกว่าคู่แข่งและมีศักยภาพในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบกับวิถีแห่งโตโยต้าเป็นวัฒนธรรมที่ซับซ้อนมาก และพิเศษเฉพาะสำหรับโตโยต้าเท่านั้น ดังที่ Minoura พูดไว้ว่า “มันเป็น DNA ของเรา” และมันสำคัญต่ออนาคตของโตโยต้าที่จะทำให้มันยังคงอยู่ และถ่ายทอดต่อไปยังทีมการผลิตรุ่นใหม่เพื่อที่จะก้าวไปได้ทันกับการเติบโตอันรวดเร็วของบริษัทนั้นเอง และด้วย core competency ที่มีจึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพซึ่งเป็นคุณค่าที่ลูกค้ารับรู้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้โตโยต้ายังมีบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม ดังนั้นโตโยต้าจึงพยายามพัฒนา Core competency เพื่อเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องและมี competitive advantages ในด้านการผลิตที่ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง รวมไปถึงการมี short design-to-market cycles

และหากจะให้ผู้ถึงว่าโตโยต้านั้นมี Sustainable Competitive ก็สามารถพิจารณาได้จาก 4 criteria ดังนี้
Valuable: ความจริงแล้วหากไปถามคนในองค์กรเองว่าอะไรถึงทำให้โตโยต้าสำเร็จมาจวบจนปัจจุบัน ก็จะได้คำตอบที่ต่างกันไปและมีจำนวนมาก ดังนั้นในฐานะคู่แข่งซึ่งพยายามจะลอกเลียนความสามารถหลักจากโตโยต้าไปจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งนี้ก็หมายความว่า Core competency ของโตโยต้านั้น Valuable ทุกคนถึงอยากทำตาม
Rare: หายากในที่นี้หมายถึงการที่ไม่ใช่ใครจะสร้าง TPS ขึ้นมาได้ง่ายๆ เพราะมันเกิดจากหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันซึงเกิดเฉพาะในโตโยต้าเท่านั้น
Costly to imitate: ต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลในการลอกเลียนแบบ
Nonsubstitutable: ดังทีกล่าวไปแล้วด้านบนว่าปัจจุบันยังไม่มีบริษัทใดลอกเลียนแบบได้ จึงทำให้ยังไม่มีระบบใดมาทดแทน TPS ได้

