สั ท ทุ ล วิก-กี ฬิ ต ฉันท์ บท ไหว้ครู

สั ท ทุ ล วิก-กี ฬิ ต ฉันท์ บท ไหว้ครู

 คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุและสัมผัสเป็นมาตรฐาน ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤตไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย ตำราฉันท์ที่เป็นแบบฉบับของฉันท์ไทย คือ คัมภีร์วุตโตทัย

 การเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ

                 การเลือกใช้ฉันท์ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน

                  ๑. บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือสัทธราฉันท์

                  ๒. บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์

                  ๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์     ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบาเน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ

                  ๔. บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ภุชงคประยาตฉันท์

                  ๕. บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์

                  ๖. บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์แผนผังและตัวอย่างคำประพันธ์ประเภทฉันท์ที่นิยมแต่ง

     ลักษณะบังคับของฉันท์

-ครุ  คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว  มีตัวสะกด**  หมายเหตุ คำที่ประสมกับ อำ  ไอ ใอ เอา  ถือเป็นครุ เพราะ มีตัวสะกดประสมอยู่ เช่น  อำ มาจาก อัม  ไอ  มาจาก  อัย  และ เอา  มาจาก  อัว (ว เป็นตัวสะกดของ อ+อะ+ว ) 

-ลหุ  คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด เช่น  อะ  จิ  สิ  ก็ 

ในที่นี้จะขอนำเสนอเฉพาะฉันท์ที่มีคนนิยมแต่งกัน ดังนี้

๑. สัทธราฉันท์ ๒๑

                    ลักษณะการแต่ง     มี ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ วรรคที่ ๔ มี ๓ คำ

                            แต่งโดยใช้คำครุ ลหุ ในการแต่ง

  •    คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
    คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ 

  ตัวอย่าง

                                            ปวงโอรสลิจฉวีดำ            ริณวิรุธก็สำ

                                       คัญประดุจคำ                         ธเสกสรร

                                                                 ที่มา : สามัคคีเภทคำฉันท์ 

๒. สาลินีฉันท์ 

               เป็นฉันท์ที่แต่งยากแต่ทว่ามีความงามประดุจดอกไม้ ทำนองฉันท์สั้นกระชับในตอนต้น แล้วราบรื่นในตอนปลาย เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองเคร่งขรึมน่ายำเกรง กวีมักใช้แต่งเพื่ออวดความสามารถในการใช้ศัพท์และเป็นเชิงกลบท

                    ลักษณะการแต่ง     มี ๔ วรรค  วรรคหน้า ๕ คำ  วรรคหลัง ๖ คำ แต่งโดยใช้คำครุ (สระ อะ)  ลหุ (สระอุ) ในการแต่ง คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

   ตัวอย่าง

            พราหมณ์ครูรู้สังเกต            ตระหนักเหตุถนัดครัน
    ราชาวัชชีสรร                               พจักสู่พินาศสม
     ยินดีบัดนี้กิจ                                จะสัมฤทธิ์มนารมณ์
     เริ่มมาด้วยปรากรม                     และอุตสาหแห่งตน
                                                                  ที่มา : สามัคคีเภทคำฉันท์ 

 ๓. วิชชุมมาลาฉันท์ 8

                    วิชชุมมาลาฉันท์  (อ่านว่า  วิด-ชุม-มา-ลา-ฉัน)  วิชชุมมาลาฉันท์  มีความหมายว่า“ฉันท์ที่มีท่วงทำนองลีลาดุจสายฟ้าแลบ” ลักษณะการแต่ง    วิชชุมมาลาฉันท์  ๑  บท มี ๔ บาท  บาทละ ๒ วรรค   วรรคละ ๔ คำ๑ บาท  นับจำนวนคำได้  ๘  คำ/พยางค์   ดังนั้น  จึงเขียนเลข  ๘ หลังชื่อ   วิชชุมมาลาฉันท์นี่เองทั้งบทมีจำนวนคำทั้งสิ้น  ๓๒  คำ  การสัมผัส  พบว่า  สัมผัสวิชชุมมาลาฉันท์  มีสัมผัสนอก  (ที่เป็นสัมผัสภายในบท)  บท จำนวน  ๕  แห่ง ได้แก่

                            ๑.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑   ส่งสัมผัสกับคำที่ ๒  ของวรรคที่  ๒

                            ๒.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๓

                            ๓.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๖

                            ๔.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕   ส่งสัมผัสกับคำที่ ๒  ของวรรคที่  ๖

                            ๕.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๖   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๗

                    การสัมผัสระหว่างบท พบว่า  คำสุดท้ายของบท  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค วรรคที่ ๔  ในบทต่อไป             

  ตัวอย่าง

                                                                ตื่นตาหน้าเผือด   หมดเลือดสั่นกาย

                                                        หลบลี้หนีตาย               วุ่นหวั่นพรั่นใจ

                                                        ซุกครอกซอกครัว        ซ่อนตัวแตกภัย

                                                        เข้าดงพงไพร               ทิ้งย่านบ้านตน

แหล่งที่มา : สามัคคีเภทคำฉันท์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------