โตโยต้าได้สร้าง Value Chain ของบริษัทไว้ดังต่อไปนี้
_Primary Activities_
Inbound Logistics: เนื่องจากโตโยต้าใช้ TPS ซึ่งเป็นระบบที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมากกับ supply chain management and logistics system ทั้งนี้เพราะหากเขาไม่สามารถจัดการกับทรัพยากรขาเข้า หรือวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้โตโยต้าต้องสูญเสียผลประโยชน์จากกระบวนการนี้ได้ ดังนั้นโตโยต้าจึงใช้รูปแบบที่เรียกว่า “การเติบโตไปด้วยกัน” ระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Suppliers) เพราะเขาถือว่าเป็นเสมือนโรงงานสาขาของเขาเอง ประกอบกับการที่โตโยต้านั้นทำการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) มานานแล้ว จึงทำให้มีระบบสำหรับกลุ่มของสมาคมผู้จัดส่งวัตถุดิบโตโยต้าที่เชื่อมโยงกับระบบของโตโยต้า ซึ่งส่งผลให้โตโยต้าได้วัตถุดิบนำเข้าที่มีคุณภาพมาใช้ตลอดทั้งกระบวนการนั้นเอง
Operation: ด้วยการที่มี core competitive อย่างระบบการผลิตของโตโตย้า (TPS) ซึ่งสร้างโดย Taiichi Ohno จึงมีประเด็นหลักๆ คือ 1.ระบบนี้จะลดต้นทุนครอบคลุมทุกด้าน ผ่านการกำจัดการสูญเปล่าอย่างไม่หยุดหย่อน และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม 2. มีระบบหลักใน TPS สองระบบคือ ระบบแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time) และ Jidoka (ระบบการควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติหรือ Autonomation) 3. TPS เป็นระบบผลิตที่ทำงานเพื่อสร้างเฉพาะสิ่งที่ต้องการ เมื่อมีความต้องการและตามจำนวนที่ต้องการ โดยใช้บุคคลากรน้อยที่สุดที่ทำได้ 4. เวลาในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจะสั้นมากเท่าที่จะสั้นได้ เพื่อลดขนาดการผลิต และอุปกรณ์จับยืด เครื่องมือจะเป็นแบบง่ายๆ และมีราคาถูก 5. การผลิตจะปรับเรียบ (Leveled Production) คือปริมาณที่ผลิตต่อชั่วโมงจะถูกปรับให้สมดุลสำหรับทุกกระบวนการ,การทำงานสอดคล้องกัน (Synconization) คือทุกหระบวนการจะมีระบบเพื่อจำกัดไม่ให้มันผลิตเร็วเกินไป,การจัดการด้วยตา (Visual Management) คือทุกอย่างจะถูกจัดเรียงและแสดงไว้ให้เข้าใจได้ในทันที เช่นการใช้ Kanban และ Andon และก่อนที่จะผลิตได้โตโยต้าก็จะมีระบบการออกแบบซึ่งเน้นการทำให้เป็นมาตรฐาน
Outbound logistics: เนื่องจากโตโยต้ามีสาขาอยู่ทั่วโลก โดยได้เข้าไปขายในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตเรีย เอเชีย ดังนั้นจึงสามารถเป็นการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วโลกจริงๆ
Marketing & Sales: ประเด็นที่สำคัญในตลาดยานยนต์จะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix) คือวิธีการสร้างลำดับชั้นของผลิตภัณฑ์และวิธีการรักษาผลิตภัณฑ์รุ่นย่อยหรือที่เรียกว่าเป็นอนุพันธ์ (Derivative) ซึ่งยุทธศาสตร์นี้ช่วยทำให้โตโยต้าดึงดูดและเข้าหาลูกค้าได้ใกล้ชิดขึ้น และในปัจจุบันนี้ถือได้ว่ารายการผลิตภัณฑ์ของโตโยต้าไม่มีช่องว่างเลย และสร้างรายการที่ครบถ้วนตามแนวคิดเกี่ยวกับลำดับชั้นของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีความคิดเรื่องการส่งเสริมการขายด้วยวิทยาศาสตร์ ประกอบกับบริษัทสร้างวิธีการพยากรณ์อุปสงค์ที่นำการสำรวจความต้องการและความชอบของผู้บริโภคมาช่วยในการหาผลลัพธ์ด้วย ซึ่งในปัจจุบันเทคนิคทั้งสองอย่างเป็นที่แพร่หลายแล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ในการแข่งขันและความได้เปรียบในการแข่งขันของ M.E. Porter และหลักการตลาดของ Kotler และเหนือสิ่งอื่นใดความได้เปรียบของโตโยต้าเหนือบริษัทอื่นๆ ในด้านนี้ ก็มาจากความยึดมั่นต่อทฤษฎีและจากความจริงที่ว่าสำนักวิจัยยังคงแข็งแกร่งและทำงานได้ดีนั้นเอง
Services: โตโยต้าต้องการให้รถทุกคันที่ซื้อไปมีความน่าเชื่อถือได้และใช้ได้นาน ดังนั้นจึงใส่ใจและดูแลอย่างดีที่สุด ซึ่งโตโยต้ามีทั้งการการันตีตลอดอายุของรถ ,มีCertified Collision Center เป็นศูนย์ซ่อมที่โตโยต้ารับรอง , มีThe Toyota Auto Care prepaid maintenance program ที่จะค่อยดูแล ตรวจสภาพรถยนต์ให้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการบริการของโตโยต้าทำให้ล้าได้รับความสะดวกสบาย คุ้มค่า
_Supportive Activities_
Procurement Purchasing and Supplier Network : มีความสัมพันธ์อย่างเหนี่ยวแน่น และยาวนานกับ suppliers ดังที่กล่าวไปแล้ว
Technological Development : การวิจัยที่เกิดขึ้นมาจากระบบวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโตโยต้า ท้ายที่สุดจะมีการสร้างแผนนำเสนอที่ปฎิบัติได้จริงเพื่ออ้างอิงกับคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรอการรับรอง ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับระบบการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของโตโยต้าคือโตโยต้าทุ่มเทกำลังไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมากพอๆ กับที่ทุ่มเทให้กับการวิจัยด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และท้ายที่สุดก็จะจบลงที่การทำรายงานและการทำให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งนี่คือกลไกที่บริษัทใช้ในการรวบรวมและสั่งสมความรู้ขององค์กร
Human Resource Management : หลักปฎิบัติหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการแรงงานของโตโยต้าเป็นสิ่งที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว และเรื่องที่โดดเด่นก็คือโตโยต้าใช้การกระตุ้นสร้างแรงจูงใจ โดยทุ่มกำลังไปที่การพัฒนาและฝึกอบรมคนที่เต็มใจทำงานมากกว่าคนที่ได้เกรดดี ซึ่งเป้าหมายสูงสุดในเรื่องการจัดการบุคคลากรคือการกระตุ้นและการสร้างแรงจูงใจให้กับแต่ละคนด้วยความเข้าใจที่เกิดจากการศึกษา โดยจะมีการฝึกสอนหน้างาน (On-the-job Training: OJT), การศึกษาเป็นกลุ่ม (Group Education) และ กิจกรรมที่ทำด้วยตนเอง(Autonomous Activities) เป็นรากฐานของการจัดการทรัพยากรบุคคลของโตโยต้า
Firm Infrastructure: โครงสร้างขององค์กรที่ผลิตรถยนต์ในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นแบบ Organic Organization คือ เน้นการปรับตัวให้เข้ากับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งโตโยต้าก็พยายามเป็นเช่นนั้นด้วย ถึงแม้ว่าระบบของโตโยต้าจะซับซ้อนแต่ก็ไม่ได้แข็งกระด้างและตายตัว โดยสามารถดำเนินการต่างๆ ได้โดยเปลี่ยนรูปไปตามเรื่องที่กำลังพิจารณาอยู่

สำหรับ Outsourcing นั้น โตโยต้าได้เริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 เนื่องจากโตโยต้าเห็นว่าเนื่องจากจะช่วยให้องค์กรประหยัดทรัพยากรและต้นทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามโตโยต้าก็ไม่ลืมที่จะไม่นำความสามารถด้านเทคโนโลยีการออกแบบซึ่งเป็นหนึ่งในความสามารถที่โตโยต้ามี ซึ่งเขาจะต้องทำการประเมินและตรวจสอบจนมั่นใจก่อนว่าการจัดจ้างงานไปภายนอกนั้นจะไม่ส่งผลให้ความแข็งแกร่งเชิงเทคนิคของบริษัทลดลง นอกจากนี้โตโยต้ายังมีคุณลักษณะเฉพาะตัวอีกอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์กับผู้ผลิตชิ้นส่วยรายอื่นๆ คือโตโยต้าจะสั่งชิ้นส่วนชิ้นเดียวจากผู้จัดส่งวัตถุดิบอีก 2 รายขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาหรือข้อบกพร่องที่ไม่ได้คาดไว้ และยังช่วยให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบเหล่านั้นแข่งกันเองเพื่อโตโยต้าจะได้ราคาซื้อที่ต่ำลงด้วย

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด

วิสัยทัศน์ของโตโยต้าประเทศไทย 

1. เป็นบริษัทแกนนําของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก 

2. เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย 

หลักการของโตโยต้าประเทศไทย 

1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง 

2. เคารพและยอมรับผู้อื่น 

3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า 

4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด 

5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 

พันธกิจของโตโยต้าประเทศไทย 

1. สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชีย แปซิฟิค 

2. บรรลุการเป็นผู้นํา ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด 

3. กําหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สําคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัท 

4. สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทํากิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม

การวิเคราะห์กรณีศึกษาบริษัท โตโยต้า

ในปัจจุบันบริษัท โตโยต้า ถือว่าเป็นองค์กรที่ประสบความสําเร็จสูงสุดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการบริหารที่มีคุณภาพในทุก ๆ ปัจจัย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบ ทั้งภายในองค์กรของตนเองและเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจโดยความสําเร็จดังกล่าว โตโยต้าได้เผชิญกับปัญหาด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียกคืนรถรุ่นต่างๆ ทั่วโลกที่มีปัญหากว่า 10 ล้านคันเพื่อเข้ารับการตรวจสอบพร้อมทั้งแก้ไข เนื่องจากพบว่าปัญหาเกิดจากความบกพร่องด้านคุณภาพและการออกแบบโดยได้ขอรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์กรที่จะไม่ยอมให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพขึ้นอย่างเด็ดขาดและอีกวิกฤตการณ์หนึ่งที่โตโยต้าได้เผชิญคือ สถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์ในญี่ปุ่นได้หยุดสายการผลิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ แต่โตโยต้าก็สามารถกลับมาเดินสายการผลิตการประกอบรถยนต์ทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 หลังจากสถานการณ์การฟื้นตัวดีขึ้นโดยดําเนินการผลิตตามออเดอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูงตามภาคการผลิตรถยนต์ และยอดค้างส่งมอบรถยนต์สําหรับประเทศไทยยอดจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ช่วงต้นปีที่ผ่านมาโตโยต้าก็ยังเป็นอันดับ หนึ่งที่มียอดจองรถสูงสุดอีกทั้งได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายรุ่นดังนั้นออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์จะยังคงมี เข้ามาอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการใช้รถยนต์ ยอดขายที่ขยายตัวได้ดีเป็นผลมาจาก

1.       ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2.      รายได้ของเกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น

3.      การจ้างงานที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

4.      ความคล่องตัวของการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ และ อัตราดอกเบี้ย ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

5.       การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด

กลยุทธ์ใหม่ของโตโยต้า คือแผนทุ่มเทเพื่อเร่งการผลิตรถไฮบริด ซึ่งเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน และการพัฒนาตลาดใหม่ในประเทศที่เศรษฐกิจกําลังเติบโตมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งรายสําคัญทั้งในตลาดญี่ปุ่นและทั่วโลก แม้จะต้องยอมรับแผนธุรกิจที่มีอัตรากําไรที่ไม่เติบโตมากนัก แต่ต้องการมีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพอย่างยั่งยืน

การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P

Product (ผลิตภัณฑ์)

1.       ตัวสินค้า คือ รถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA เป็นรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมากนัก เพียบพร้อมทั้งการออกแบบที่สวยงามกว่ารุ่นก่อนๆที่เคยได้ผลิตออกมาและด้วยตราสินค้าที่มีมานานแล้วจะทําให้ความน่าเชื่อถือของสินค้ามีมากตามไปด้วย การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้าสร้างการจดจําได้ง่ายขึ้น

2.       ประสิทธิภาพสําหรับรถยนต์ของToyotaนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานค่อนข้างเหมาะสมกับราคาที่ไม่สูงมากนัก และถ้านํามาเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กของยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก

3.       ความทนทานด้วยตัวสินค้านั้นเป็นรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของความแข็งแรงของตัวรถนั้น คงไม่สามารถเปรียบเทียบกับรถที่ผลิตจากแทบยุโรปได้ แต่ถึงตัวรถจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในรถก็ยังคอยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กในยี่ห้ออื่น ในเรื่องความทนทานของอะไหล่หรือตัวรถนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อะไหล่ของ TOYOTA นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ

4.       รูปแบบสินค้า รถยนต์ TOYOTA นี้ ได้ออกแบบใหม่ให้รูปร่างดูทันสมัยมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาออกไปก็ได้ช่วยสร้างการจดจําในตัวสินค้าได้เป็นอย่างดีซึ่งทางด้านคู่แข่งก็ได้ผลิตรถยนต์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยออกมาแข่งขันด้วยเช่นกัน

5.       ความสามรถในการอัพเกรดในการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นก็สามารถทําได้อย่างกว้างขว้าง มีอะไหล่ที่รองรับความต้องการในการปรับแต่งรถยนต์มากมาย ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของ รถยนต์นั้นจะช่วยทําให้รถยนต์นั้นมีสมรรถนะดีขึ้นอีกด้วย

6.       ความช่วยเหลือทางเทคนิคการใช้งานของสินค้านั้นไม่ยากเพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ที่นิยมใช้กันในสมัยนี้ ทําให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างไม่ยากลําบาก และทางด้านศูนย์บริการก็มีกระจายอยู่ทั่วไปสามารถหาได้ง่ายและมีจํานวนมาก

7.       การติดตั้งในส่วนของการติดตั้งนั้น ได้ทําการประกอบมาตั้งแต่ศูนย์ผลิตแล้ว ซึ่งพร้อมให้ลูกค้าได้ใช้งานได้โดยทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าแล้ว แต่ในส่วนของการติดตั้งอะไหล่ที่ได้ปรับเปลี่ยนภายหลังนั้น จะต้องทําโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

Price (ราคา)

1.       ทางด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วยกันแล้วจะมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วยเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสําคัญกับราคาด้วยและด้วยราคาของสินค้าในขณะนี้นั้นเหมาะสมกับ Product Life Cycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ) ในขณะนี้

2.       การตั้งราคาสินค้าตั้งตาม Product Line Place

Place ( สถานที่)

การจัดจําหน่ายสินค้านั้นก็จะมีจําหน่ายทั่วไปตามโชว์รูมของ TOYOTA ซึ่งในปัจจุบันมีโชว์รูมเกิดขึ้นมามากมาย เพื่อทําให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายมากที่สุดในการที่จะไปติดต่อสอบถามหรือบริโภคสินค้า มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดต่อหาข้อมูลที่โชว์รูม โดยใช้โฆษณาเป็นสื่อในการส่งข่าวสารรูปแบบการจัดจําหน่ายนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตซึ่งผลิตมาจากโรงงาน แล้วจากนั้นจะส่งสินค้ามาตามตัวแทนจําหน่ายต่างๆ (Show Room) จากนั้นก็ติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภค

Promotion (การส่งเสริมการตลาด)

1.       สื่อที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสื่อหลักคือโทรทัศน์เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และสามารถกระตุ่นความสนใจและความต้องการได้ด้วยการใช้ภาพและเสียง และสื่อเสริมจะเป็นพวกนิตยสารต่าง ๆ ซึ่งภายในนิตยสารนั้นจะให้รายละเอียดต่างๆไว้มากกว่าในโทรทัศน์เพื่อที่จะให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข่าวสารอย่างเพียงพอแก่ความต้องการแต่สื่อที่น่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้โทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่จําเป็นของทุกๆครอบครัว และการใช้สื่อประเภทนี้เข้าไปทําการโฆษณาจะช่วยได้มาในเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ การทําให้เกิดการจดจํา

2.       จุดขายที่ใช้ในปัจจุบัน TOYOTA จะเน้นในเรื่องของการออกแบบรูปทรงของตัวรถยนต์ที่ดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในจุดเด่นตรงนี้ก็ยังสามารถนําไปใช้เป็นจุดขายต่อๆ ไปในอนาคตได้ เพราะ ส่วนมากแล้วผู้บริโภคค่อนข้างที่จะให้ความสําคัญต่อรูปร่างของผลิตภัณฑ์ประเภทรถยนต์

3.       จุดเด่นของสินค้าเป็นเรื่องของรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และในการที่จะใช้จุดเด่นนี้มาใช้ในการโฆษณานั้น เราก็จําเป็นที่จะต้องทําโฆษณาโดยดึงเอาการออกแบบ หรือทําให้ผู้บริโภคได้เห็นรูปร่างของรถยนต์สวยงาม นั้นเพื่อที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจําที่ดีขึ้น

4.       ภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นสินค้าที่ได้รับความน่าเชื่อถือได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเพราะ Brand หรือ ตราสินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงทําให้เกิดความจดจํา และยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ไปด้วย

5.       Positioning การจัดตำแหน่งของสินค้าคือ แนวคิดในการบริการที่ "พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าโดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวนการ"ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโตโยต้าคือเบื้องหลังความสําเร็จของโตโยต้า ที่ผลักดันให้บริษัทฯ ครองความเป็นอันดับหนึ่งของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง

การวิเคราะห์กลยุทธ์โดยใช้หลัก (SWOT)

Strength (การวิเคราะห์ด้านจุดแข็ง )

โตโยต้ามีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพที่เรียกว่า Toyota Evaluation Quality Auditเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากทุกสายการผลิตทั่วโลก รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น เป็นประจําทุกปีเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าในแต่ละประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์โตโยต้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรามีตั้งแต่รถยนต์ระดับหรู(Luxury)มาจนถึงกลุ่มรถขนาดประหยัด(Economy Car)รถเพื่อการพาณิชย์ในกลุ่มรถปิกอัพ

ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วย

เป็นเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องการประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม 

การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุน้ําหนักเบา ทําให้รถมีน้ําหนักเบา มีความคล่องตัวสูง และลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ํามันลง

Weakness (การวิเคราะห์ด้านจุดอ่อน )

1.       ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิต และการออกแบบรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เป็นของตนเอง

2.       ประเทศไทยยังให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มากเพียงพอ ซึ่งไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้นยังรวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย

3.       ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรระดับสูงในด้านการผลิตและการออกแบบในอุตสาหกรรมรถยนต์รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์

4.       มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

Opportunity (การวิเคราะห์ด้านโอกาส )

1.       การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ํามัน ทําให้คนหันมาใส่ใจในการประหยัดน้ํามัน

2.       ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องการลดภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

3.       รัฐบาลและประชาชนหันมาสนใจในการแก้ปัญหามลภาวะ โดยรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ผลักดันในการควบคุมปัญหามลภาวะอากาศ

Treat (การวิเคราะห์ด้านอุปสรรค )

รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ Big Tree ซึ่งมุ่งหวังจะสร้างความเข็มแข็งในการแข่งขันให้กับสหรัฐอเมริกา โดยการพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับรถยนต์ในยุคใหม่

ยังมีรถที่ใช้พลังงานทางเลือก เช่น รถที่ใช้ Fuel Cell , Ethanol, Methanol, Natural gas, LPG, Bio Fuel, Hydrogen และ Reformulate Gasoline ทั้งหมดนี้คือ รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคู่แข่งของรถยนต์ hybrid ในอนาคต

ราคาชิ้นส่วนและวัสดุในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลให้อัตราการการบริโภคลดลงด้วย

แม้ว่าในวันนี้โตโยต้าจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเต็มตัว แต่โตโยต้าได้ประกาศให้สังคมรับรู้ว่าการเป็นบริษัทรถยนต์เบอร์ 1 ของโลก ไม่ควรวัดจากจํานวนรถยนต์ที่ผลิตหรือจําหน่าย หรือการมียอดขายหรือผลกําไรสูงสุดในโลก แต่บริษัทรถยนต์อันดับหนึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน

 วิเคราะห์ความหลากหลายของศาสนา

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางศาสนา ของกลุ่มลูกจ้าง  เนื่องจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีโรงงานและสาขาอยู่ทุกภาคภายในประเทศจึงทำให้ องค์กรเกิดความหลายหลายทางด้านศาสนา  ซึ่งการรับพนักงานเข้าทำงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด) นั้น จะต้องใช้คนท้องถิ่นเข้าทำงานร่วมกัน เพื่อเข้าใจ เข้าถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งศาสนาอย่างเช่น ศาสนาอิสลามในการทำงานในสถานที่ทำงาน จะต้องจัดให้มีห้องละหมาดในบริษัท หรือแม้แต่หัวหน้างาน หัวหน้าแผนกของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นชาวญี่ปุ่น เราก็ต้องรู้ถึงขนบธรรมเนียม เข้าถึงวัฒนธรรมของอีกฝ่าย เพื่อประสบความสำเร็จในการทำงานอีกด้วย

วิเคราะห์ความหลากหลายของความสามารถและระดับการศึกษา

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เน้นการฟูมฟักพัฒนาพนักงานในองค์กรให้ก้าวขึ้นไปผู้นำที่ดีในอนาคต การสรรหาพนักงานของโตโยต้า จะรับคนที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะน้อยมาก หากเทียบกับองค์กรอื่น เมื่อคำนึงถึงคุณลักษณะพื้นฐานที่ชอบตั้งคำถาม ค้นหาและแก้ปัญหา ห่วงใยผู้อื่น ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ดี มีความมั่นใจและมีความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเข้าสู่ “กระบวนการเรียนรู้แบบโตโยต้า” ต่อไป  

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สอนให้พนักงานเหนรู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่จากการล้มเหลว เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรู้จักคิดใหม่ทำใหม่การส่งเสริมและพัฒนาทักษะในการทำงานของบุคลากร การได้รับรางวัลในครั้งนี้จะเป็นขวัญกำลังใจสำคัญของเราในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโตโยต้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง